ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
อาณาเขตติดต่อ[แก้]
ประวัติศาสตร์[แก้]
ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า เมืองตราดมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร แต่เท่าที่ค้นพบใน สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ปีพ.ศ. 1991–2031) ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเป็น บ้านเมือง ครั้งใหญ่ขึ้น โดยจัดแบ่งการ บริหารราชการแผ่นดิน ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนกลางประกอบไปด้วย ฝ่ายทหาร และ พลเรือน ส่วนภูมิภาคแบ่งเมืองต่าง ๆ ออกเป็น หัวเมืองเอก หัวเมืองโทหัวเมืองตรี และหัวเมืองจัตวางตามลำดับอย่างไร ก็ตามในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็ไม่ปรากฏชื่อของเมืองตราด แต่อย่างใดเพียงแต่บอกว่า"หัวเมืองชายทะเลหรือ บรรดาหัวเมืองชายทะเล" เท่านั้นต่อมาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปรากฏว่า บรรดาหัวเมืองชายทะเลแถบตะวันออกนั้นเรียกแต่เพียงว่า"บ้านบางพระ" ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่าบรรดาเสนาบดีจัตุสดมภ์ทั้งหลาย ได้พากันแบ่งหัวเมืองต่าง ๆ ให้ไปขึ้นกับสมุหนายก สมุหพระกลาโหมและโกษาธิบดี ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทางทะเล หลักฐานอีกทางหนึ่งเชื่อว่าคำว่า"ตราด" นี้อาจจะมีชื่อเรียกเพี้ยนมาจาก "กราด" อันเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งสำหรับใช้ทำไม้กวาด ซึ่งในสมัยก่อน ต้นไม้ชนิดนี้มักจะมีมากทั่วเมืองตราดจากหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนี่ เองจึงทำให้ชื่อว่า "เมืองตราด" เป็นเมืองที่มีชื่อเรียกกันมาอย่างนี้กว่า 300 ปีมาแล้ว และ เป็นเมืองสำคัญซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายการคลังของประเทศมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททองแล้ว จนกระทั่งก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทหาร จำนวนหนึ่ง ตีฝ่าวงล้อม ของพม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา เดินทางไปรวมตัวกัน ทางทิศตะวันออก โดยยกทัพไปถึงเมืองตราดซึ่งปรากฏในพงศาวดารว่า" ...หลังจากพระเจ้าตากสิน ตีเมือง จันทบุรีได้แล้ว เมื่อวันอาทิตย์เดือน 7 ปีกุน พ.ศ. 2310 ก็ได้เกลี้ยกล่อม ผู้คนให้กลับ คืน มายังภูมิลำเนาเดิม... "ครั้นเห็นว่าเมืองจันทบุรีเรียบร้อยอย่างเดิมแล้ว จึงยกกองทัพเรือ ไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรก็พากันเกรงกลัวยอมอ่อนน้อม โดยดี ทั่วทั้งเมือง และขณะนั้นมีสำเภาจีน มาทอดอยู่ที่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำ พระเจ้าตากให้ไปเรียกนาย เรือมาเฝ้าพวกจีนขัดขืน แล้วกลับยิงเอาข้าหลวง พระเจ้าตากทรงทราบก็ลงเรือที่นั่งคุม เรือรบลงไปล้อมสำเภาไว้แล้ว บอกให้ พวกจีนอ่อนน้อมโดยดีพวกจีนก็หาฟังไม่กลับเอาปืน ใหญ่น้อยระดมยิงรบกันอยู่ครึ่งวัน พระเจ้าตากก็ตีได้เรือสำเภาจีนทั้งหมด ได้ทรัพย์สิ่งของ เป็นกำลังการทัพเป็นอันมาก พระเจ้าตาก จัดการเมืองตราดเรียบร้อยแล้ว ก็กลับขึ้นมาตั้ง อยู่ ณ เมืองจันทบุรี" เหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งเกี่ยวกับเมืองตราด ก็คือ เมื่อปี พ.ศ. 2446 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยได้เสียดินแดน ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส เนื่องมาจากการตกลงทำสนธิสัญญา กับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) ซึ่งทำให้ไทยจำต้องยกดินแดนจังหวัดตราด และ เกาะต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอแหลมสิงห์ จ.จันทบุรีไปจนถึงเกาะกูด และจังหวัดปัจจันตคิรีเขตร หรือ เกาะกง ให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยน ให้ฝรั่งเศสถอนกองทหารไปจากจันทบุรี โดยสัญญาฉบับนี้ ได้ให้สัตยาบันต่อกันและมีผลทำให้กองทหารฝรั่งเศส ถอนออกไปจากเมืองจันทบุรีตามสัญญา เมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2447[5]
ทำเนียบรายพระนามและรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดตราด[แก้]
ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดตราด[6]
|
พระนาม/ชื่อ
|
เข้ารับตำแหน่ง
|
สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
|
1. พระยาวิเศษสิงหนาท
|
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2450
|
6 เมษายน พ.ศ. 2452
|
2. พระยาสุนทราธรธุรกิจ
|
7 เมษายน พ.ศ. 2452
|
30 มกราคม พ.ศ. 2456
|
3. พระยาตราษบุรีศรีสมุทเขตต์
|
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456
|
26 สิงหาคม พ.ศ. 2464
|
4. พระยาประเสริฐสุนทราศรัย
|
26 สิงหาคม พ.ศ. 2464
|
17 กันยายน พ.ศ. 2467
|
5. พระยาชุมพรบุรีศรีสมุทเขตต์
|
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467
|
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470
|
6. พระยาตราษบุรีศรีสมุทเขตต์
|
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470
|
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474
|
7. พระยาบริหารเทพธานี
|
20 มีนาคม พ.ศ. 2470
|
18 มกราคม พ.ศ. 2475
|
8. พระวุฒิภาคภักดี
|
18 มกราคม พ.ศ. 2475
|
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476
|
9. น.ท. พระประยุทธชลธี ร.น.
|
22 มีนาคม พ.ศ. 2476
|
16 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
|
10. พระศรีพิชัยบริบาล
|
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
|
18 เมษายน พ.ศ. 2482
|
11. ขุนภูมิประศาสน์
|
19 เมษายน พ.ศ. 2482
|
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
|
12. นายถนอม วิบูลมงคล
|
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
|
1 มกราคม พ.ศ. 2486
|
13. ร.อ. สุรจิตต์ อินทรกำแหง
|
1 มกราคม พ.ศ. 2486
|
7 มกราคม พ.ศ. 2486
|
14. ขุนปัญจพรรณบพิบูล
|
7 มกราคม พ.ศ. 2486
|
18 มกราคม พ.ศ. 2490
|
15. ขุนสนิทประชาราษฎร์
|
18 มกราคม พ.ศ. 2490
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2491
|
16. นายบรรณการ สร้อยทอง
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2491
|
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2492
|
17. นายอารี บุปผเวส
|
18 มกราคม พ.ศ. 2490
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2491
|
18. นายประกอบ ทรัพย์มณี
|
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
|
6 กันยายน พ.ศ. 2494
|
19. พ.ต.ท.รามราชภักดี
|
6 กันยายน พ.ศ. 2494
|
12 เมษายน พ.ศ. 2497
|
20. นายสุทิน วิวัฒนะ
|
12 เมษายน พ.ศ. 2497
|
27 เมษายน พ.ศ. 2498
|
21. นายประพันธ์ ณ พัทลุง
|
27 เมษายน พ.ศ. 2498
|
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2501
|
22. นายจรัส เทศวิศาล
|
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501
|
2 ตุลาคม พ.ศ. 2511
|
23. นายอเนก แก้วลาย
|
2 ตุลาคม พ.ศ. 2511
|
15 เมษายน พ.ศ. 2513
|
24. นายวิจิตร แจ่มใส
|
15 เมษายน พ.ศ. 2513
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2514
|
25. นายกนกศักดิ์ วรรณกนก
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2514
|
30 กันยายน พ.ศ. 2516
|
26. นายพฤทธิพงศ์ ชัยยะโสตถิ
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2516
|
30 กันยายน พ.ศ. 2518
|
27. นายพิสนธ์ สุนทรธรรม
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2518
|
30 กันยายน พ.ศ. 2521
|
28. นายปัญญา ฤกษ์อุไร
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2521
|
11 มิถุนายน พ.ศ. 2522
|
29. นายประกิต อุตตะโมท
|
14 มิถุนายน พ.ศ. 2522
|
30 กันยายน พ.ศ. 2522
|
30. นายสุนทร บำรุงพงศ์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2522
