สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง | |
---|---|
![]() สมยศ ในปี พ.ศ. 2562 | |
นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | |
ก่อนหน้า | วรวีร์ มะกูดี |
ถัดไป | นวลพรรณ ล่ำซำ |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2561 | |
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ (รักษาราชการแทน) |
ถัดไป | พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2497 อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | พจมาน พุ่มพันธุ์ม่วง |
บุตร | พ.ต.ต. รชต พุ่มพันธุ์ม่วง ชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ประจำการ | พ.ศ. 2518–2558 |
ยศ | ![]() |
พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2497) เป็น นักการเมือง และตำรวจชาวไทยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท เซเว่น ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน), อดีตนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 17, อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 10 ของประเทศไทย และเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรกที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก, อดีตอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[1], อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[2], อดีตราชองครักษ์พิเศษ [3]
ประวัติ
[แก้]พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง มีชื่อเล่นชื่อ อ๊อด เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายสาน และนางสมบัติ พุ่มพันธุ์ม่วง[4] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนท่าเรือ "นิตยานุกูล" จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.4) เข้าเรียนที่โรงเรียนพรตพิทยพยัต เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15) ก่อนจะเข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 31 (นรต.31) จบปริญญาตรีสาขา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบปริญญาโท รัฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยปูนา จากอินเดีย จบปริญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เขามีน้องชาย 1 คน ชื่อ พลตำรวจตรี ภูมินทร์ พุ่มพันธุ์ม่วง รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
พลตำรวจเอก ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็นอดีตนายตำรวจติดตาม มนตรี พงษ์พานิช ซึ่งต่อมาได้แนะนำให้เขารู้จักกับ เนวิน ชิดชอบ จนได้รับการสนับสนุนทางการเมือง เขายังเป็นลูกน้อง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และเพื่อนร่วมงาน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เขายังมีความสัมพันธ์อันดีกับ นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ และ วิชัย ศรีวัฒนประภา[5]
ชีวิตครอบครัว สมรสกับ พจมาน พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตนายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ มีบุตรด้วยกัน 2 คน ได้แก่ นางสาว ชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) และ พันตำรวจตรี รชต พุ่มพันธุ์ม่วง สารวัตรปฎิบัติงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานกำลังพล[6]
ราชการตำรวจ
[แก้]พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รับราชการตำรวจครั้งแรก ในตำแหน่ง รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในกรมตำรวจดังต่อไปนี้
- 16 ธันวาคม พ.ศ. 2532 - รองผู้กำกับการ (ทำหน้าที่นายตำรวจปฏิบัติราชการพิเศษ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน) สำนักงานกำลังพล
- 1 มีนาคม พ.ศ. 2538 - ผู้กำกับการกองวิชาการ
- 25 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - รองผู้บังคับการชุดตรวจงานอำนวยการ ส่วนตรวจราชการ 1 สำนักงานจเรตำรวจ
- 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 - รองผู้บังคับการ กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 - รองผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมือง 1
- 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - ผู้บังคับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - ผู้บังคับการ กองแผนงาน 2
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 - ผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานแผนงานและงบประมาณ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 - ผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - รองจเรตำรวจแห่งชาติ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ประสานงานสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย)
- 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสืบสวน)
- 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - จเรตำรวจแห่งชาติ (สบ 8)
- 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 - ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ในส่วนของภาคสังคม เป็นอดีตกรรมการองค์กรสวนสัตว์ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนท่าเรือ นิตยานุกูล[7]
คดีพันธมิตรฯ
[แก้]พลตำรวจเอกสมยศ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบุกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาได้ยื่นขอลาออกจากการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ชายชุดดำ
[แก้]วันที่ 11 กันยายน 2557 เขานำแถลงข่าวตำรวจจับกุมกลุ่มคนชุดดำที่ก่อเหตุใช้อาวุธสงครามระหว่างการชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 10 เมษายน 2553 จำนวน 5 คน และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของพลเอก ร่มเกล้า ธุวธรรม ผู้ต้องหารับสารภาพ และว่ายังมีผู้ต้องหาหลบหนีอีก 2 คน พลตำรวจเอกสมยศว่า "ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มีคำถามจากสังคมมาโดยตลอดว่าชายชุดดำมีจริงหรือไม่ วันนี้ก็ชัดเจนแล้วว่ามีจริง" ต่อมา วันที่ 14 ตุลาคม 2557 ผู้ต้องหา 5 คนกลับคำรับสารภาพ ระบุว่าถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายอย่างต่อเนื่อง และทนต่อการถูกทำร้ายร่างกายไม่ไหวจึงยอมรับสารภาพ[8]
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
[แก้]วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ที่กองบัญชาการกองทัพบก คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ได้ประชุมเพื่อแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่ง พล.ต.อ.ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.สมยศ เพียงคนเดียวซึ่งคณะกรรมการ ก.ต.ช. ก็ลงมติเลือก พล.ต.อ.สมยศ เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นับเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 10 ของประเทศไทย
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557 พลตำรวจเอกสมยศได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 122/2557
วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลตำรวจเอกสมยศเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่[9] โดยเริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรกที่จบการศึกษาปริญญาเอก
ในปี พ.ศ. 2561 เขากล่าวตอนหนึ่งว่า อาชีพตำรวจนี่ถือว่าเป็นไซด์ไลน์ อาชีพหลัก ๆ ผมคือทำธุรกิจหรือเป็นนักลงทุนในหุ้น และได้คบหาเป็นเพื่อนกับ กำพล วิริยะเทพสุกรณ์ ผู้กระทำผิดกฎหมายค้ามนุษย์ โดยเคยยืมเงินกว่า 300 ล้านบาท[10]
นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ
[แก้]เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้มีการเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คนที่ 17 ปรากฏว่า พลตำรวจเอกสมยศ ซึ่งมีเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ให้การสนับสนุน ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ด้วยคะแนนทั้งสิ้น 62 เสียง จากทั้งหมด 72 เสียง เอาชนะชาญวิทย์ ผลชีวิน คู่แข่งคนสำคัญที่ได้เพียง 4 เสียง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2545 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ
- ↑ ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ
- ↑ ราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ชีวประวัติ สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
- ↑ คอนเนกชั่นลึก 'พล.ต.อ.สมยศ'ร่วมหุ้นธุรกิจกลุ่ม'วิไลลักษณ์'ผู้บริจาคเงิน'เพื่อไทย'
- ↑ 64 ลูกชาย ‘สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง’ ขึ้นสารวัตร
- ↑ "ฐานข้อมูลประวัติการทำงาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-17. สืบค้นเมื่อ 2014-08-21.
- ↑ เป็นเรื่อง! "ชุดดำพลิกลิ้น" แฉถูกซ้อมให้รับสารภาพ ทนายโร่ร้องขอความเป็นธรรม
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ เล่ม ๑๓๑ ตอน ๑๘๓ หน้า ๒ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
- ↑ คำต่อคำ 'สมยศ' แจงปมยืมเงินเสี่ยกำพล300ล. เรื่องหุ้นผมนิยมมาก อาชีพตำรวจแค่ไซด์ไลน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๗ เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๒๐ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข, ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2020-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า ๑๗๕ เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข, ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
ก่อนหน้า | สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วรวีร์ มะกูดี | ![]() |
นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2567) |
![]() |
นวลพรรณ ล่ำซำ |
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ |
![]() |
![]() ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558) |
![]() |
พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- ตำรวจชาวไทย
- บุคคลจากอำเภอท่าเรือ
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- อธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา