กรวีร์ ปริศนานันทกุล
กรวีร์ ปริศนานันทกุล ป.ช., ป.ม. | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง |
พรรค | ชาติไทยพัฒนา (2554–2561) ภูมิใจไทย (2561–ปัจจุบัน) |
กรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] สังกัดพรรคภูมิใจไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตเลขาธิการสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นบุตรชายของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ปัจจุบันเป็นประธานบริษัท ลีกภูมิภาค จำกัด และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยลีก จำกัด
กรวีร์ เคยเข้าร่วมแข่งขันในรายการอัจฉริยะข้ามคืน และเป็นผู้ชนะล้านที่ 9 ของรายการ เมื่อปี พ.ศ. 2549
ประวัติ[แก้]
กรวีร์ ปริศนานันทกุล (ชื่อเล่น : แชมป์) เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525[2] ที่จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรี กับนางรวีวรรณ ปริศนานันทกุล (สกุลเดิม : ฉัตรบริรักษ์) จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เคยเป็นประธานนักเรียนรุ่น 118 และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเขาเคยเป็นนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3] และเคยเป็นประธานเชียร์งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 61 ต่อมาเขาได้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท สาขา International Marketing จาก Malardalen University ประเทศสวีเดน และเข้ารับการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การทำงาน[แก้]
การเมือง[แก้]
กรวีร์ ปริศนานันทกุล เคยทำงานการเมืองท้องถิ่นในตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึงปี พ.ศ. 2554 ต่อมาจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562
กีฬา[แก้]
แวดวงฟุตบอล ในปี พ.ศ. 2559 ได้รับเลือกเป็นสภากรรมการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และยังได้ทำหน้าที่ ผู้ดูแลฟุตบอลระดับ T3/T4 ลีกภูมิภาค รวมถึงการได้เป็น ผู้ควบคุมการแข่งขันฟุตบอลของเอเอฟซีและฟีฟ่า [4]
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ต่อมาเขาลาออกจากตำแหน่งในขณะรักษาการหลังจากหมดวาระ เนื่องจากเกรงว่าจะขัดต่อระเบียบกฎหมาย ป.ป.ช.[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2555 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายกรวีร์ ปริศนานันทกุล[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""พิมพ์นิยม"นักการเมือง "ลูกไม้"หล่นไกลต้น ?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-10.
- ↑ "เจาะลึกคนเบื้องหลัง : 'แมตช์ คอมมิชชันเนอร์' เขาคือใคร?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-11. สืบค้นเมื่อ 2020-09-15.
- ↑ "กรวีร์" ลาออกจากเลขาธิการสมาคมฟุตบอลฯ หวั่นขัดระเบียบ ป.ป.ช.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2525
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอป่าโมก
- สกุลปริศนานันทกุล
- สกุลฉัตรบริรักษ์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นายกองค์การนักศึกษาในประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.