ข้ามไปเนื้อหา

กรุงเทพมหานคร

พิกัด: 13°45′09″N 100°29′39″E / 13.75250°N 100.49417°E / 13.75250; 100.49417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bangkok)
กรุงเทพมหานคร

บางกอก
บนลงล่างและซ้ายไปขวา: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม, แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงเขตคลองสานและเขตบางรัก, พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง, เสาชิงช้า, ถนนอโศกมนตรีในเขตวัฒนา, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และ วัดอรุณราชวรารามยามค่ำคืน
ธงของกรุงเทพมหานคร
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของกรุงเทพมหานคร
ตรา
คำขวัญ: 
กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย[1]
แผนที่ประเทศไทยเน้นกรุงเทพมหานคร
แผนที่ประเทศไทยเน้นกรุงเทพมหานคร
พิกัด: 13°45′09″N 100°29′39″E / 13.75250°N 100.49417°E / 13.75250; 100.49417[2]
ประเทศ ไทย
ภูมิภาคภาคกลาง
ก่อตั้ง21 เมษายน พ.ศ. 2325; 242 ปีก่อน (2325-04-21)
ยกเป็นจังหวัดพ.ศ. 2408; ข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมีข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมี (2408) (เทศบาลนครหลวงกรุงเทพมหานคร)
พ.ศ. 2528; ข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมีข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมี (2528) (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ)
จัดระเบียบเป็นนคร14 ธันวาคม พ.ศ. 2515; 51 ปีก่อน (2515-12-14)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ศาลาว่าการศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แห่งที่1 (เสาชิงช้า) เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แห่งที่2 (ดินแดง) ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
การปกครอง
 • องค์กรกรุงเทพมหานคร
 • ผู้ว่าราชการรศ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
 • ปลัดพญ.วันทนีย์ วัฒนะ
พื้นที่
 • เมืองหลวงและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ1,568.737 ตร.กม. (605.693 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล7,761.6 ตร.กม. (2,996.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)
 • เมืองหลวงและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ10,820,921 ประชากรกรุงเทพอย่างเดียว 5,471,588 คน
 • รวมปริมณฑล15,624,700 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล2,000 คน/ตร.กม. (5,200 คน/ตร.ไมล์)
ดัชนีการพัฒนามนุษย์
 • HDI (พ.ศ. 2562)0.814 (สูงมาก) [3]
เขตเวลาUTC+7 (ไทย)
รหัสไปรษณีย์10###
รหัสพื้นที่02
เว็บไซต์main.bangkok.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่ออีกอย่างว่า กรุงเทพ (อังกฤษ: Bangkok) เป็นเมืองหลวง นครและมหานครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรราว 8 ล้านคน

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกใน พ.ศ. 2563[4] มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายในหลายรูปแบบทั้งด้านศาสนา ด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น พระบรมมหาราชวัง ด้านการจับจ่ายซื้อของ ศูนย์การค้าต่าง ๆ หรือสถานบริการกลางคืน เช่น สยามสแควร์ ถนนข้าวสาร ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างมากมาย โดยใน พ.ศ. 2562 ฟอบส์ ได้จัดอันดับให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นลำดับที่ 1 ของโลก โดยมีนักเดินทางเข้ามากว่า 22.78 ล้านคนและทำรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 2,003 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากเป็นลำดับที่ 3 ของโลก รองจากดูไบและมักกะฮ์ตามลำดับ[5]

กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่า "กรุงเทพมหานคร" นั้นยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย มีโครงสร้างประกอบด้วยสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมามีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง 2 แห่งคือ กรุงธนบุรี ใน พ.ศ. 2311 และกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2325 กรุงเทพมหานครเป็นหัวใจของการทำให้ประเทศสยามทันสมัยและเป็นเวทีกลางของการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 นครเติบโตอย่างรวดเร็วและปัจจุบันมีผลกระทบสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บรรษัทข้ามชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นกำลังหลักทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศและกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชั่น และการบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครขาดการวางผังเมือง ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนบุคคลอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดมากตลอดเวลา

ประวัติ

[แก้]
แผนที่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ใน Du Royaume de Siam ของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์

พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[6] มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง[6]

ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก[6][7]

ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313[6] ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า "ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก" จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา[6]

พระองค์มีพระบรมราชโองการให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 9 บาท (54 นาที) ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 น.[6] และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325[8]

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น จังหวัดพระนคร[9]

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น ทรงดำริให้ตัดถนนเจริญกรุง เป็นถนนเส้นแรกในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404[10] และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคามสยามประเทศ ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น[11]

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี[12] และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ[13] หรือชื่อเรียกชื่อย่อเป็น กทม.

ใน พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครได้รับการประกาศจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นเมืองหนังสือโลก (World Book Capital) ประจำปี พ.ศ. 2556[14] กรุงเทพมหานครติดอันดับที่ 102 เมืองน่าอยู่ของโลก จัดอันดับโดย The Economist Intelligence Unit[15]

ชื่อ

[แก้]

"กรุงเทพมหานคร" มีชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์[16] มีความหมายว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้"[17] โดยสามารถสังเกตได้ว่าการตั้งชื่อเมืองของกรุงเทพมหานคร เป็นการพระราชทานนามโดยพระราชนิพนธ์ และเป็นลักษณะการประพันธ์แบบร่าย

โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ ข้างต้น[17]

ราชบัณฑิตยสภาระบุว่าชื่อภาษาอังกฤษของกรุงเทพมหานครสามารถเขียนได้ 2 คำ คือ "Krung Thep Maha Nakhon" และ "Bangkok"[18] ซึ่งคำว่า "Bangkok" มาจากการทัพศัพท์คำว่าบางกอกเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ ลามาร์ (De Lamar) ได้ก่อสร้างป้อมบางกอก ซึ่งเป็นป้อมดาวขนาดใหญ่[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันถูกแปรรูปเป็นโรงเรียนราชินี, มิวเซียมสยาม และบางส่วนของวัดโพธิ์ และปัจจุบันชาวต่างชาติยังคงใช้ชื่อนี้เป็นชื่อเรียกชื่อเมือง

กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก แปลความเป็นภาษาอังกฤษว่า "City of angels, great city of immortals, magnificent city of the nine gems, seat of the king, city of royal palaces, home of gods incarnate, erected by Visvakarman at Indra's behest."[16]

ชื่อเต็มของกรุงเทพมหานคร เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ "Krungthepmahanakhon Amonrattanakosin Mahintharayutthaya Mahadilokphop Noppharatratchathaniburirom Udomratchaniwetmahasathan Amonphimanawatansathit Sakkathattiyawitsanukamprasit"[16] ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุดในโลกและได้จดบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊ค[19] (169 ตัวอักษร)

ภูมิศาสตร์

[แก้]

อาณาเขตติดต่อ

[แก้]
กรุงเทพมหานครจากภาพถ่ายดาวเทียม

กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตทางบกติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอาณาเขตทางทะเลอ่าวไทยตอนใน ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้

ภูมิประเทศ

[แก้]
แผนที่แสดงความหนาแน่นประชากรของกรุงเทพมหานคร และเขตระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ต่ำกว่า 10 เมตร จะเห็นได้ว่ากรุงเทพมหานครมีความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล

กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,568.7 ตร.กม. หากเป็นจังหวัด จะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 68 ของไทย เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 73 ของโลก[20] และเป็นเมืองหลวงที่มีพื้นที่กว้างเป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[21] ด้วยมีแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งทอดตัวยาว 372 กม. พาดผ่านพื้นที่ ทำให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่ส่วนมากในกรุงเทพมหานครเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่บนพื้นที่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งเกิดจากตะกอนน้ำพา มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1.50-2 ม. โดยมีความลาดเอียงจากทิศเหนือสู่อ่าวไทยทางทิศใต้ และเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1.50 เมตร ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้งในช่วงฤดูมรสุม

ภูมิอากาศ

[แก้]

กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศร้อนแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามเกณฑ์การแบ่งภูมิอากาศโลกของวลาดีมีร์ เคิปเปิน[22] คืออุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส มีอย่างน้อย 1 เดือนที่ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร และเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุดจะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 100 ลบปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี หารด้วย 25 [ต้องการอ้างอิง]

อากาศของกรุงเทพมหานครได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (กลางเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม) ซึ่งพัดพาความชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมายังผืนแผ่นดิน ส่งผลให้มีฝนฟ้าคะนองในช่วงบ่ายถึงค่ำอย่างสม่ำเสมอ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือนพฤศจิกายน - กลางเดือนกุมภาพันธ์) ทำให้ฝนตกน้อยลง เมื่อซีกโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ บริเวณความกดอากาศสูงจากจีนจะแผ่ลงมา มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดเอาความแห้งแล้งและหนาวเย็นมาทำให้อากาศเย็นและแห้ง ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆและฝนตกน้อย ครึ่งหลังของเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะอ่อนกำลังลง เป็นการเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศจะร้อนขึ้นเรื่อย ๆ กระแสลมในช่วงนี้จะพัดมาจากทางใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่าลมตะเภา[23]

ในวันที่ 27 หรือ 28 เมษายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์จะส่องตั้งฉากกับกรุงเทพมหานครพอดี ทำให้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่และมักคาดการณ์กันว่าเป็นวันที่อากาศร้อนที่สุดของปี[24] อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 40.8 องศาเซลเซียส ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2526[25] ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้คือ 9.9 องศาเซลเซียส ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2498[26]

