วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
ปลัดกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2555 – 30 กันยายน 2556
ก่อนหน้าศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ
ถัดไปสมชัย ศิริวัฒนโชค
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2555
ก่อนหน้าถวิล เปลี่ยนศรี
ถัดไปภราดร พัฒนถาบุตร
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
2 กันยายน 2553 – 14 ตุลาคม 2554
ก่อนหน้าพัชรวาท วงษ์สุวรรณ
ถัดไปเพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
วิเชียร โพธิ์ศรี

14 มีนาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
คู่สมรสกิ่งดาว พจน์โพธิ์ศรี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ยศ พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (ก.พ.ค.ตร.) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำและอดีตราชองครักษ์พิเศษ [1]

ประวัติ[แก้]

พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2496 ที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โดยเป็นบุตรของนายพจน์ และนางหนูเกตุ โพธิ์ศรี จบการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 28 ปริญญาโท จาก 3 สถาบัน คือ คณะพัฒนบริหารศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท ด้านกฎหมายเศรษฐกิจ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังจบหลักสูตร F.B.I. รุ่น 159, หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 388 และหลักสูตรบริหารงานตำรวจ จากประเทศอังกฤษอีกด้วย[2] และต่อมายังได้ก่อตั้งเครือข่ายของ F.B.I. ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่า F.B.I.N.A. แห่งประเทศไทย โดยถือเป็นสมาคมนักเรียนเก่าของ F.B.I. สถาบันแรกในโลกที่ก่อตั้งขึ้นนอกพื้นที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย[3]

พล.ต.อ.วิเชียร ได้รับการติดยศ พลตำรวจเอก (พล.ต.อ.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ในตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (นรป.) ซึ่งถือว่าครองยศ พล.ต.อ. ก่อนรอง ผบ.ตร. และผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าคนอื่น ๆ ในรุ่นราวคราวเดียวกัน ต่อมา พล.ต.อ.วิเชียร ถูกโยกมาดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ตร. ฝ่ายความมั่นคง และรับผิดชอบงานด้านรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง (ศรส.ลต.ตร.) ตลอดจนงานดูแลความสงบในการชุมนุมทางการเมือง ซึ่ง พล.ต.อ.วิเชียร มีผลงานในเรื่องการควบคุมสถานการณ์ในวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้อย่างดีเยี่ยมจนได้รับการยกย่อง

ชื่อของ พล.ต.อ.วิเชียร เป็นที่สนใจของสาธารณชนเมื่อได้รับคำสั่งจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแทน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ 2 ครั้ง ซึ่งลาพักราชการตามคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 จนถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และอีกครั้งในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552 จนถึงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยก่อนหน้านั้น พล.ต.อ.วิเชียรดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา (สบ 10) รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วิเชียรได้เข้าดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการการตำรวจแห่งชาติ เพื่อคลี่คลายวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่รุมเร้าเนื่องจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ถูกสังคมบางส่วนเพ่งเล็งว่าเป็น "ตอ" ทำให้คดีลอบยิงนายสนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์และสื่อในเครือผู้จัดการ ไม่มีความคืบหน้า พล.ต.อ.วิเชียร มีนามสกุลเดิมว่า "โพธิ์ศรี" แต่ได้นำชื่อของบิดามาเพิ่มต่อหน้านามสกุล[4] มีชื่อเล่นว่า "น้อย" ขณะที่เพื่อน ๆ จะเรียกกันว่า "นายน้อย"[5] สมรสกับนางกิ่งดาว พจน์โพธิ์ศรี โดยถือเป็นคู่เขยกับ พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา อดีตอธิบดีกรมตำรวจ[6] มีบุตรชาย 2 คน และ บุตรสาว 2 คน คือ นางสาวชื่นสุข พจน์โพธิ์ศรี, นางสาวพัชรเพ็ญ พจน์โพธิ์ศรี, ร.ต.อ.ธนชัย พจน์โพธิ์ศรี และ นายกมลพัฒน์ พจน์โพธิ์ศรี

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • รอง สว.ผ. 5 กก.สส.น.
  • รอง สว.ผ. ศึกษาอบรม กก.นผ.บก.อก.บช.น.
  • รอง สว.ผ.1 กก.สส.น. พระนครใต้
  • ผู้ช่วยนายเวรอธิบดีกรมตำรวจ
  • นายตำรวจราชสำนักประจำ
  • ผู้กำกับการนายตำรวจราชสำนักประจำ
  • รองผู้บังคับการนายตำรวจราชสำนักประจำ
  • ผู้ช่วยหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ
  • ผู้ช่วยหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ
  • รองหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (เทียบเท่ารองผู้บัญชาการ)
  • รองหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (เทียบเท่าผู้บัญชาการ)
  • รองหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (สบ 10) (เทียบเท่าผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)
  • หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (เทียบเท่ารองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) (พ้น 25 กันยายน พ.ศ. 2549)
  • ประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ปฏิบัติหน้าที่ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายความมั่นคง)
  • ที่ปรึกษา (สบ 10) และ รักษาการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  • ปลัดกระทรวงคมนาคม

การดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำที่สำคัญ[แก้]

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[แก้]

ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (กตช.) ได้มีมติเห็นชอบตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ด้วยมติเอกฉันท์ 9:0 หลังจากที่ตำแหน่งนี้ว่างเว้นมายาวนานเกือบหนึ่งปี[7] ซึ่งมีพลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทนกว่า 336 วัน

จากนั้นในวันที่ 6 กันยายน ปีเดียวกัน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอย่างเป็นทางการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน ปีเดียวกัน[8]

ข้าราชการพลเรือนสามัญ[แก้]

จากนั้นพลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ได้รับตำแหน่งจากนั้นได้รับตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในปี 2554 และปลัดกระทรวงคมนาคม ในปี 2555 จนเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2554 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์หยาง มูเลีย เซเตีย มาห์โกตา มาเลเซีย ชั้นที่ 2[15]
    • พ.ศ. 2555 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาลาวานัน ปาสุกานต์ โปลิส ชั้นที่ 1[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ
  2. เปิดประวัติ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. รักษาการฯ
  3. พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ‘ผมเป็นนักประสาน’ [ลิงก์เสีย]
  4. รายการเช้าข่าวข้น คนข่าวเช้าทางช่อง 9 : วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  5. ข่าวภาคค่ำ ช่อง 9 วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  6. รายการเช้าวันใหม่ ทางช่อง 3 : วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553
  7. มติเอกฉันท์9/0ดัน วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี นั่งผบ.ตร.คนใหม่[ลิงก์เสีย]จากเนชั่นแชนแนล
  8. โปรดเกล้าฯตั้ง วิเชียร เป็นผบ.ตร.แล้ว[ลิงก์เสีย] จากเดลินิวส์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๑๘ สิงหาคม ๒๕๒๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๙, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
  15. SENARAI PENERIMA DARJAH KEBESARAN PERSEKUTUAN TAHUN 2011 SEMPENA SAMBUTAN ULANG TAHUN HARI KEPUTERAAN RASMI SERI PADUKA BAGINDA YANG DI-PERTUAN AGONG
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 129 ตอนที่ 18 ข หน้า 5, 24 พฤษภาคม 2555
ก่อนหน้า วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ถัดไป
พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(2 กันยายน พ.ศ. 2553 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554)
พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์