ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Paibenz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
| death_place =
| death_place =
| party = [[พรรคชาติไทย|ชาติไทย]] (2529 - 2551)
| party = [[พรรคชาติไทย|ชาติไทย]] (2529 - 2551)
| spouse =
| spouse = รวีวรรณ ปริศนานันทกุล
| religion = [[พุทธ]]
| religion = [[พุทธ]]
| signature =
| signature =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:24, 14 พฤษภาคม 2558

สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
ไฟล์:Somsak-pidsana040948.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไปธีระ วงศ์สมุทร
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าปัญจะ เกสรทอง
ถัดไปศ.นพ.เกษม วัฒนชัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 เมษายน พ.ศ. 2494 (72 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2529 - 2551)
คู่สมรสรวีวรรณ ปริศนานันทกุล

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล (27 เมษายน 2494 - ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และอดีต ส.ส.อ่างทอง หลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร

ประวัติ

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล มีชื่อเล่นว่า "หมู" จึงมักถูกเรียกว่า ตือ หรือ เสี่ยตือ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นหนึ่งในนักศึกษาที่เดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยด้วย จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ธนบุรี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายสมศักดิ์ มีทายาทเข้าสู่วงการเมือง 3 คน คือ นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา และ นายภคิน ปริศนานันทกุล อดีต ส.ส.อ่างทอง

การเมือง

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอ่างทอง 9 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เคยดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2538 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2540 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2542

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล มีบทบาทโดดเด่นจากการทำหน้าที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าทำหน้าที่ได้อย่างดี เป็นธรรม เป็นกลางแก่ทุกฝ่ายมติสื่มวลชนสายรัฐสภา ให้ฉายาว่า "คนดีศรีสภา" ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 นายสมศักดิ์ ได้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[1]

ในปี พ.ศ. 2551 นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[2] ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค แต่นายสมศักดิ์ ก็ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุม ส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[3]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 3[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ถัดไป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(24 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
นายวราเทพ รัตนากร
ปัญจะ เกสรทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 53)
(9 กรกฎาคม พ.ศ.25429 พฤศจิกายน พ.ศ.2543)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย