พจน์ เภกะนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พจน์ เภกะนันทน์
ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว.
รักษาราชการแทน อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2517 – 30 มีนาคม 2518
ก่อนหน้า พลตำรวจเอกประจวบ สุนทรางกูร
ถัดไป ตนเอง
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม – 30 กันยายน 2518
(0 ปี 184 วัน)
ก่อนหน้า พลตำรวจเอกประจวบ สุนทรางกูร
ถัดไป พลตำรวจเอกศรีสุข มหินทรเทพ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457
จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศสยาม
เสียชีวิต 14 มิถุนายน พ.ศ. 2536 (78 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บิดา อำมาตย์โท พระวุฒิศาสตร์วินิจฉัย (ชิต เภกะนันทน์)
มารดา พริ้ง เภกะนันทน์
คู่สมรส ม.ร.ว.สมปอง เภกะนันทน์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ RTP OF-9 (Police General).svg พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก [1] พจน์ เภกะนันทน์ (26 พฤศจิกายน 2457 - 14 มิถุนายน 2536) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตสมาชิกวุฒิสภา

ประวัติ[แก้]

พลตำรวจเอกพจน์ (นามเดิม ฟอร์ด เภกะนันทน์) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 ที่ตำบลประตูชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรชายของอำมาตย์โท พระวุฒิศาสตร์วินิจฉัย (ชิต เภกะนันทน์) และนางหลง หรือ จรูญ (สกุลเดิม ภู่นุภาพ)[2] สมรสกับ ม.ร.ว.สมปอง เกษมสันต์ ธิดาใน หม่อมเจ้า สมบูรณ์ศักดิ์ และ หม่อมระรวย เกษมสันต์ (สกุลเดิม วัชราภัย) โดยที่พล.ต.อ.พจน์ มีบุตร-ธิดา 5 คน

พลตำรวจเอกพจน์ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2536 เวลา 1:15 น. สิริอายุได้ 79 ปี

รับราชการ[แก้]

พลตำรวจเอกพจน์เคยรับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางก่อนจะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ สืบต่อจากพลตำรวจเอก ประจวบ สุนทรางกูร ในปี 2517 ก่อนจะเกษียณอายุราชการในปี 2518

ยศ[แก้]

  • 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 - ร้อยตำรวจโท[3]
  • 27 สิงหาคม พ.ศ. 2486 - ร้อยตำรวจเอก[4]
  • 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 - พันตำรวจตรี[5]
  • 29 กันยายน พ.ศ. 2495 - พันตำรวจโท[6]
  • 4 ตุลาคม พ.ศ. 2497 - พันตำรวจเอก[7]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2503 - พลตำรวจตรี[8]

งานการเมือง[แก้]

วันที่ 4 สิงหาคม 2511 พลตำรวจเอกพจน์ขณะดำรงตำแหน่งพลตำรวจโทได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในสมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ เล่ม 92 ตอน 81 ง หน้า 1078 22 เมษายน พ.ศ. 2518
  2. อนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจเอก พจน์ เภกะนันทน์, 2537
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๒๗๒)
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๘๓๘)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓๖๖๔)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓๔๙๖)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๒๓๕)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๑, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๙๙, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๔, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พจน์ เภกะนันทน์ ถัดไป
พลตำรวจเอก ประจวบ สุนทรางกูร 2leftarrow.png Emblem of Royal Thai Police.png
อธิบดีกรมตำรวจ
(พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518)
2rightarrow.png พลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