ประมวล เอมเปีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประมวล เอมเปีย
ประมวล ใน พ.ศ. 2555
หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าไตรเทพ รัตนาจารย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มีนาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2546-2561)
ภูมิใจไทย (2561-2563)
เพื่อแผ่นดิน (2563-2565)
เศรษฐกิจไทย(2565)
พลังประชารัฐ (2566-ปัจจุบัน)

ประมวล เอมเปีย เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ในปี 2550 เป็นอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน[1]

ประวัติ[แก้]

ประมวล เอมเปีย เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดโบสถ์ โรงเรียนวัดโคกเพลาะ จังหวัดชลบุรี ชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต สาขากฎหมาย จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเคยเข้าศึกษาที่วิทยาลัยเคนซิงตัน ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สาขากฎหมายธุรกิจและการตลาด และมหาวิทยาลัยมอร์เลย์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สาขาบริหารธุรกิจ

งานการเมือง[แก้]

ประมวล เอมเปีย เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ส.โพธิพงษ์ ล่ำซำ และเป็นผู้ช่วย ส.ส.คณิน บุญสุวรรณ เขาเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดชลบุรี (ส.จ.) ในระหว่างปี 2533-2535 ต่อมาเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 ได้รับคะแนน 37,588 คะแนน เป็นลำดับที่ 4 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี

ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี (ส.ส.) ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขตเลือกตั้งที่ 1 ร่วมกับ บรรจบ รุ่งโรจน์ และ มานิตย์ ภาวสุทธิ์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ทั้ง 3 คน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ รณเทพ อนุวัฒน์ จากพรรคพลังชล

จากนั้นเขาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีแต่แพ้ให้กับนายวิทยา คุณปลื้ม อย่างขาดลอย[2]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ รณเทพ อนุวัฒน์ จากพรรคพลังประชารัฐ

หลังการเลือกตั้ง เขาได้ย้ายไปร่วมงานและรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563[3][4] ต่อมาในปี 2565 เขาย้ายไปร่วมงานกับพรรคเศรษฐกิจไทย ของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า[5]และได้รับตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคในการดูแลพื้นที่ภาคตะวันออก

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ.2566 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ อนันต์ ปรีดาสุทธิจิตต์ จากพรรคเพื่อไทย

ต่อในปี 2567 เขาได้รับการแต่งตั้ง กรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนกระทรวงเกษตร์และสหกรณ์ โดยมี ดร.วิชิต ปลั่งศรีสกุล เป็นประธานยุทธศาสตร์ ของกระทรวงเกษตร์และสหกรณ์

นายประมวล ได้รับฉายาจากสื่อมวลในจังหวัดชลบุรีว่า "นักสู้คลองหลวง"[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กลิ่นเลือกตั้งใหม่โชย! “หน.เพื่อแผ่นดิน” เผยสัญญาณพรรคแกนนำรัฐบาลเดินสายหาเสียง
  2. ""วิทยา" คว่ำ "ประมวล" ขาดลอย นั่งแท่นเก้าอี้นายก อบจ.ชลบุรีต่ออีกสมัย". mgronline.com. 2012-07-08.
  3. “ประมวล เอมเปีย ”นั่ง หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินคนใหม่
  4. หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินบ่นอุบบัตร 2 ใบ ไพรมารีโหวต ทำพรรคเล็กตายทั้งแถบ
  5. ผงาด "ธรรมนัส" ขึ้นหัวหน้าพรรคศท. "ไผ่ ลิกค์" นั่ง เลขาธิการฯ
  6. หลังฉากการเมือง “นักสู้คลองหลวง” “ประมวล เอมเปีย”เรียบง่าย ติดดิน เตรียมพื้นที่สร้างศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