ข้อมูลภูมิอากาศของกรุงเทพมหานคร (2524–2553)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 37.6
(99.7)
38.8
(101.8)
40.1
(104.2)
40.2
(104.4)
39.7
(103.5)
38.3
(100.9)
37.9
(100.2)
38.5
(101.3)
37.2
(99)
37.9
(100.2)
38.8
(101.8)
37.1
(98.8)
40.2
(104.4)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 32.5
(90.5)
33.3
(91.9)
34.3
(93.7)
35.4
(95.7)
34.4
(93.9)
33.6
(92.5)
33.2
(91.8)
32.9
(91.2)
32.8
(91)
32.6
(90.7)
32.4
(90.3)
31.7
(89.1)
33.3
(91.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 27.0
(80.6)
28.3
(82.9)
29.5
(85.1)
30.5
(86.9)
29.9
(85.8)
29.5
(85.1)
29.0
(84.2)
28.8
(83.8)
28.3
(82.9)
28.1
(82.6)
27.8
(82)
26.5
(79.7)
28.6
(83.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.6
(72.7)
24.4
(75.9)
25.9
(78.6)
26.9
(80.4)
26.3
(79.3)
26.1
(79)
25.7
(78.3)
25.5
(77.9)
25.0
(77)
24.8
(76.6)
23.9
(75)
22.0
(71.6)
24.9
(76.8)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 10.0
(50)
14.0
(57.2)
15.7
(60.3)
20.0
(68)
21.1
(70)
21.1
(70)
21.8
(71.2)
21.8
(71.2)
21.1
(70)
18.3
(64.9)
15.0
(59)
10.5
(50.9)
10
(50)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 13.3
(0.524)
20.0
(0.787)
42.1
(1.657)
91.4
(3.598)
247.7
(9.752)
157.1
(6.185)
175.1
(6.894)
219.3
(8.634)
334.3
(13.161)
292.1
(11.5)
49.5
(1.949)
6.3
(0.248)
1,648.2
(64.89)
ความชื้นร้อยละ 68 72 72 72 75 74 75 76 79 78 70 66 73
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 1.8 2.4 3.6 6.6 16.4 16.3 17.4 19.6 21.2 17.7 5.8 1.1 129.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 272.5 249.9 269.0 256.7 216.4 178.0 171.8 160.3 154.9 198.1 234.2 262.0 2,623.8
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยา,[27] ความชื้น (2524–2553): กรมชลประทาน;[28] ปริมาณน้ำฝน (2524–2553): กรมชลประทาน[29]
แหล่งที่มา 2: Pogodaiklimat.ru (สถิติสูง/ต่ำ)[30] NOAA (แสงอาทิตย์, 2504–2533)[31]

การบริหารราชการ

[แก้]
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 17 และคนปัจจุบัน

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[32] กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีสถานะเป็นนิติบุคคล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่ต้องดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน[33] โดยมีฝ่ายนิติบัญญัติ คือสภากรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการเลือกตั้งจากชาวกรุงเทพมหานครเช่นกัน ดำเนินงานร่วมด้วย ระหว่างปี 2560 ถึง 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น พบว่ากรุงเทพมหานครมีงบประมาณรวมทั้งสิ้น 4.9 แสนล้านบาท[34] โดยในปีนั้น กรุงเทพมหานครยังได้รับงบประมาณจากรัฐบาลปี 2566 อีกจำนวน 22,284 ล้านบาท[34]

กรุงเทพมหานคร มีกองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งมีที่ทำการตั้งอยู่ที่วังปารุสกวัน ปัจจุบัน พลตำรวจโท ธิติ แสงสว่าง เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเหตุอาชญากรรม งานจราจร และงานปราบปรามยาเสพติดในกรุงเทพมหานคร

เขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่แสดงเขต 50 เขตของกรุงเทพมหานคร

รายชื่อเขต 50 เขตของกรุงเทพมหานคร

  1. เขตพระนคร
  2. เขตดุสิต
  3. เขตหนองจอก
  4. เขตบางรัก
  5. เขตบางเขน
  6. เขตบางกะปิ
  7. เขตปทุมวัน
  8. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
  9. เขตพระโขนง
  10. เขตมีนบุรี
  11. เขตลาดกระบัง
  12. เขตยานนาวา
  13. เขตสัมพันธวงศ์
  14. เขตพญาไท
  15. เขตธนบุรี
  16. เขตบางกอกใหญ่
  17. เขตห้วยขวาง
  18. เขตคลองสาน
  19. เขตตลิ่งชัน
  20. เขตบางกอกน้อย
  21. เขตบางขุนเทียน
  22. เขตภาษีเจริญ
  23. เขตหนองแขม
  24. เขตราษฎร์บูรณะ
  25. เขตบางพลัด
  26. เขตดินแดง
  27. เขตบึงกุ่ม
  28. เขตสาทร
  29. เขตบางซื่อ
  30. เขตจตุจักร
  31. เขตบางคอแหลม
  32. เขตประเวศ
  33. เขตคลองเตย
  34. เขตสวนหลวง
  35. เขตจอมทอง
  36. เขตดอนเมือง
  37. เขตราชเทวี
  38. เขตลาดพร้าว
  39. เขตวัฒนา
  40. เขตบางแค
  41. เขตหลักสี่
  42. เขตสายไหม
  43. เขตคันนายาว
  44. เขตสะพานสูง
  45. เขตวังทองหลาง
  46. เขตคลองสามวา
  47. เขตบางนา
  48. เขตทวีวัฒนา
  49. เขตทุ่งครุ
  50. เขตบางบอน

ประชากรศาสตร์

[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
กรุงเทพมหานคร[35]
ปี (พ.ศ.) ประชากร
2550 5,716,248
2560 5,682,415

ปี พ.ศ. 2565 เขตคลองสามวา เป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานครแทนที่ เขตสายไหม มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 209,120 ราย

ปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นอันดับที่ 13 ของโลก[36] ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในกรุงเทพมหานครนั้นมีทั้งที่เป็นแรงงานข้ามชาติ ประชาชนจากต่างจังหวัด ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนราษฎรที่กรุงเทพมหานครจำนวนมาก

การศึกษา

[แก้]
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน

กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศ มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยในช่วงแรกตั้งอยู่ในเมืองหลวง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงแรก ๆ เพื่อผลิตบัณฑิตรองรับการเติบโตด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปัญญาชนต่าง ๆ ของประเทศล้วนมาจากการบ่มเพาะทั้งศาสตร์และศิลป์จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในระดับอุดมศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ปูรากฐานให้นักคิดมาเกือบศตวรรษ กว่าทศวรรษที่ผ่านมา แนวโน้มของการใฝ่หาการศึกษาระดับปริญญาทำให้เกิดมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนไทย กรุงเทพมหานครไม่กลายเป็นเพียงสถานที่ที่ผู้อพยพและคนต่างจังหวัดแสวงหาโอกาสในการทำงาน แต่ยังเป็นโอกาสที่จะได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514[37] เป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาเพียงแห่งเดียวในประเทศ แต่ก็มีการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ของไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในวิธีที่รัฐบาลไทยใช้จัดการกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ความต้องการในการศึกษาระดับสูงได้นำไปสู่​​การก่อตั้งมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอื่น ๆ ด้านคุณภาพและการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยในระดับโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเพียงมหาวิทยาลัยแห่งเดียวของไทยที่ติดอันดับ top 400 ของการจัดอันดับ Times Higher Education World University Ranking อีกทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเพียง 2 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ top 500 ของการจัดอันดับ QS World University Ranking


สาธารณสุข

[แก้]
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Airbus Helicopters HS-BHQ ใช้ทางการแพทย์ลำที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานดอนเมือง

ปี พ.ศ. 2567 กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลตามกฎหมาย 151 แห่งในจำนวนนี้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางทันตกรรม 3 แห่ง กรุงเทพมหานครยังมีศูนย์การแพทย์อีกหลายแห่ง ซึ่งรวมสถาบันแพทยศาสตร์ 8 แห่งจาก 15 แห่งของประเทศ โรงพยาบาลหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร เป็นระดับตติยภูมิ ซึ่งรับการส่งต่อโรคที่ต้องการวิธีรักษาที่ซับซ้อนจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลรัฐ 33 แห่ง ในจำนวนนี้สังกัดกรุงเทพมหานคร 12 แห่งสังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 1 แห่ง[38] มีโรงพยาบาลเอกชน 112 แห่ง[38] ที่มีชื่อเสียงมาก เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลระดับนานาชาติ โรงพยาบาลที่ใกล้เคียงคือ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และทั้ง 3 แห่งได้การรับรองจากคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศ[ต้องการอ้างอิง]

กรุงเทพมหานครได้แก้ปัญหาให้ประชาชนเข้าถึงระบบสาธารณสุขตามสิทธิ์สำหรับผู้ป่วยบัตรทองที่รักษาแบบประคับประคองทุกเขต แม้จะเป็นพื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียนที่เคยขาดศูนย์บริการสาธารณสุข ก็สามารถเข้าถึงได้แล้ว[39] แต่ผู้ใช้สิทธิ์ประกันสังคมและข้าราชการไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์ดังกล่าวตามนโยบายของกองทุน[40] และในบางบริเวณยังมีพื้นที่ที่เป็น "ทะเลทราย" ทางสาธารณสุข คือ ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที[41] นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังมีปัญหาเรื่องการส่งต่อผู้ป่วย โดย พญ.อภิชญา สุขประเสริฐ ได้ระบุข้อมูลอย่างน่าสนใจว่า '...กรุงเทพฯไม่มีโครงข่ายสถานพยาบาล ไม่มีลำดับชั้นการส่งต่อ ไม่มีทุติยภูมิที่มากพอ เคสในกรุงเทพฯจึงไปไหนไม่ได้ ต่างนอนกองอยู่ในห้องฉุกเฉินอย่างน่าเศร้า โดยในขณะนี้สิทธิ์ที่สิ้นหวังที่สุดคือ ข้าราชการ เพราะไร้รพ.ต้นสิทธิ์ ในขณะที่สิทธิ์ซึ่งได้เตียงเร็วที่สุด กลับเป็นบัตรทอง ซึ่งระบุต้นสิทธิ์ไว้นั่นเอง...'[42] ซึ่งมุมมองดังกล่าวสะท้อนปัญหาการส่งต่อและการเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนในกรุงเทพฯ

ด้านโรงพยาบาลรักษาสัตว์ กรุงเทพมหานครมีทั้งหมดอย่างน้อย 34 แห่ง ด้านการเสริมสร้างสาธารณสุขกรุงเทพมหานครได้มีศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน[43] ไว้บริการประชาชน

เศรษฐกิจ

[แก้]
เซ็นทรัล เอ็มบาสซี

กรุงเทพมหานครมีรายได้หลักจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม[44]โดยในอดีตที่ผ่านมารายได้นี้มีมากกว่าเงินที่รัฐบาลสนับสนุน

