ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข
ถัดไปพลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565
(1 ปี 364 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กันยายน พ.ศ. 2506 (60 ปี)
อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
ศิษย์เก่า
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ประจำการพ.ศ. 2528–ปัจจุบัน
ยศ พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ (เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2506) ชื่อเล่น เด่น เป็นนายตำรวจชาวไทย เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1][2]สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ประวัติ[แก้]

ดำรงศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นบุตรนายสวัสดิ์ และนางบัวลอย กิตติประภัสร์ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่นที่ 9 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22 ปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 38 ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์จาก City University สหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตร Pacific Training Initiative (PTI) ของ F.B.I, หลักสูตร การควบคุมฝูงชน ของ Tacoma Police Department สหรัฐอเมริกา[2]

รับราชการ[แก้]

ดำรงศักดิ์เริ่มต้นรับราชการในตำแหน่ง รองสารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 2 เมื่อปี พ.ศ. 2528[2] จากนั้นจึงได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ตามลำดับจนได้เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2563 พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก[3][4] กระทั่งวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือ ก.ต.ช. ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม ที่ประชุมมีมติเลือก พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 13 สืบต่อจาก พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ที่จะเกษียณอายุราชการในวันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565[2]

ต่อมาในวันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1]

ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ด่วน! โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตำรวจ 255 ราย “พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์"นั่งผบ.ตร.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 เปิดประวัติ “บิ๊กเด่น-พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์” ผบ.ตร.คนที่ 13
  3. โปรดเกล้าฯ 'สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข' เป็นผบ.ตร.
  4. โปรดเกล้าฯพระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล จำนวน 114 ราย
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๒๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๙๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