ข้ามไปเนื้อหา

พจน์ บุณยะจินดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พจน์ บุณยะจินดา
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2539
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ
ถัดไปพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต10 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (80 ปี 203 วัน)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิง กอแก้ว บุณยะจินดา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลตำรวจเอก
บังคับบัญชากรมตำรวจ

พลตำรวจเอก พจน์ บุณยะจินดา (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ[1]อดีตนายกกรรมการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการคนสุดท้าย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา[2]

ประวัติ

[แก้]

พลตำรวจเอก พจน์ บุณยะจินดา เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 เป็นบุตรของพระวรสิทธิวินิจฉัย และนางล้อม วรสิทธิวินิจฉัย เป็นหลานปู่พระยาอาจอำนวยกิจ (รั้งตำแหน่งแทนอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข) และคุณหญิงลำใย อาจอำนวยกิจ สมรสกับคุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา (บัวทรัพย์) มีบุตร-ธิดารวม 3 คน คือ

  1. นางพอฤทัย ณรงค์เดช (บุณยะจินดา)
  2. นายพันกร บุณยะจินดา (ดัง)
  3. นางสาวดวงพร สรวยสุวรรณ (บุตรบุญธรรม)

โดย พล.ต.อ.พจน์ ถือเป็นคู่เขยกับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากภรรยาของทั้งคู่เป็นพี่น้องกัน

การศึกษา

[แก้]

ผลงานการประพันธ์เพลง

[แก้]
  • สนิมสังคม
  • แรงอธิษฐาน
  • คงมีแต่เรา เฝ้าถนน

การรับราชการ

[แก้]
  • เมษายน พ.ศ. 2503 ว่าที่ร้อยตำรวจตรี
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2503 รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลบางกอกน้อย
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2504 ร้อยตำรวจตรี[3] (รุ่นเดียวกับพลตำรวจเอกสนอง วัฒนวรางกูร พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ และพลตำรวจเอกจำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์)
  • พ.ศ. 2505 รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
  • พ.ศ. 2509 รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลสำเหร่
  • พ.ศ. 2513 ผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
  • พ.ศ. 2517 สารวัตรแผนก 1 กองกำกับการ 2 กองปราบปราม และทำหน้าที่เป็นหัวหน้า สถานีวิทยุเสียงสามยอด (ส.ส.ส.)
  • พ.ศ. 2519 รองผู้กำกับการ 2 กองปราบปราม
  • พ.ศ. 2522 อาจารย์วิชากฎหมาย ภาควิชากฎหมาย กองบังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • พ.ศ. 2523 ผู้กำกับการ 2 สำนักงานเลขานุการ กรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2524 ผู้แถลงข่าวกรมตำรวจ (สมัยที่ 1) ทำหน้าที่ควบคุม วางแผน และดำเนินการประชาสัมพันธ์ ของกรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2525 รองผู้บังคับการกองทะเบียน กรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2526 รองเลขานุการกรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2527 เลขานุการกรมตำรวจ และผู้แถลงข่าวกรมตำรวจ (สมัยที่ 2)
  • พ.ศ. 2529 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • พ.ศ. 2531 รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • พ.ศ. 2532 ผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ (ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานสารนิเทศ) และผู้แถลงข่าวกรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2533 ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2534 รองอธิบดีกรมตำรวจ
  • พ.ศ. 2537 อธิบดีกรมตำรวจ

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

พล.ต.อ.พจน์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560 สิริรวมอายุได้ 80 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560 ณ วัดธาตุทอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ตั้งแต่งข้าราชการตำรวจ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมตำรวจ เป็น อธิบดีกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า 76)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาฟสสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๓๙, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๑๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