ศราวุธ เพชรพนมพร
ศราวุธ เพชรพนมพร | |
---|---|
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 เมษายน พ.ศ. 2513 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | นุดี เพชรพนมพร |
นายศราวุธ เพชรพนมพร เป็นรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต 1 ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ชุดปัจจุบัน[1] ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ[แก้]
นายศราวุธ เพชรพนมพร เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของนาย สุวิทย์-นางวิไล เพชรพนมพร มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนดอสบอสโกวิทยา จังหวัดอุดรธานี จบปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน การคลัง และการธนาคาร จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ,และปริญญาโทสาขาสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางนุดี เพชรพนมพร (พรหมนอก) บุตรสาวคนที่ 3 ของ พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนแรก และรองนายกรัฐมนตรี มีบุตร 2 คน
เส้นทางและประสบการณ์ด้านการเมือง[แก้]
- นายศราวุธ เพชรพนมพร อดีตเคยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และได้รับเลือกให้เป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 สังกัดพรรคชาติพัฒนาได้รับการเลือกตั้งเปป็น ส.ส.ครั้งแรก
- ในขณะเดียวกันที่ยังทำหน้าที่สมาชิกรัฐสภา นายศราวุธ เพชรพนมพร ก็ยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์) ทำหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก) โดยได้ทำหน้าที่ควบคู่กันไปในขณะนั้น จนอยู่จนครบวาระ4ปี [2]
- ต่อมาการเมืองในยุคนั้น เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะเป็นการต่อสู้ชิงชัยกันเหลือแค่2พรรคการเมืองใหญ่เท่านั้น คือพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ นายศราวุธ เพชรพนมพร จึงได้ย้ายไปอยู่ พรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2548และลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สองเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.ครั้งที่2
- อยู่ในตำแหน่ง ส.ส.ได้ประมาณ1ปีกับอีกไม่กี่วัน ถึงวันที่24 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2549ได้มีการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อวันที่2 เมษายน 2549 นายศราวุธ เพชรพนมพรก็ได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สาม ก็ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.ครั้งที่3 แต่ครั้งนี้ไม่นับ เพราะว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่ง ให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะทั่วประเทศ[3] และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
- แต่ยังไม่ถึงวันนั้นก็เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน 25459 พรรคไทยรักไทยถูกยุบพรรค เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 และเปลี่ยนไปเป็น พรรคพลังประชาชน นายศราวุธ เพชรพนมพร จึงได้ทำการย้ายพรรคไปอยู่ที่พรรคเพื่อแผ่นดิน และเป็นรองเลขาธิการพรรค เมื่อปี 2551 [4] และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สี่ ในปี พ.ศ. 2551 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา(ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีการแก้ไขเขตเลือกตั้งจากเขตเดียวเบอร์เดียวเป็นแบบเขตใหญ่แบบเรียงเบอรฺ์)
- แต่ได้ไปทำหน้าที่ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร [5] เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 สมัยนายมั่น พัธโนทัย เป็นรัฐมนตรีว่าการ โดยมีรัฐบาลที่มาจากการนำของ พรรคพลังประชาชน โดยมีนาย สมัคร สุนทรเวช และนาย สมชาย วงษ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
- ต่อมา พรรคพลังประชาชน ถูกยุบ และเปลี่ยนเป็น พรรคเพื่อไทย รัฐบาลเปลี่ยนผ่านไปเป็นการนำโดยฝ่าย พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี นายศราวุธ เพชรพนมพร จึงได้ย้ายเข้าพรรค พรรคเพื่อไทย[6] และลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งห้าในปี พ.ศ. 2554 และได้รับเลือกเป็น ส.ส.สมัยที่3
ตำแหน่งที่เคยดำรงด้านการเมือง[แก้]
- อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เขต อำเภอเมือง (ปี2538-2542)
- อดีตรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (ปี2541-2542)สมัย นายสมเกียรติ สุขธนะ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
- อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี เขต1 (ปี2544-2548) (พรรคชาติพัฒนา)สมัย นาย กร ทัพพะรังษี เป็นหัวหน้าพรรค และรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
- อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ปี2545-2548)สมัย นาง สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในขณะนั้นทำหน้าที่เลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมัย พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น ซึ่งมี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
- อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี (ปี2548-2549)(พรรคไทยรักไทย)สมัย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเป็นหัวหน้าพรรค และ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
- อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน (ปี2551-2552)สมัย พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก เป็นหัวหน้าพรรค และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในขณะนั้น
- อดีตเลขานุการรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ปี2551-2552)สมัย นายมั่น พัธโนทัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
- อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด พ.ศ. 2554
- อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี เขต1 (ปี2554-2556)(พรรคเพื่อไทย)โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
บทบาทที่สำคัญทางการเมือง[แก้]
นายศราวุธ เพชรพนมพร มีบทบาทสำคัญยิ่งในปี 2544-2545 ที่ได้ยื่นกระทู้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ถามไปยัง นาย วันนอร์ มูหะหมัดนอร์มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในสมัยนั้น เกี่ยวกับการเร่งแก้ไขปัญหาในการก่อสร้างถนนนิตโย ซึ่งเป็นถนนคมนาคมสายหลักของจังหวัดอุดรธานี ที่เชื่อมต่อระหว่างถนนโพธิ์ศรี(ถนนใจกลางเมือง) กับ ถนนอุดรธานี-สกลนคร (ถนนเชื่อมเส้นรอบเมือง) มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ที่กระทรวงคมนาคมในขณะนั้นก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ประชาชนที่อาศัยอยู่สองฝั่งถนนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก จนได้รับการแก้ไขและก่อสร้างแล้วเสร็จในเวลาต่อมาไม่นานภายหลังจากการอภิปรายในสภา
อ้างอิง[แก้]
- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ http://www.eppo.go.th/admin/cab/cab-2545-10-15.html เก็บถาวร 2012-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์
มติคณะรัฐมนตรี เรื่องที่27 ข้อ11 เรื่องแต่งตั้ง นายศราวุธ เพชรพนมพรเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 15 ตุลาคม 2545
สืบค้นวันที่ 25 กันนายน 2555 - ↑ http://www.bangkokbiznews.com/2006/05/08/w001_101597.php?news_id=101597 เก็บถาวร 2020-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์
กรุงเทพธุรกิจ สรุปคำวินิจฉัยตุลาการศาลรธน.ให้เลือกตั้งเป็น'โมฆะ' เมื่อ 8 พฤษภาคม 2549
สืบค้นวันที่ 25 กันนายน 2555 - ↑ http://politicalbase.in.th/index.php/พรรคเพื่อแผ่นดิน เก็บถาวร 2013-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์
ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย ลำดับที่11 นายศราวุธ เพชรพนมพร รองเลขาธิการพรรค สืบค้นวันที่ 25 กันนายน 2555 - ↑ http://www.ryt9.com/s/cabt/304137 จากเว็บไซต์
ryt9 มติคณะรัฐมนตรี ข้อ31 เรื่องแต่งตั้ง นายศราวุธ เพชรพนมพร
เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2551
สืบค้นวันที่ 25 กันนายน 2555 - ↑ ยุทธพงศ์อดีตสส.ปชป.ย้ายซบพท.พร้อมลูกเขยประชา จากเว็บไซต์TTN24 สืบค้นวันที่ 22 กันยายน 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- http://mp.parliament.go.th/map2554/person_detail.aspx?id=P5MymlwYap0SsYrtoBosgQ== เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
นายศราวุธ เพชรพนมพรเว็บไซต์รัฐสภาไทย
นายศราวุธ เพชรพนมพร เว็บไซต์พรรคเพื่อไทย
นายศราวุธ เพชรพนมพร ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2513
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดอุดรธานี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- บุคคลจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.