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศร้อยละ 25 มาจากรุงเทพมหานคร[45] ซึ่งมาจากการค้าปลีกและค้าส่งมากที่สุด ร้อยละ 24.31 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงาน ร้อยละ 21.23 อุตสาหกรรมขนส่งและอุตสาหกรรมสื่อสาร ร้อยละ 13.89 โรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 9.04

กรุงเทพมหานครยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่กลุ่มทุนข้ามชาติต้องการเข้ามาทำธุรกิจในกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ. 2529 บริษัทญี่ปุ่นต่าง ๆ ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการเคลื่อนไหวที่จะย้ายฐานการผลิตออกสู่ต่างประเทศ เป้าหมายหนึ่งคือ ที่กรุงเทพมหานคร[46]

จากการขยายธุรกิจของต่างชาติส่งผลให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก[47] ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความแออัดในกรุงเทพมหานครมากขึ้น แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ถูกยกเป็นข้อสนับสนุนและเป็นหลักฐานว่า กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานเพราะโครงสร้างประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง[48]

การคมนาคมเข้าสู่กรุงเทพมหานครมีมากกว่าจังหวัดอื่น เช่น ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง รวมถึงถนนในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนกว่า 250 สาย กรุงเทพมหานครเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง[49] ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี โครงการ 2 และ นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี

อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นปีแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครหดตัวลง ยกเว้นภาคธนาคารและภาคบริหารของรัฐ[45] และในปี พ.ศ. 2557 อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (อีไอยู) หน่วยงานวิจัยในเครือ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป รายงานการจัดอันดับ เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกประจำปี ผลปรากฏว่า กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 61[50]

ในปี พ.ศ. 2559 รายงานการศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอล (โจนส์ แลง ลาซาลล์) เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีแบรนด์ระหว่างประเทศสนใจเข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[51]

การท่องเที่ยว

[แก้]
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ พระบรมมหาราชวัง
กรุงเทพมหานครยามค่ำคืน

กรุงเทพมหานครเป็นจุดท่องเที่ยวจุดหนึ่ง โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรมหาวิหาร พระที่นั่งอนันตสมาคม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถนนสีลม สยามสแควร์ มาดามทุซโซต์ กรุงเทพ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ (เจริญกรุง)

ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า

[แก้]
ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ถ่ายจากฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

ห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในกรุงเทพมหานครเปิดใน พ.ศ. 2368 เมื่อ หลวงอาวุธวิเศษประเทศพาณิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์) ได้ขอพระบรมราชานุญาต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์พระบรมราชานุญาตให้เช่าที่ดินของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สร้างอาคารสำนักงานและโรงเก็บสินค้าคนไทยสมัยนั้นเรียกว่า ห้างหันแตร[52] ปัจจุบัน ศูนย์การค้า เป็นที่นิยมมากกว่า ห้างสรรพสินค้า ทั้งด้านการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ [ต้องการอ้างอิง] ศูนย์การค้าต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครได้สร้างรายได้ทั้งจาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้แก่กรุงเทพมหานครด้วย[44]โดยศูนย์การค้าที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมีอยู่มากมายทั่วทุกเขตของกรุงเทพมหานคร เช่น ไอคอนสยาม (เขตคลองสาน), เซ็นทรัลเวิลด์ (เขตปทุมวัน), เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ (เขตบางคอแหลม) เป็นต้น

โรงภาพยนตร์

[แก้]

โรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440[53] ได้แก่ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมกรุง เป็นโรงมหรสพแห่งแรกของเอเชียที่ใช้เครื่องปรับอากาศ[54] ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์มักตั้งอยู่ในศูนย์การค้าต่าง ๆ

วัดและพระราชวัง

[แก้]

กรุงเทพมหานครมีวัดที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ทั้งหมด 454 แห่ง[55](ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562) โดยเขตที่มีวัดมากที่สุดได้แก่ เขตบางกอกน้อย มีทั้งสิ้น 32 วัด[55] โดยวัดในกรุงเทพมหานคร มีวัดที่น่าท่องเที่ยวเยี่ยมชมหลากหลายแห่ง เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อันเป็นที่ตั้งของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ที่ประทับของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) เป็นต้น พระราชวังมีทั้งหมด 8 แห่ง วังมีทั้งหมด 17 แห่ง[note 1] ซึ่ง (ข้อมูลวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554)

การจัดลำดับเมืองท่องเที่ยว

[แก้]
Benjawan Kaewsaen (Puy the Roti Lady) และน้องสาวของเธอ ปาล์ม ในศาลาแดง กรุงเทพมหานคร
  • ในปี พ.ศ. 2555 การจัดลำดับโดย Master Card Global Deslination Cities Index 2012 กรุงเทพมหานครคว้าอันดับ 1 สุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นอันดับ 3 ของโลก[56]
  • ในปี พ.ศ. 2556 MasterCard Global Destination Cities Index 2013 ระบุว่ากรุงเทพมหานครมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับ 1 ของโลก[57]
  • ในปี พ.ศ. 2557 MasterCard Global Destination Cities Index 2014 ระบุว่ากรุงเทพมหานครมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับ 2 ของโลก[58] 16.42 ล้านคน
  • ในปี พ.ศ. 2558 บริษัทวิจัย Euromonitor International ของอังกฤษ เปิดเผยรายงานการศึกษาประจำปี 2017 ชื่อ Top 100 City Destinations Ranking โดยในรายงานระบุว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 2 รองจาก ฮ่องกง โดยมีนักท่องเที่ยว 18.7 ล้านคน[59]
  • การจัดอันดับของนิตยสาร ทราเวลแอนด์เลเชอร์ (Travel and Leisure)[60]กรุงเทพมหานครได้รับเลือกให้เป็นเมืองน่าเที่ยวอันดับหนึ่งของโลกใน พ.ศ. 2551, 2553, 2554 และ 2555[61]
  • ด้านเว็บไซต์ TripAdvisor ได้เปิดเผยผลสำรวจว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ประหยัดค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเป็นอันดับที่ 3 จาก 48 เมืองทั่วโลก[62]ในปีพ.ศ. 2556 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 1 ของเอเซียและอันดับที่ 13 ของโลก[63]จากเว็บไซต์ TripAdvisor
  • ด้านเว็บไซต์ TripAdvisor ได้เปิดเผยผลสำรวจในปี พ.ศ. 2557 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 5 ของเอเซียและอันดับที่ 20 ของโลก รวมทั้งเป็นเมืองที่มีราคาที่พักถูกและคุ้มที่สุดในโลกเป็น อันดับ 4 ของโลก[63]จากเว็บไซต์ TripAdvisor
  • ด้านเว็บไซต์ economist.com ได้เปิดเผยผลสำรวจในปี พ.ศ. 2557 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวปลอดภัยอันดับ 39 ของโลกจาก 50 อันดับ และได้การอันดับ 14 จาก 18 อันดับของเอเซีย[64]
  • ด้านเว็บไซด์ www.agoda.com ได้เปิดเผยผลสำรวจเมืองท่องเที่ยวยอดเยี่ยมในการมาท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ กรุงเทพมหานครได้รับการจัดลำดับเป็นลำดับ 1[65]
  • ในปี พ.ศ. 2559 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ยกกรุงเทพฯ เป็นอันดับ 1 ใน 23 เมือง ที่มีอาหารข้างถนน หรือ Street food ดีที่สุดในโลก[66]

การคมนาคม

[แก้]
ภาพทางด่วนบริเวณทางแยกมักกะสันยามค่ำคืน ซึ่งมีปริมาณรถ 1.5 ล้านคันต่อวัน[67]

เดิมทีกรุงเทพมหานครใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก โดยมีคลองจำนวนมากจนได้ฉายาว่า "เวนิสตะวันออก" แต่ปัจจุบันได้มีการถมคลองเพื่อทำเป็นถนน การคมนาคมจึงเน้นหนักไปทางบกแทน โดยถนนสายแรกคือ ถนนเจริญกรุง ซึ่งสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2407 หลังจากนั้น ได้มีการสร้างถนนใหม่ขึ้นมากมาย เช่น ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ประมาณ พ.ศ. 2533 ได้มีการสร้างทางพิเศษขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ส่วนระบบขนส่งทางราง ได้มีส่วนเข้ามาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436 โดยมีการให้บริการระบบรถราง ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2437 แต่ได้ถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2511 และใน พ.ศ. 2542 ได้มีการเปิดบริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายแรกชื่อว่า รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาหรือรถไฟฟ้าบีทีเอส ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้เปิดให้บริการ และในปี พ.ศ. 2553 ได้เปิดเดินรถโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ในปี พ.ศ. 2559 ส่วนระบบขนส่งทางน้ำนั้น ให้บริการเส้นทางในแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองแสนแสบ

การเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดต่าง ๆ มีหลายเส้นทาง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดิน ทางรถไฟ นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย

ทางรถยนต์

[แก้]
ถนนพระรามที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่

ทั้งนี้ มีทางหลวงสายหลักที่ไม่ได้เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร คือ ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ซึ่งเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี

ในเขตกรุงเทพมหานครมีทางหลวงพิเศษ 2 สาย ได้แก่

  1. ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 รวม 126 กิโลเมตร เปิดใช้บริการครั้งแรก 79 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541
  2. ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) เปิดใช้บริการส่วนต่อขยายครั้งล่าสุด (ด้านใต้) วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
ทางยกระดับ
  1. ทางยกระดับอุตราภิมุข มีระยะทางรวมประมาณ 28 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในการบริหารจัดการโดยบริษัททางยกระดับดอนเมืองจำกัด (มหาชน) ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตรจากดินแดงถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ (ทางยกระดับดอนเมือง) เปิดบริการเมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2537 และอยู่ในการบริหารจัดการโดยกรมทางหลวง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร จากอนุสรณ์สถานแห่งชาติถึงรังสิต (ส่วนของกรมทางหลวง) เปิดบริการเมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2541
  2. ทางคู่ขนานลอยฟ้าพระบรมราชชนนี จากทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงทางแยกต่างระดับสิรินธรระยะทาง 4.50 กิโลเมตร และจากทางแยกต่างระดับสิรินธรถึงจุดสิ้นสุดโครงการ บริเวณเลยจุดข้ามทางแยกต่างระดับพุทธมณฑล สาย 2 ไปอีก 500 เมตร ระยะทาง 9.30 กิโลเมตร เปิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541[68]
ทางพิเศษ
ทางพิเศษดินแดง ช่วงทางขึ้น

