เขตบางเขน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เขตบางเขน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Bang Khen |
คำขวัญ: บางเขนเมืองน่าอยู่ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐ วัดพระศรีพิทักษ์ธรรม รวมน้ำใจรวมพลังปวงประชา | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางเขน | |
พิกัด: 13°52′26″N 100°35′47″E / 13.87389°N 100.59639°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 42.123 ตร.กม. (16.264 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 184,611[1] คน |
• ความหนาแน่น | 4,382.67 คน/ตร.กม. (11,351.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10220, 10230 (เฉพาะหมู่ที่ 8–10 แขวงท่าแร้ง) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1005 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 14 หมู่ที่ 3 ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 |
เว็บไซต์ | www |
บางเขน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากเขตบางแค
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตบางเขนตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสายไหม มีถนนพหลโยธิน คลองหนองผักชี (ลำผักชี) คลองหนองจอก คลองหนองตะแคง คลองหนองบัวมน และคลองออเป้ง (บึงพระยาสุเรนทร์) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสามวา มีคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) และคลองคู้ชุมเห็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตลาดพร้าว มีคลองจรเข้บัว (หกขุด) คลองลำชะล่า คลองตาเร่ง คลองโคกคราม คลองสามขา และคลองหลุมไผ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจตุจักร เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง มีคลองบางบัวและคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
[แก้]เขตบางเขนเดิมมีฐานะเป็น อำเภอบางเขน จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร เดิมทิศตะวันตกของอำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีโดยใช้แนวคลองเปรมประชากรเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัด จนกระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 ทางราชการได้โอนพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของคลองนี้ (ได้แก่ ตำบลทุ่งสองห้องจากอำเภอปากเกร็ด และหมู่ที่ 1–3 ของตำบลลาดโตนดจากอำเภอเมืองนนทบุรี) มาอยู่ในท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน เพื่อความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่และความสะดวกในการติดต่อราชการของประชาชนในท้องที่ดังกล่าว คลองประปาจึงกลายเป็นแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างทั้งสองจังหวัดแทนนับแต่นั้น
เนื่องจากอำเภอบางเขนมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ประกอบกับมีชุมนุมชน ย่านการค้า และอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในท้องที่ ใน พ.ศ. 2490 กระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตำบลสายไหมตั้งเป็นตำบลออเงิน รวมพื้นที่บางส่วนของตำบลอนุสาวรีย์และตำบลตลาดบางเขนตั้งเป็นตำบลคลองถนน และแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือของตำบลทุ่งสองห้องตั้งเป็นตำบลสีกัน และได้จัดตั้งสุขาภิบาลอนุสาวรีย์ขึ้นในบางส่วนของตำบลอนุสาวรีย์เมื่อ พ.ศ. 2499 (ภายหลังได้ขยายเขตครอบคลุมทั้งอำเภอ จนกระทั่งเทศบาลนครกรุงเทพได้โอนเอาตำบลลาดยาวเข้าไปอยู่ในท้องที่ใน พ.ศ. 2507)
ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2514–2515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ยุบการปกครองแบบเทศบาลและสุขาภิบาล รวมทั้งแบ่งหน่วยการปกครองออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางเขนจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางเขน แบ่งออกเป็น 8 แขวง
ต่อมาเมื่อมีประชากรหนาแน่นขึ้นเนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสาธารณูปโภค รวมทั้งท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศแบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตดอนเมืองและเขตจตุจักรใน พ.ศ. 2532 และเมื่อ พ.ศ. 2540 ก็ได้แบ่งพื้นที่ทิศเหนือของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตสายไหม แต่ในเวลาเดียวกันก็ได้รับพื้นที่บางส่วนของแขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว มาอยู่ในการปกครอง โดยปัจจุบันมีฐานะเป็นหมู่ที่ 8–10 ของแขวงท่าแร้ง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เขตบางเขนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยมีคลองกะเฉด คลองแพรเขียว และคลองไผ่เขียวเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