|
30 กันยายน พ.ศ. 2523
|
31. นายสมพงศ์ พันธ์สุวรรณ
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2523
|
30 กันยายน พ.ศ. 2527
|
32. นายทองดำ บานชื่น
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2527
|
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531
|
33. ร.ต.ปรีดี ตันติพงศ์
|
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531
|
30 กันยายน พ.ศ. 2533
|
34. นายอมร อนันตชัย
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2533
|
30 กันยายน พ.ศ. 2536
|
35. นายไพโรจน์ ปรียารัตน์
|
5 ตุลาคม พ.ศ. 2536
|
30 กันยายน พ.ศ. 2538
|
36. นายผไท วิจารณ์ปรีชา
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2538
|
30 กันยายน พ.ศ. 2541
|
37. นายสุรอรรถ ทองนิรมล
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2541
|
30 กันยายน พ.ศ. 2542
|
38. นายสงคราม กอสุทธิธีรกุล
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2542
|
29 ธันวาคม พ.ศ. 2544
|
39. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์
|
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545
|
30 กันยายน พ.ศ. 2547
|
40. นายบุญช่วย เกิดสุคนธ์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547
|
30 กันยายน พ.ศ. 2550
|
41. นายแก่นเพชร ช่วงรังษี
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
|
30 กันยายน พ.ศ. 2553
|
42. น.ส.เบญจวรรณ อ่านเปรื่อง
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553
|
30 กันยายน พ.ศ. 2557
|
43. นายณรงค์ ธีรจันทรางกูร
|
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
|
30 กันยายน พ.ศ. 2558
|
44. นายชาญนะ เอี่ยมแสง
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
|
30 กันยายน พ.ศ. 2560
|
45. นายประเสริฐ ลือชาธนานนท์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2560
|
30 กันยายน พ.ศ. 2562
|
46. ว่าที่ร้อยตรี พิเชียน ลิมป์หวังอยู่
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
|
30 กันยายน พ.ศ. 2563
|
47. นายภิญโญ ประกอบผล
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563
|
ปัจจุบัน
|
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 38 ตำบล 261 หมู่บ้าน
การศึกษา[แก้]
ขั้นพื้นฐาน[แก้]
อุดมศึกษา[แก้]
การคมนาคม[แก้]
ทางอากาศ
สนามบินตราด ตั้งอยู่บริเวณ บ้านสลัก ระหว่างรอยต่ออำเภอเขาสมิงและอำเภอแหลมงอบ มีเที่ยวบินสายการบิน Bangkok Airways เส้นทาง กรุงเทพ-ตราด ทุกวัน วันละ 3 เที่ยวบิน และเส้นทาง ตราด-สมุย สัปดาห์ละ 3 วัน
สนามบินเกาะไม้ซี้ อยู่ห่างจากเกาะกูดเล็กน้อย สนามบินดังกล่าวมีความยาวทางวิ่ง 800 เมตร ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2551[7]
อุทยานแห่งชาติ[แก้]
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- ชุมชนหมู่บ้านชาวประมงคลองมะขาม บ้านคลองสน ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่
- หาดบานชื่น อำเภอคลองใหญ่
- ตลาดชายแดนไทย-กัมพูชา บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่
- พิพิธภัณฑ์ยุทธนาวี เกาะช้าง
ชาวจังหวัดตราดที่มีชื่อเสียง[แก้]
อ้างอิง[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
พิกัดภูมิศาสตร์: 12°14′N 102°30′E / 12.23°N 102.5°E / 12.23; 102.5
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดตราด
|
---|
| อำเภอ | | |
---|
| ประวัติศาสตร์ | |
---|
| ภูมิศาสตร์ | |
---|
| เศรษฐกิจ | |
---|
| สังคม | การศึกษา | |
---|
| วัฒนธรรม | |
---|
| กีฬา | |
---|
| การเมือง | |
---|
|
---|
|
|
---|
| เขต 1 | | |
---|
| เขต 2 | |
---|
| เขต 3 | |
---|
| เขต 4 | |
---|
| เขต 5 | |
---|
| เขต 6 | |
---|
| เขต 7 | |
---|
| เขต 8 | |
---|
| เขต 9 | |
---|
| เขต 10 | |
---|
|