กรุงเทพมหานครมีทางพิเศษ (ทางด่วน) ทั้งหมด 9 เส้นทาง ทางเชื่อมพิเศษทั้งหมด 2 เส้นทาง แบ่งเป็นทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 8 เส้นทาง[69] ทางเชื่อมพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2 เส้นทาง และทางหลวงพิเศษของกรมทางหลวง 1 เส้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด โดยประชาชนต้องชำระเงินเป็นกรณีพิเศษ

  • ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่
  1. ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1) ระยะทางรวม 27.1 กิโลเมตร ประกอบด้วย
    1. สายดินแดง-ท่าเรือ ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2524
    2. สายบางนา-ท่าเรือ ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 17 มกราคม พ.ศ. 2526
    3. สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530
  2. ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) ระยะทางรวม 28.4 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 2 กันยายน พ.ศ. 2536
  3. ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์) ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร ทางพิเศษฉลองรัชได้เปิดให้บริการตลอดสาย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2539
  4. ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี) ระยะทาง 55 กิโลเมตร เปิดให้บริการตลอดสายเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
  5. ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) ระยะทางรวม 32 กิโลเมตร ระยะที่ 1 ทาง 22 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 2 ธันวาคม 2541 และระยะที่ 2 ระยะทาง 10 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
  6. ทางพิเศษสาย S1 ระยะทาง 4.7 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นทางยกระดับ 6 ช่องจราจร เปิดให้บริการ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548
  7. ทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552
  8. ทางพิเศษสายสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ก่อสร้างเป็นทางขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร เปิดให้บริการวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
  9. ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเป็นทางขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทาง 16.7 กิโลเมตร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559
  • ทางเชื่อมพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้แก่
  1. ทางเชื่อมทางพิเศษ สายบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับ ทางพิเศษบูรพาวิถี[70] เปิดบริการ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
  2. ทางเชื่อมต่อทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม 2 กิโลเมตร[71] เปิดใช้ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554
  3. ทางเชื่อมทางพิเศษศรีรัช กับทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 360 เมตร เปิดให้บริการเมือวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561[72]

ทางรถโดยสารประจำทาง

[แก้]
รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร

รถโดยสารประจำทางมีหลายสายเพื่อเป็นการบริการประชาชน ให้บริการในราคาย่อมเยา โดยรถโดยสารประจำทางเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีทั้งหมด 254 สาย ซึ่งในจำนวนนี้มีที่ขึ้นทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 36 เส้นทาง และเป็นเส้นทางที่ใช้รถปรับอากาศในเส้นทางเดียวกับเส้นทางปกติ 143 เส้นทาง ดังนั้นจึงคงเหลือรถธรรมดาที่ไม่ขึ้นทางด่วนและไม่มีรถปรับอากาศบริการในเส้นทางนั้น ๆ 75 เส้นทาง รถโดยสารร่วมบริการขนาดเล็ก (มินิบัส) ราคา 10 บาทตลอดสาย รถโดยสารธรรมดาของ ขสมก. ราคา 8 บาทตลอดสาย รถโดยสารธรรมดาร่วมบริการราคา 10 บาทตลอดสาย รถโดยสารธรรมดาร่วมบริการรุ่นใหม่ราคา 12 บาทตลอดสาย รถโดยสารปรับอากาศแบบครีม-น้ำเงินราคาเริ่มต้น 12 บาท รถโดยสารปรับอากาศแบบยูโร 2 ราคาเริ่มต้น 13 บาท ส่วนรถปรับอากาศรุ่นใหม่ (ใช้แก๊สธรรมชาติ หรือใช้พลังงานไฟฟ้า) ราคาเริ่มต้น 15 บาท โดยหากใช้บริการในยามค่ำระหว่างช่วง 23.00 น. ถึง 05.00 น.ราคาจะเพิ่มขึ้น 1.50 บาท ตลอดสาย (ค่าธรรมเนียมรถบริการตลอดคืน จะจัดเก็บเฉพาะรถโดยสารธรรมดา ส่วนรถโดยสารปรับอากาศ จะไม่มีการจัดเก็บแต่อย่างใด) และหากรถขึ้นทางด่วนจะเพิ่มราคาขึ้นอีก 2 บาท (ค่าธรรมเนียมรถบริการทางด่วนนี้ จะจัดเก็บทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ)

ในการขึ้นค่าโดยสารครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562 ได้กำหนดราคาค่าโดยสารไว้ดังนี้[73]

ประเภทของรถ สี ผู้ให้บริการ ค่าโดยสาร เวลาบริการ ทางด่วน
รถธรรมดา ครีม-แดง ขสมก. 8 05:00-23:00 10
9.50 23.00-05.00
ขาว-น้ำเงิน / ชมพู เอกชน 10 05.00-23.00 12
11.50 23.00-05.00
ส้ม 12[note 2] 05.00-23.00 14[note 2]
13.50[note 2] 23.00-05.00
รถมินิบัส 10 05.00-23.00
11.50 23.00-05.00
รถปรับอากาศ ครีม-น้ำเงิน 13 15 17 19 21 05:00-23:00 15 17 19 21 23
ขสมก. 12 14 16 18 20 ตลอด 24 ชม. 14 16 18 20 22
ส้ม 13 15 17 19 21 23 25 15 17 19 21 23 25 27
เหลือง เอกชน 14 16 18 20 22 24 26 05:00-23:00 16 18 20 22 24 26 28
13 15 17 19 21[note 3] 15 17 19 21 23[note 3]
14[note 3]
ฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) ขสมก. / เอกชน 15 20 25 17 22 27
น้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) ไทยสมายล์บัส ตลอด 24 ชม.
รถโดยสารประจำทางต่างจังหวัด
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สำหรับเดินทางไปจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยมีสถานีหลักอยู่ที่

รถโดยสารประจำทางต่างประเทศ
รถโดยสารระหว่างประเทศ เส้นทางกรุงเทพฯ-พนมเปญ ณ ชายแดนไทย-กัมพูชา (ฝั่งปอยเปต)

รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ที่สำหรับเดินทางไปยังต่างประเทศโดยตรงจากกรุงเทพมหานคร มี 4 เส้นทาง ไป ประเทศกัมพูชา และ ประเทศลาว โดยมีสถานีหลักอยู่ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ดังนี้

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ
รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์

กรุงเทพมหานครมีบริการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ เป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีลักษณะคล้ายกับรถประจำทาง แต่การเดินของรถนั้นแยกออกจากถนนปกติ ปัจจุบันเปิดให้บริการ 1 เส้นทาง คือ รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ (ในสัมปทานใช้เลขสาย 402[76]) ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร

รถปรับอากาศพิเศษ

รถปรับอากาศพิเศษ (metrobus) เป็นรถของบริษัท พรีเมียร์ เมโทรบัส จำกัด[77] บริการเดินรถในกรุงเทพมหานคร โดยปัจจุบันได้ยกเลิกการให้บริการทั้งหมดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557[78] โดยสายสุดท้ายที่ให้บริการ คือสาย ปอ.พ.4-2 เคหะร่มเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

รถตู้ประจำทาง
รถตู้ประจำทางในกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันมีทั้งหมด 126 สาย ให้บริการระหว่าง 05.00 น. ถึง 22.00 น. ค่าบริการอยู่ที่ 10-35 บาท[79] เป็นรถปรับอากาศร่วมบริการ ขสมก. เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้โดยสารที่ต้องการนั่งบนรถตลอดการเดินทาง

รถจักรยานยนต์ประจำทาง

รถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานคร มีอัตราบริการขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 10 บาท ทั้งนี้แล้วแต่ท้องที่นั้น ๆ จะเรียกเก็บค่าโดยสารตามระยะทางที่เดินทางโดยสูงสุดอาจถึง 500 บาท หากไปยังพื้นที่ที่ต้องไปในระยะไกล

ทางรถแท็กซี่

[แก้]
รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร

ค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพฯ ยุคแรก จะถูกกำหนดโดยประกาศกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2535 ลงนามโดยนาย บรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร [80]กระทรวงคมนาคมปรับราคาล่าสุดในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566 [81]ดังนี้

กิโลเมตรที่ ค่าโดยสาร
ระยะทาง 1 กิโลเมตรแรก 40 บาท
1-10 5.00 บาท/กิโลเมตร
10-20 6.50 บาท/กิโลเมตร
20-40 7.00 บาท/กิโลเมตร
7 ขึ้นไป 8.00 บาท/กิโลเมตร

ระยะทางเกินกว่า 40 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 60 กิโลเมตรละ 8.50 บาท ระยะทางเกินกว่า 60 กิโลเมตรถึงกิโลเมตรที่ 80 กิโลเมตรละ 9.00 บาท ระยะทางเกินกว่า 80 กิโลเมตรขึ้นไป กิโลเมตรละ 10.50 บาท

นอกจากนี้ กรณีรถไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเดินรถต่อไปได้เกินกว่า 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้กำหนดอัตรานาทีละ 3.00 บาท

โดยการคิดค่าโดยสารนั้น จะคิดแยกเป็นส่วน ๆ (ส่วนของระยะทาง และส่วนของเวลา) ส่วนของระยะทาง มิเตอร์คำนวณค่าโดยสารได้เท่าไร จะปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็มคี่ที่อยู่ถัดขึ้นไป (เช่น คำนวณได้ 47.75 บาท ก็จะปัดขึ้นเป็น 49 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเต็มคี่ที่อยู่ถัดไป) ส่วนของมิเตอร์เวลา มิเตอร์เวลาคำนวณค่าโดยสารได้เท่าไร จะปัดลงเป็นจำนวนเต็มคู่ที่อยู่ลงมา (เช่น มิเตอร์เวลาเดินไปได้ 3.75 บาท ก็จะปัดทิ้งเป็น 2 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเต็มคู่ที่อยู่ถัดลงมา)[ต้องการอ้างอิง]