2. |
อนุสาวรีย์ | Anusawari | 18.406 |
85,903 |
4,667.12 |
|
8. |
ท่าแร้ง | Tha Raeng | 23.717 |
98,708 |
4,161.91
| |
ทั้งหมด | 42.123 |
184,611 |
4,382.67
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตจตุจักร เขตสายไหม เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางเขน[2] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 258,571 | ไม่ทราบ |
2536 | 241,611 | -16,960 |
2537 | 251,199 | +9,588 |
2538 | 256,759 | +5,560 |
2539 | 263,401 | +6,642 |
2540 | 162,765 | แบ่งเขต |
2541 | 165,357 | +2,592 |
2542 | 168,060 | +2,703 |
2543 | 170,089 | +2,029 |
2544 | 173,558 | +3,469 |
2545 | 175,190 | +1,632 |
2546 | 178,864 | +3,674 |
2547 | 177,025 | -1,839 |
2548 | 178,986 | +1,961 |
2549 | 181,390 | +2,404 |
2550 | 182,335 | +945 |
2551 | 183,836 | +1,501 |
2552 | 185,901 | +2,065 |
2553 | 188,164 | +2,263 |
2554 | 188,252 | +88 |
2555 | 189,737 | +1,485 |
2556 | 190,544 | +807 |
2557 | 190,659 | +115 |
2558 | 190,483 | -176 |
2559 | 190,828 | +345 |
2560 | 190,681 | -147 |
2561 | 191,323 | +642 |
2562 | 189,000 | -2,323 |
2563 | 187,377 | -1,623 |
2564 | 186,200 | -1,177 |
2565 | 185,369 | -831 |
2566 | 184,611 | -758 |
การคมนาคม
[แก้]- ทางสายหลัก
- ถนนพหลโยธิน
- ถนนกาญจนาภิเษก
- ถนนแจ้งวัฒนะ
- ถนนรามอินทรา
- ถนนประดิษฐ์มนูธรรม
- ถนนวัชรพล
- ถนนสุขาภิบาล 5 (กม.11)
- ถนนลาดปลาเค้า
- ถนนเทพรักษ์ (พหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช)
- ทางพิเศษฉลองรัช
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (สถานีกรมทหารราบที่ 11 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีพหลโยธิน 59 สถานีสายหยุด และสถานีสะพานใหม่)
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู (สถานีราชภัฎพระนคร สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีรามอินทรา 3 สถานีลาดปลาเค้า สถานีรามอินทรา กม.4 สถานีมัยลาภ และ สถานีวัชรพล)
|
|
- ทางน้ำ
- คลองถนน
- คลองบางบัวใช้สัญจร
สถานที่สำคัญ
[แก้]- วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
- อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
- เสถียรธรรมสถาน
- ตลาดยิ่งเจริญ
- กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- กรมทางหลวงชนบท
- สนามมวยเวทีลุมพินี
สถานประกอบพยาบาล
[แก้]- โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล
- โรงพยาบาลสายหยุด
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1
- สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
สถาบันการศึกษา
[แก้]สถาบันอุดมศึกษา
[แก้]สถาบันอาชีวศึกษา
[แก้]- วิทยาลัยไทยบริหารธุรกิจและพณิชยการ
- วิทยาลัยวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยสยามบัณฑิต
โรงเรียน
[แก้]สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
[แก้]สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
[แก้]สังกัดกรุงเทพมหานคร
[แก้]- โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
- โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
- โรงเรียนบ้านคลองบัว
- โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
- โรงเรียนประชาภิบาล
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
[แก้]- โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์เพชราวุธวิทยา ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
- โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา
- โรงเรียนปราโมชวิทยาทาน
- โรงเรียนอมาตยกุล
- โรงเรียนนิเวศน์วารินทร์
- โรงเรียนภูมิไพโรจน์พิทยา
- โรงเรียนธนศิลป์
- โรงเรียนเอี่ยมพานิชวิทยา
- โรงเรียนอุทัยวิทยา
- โรงเรียนไตรรัตนาภิรักษ์
สถานรับเลี้ยงเด็ก
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่เขตบางเขน เก็บถาวร 2006-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน