วาสนา เพิ่มลาภ
พลตำรวจเอก วาสนา เพิ่มลาก | |
---|---|
ประธานกรรมการการเลือกตั้ง | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ธันวาคม พ.ศ. 2545 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 | |
ก่อนหน้า | พลเอกศิรินทร์ ธูปกล่ำ |
ถัดไป | อภิชาต สุขัคคานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 (79 ปี) จังหวัดจันทบุรี |
ศาสนา | พุทธ |
พลตำรวจเอก วาสนา เพิ่มลาภ อดีตประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)[1]
ประวัติ[แก้]
วาสนา เพิ่มลาภ เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 อาศัยอยู่ที่บ้านพักย่านถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท จากด้านพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทำงาน[แก้]
วาสนา เพิ่มลาภ เคยรับราชการตำรวจโดยมีตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และเป็นผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ต่อมาจึงได้โอนมารับตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.)
หลังจากนั้นได้เข้ารับตำแหน่งเป็นกรรมการการเลือกตั้ง และเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง แทน พลเอก ศิรินทร์ ธูปกล่ำ ซึ่งถูกถอดออกจากตำแหน่งเนื่องจากได้รับการสรรหามาผิดวิธีปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2545 จนกระทั่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากศาลอาญามีคำพิพากษาให้ตัดสิทธิการเลือกตั้ง
คดีความ[แก้]
กรณีจัดการเลือกตั้ง[แก้]
ศาลอาญา มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ให้ตัดสิทธิการเลือกตั้ง พล.ต.อ.วาสนา พร้อมกับวีระชัย แนวบุญเนียร และปริญญา นาคฉัตรีย์ เป็นเวลา 10 ปี และให้จำคุกเป็นเวลา 4 ปี ในคดีที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ฟ้องในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งปี 2541 มาตรา 24, 42 ประกอบ ป.อาญามาตรา 83 (ร่วมกันทำผิด)[2] ต่อมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น[3] แต่ในวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ศาลฎีกาพิพากษากลับ เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่มีอำนาจในการฟ้อง จึงมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง
ภายหลังต้องคำพิพากษา พล.ต.อ.วาสนา ได้หันไปประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่จังหวัดจันทบุรี[4] บ้านเกิด
กรณีที่ไม่เร่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงการว่าจ้างพรรคเล็ก[แก้]
ศาลฎีกา มีคำพิพากษาในการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นโจทย์ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.วาสนา นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร (เสียชีวิต) ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และพระราชบัญญัติคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 24 และ 42 กรณีที่ไม่เร่งสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ข้อร้องเรียนกล่าวหาพรรคไทยรักไทย ว่าจ้างพรรคแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย ลงรับสมัครเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. 2549 โดยพลันตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการวินิจฉัย พ.ศ. 2542 มาตรา 37, 48 โดยให้จำคุก 2 ปี[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2544 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานกรรมการการเลือกตั้ง
- ↑ เพิกถอนสิทธิ์ 10 ปี 3 กกต.จบ จำคุกอีกคนละ 4 ปี
- ↑ ศาลอุทธรณ์สั่งคุก 3 หนา 4 ปี ทำชาติแตกแยกใหญ่หลวง!
- ↑ เปิดใจ"วาสนา เพิ่มลาภ"อดีตประธาน กกต. พูดถึง พี่ชวน น้องทักษิณ และชีวิตที่เหมือนอยู่รอวัน....
- ↑ คุมตัว “วาสนา-ปริญญา” เข้าเรือนจำ ศาลฎีกายืนจำคุกคนละ 2 ปี ถ่วงคดี ทรท.จ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้งปี 49
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)
ก่อนหน้า | วาสนา เพิ่มลาภ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก ศิรินทร์ ธูปกล่ำ | ![]() |
ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (22 ธันวาคม พ.ศ. 2545 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) |
![]() |
อภิชาต สุขัคคานนท์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2484
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- กรรมการการเลือกตั้งไทย
- ตำรวจชาวไทย
- บุคคลจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
- เกษตรกรชาวไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์