ปัจจุบันสามารถวิ่งได้ 12 ปี[82]โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ให้สามารถขยายอายุการใช้งานจาก 9 ปี เป็น 12 ปี ได้ และต้องผ่านเกณฑ์การตรวจสภาพตามที่กรมการขนส่งทางบกและกรมควบคุมมลพิษร่วมกันกำหนดเงื่อนไข ทั้งการตรวจสภาพเพื่อขยายอายุการใช้งานและการตรวจสภาพเพื่อรักษามาตรฐานสมรรถนะรถไปจนสิ้นอายุการใช้งาน

ปัจจุบันได้มีบริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยจะเสียค่ารถวิ่งเปล่า 25 บาท รู้จักในนาม Grab taxi

ทางระบบขนส่งมวลชนเร็ว

[แก้]
รถไฟฟ้าบีทีเอสวิ่งผ่านทางแยกศาลาแดงตามแนวถนนสีลม ซึ่งรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ก็วิ่งตามแนวถนนพระรามที่ 4 ในบริเวณนี้ด้วย

กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของระบบขนส่งมวลชนเร็ว สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งเป็นสถานีศูนย์กลางของประเทศไทย ในปัจจุบัน ซึ่งมีผู้คนมากมายมาใช้บริการรถไฟไปยังจังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองเดียวในประเทศไทยที่มีระบบรถไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย 4 ระบบ คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และมีแผนถึงในอนาคตถึง 500 กิโลเมตร ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งได้มีโครงการรถไฟฟ้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 แล้ว[83]

กระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าของโครงการรถไฟฟ้า 3 สายทาง ภายใต้โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครคือรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2542 แบ่งการเดินรถเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสุขุมวิท และ สายสีลม รวมระยะทาง 68.25 กิโลเมตร (42.41 ไมล์) แล ะรถไฟฟ้าสายสีทอง เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2564 ระยะทาง 1.72 กิโลเมตร (1.07 ไมล์) จำนวน 3 สถานี ในขณะที่กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าของโครงการรถไฟฟ้า 7 สายทาง แบ่งเป็นภายใต้โครงการ รถไฟฟ้ามหานคร จำนวน 4 สายทาง เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ระยะทาง 48 กิโลเมตร (30 ไมล์) จำนวน 38 สถานี รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ระยะทาง 23 กิโลเมตร (14 ไมล์) จำนวน 16 สถานี รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร (18.9 ไมล์) จำนวน 23 สถานี และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (21.4 ไมล์) จำนวน 30 สถานี และโครงการรถไฟชานเมืองจำนวน 3 สายทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าเอรา วัน ซิตี้ (แอร์พอร์ต เรล ลิงก์) เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2553 ระยะทาง 28 กิโลเมตร (17 ไมล์) จำนวน 8 สถานี และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดให้บริการใน พ.ศ. 2564 แบ่งการเดินรถเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา และ รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี รวมระยะทาง 37.6 กิโลเมตร (23.4 ไมล์) จำนวน 13 สถานี

เส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างใหม่ ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ส่วนต่อขยาย นอกจากนี้ยังมีเส้นทางรถไฟฟ้าในโครงการอีก 10 สาย มีทั้งรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy rail) และรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือรางเบา (Monorail) ซึ่งจะเร่งรัดให้เสร็จภายใน พ.ศ. 2572

กรุงเทพมหานครมีบริการรถรางของรัฐได้แก่ รถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์ คิดค่าบริการ 30 บาท ดำเนินการขนส่งภายใน เขตพระนคร ลักษณะรถทัวร์ชมเมืองวิ่งบนถนน ไม่ใช่รถรางไฟฟ้า[84]

ทางรถราง

[แก้]

ในเขตกรุงเทพมหานคร มีรถรางให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวภายใน เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ เขตบางคอแหลม ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ของบริษัท ริเวอร์ไซด์ มาสเตอร์แพลน ในส่วนของรถรางที่ใช้ล้อยางที่ไม่ใช้ระบบรางได้แก่ รถรางชมเมือง ซึ่งกรุงเทพมหานครมีบริการ 3 ขบวน เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ให้บริการในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556 ภายหลังหยุดประกอบกิจการในปี พ.ศ. 2553 ดำเนินกิจการโดย บริษัท ศรีกัลยาทัวร์ จำกัด[85]

ทางอากาศ

[แก้]
ทางออกขึ้นเครื่องภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

กรุงเทพมหานครมีท่าอากาศยานหลัก 2 ท่าอากาศยาน คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งทั้ง 2 ท่าอากาศยาน เป็นท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ที่รองรับผู้โดยสารจากต่างประเทศเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และ ผู้โดยสารภายในประเทศไทยออกสู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานหลักในการทำการขนส่งทางอากาศในกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2562 จำนวนประเทศที่ทำการบินมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้แก่ 54 ประเทศ ไม่รวมประเทศไทย โดยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 แทน ท่าอากาศยานดอนเมืองที่เปิดใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2457

ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2562 มีสายการบินจำนวน 118 สายการบินใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แบ่งเป็น เครื่องขนส่งผู้โดยสาร 105 สายการบิน และเครื่องบินขนส่งอากาศยานขนส่งสินค้าไม่มีผู้โดยสาร 13 สายการบิน

ใน ปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังให้บริการ สายการบินเช่าเหมาลำ ระหว่างประเทศ อาทิ สายการบิน ล็อตโปแลนด์ เส้นทางบิน วอร์ซอ และ สายการบินเช่าเหมาลำ ภายในประเทศ เช่น เส้นทางบินไป สนามบินเกาะไม้ซี้ ท่าอากาศยานหัวหิน

ในส่วน ท่าอากาศยานดอนเมือง กลับมาบริการสายการบินระหว่างประเทศ อีกครั้ง ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ตั้งแต่เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานดอนเมือง รับเที่ยวบิน จาก ประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย มัลดีฟส์ พม่า เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน อินเดีย กัมพูชา ฮ่องกง มาเก๊า ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศออสเตรเลีย รวม 16 ประเทศ

ในปี พ.ศ. 2565 เที่ยวบินภายในประเทศที่มีบริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้นได้แก่เที่ยวบินไปกลับ ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานนครพนม ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานระนอง ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานน่านนคร ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด ท่าอากาศยานชุมพร ซึ่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีบริการใน 11 จังหวัดดังกล่าว

ทางน้ำ

[แก้]
เรือโดยสารคลองแสนแสบ

เรือโดยสารทั้งทางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองมีดังนี้

ส่วนท่าเรือสำหรับขนส่งผู้โดยสารและรับส่งสินค้าที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร คือ ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตคลองเตย

ปัญหาในปัจจุบัน

[แก้]

การจราจรติดขัด

[แก้]
ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร

ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีสาเหตุจากจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปีแล้ว ยังมีปัจจัยเร่งให้ปัญหาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น คือ มีประชาชนจากต่างจังหวัดเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก[86] ทุกครั้งเมื่อถึงช่วงเทศกาล สงกรานต์ มักพบว่ามีผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้แตกต่างจากกรุงปักกิ่ง เท่าใดนัก[87][88]ปัญหาการจราจรติดขัดยังนำไปสู่ปัญหามลพิษทางอากาศและ มลภาวะทางเสียง[89]รวมถึงอุบัติเหตุ ในปี พ.ศ. 2551 มีถนนที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิน 10 ไมโครเมตร (ค่ามาตรฐาน) จำนวน 10 สายในกรุงเทพมหานคร และมี 2 สาย ที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานทุกวัน กล่าวคือเกิน 70 เดซิเบล และมีถนนที่มีการจราจรหนาแน่นเกินมาตรฐาน 3 สาย[90] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 กรมมลพิษรายงานจากผลการวิจัยวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศ ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตั้งแต่ พ.ศ. 2549–2552 พบว่า มีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของสารก่อมะเร็ง PAHs อยู่ที่ 554 พิโคกรัม (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 250 พิโครกรัม/ลบ.ม.)โดยสาเหตุหลักมาจากท่อไอเสียรถยนต์ วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศ เป็นปัจจัยเร่งให้ปัญหานี้เพิ่มมากขึ้น[91] วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่มีการจราจรทางถนนหนาแน่นที่สุดของโลก จากนโยบายคืนภาษีรถคันแรกของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผลให้มีรถยนต์แล่นบนท้องถนนกว่า 5 ล้านคัน ทั้งที่พื้นที่ของถนนของกรุงเทพมหานครรองรับรถยนต์ได้เพียง 2 ล้านคันเท่านั้น[92] ด้านกรมขนส่งทางบกระบุจำนวนรถทุกประเภทที่จดทะเบียนสะสม กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่ 9,096,936 คัน

ถนนชำรุด

[แก้]

ใน พ.ศ. 2554 ได้เกิดอุทกภัยในกรุงเทพมหานคร เป็นปัจจัยเร่งในการทำให้เกิดถนนชำรุด[93] ต่อมาใน พ.ศ. 2555 ได้เกิดเหตุถนนทรุดตัวที่ ถนนพระรามที่ 4 แยกวิทยุ-เพชรบุรี วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยถนนทรุดตัวกว้าง 5 เมตรลึก 2 เมตร และทางเดินเท้า ถนนพระรามที่ 3 แยกเจริญราษฎร์ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยถนนทรุดตัวกว้าง 5 เมตร ลึก 3 เมตร[94] และในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555 ถนนเจริญกรุง บริเวณหน้าโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เขตบางคอแหลม พบโพรงใต้ผิวถนนและเกิดโพรงขนาด 50 เซนติเมตร[95] ต่อมาในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555 ถนนพญาไทขาออก แยกปทุมวัน ได้ทรุดเป็นหลุมลึก 1 เมตร กว้างประมาณ 60 เซนติเมตร[96] และในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ถนนยุบตัวเป็นหลุมลึกกว่า 1 เมตร กลางแยกอโศก ถนนสุขุมวิท[97] จากการสำรวจของสำนักการโยธา ตรวจสอบพื้นผิวการจราจรทั้ง 50 เขตพบว่าในพื้นที่ 36 เขต มีจุดที่เสี่ยงต่อการทรุดตัวทั้งหมด 155 จุด คิดเป็นจำนวนถนน 65 สาย[98] และในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เกิดเหตุถนนยุบตัวเป็นหลุมกว้าง บริเวณถนนงามวงศ์วาน จากแยกเกษตร มุ่งหน้าถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้านหน้าร้านอาหารใบไม้ร่าเริง โดยจุดที่เกิดการยุบตัวนั้นมีขนาดความกว้างประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 2 เมตร และลึก 3 เมตร[99] ในปี พ.ศ. 2556 กรุงเทพมหานครยังคงประสบปัญหาถนนชำรุดโดยรถประจำทางสาย 13 ได้ตกลงไปในหลุมขนาดใหญ่กลางถนนวิทยุใกล้แยกเพลินจิต ซึ่งเกิดทรุดตัวกะหันหันกว้าง 3 เมตร ลึก 1 เมตร คาดเกิดจากท่อประปาใต้ถนนแตก น้ำเซาะดินจนพื้นทรุด เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556[100] ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เกิดเหตุถนนทรุดตัว บริเวณปากซอยเจริญกรุง 70/2 กว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร[101]

ทัศนียภาพ

[แก้]

ปัญหาทัศนียภาพเป็นปัญหาหนึ่งในกรุงเทพมหานครที่แตกต่างจากเมืองอื่น เนื่องจากในกรุงเทพมหานครมีป้ายผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก[ต้องการอ้างอิง] ประภากร วทานยกุล อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม กล่าวว่า ผลกระเทือนจากป้ายผิดกฎหมายทั้งหลายนี้ มีตั้งแต่ระดับเบา จนถึงรุนแรง เช่น บดบังความงามทางทัศนียภาพ ไปจนถึงถูกลมพัดพังถล่มทับบ้านเรือนประชาชน ในกรณีนี้มีให้เห็นกันเป็นประจำ โดยที่ยังไม่มีมาตรการใด ๆ ออกมาแก้ไขปรับปรุงปัญหาดังกล่าวได้[102] ขณะที่ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่ากรุงเทพมหานครในขณะนั้น เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554 ว่าป้ายผิดกฎหมายในกรุงเทพมีมากถึง 1,928 ป้าย อย่างไรก็ตาม สำนักเทศกิจและสำนักงานเขต 50 เขต จัดเก็บป้ายผิดกฎหมายในพื้นที่ และเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง พ.ศ. 2535 และจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 จัดเก็บได้ 1,327,229 ป้าย

อาชญากรรม

[แก้]

ปัญหาอาชญากรรมในกรุงเทพมหานครยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยในรายงานของสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ได้ทำการรวบรวมวิจัยปัญหานี้ตลอดปี พ.ศ. 2550 พบว่าเหยื่ออาชญากรรมที่เป็นสมาชิกครัวเรือนมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 52,410 รายนั้น ส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมต่อทรัพย์สิน ร้อยละ 96.1 เหยื่ออาชญากรรมมีอายุระหว่าง 45 - 59 ปี มากที่สุดคือ ร้อยละ 33.2 เหยื่ออาชญากรรมเป็นเพศชาย ร้อยละ 46.4 และหญิง ร้อยละ 53.6 มีสัญชาติไทย ร้อยละ 99.6 เชื้อชาติไทย ร้อยละ 99.0 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 94.1 มีการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษาเป็นจำนวนมากที่สุดคือร้อยละ 31.2 เหยื่ออาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร รายงานว่าอาชญากรรมที่ประสบในภาพรวมเกิดเหตุในช่วงเวลา 00.01–03.00 น. มากที่สุดถึงร้อยละ 21.1 สถานที่เกิดเหตุอาชญากรรมทั้งหมดในกรุงเทพมหานครพบว่า ส่วนใหญ่เหยื่อระบุว่า เกิดเหตุขึ้นบริเวณบ้านที่พักอาศัยของเหยื่อเอง คิดเป็นร้อยละ 74.8[103]

การระบายน้ำ

[แก้]

เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีการขยายของเมืองส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมทันทีที่ฝนตกหนักโดยในคืนของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ภายหลังฝนตกหนักทั้งคืน กรุงเทพมหานครน้ำท่วมทันทีในวันรุ่งขึ้น[104] ส่งผลให้การจราจรติดขัดอย่างมาก การแก้ไขปัญหานี้สำนักระบายน้ำยอมรับว่ายากมากเนื่องจากใต้พื้นดินของกรุงเทพมหานครเต็มไปด้วยพื้นที่ใช้สอยของห้างร้านอาทิสายไฟฟ้าต่าง ๆ

ฝุ่นละอองมลพิษ

[แก้]
บริเวณเขตสาทรและเขตบางรัก ปกคลุมไปด้วยมลพิษทางอากาศ ภาพนี้ถ่ายในเดือนมีนาคม 2562 ช่วงเวลาประมาณ 13.00 น.

ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 กรุงเทพมหานครเริ่มประสบกับปัญหาค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน ผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครรายงานว่าพบว่าเมืองอยู่ภายใต้หมอกสีน้ำตาล[105]ดร.สนธิ คชวัฒน์ เลขาธิการสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทยได้เสนอว่า ควรประกาศเป็น พื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุข หรือ ประกาศเขตควบคุมมลพิษ ค่าฝุ่นละอองเกิดมาตรฐานในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562 มีมากถึง 34 พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร[106]

ในเดือน มกราคม พ.ศ. 2563 ฝุ่นละอองพิษ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ 47 พื้นที่[107]วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 นายแพทย์ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ระบุผ่านเฟซบุ๊กว่า มีความเสี่ยงต่อการบกพร่องด้านการคิด พัฒนาการผิดปกติ และโรคทางจิตเวช ใน เด็ก เพื่อตอบโต้ โฆษกรัฐบาล ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่แถลงข่าวในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563 ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก

วันที่ 12 ธันวาคม 2566 ชาวกรุงเทพฯ ประสบกับภาวะที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) หนาแน่นคล้ายหมอกปกคลุม ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน (หมอแล็บแพนด้า) ได้ให้ความเห็นว่า ควรมีหน่วยงานเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองพิษ PM 2.5 พร้อมกับโพสภาพเอกซเรย์ปอดของ นายแพทย์กฤตไท ธนสมบัติกุล ที่ปอดหายไปครึ่งหนึ่ง (เสียชีวิตแล้ว วันที่ 5 ธันวาคม 2566) ซึ่งในฝุ่น PM 2.5 มีสารปรอท แคดเมียม โลหะหนัก สารก่อมะเร็ง ซึ่งอันตราย[108] ขณะที่ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล อาจารย์แพทย์ศิริราช กล่าวว่า PM 2.5 ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ [109]

สถิติที่สำคัญ

[แก้]

วันที่ 9 เมษายน 2022 กรุงเทพมหานครมีค่าฝุ่นเฉลี่ย 173 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร[110] เทียบเท่าการสูบบุหรี่มากถึง 7.86 มวนต่อวัน[111]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

จากข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานครได้สถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่น้องกับ 36 เมืองใน 19 ประเทศ[112] ได้แก่:

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. เฉพาะส่วนที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดูแลหรือเป็นเจ้าของร่วมและไม่รวมที่ถูกทำลายทิ้งและใช้งานโดยบุคคลทั่วไปหรือมีสถานภาพปัจจุบันเป็น พิพิธภัณฑ์ สถานท่องเที่ยว และสถานที่ราชการ
  2. 2.0 2.1 2.2 เฉพาะรถสีส้มรุ่นใหม่สาย 203 ส่วนสายที่นำรถเก่าปรับปรุงสภาพมาให้บริการยังคงเก็บค่าโดยสารเท่ารถเดิม
  3. 3.0 3.1 3.2 เฉพาะบางสาย และบางส่วนปรับปรุงสภาพเป็นสีฟ้า

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "คำขวัญ กทม". กรุงเทพมหานคร. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-30. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. Thavisin et al. (eds) 2006, p. 24. Reproduced in "Geography of Bangkok". BMA website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2011. สืบค้นเมื่อ 8 September 2007.
  3. "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
  4. แม่แบบ:Wikipedia.com/list of cities with the most skyscrapers
  5. Alexandra Talty (Sep 9, 2019). "Bangkok Is The Most Visited City In The World...Again". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-30. สืบค้นเมื่อ 2020-03-24. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. กรุงเทพศึกษา. กรุงเทพฯ : บันทึกสยาม, 2551. 288 หน้า. ISBN 978-974-13-0411-0
  7. รายการวิกสยาม ออกอากาศวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551
  8. พระราชทานนามพระนครตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ความเป็นมากรุงเทพฯ
  9. ศิลปากร,กรม, กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, จดหมายเหตุการณ์อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์, ๒๕๒๕), หน้า ๓๓.
  10. "404". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-15. สืบค้นเมื่อ 2013-05-12. {{cite web}}: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help)
  11. รายการ 100 ปี ไกลบ้าน ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวง และ รายการพินิจนคร, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  12. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. ๘๘ (๑๔๔ ก): ๘๑๖-๘๑๙. ๒๑ ธันวาคม ๒๕๑๔. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-02. สืบค้นเมื่อ 2007-09-16.
  13. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๖๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. ๘๙ (๙๓ ก ฉบับพิเศษ): ๑๘๗-๒๐๑. ๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๕. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-23. สืบค้นเมื่อ 2008-06-10.
  14. "กรุงเทพมหานคร : เมืองหนังสือโลก 2556". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2022-01-25.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-27. สืบค้นเมื่อ 2012-04-27.
  16. 16.0 16.1 16.2 "กรุงเทพมหานคร". Royal Institute Newsletter. 3 (31). December 1993. Reproduced in "กรุงเทพมหานคร" [Krung Thep Mahanakhon]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-10. สืบค้นเมื่อ 12 September 2012.
  17. 17.0 17.1 "ความเป็นมากรุงเทพฯ โดยกรุงเทพมหานคร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-26. สืบค้นเมื่อ 2007-10-26.
  18. "ราชบัณฑิตฯยัน ชื่อกรุงเทพฯใช้ได้ทั้ง Bangkok และ Krung Thep Maha Nakhon". ประชาชาติธุรกิจ. 16 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-16. สืบค้นเมื่อ 16 February 2022.
  19. "Maori claims world's longest place name". Bangkok Post. 1 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2008. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
  20. "The largest cities in the world by land area, population and density". City Mayors. 6 January 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-18. สืบค้นเมื่อ 19 July 2008.
  21. "AEC INSIGHT กับ เกษมสันต์: ข่าววันใหม่". ช่อง 3. 26 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-23. สืบค้นเมื่อ 26 November 2014.
  22. "Global Climate System" เก็บถาวร 2009-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน การกระจายเขตภูมิอากาศของโลกแบบเคิปเปน ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
  23. "ลม" เก็บถาวร 2012-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล Thai Marine Meteological Center
  24. "วันที่อากาศร้อนที่สุด" เก็บถาวร 2016-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนโดย วิศิษฐ์ สุขจิตร ศูนย์ความรู้ สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ
  25. "สถิติอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2555" กรมอุตุนิยมวิทยา เก็บถาวร 2010-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  26. "สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย คาบ 61 ปี พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2554" สถิติภูมิอากาศ อุณหภูมิต่ำสุด เก็บถาวร 2010-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  27. "Climatological Data for the Period 1981–2010". กรมอุตุนิยมวิทยา. pp. 16–17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-31. สืบค้นเมื่อ 31 July 2016.
  28. "ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman Monteith (Reference Crop Evapotranspiration by Penman Monteith)" (PDF). สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา, กรมชลประทาน. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-01. สืบค้นเมื่อ 9 June 2014.
  29. "แผนการบริหารจัดการน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ปี 2556/2557" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-04. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
  30. "Climate of Bangkok" (ภาษารัสเซีย). Weather and Climate (Погода и климат). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-11. สืบค้นเมื่อ 8 October 2014.
  31. "Climate Normals for Bangkok". National Oceanic and Atmospheric Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 4 November 2018.
  32. [1][ลิงก์เสีย]
  33. "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-17. สืบค้นเมื่อ 2019-04-17.
  34. 34.0 34.1 "ผ่างบ กทม.ยุคอัศวิน 6 ปี ยอดพุ่ง 4.9 แสนล้าน". ประชาชาติธุรกิจ. 24 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 23 May 2022.
  35. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html เก็บถาวร 2016-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  36. "City Mayors: Largest cities in the world and their mayors - 1 to 150". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-02. สืบค้นเมื่อ 2012-04-29.
  37. ข้อมูลมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง สืบค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555
  38. 38.0 38.1 "Bangkok Directory (คลังข้อมูลแผนที่ของกรุงเทพมหานคร)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2012-03-03.
  39. "ชายทะเลบางขุนเทียน ชายขอบระบบสุขภาพ กทม". The Active.
  40. "เทียบกันชัดๆ 3 กองทุนสุขภาพ ดูแลประคับประคอง-วาระท้ายของชีวิต 'บัตรทอง' ครอบคลุมที่สุด และ 'ดีที่สุด'". thecoverage.
  41. "สุสานคนเป็น : ความเสี่ยงในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้สูงวัยในเมือง". theurbanis.
  42. ""เตียง" อีกหนึ่งอุปสรรคของ ยกระดับบัตรทอง รักษาได้ทุกที่ แต่ไม่มีที่ให้รักษา". hlabconsulting.
  43. "Thaidragonnews.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-30. สืบค้นเมื่อ 2012-09-02.
  44. 44.0 44.1 "ข้อมูลสถิติด้านการเงินการคลัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-28. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  45. 45.0 45.1 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 2012-04-28.
  46. "สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-14. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  47. "กรุงเทพโพลล์: แรงงานต่างด้าว ปัญหาและความจำเป็นต่อเศรษฐกิจไ". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  48. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-25. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  49. "นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-02. สืบค้นเมื่อ 2012-08-02.
  50. "Bangkok ranks 61st place in list of world's most expensive cities in 2014 - Thai PBS English News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-10. สืบค้นเมื่อ 2014-03-14.
  51. "เบรกกิ้งนิวส์ : กรุงเทพฯ เป็นแหล่งรวมแบรนด์สินค้าอินเตอร์มากที่สุดอันดับที่ 18 ของโลก". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 2016-05-12.
  52. "ลำดับเหตุการณ์ ใน "ข้าบดินทร์"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-10. สืบค้นเมื่อ 2012-05-11.
  53. "á¹Ð¹Ó˹ѧÊ×Í - µÓ¹Ò¹âç˹ѧ ¨Ò¡ºÅçÍ¡ âÍà¤à¹ªÑè¹ oknation.net". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-19. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
  54. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
  55. 55.0 55.1 "หน้าแรก Onab - สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-19. สืบค้นเมื่อ 2012-04-19.
  56. "กรุงเทพฯแรงไม่หยุด คว้าแชมป์สุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางแห่งเอเชีย - Manager Online". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ 2012-06-19.
  57. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-27. สืบค้นเมื่อ 2013-05-28.
  58. "London Tops MasterCard Global Destination Cities Index as Most Visited City | Global Hub". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-30. สืบค้นเมื่อ 2014-12-16.
  59. "การจัดอันดับ Top 100 City Destinations Ranking กรุงเทพฯ ภูเก็ต และพัทยา ติด 20 เมืองยอดนิยมของโลก | ThaiPublica". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-31. สืบค้นเมื่อ 2017-01-31.
  60. ซึ่งรายงานว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าเที่ยวอันดับ 1 ของโลก[2] เก็บถาวร 2011-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, พ.ศ. 2554 [3] เก็บถาวร 2011-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  61. "กทม.คว้ารางวัลเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก 3 สมัย - VoiceTV". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-02. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19.
  62. "กรุงเทพฯมีดี คว้าที่ 3 เมืองท่องเที่ยวถูกสุดในโลก - Manager Online". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-30. สืบค้นเมื่อ 2012-07-19.
  63. 63.0 63.1 "Best Destinations in the World - Travelers' Choice Awards - TripAdvisor". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-24. สืบค้นเมื่อ 2013-05-28.
  64. "Bangkok ranked 39th in Safe Cities Index 2015 - Thai PBS English News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-05. สืบค้นเมื่อ 2015-02-04.
  65. "Agoda Survey Reveals Bangkok Best Spot to Celebrate New Year's Eve". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-02-04.
  66. "ยกกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีอาหารริมทางดีที่สุดในโลก!! - Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2016-08-11.
  67. "สรุปรายได้และปริมาณรถ: สิงหาคม 2555 (Revenue and traffic, August 2012)". EXAT website. Expressway Authority of Thailand. 4 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ 11 September 2012.
  68. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-30. สืบค้นเมื่อ 2012-04-16.
  69. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2012-04-15.
  70. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-04-15.
  71. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-15. สืบค้นเมื่อ 2012-04-15.
  72. "เปิดใช้แล้ว! ทางเชื่อมด่วนศรีรัช-วงแหวนฯมุ่งหน้าแจ้งวัฒนะ-บางปะอิน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-07.
  73. "ขึ้นค่ารถเมล์ 22 เมษายน 2562". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-19. สืบค้นเมื่อ 2019-05-07.
  74. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-17. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
  75. "นั่ง"บ.ข.ส."เยือน"เขมร" ตีตั๋วได้แล้ว-ราคาไม่ถึงพัน : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-02-27.
  76. ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๕๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) : กำหนดเส้นทางสาย 401-402 เก็บถาวร 2022-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , ราชกิจจานุเบกษา
  77. "metrobusbkk.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-26. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17.
  78. "เมโทรบัส ประกาศหยุดการเดินรถสาย ปอ.พ.4-2 (เคหะร่มเกล้า - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-19. สืบค้นเมื่อ 2019-05-07.
  79. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 2012-03-05.
  80. "ราชกิจจานุเบกษา : ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รถแท็กซี่) โดยมาตรค่าโดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-22. สืบค้นเมื่อ 2014-11-09.
  81. ขึ้นค่าแท็กซี่​มีผลวันนี้เป็นต้นไป
  82. ขนส่งขยายอายุรถแท็กซี่
  83. Rujopakarn, Wiroj (October 2003). "Bangkok transport system development: what went wrong?". Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies. 5: 3302–15.
  84. "thaitravelhealth.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2011-05-09.
  85. "กทม.ฟื้นวิ่งรถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-15. สืบค้นเมื่อ 2017-06-01.
  86. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-10. สืบค้นเมื่อ 2011-05-21.
  87. "ปักกิ่งแชมป์รถติด - Manager Online". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-05. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
  88. "รถติดนับ10วันบนถนนชานกรุงปักกิ่ง - YouTube". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
  89. "ข่าวมลพิษ 10 อันดับถนนกรุงเทพ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง สูง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-15. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
  90. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
  91. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-16. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
  92. "10 monster traffic jams from around the world - BBC News". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-03.
  93. "คาดพิษน้ำท่วมพังถนนกรุงเทพฯกว่า 100 สาย - Manager Online". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-30. สืบค้นเมื่อ 2012-07-14.
  94. http://news.sanook.com/1109374/ถนนทรุดโผล่อีก-ทางเท้าถ.พระราม3 เก็บถาวร 2022-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ลึก 3 ม/
  95. "กทม.พบ'ถนนเจริญกรุง'ทรุดอีก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-01-25.
  96. "ยุบอีกแล้ว! ถนนพญาไททรุดเป็นหลุมลึก 1 เมตร - Manager Online". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2012-05-10.
  97. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  98. "ไล่ซ่อมถนน 155 จุด 65 สาย กทม.ชี้ซ่อมเบา 1 เดือน ซ่อมหนัก 2 เดือน-ขอ วสท.หาสาเหตุ - thairath.co.th". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 2012-05-01.
  99. "ระทึก! ถนนงามวงศ์วานย่าน ม.เกษตร ยุบตัวเป็นหลุมกว้าง 2 เมตร - Manager Online". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-03.
  100. "ถนนทรุด!รถเมล์ติดหล่มแยกเพลินจิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-14. สืบค้นเมื่อ 2013-06-13.
  101. "'เจริญกรุง'ถนนทรุด2จุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-22. สืบค้นเมื่อ 2013-06-13.
  102. "สงคราม 'ป้าย' ดีไซน์หรือจะสู้ปากท้อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2011-06-18.
  103. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-06.
  104. "ฝนถล่ม กทม.ท่วมหลายพื้นที่ ลาดพร้าว-วิภาฯ-รัชดา-พหลฯ รถติดขัด - thairath.co.th". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-27. สืบค้นเมื่อ 2016-11-10.
  105. "ฝุ่นละอองกรุงเทพฯ : เหตุใดสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก จึงพุ่งสูงขึ้นมาอีกครั้ง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  106. "ยังวิกฤต! "กทม.-ปริมณฑล" ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานพุ่ง 34 พื้นที่". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-29. สืบค้นเมื่อ 2019-01-14.
  107. "เช้านี้ฝุ่น PM 2.5 เริ่มกระทบสุขภาพ 47 พื้นที่". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  108. MSN, Thainewsonline (2023-12-12). ""หมอแล็บแพนด้า" เปิดภาพเอกซเรย์ปอด "หมอกฤตไท" ย้ำเตือนความร้ายกาจของ PM 2.5". MSN.
  109. Sanook, Doctor Tips by siriraj channel (2023-12-13). "PM 2.5 ทำให้เกิดมะเร็งปอดจริงหรือไม่?". Sanook.com.
  110. Lab, Rocket Media (2023-01-26). "ปี 2022 คนกรุงเทพฯ มีวันอากาศดีแค่ 49 วัน สูดฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ 1,224 มวน". Rocket Media Lab.
  111. Earth, Berkeley (2015-12-17). "Air Pollution and Cigarette Equivalence". Berkeley Earth (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  112. International Affairs Division. "ความสัมพันธ์กับเมืองพี่เมืองน้อง" [Relationship with Sister Cities]. International Affairs Division website. International Affairs Division, Bangkok Metropolitan Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-26. สืบค้นเมื่อ 5 February 2021.
  113. International Affairs Division. "Relationship with Sister Cities: Aichi" (PDF). International Affairs Division website. International Affairs Division, Bangkok Metropolitan Administration. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-31. สืบค้นเมื่อ 12 September 2012.
  114. Bangkok Metropolitan Administration; Greater Ankara Municipality (21 March 2012). "Friendship and cooperation agreement between Bangkok Metropolitan Administration of the Kingdom of Thailand and the Greater Ankara Municipality of the Republic of Turkey" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  115. Bangkok Metropolitan Administration (26 May 1993). "Agreement on the Establishment of Sister City Relations between Bangkok Metropolitan Administration of the Kingdom of Thailand and the Beijing Municipality of the People's Republic of China" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  116. Bangkok Metropolitan Administration; City of Brisbane (7 May 1997). "Memorandum of Understanding between the City of Bangkok, The Kingdom of Thailand and the City of Brisbane, Queensland, Australia" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  117. Bangkok Metropolitan Administration; Local Government of Budapest (20 February 1997). "Letter of Intent of Cooperation between Bangkok Metropolitan Administration (BMA) and Local Government of Budapest" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  118. Busan Metropolitan City; Bangkok Metropolitan Administration (14 March 2011). "Busan Metropolitan City – Bangkok Metropolitan Administration Agreement on the Establishment of a Friendship City Relationship" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  119. "Agreement of Sister City Relations". Office.bangkok.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2011. สืบค้นเมื่อ 27 June 2010.
  120. Chaozhou City; Bangkok Metropolitan Administration (23 November 2005). "Agreement between Chaozhou City, the People's Republic of China and Bangkok, Kingdom of Thailand on the Establishment of Sister City Relations" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  121. Bangkok Metropolitan Administration; Chengdu Municipal People's Government (10 May 2017). "Agreement on The Establishment of Friendly City Relations Between The Bangkok Metropolitan Administration, The Kingdom of Thailand and The Chengdu Municipal People's Government, The People's Republic of China" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-01. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  122. Chonqing Municipality; Bangkok Metropolitan Administration (26 September 2011). "Agreement between Chonqing Municipality of the People's Republic of China and Bangkok Metropolitan Administration of the Kingdom of Thailand on the establishment of sister-city relationship" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  123. Bangkok Metropolitan Administration; Daegu Metropolitan City (17 August 2017). "Agreement on The Establishment of Friendship City Relations Between The Bangkok Metropolitan Administration, The Kingdom of Thailand and The Daegu Metropolitan Government, The Republic of Korea" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-23. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  124. The City of Dalian; Bangkok Metropolitan Administration (19 July 2016). "Memorandum of Understanding on the Establishment of Friendly Relations between The City of Dalian The People's Republic of China and The Bangkok Metropolitan Administration The Kingdom of Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  125. International Affairs Division. "Relationship with Sister Cities: Fukuoka". International Affairs Division website. International Affairs Division, Bangkok Metropolitan Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-15. สืบค้นเมื่อ 12 September 2012.
  126. Municipal Council of Penang Island; Bangkok Metropolitan Administration (5 April 2012). "Memorandum of understanding between Municipal Council of Penang Island of Malaysia and Bangkok Metropolitan Administration of the Kingdom of Thailand on the establishment of friendly cities" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  127. "Sister Cities of Guangzhou". Guangzhou Foreign Affairs Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2011. สืบค้นเมื่อ 10 February 2010.
  128. Bangkok Metropolitan Administration; City of Guangzhou (13 November 2009). "Agreement on the establishment of sister city relations between Bangkok, Kingdom of Thailand and City of Guangzhou, the People's Republic of China" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  129. Hanoi Capital City; Bangkok Metropolitan Administration (25 February 2004). "Agreement on cooperative and friendship relations between Hanoi Capital City and Bangkok Metropolitan Administration" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  130. People's Committee of Ho Chi Minh City; Bangkok Metropolitan Administration (3 April 2015). "Agreement on Establishment Friendly Relations between The People's Committee of Ho Chi Minh City The Socialist Republic of Vietnam and The Bangkok Metropolitan Administration The Kingdom of Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  131. Bangkok Metropolitan Administration; Jakarta Capital City Administration (21 January 2002). "Memorandum of understanding between Bangkok Metropolitan Administration, Kingdom of Thailand and the Jakarta Capital City Administration, Republic of Indonesia concerning sister city cooperation" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  132. City of Lausanne; Bangkok Metropolitan Administration (29 December 2009). "Accord de fraternité entre La Ville de Lausanne Capitale du Canton de Vaud Confédération Helvétique et La Ville de Bangkok Royaume de Thaïlande" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  133. The City of Lisbon; Bangkok Metropolitan Administration (19 July 2016). "Friendship And Co-Operation Agreement between The City of Lisbon Portugal Republic and The Bangkok Metropolitan Administration Kingdom of Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  134. "Existing Sister Cities". City of Manila. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2009. สืบค้นเมื่อ 2 September 2009.
  135. Bangkok Metropolitan Administration; City of Manila (24 June 1997). "Sister city friendship affiliation". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  136. Bangkok Metropolitan Administration; City of Moscow (19 June 1997). "Protocol of friendly ties between the cities of Bangkok and Moscow" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  137. Akimat of Astana City; Bangkok Metropolitan Administration (11 June 2004). "Agreement on establishment of bilateral relations between the Akimat of Astana City of the Republic of Kazakhstan and the City of Bangkok of Kingdom Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  138. Municipality of Phnom Penh; Bangkok Metropolitan Administration (4 January 2013). "Memorandum of understanding between Municipality of Phnom Penh Kingdom of Cambodia and Bangkok Metropolitan Administration Kingdom of Thailand". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  139. The Municipality of Porto; Bangkok Metropolitan Administration (5 August 2016). "Memorandum of understanding between The Municipality of Porto Portugal Republic and The Bangkok Metropolitan Administration Kingdom of Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-31. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  140. "St. Petersburg in figures > International and Interregional Ties". Eng.gov.spb.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2009. สืบค้นเมื่อ 27 June 2010.
  141. Bangkok Metropolitan Administration; City of St.Petersburg (20 June 1997). "Protocol on Cooperation between the City of Bangkok (the Kingdom of Thailand) and the City of St. Petersburg (the Russian Federation)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  142. Seoul Metropolitan Government; Bangkok Metropolitan Administration (16 June 2006). "Sister City Agreement between the Seoul Metropolitan Government, Republic of Korea and the Bangkok Metropolitan Administration, the Kingdom of Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  143. People's Government of Shandong Province; Bangkok Metropolitan Administration. "Memorandum of understanding between People's Government of Shandong Province People's Republic of China and Bangkok Metropolitan Administration Kingdom of Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  144. Foreign Affairs Office, Shanghai Municipal; International Affairs Division, Bangkok Metropolitan Administration (17 December 2012). "Memorandum on Friendly Cooperation and Exchange between Foreign Affairs Office, Shanghai Municipal People's Government People's Republic of China and International Affairs Division, Bangkok Metropolitan Administration Kingdom of Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  145. The City of Shenzhen; The City of Bangkok (10 July 2015). "Memorandum of understanding on The Establishment of Sister-City Relations between The City of Shenzhen of The People's Republic of China and The City of Bangkok of The Kingdom of Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  146. Tehran Municipality; Bangkok Metropolitan Administration (6 December 2012). "Memorandum of understanding between Tehran Municipality Islamic Republic of Iran and Bangkok Metropolitan Administration Kingdom of Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-01. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  147. People's Committee of Hue City; Bangkok Metropolitan Administration (5 August 2016). "Memorandum of understanding between The People's Committee of Hue City The Socialist Republic of Vietnam and The Bangkok Metropolitan Administration The Kingdom of Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-19. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  148. Tianjin Municipal Government; Bangkok Metropolitan Administration (27 February 2012). "Agreement between Tianjin Municipal Government of the People's Republic of China and Bangkok Metropolitan Administration of the Kingdom of Thailand on the establishment of friendship exchanges and cooperative relationship" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  149. Bangkok Metropolitan Administration; Ulaanbaatar (27 July 2017). "Agreement on the Establishment of Sister City Relations Between The Bangkok Metropolitan Administration, The Kingdom of Thailand and The City of Ulaanbaatar, Mongolia" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-23. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  150. City of Vientiane; Bangkok Metropolitan Administration (24 May 2004). "บันทึกว่าด้วยความร่วมมือ ระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์และกรุงเทพมหานคร" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  151. District of Columbia; Bangkok Metropolitan Administration (19 February 1962). "Resolution: Sister City Affiliation of Washington, D.C. and Bangkok, Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  152. District of Columbia; Bangkok Metropolitan Administration (15 July 2002). "Reaffirmation agreement between Washington, D.C. and Bangkok, Thailand" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-14. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  153. People's Government of Wuhan Municipal; Bangkok Metropolitan Administration. "Memorandum of understanding between People's Government of Wuhan Municipal People's Republic of China and Bangkok Metropolitan Administration Kingdom of Thailand". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]