มณฑลพิษณุโลก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
มณฑลพิษณุโลก | |
---|---|
มณฑลเทศาภิบาล | |
พ.ศ. 2437 – 2476 | |
![]() แผนที่มณฑลพิษณุโลก | |
ยุคทางประวัติศาสตร์ | รัตนโกสินทร์ |
• จัดตั้ง | พ.ศ. 2437 |
• รวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้าไว้ในการปกครอง | 27 กันยายน พ.ศ. 2446 |
• จัดตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้ง | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 |
• รวมมณฑลเพชรบูรณ์ไว้ในการปกครองอีกครั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2459 |
• ยุบเลิก | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 |
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ![]() |
มณฑลพิษณุโลก[1] บ้างสะกดว่า พิศณุโลกย์[2][3] หรือ พิศณุโลก[4] เป็นมณฑลหนึ่งในการปกครองส่วนภูมิภาคระบบมณฑลเทศาภิบาลของราชอาณาจักรสยาม ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
กำเนิดมณฑลพิษณุโลก[แก้]
การเกิดมณฑลพิษณุโลกเป็นผลมาจาก การดำเนินนโยบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการจัดการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินนโยบายขยายอำนาจควบคุมหัวเมืองต่างๆให้ทั่วถึง โดยการตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานสาขาของรัฐบาลกลางกรุงเทพฯ โดยส่งตัวแทนของรัฐบาลกลางไปดูแลอย่างใกล้ชิด โดยมีหลักการสำคัญก็คือ การมอบอำนาจในการบริหารงานให้แก่สมุหเทศาภิบาล โดยการมอบอำนาจดังกล่าวคือการแบ่งเบาภาระในการช่วยกันป้องกัน กำจัดและกลั่นกรองให้แก่รัฐบาล ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยข้าหลวงส่วนกลางที่รัฐบาลจัดให้ไปบริหารราชการในส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ แทนระบบการกินเมือง โดยการเริ่มต้นในการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2437 มี 4 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา และมณฑลราชบุรี
ดังนั้นมณฑลพิษณุโลกจึงเป็นมณฑลกลุ่มแรกที่ได้รับการโปรดเกล้า ฯ จัดตั้งขึ้น โดยให้รวมหัวเมืองเหนือ 5 หัวเมืองในลุ่มแม่น้ำยมและลุ่มแม่น้ำน่านซึ่งได้แก่เมืองพิษณุโลก พิชัย (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์) พิจิตร สุโขทัย และสวรรคโลกจัดตั้งเป็นมณฑลพิษณุโลก มีเมืองพิษณุโลกเป็นที่บัญชาการมณฑลเทศาภิบาล โดยมีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (เชย กัลยาณมิตร) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลเป็นคนแรก
มณฑลพิษณุโลก[5][แก้]
- พิษณุโลก ประกอบไปด้วย เมืองศรีภิรมย์ เมืองพรหมพิราม เมืองเทพบุรี เมืองตะนม เมืองชาติตะการ เมืองนครชุม เมืองนครไทย เมืองด่านซ้าย เมืองไชยนาม เมืองนครป่าหมาก เมืองคำ เมืองชุมศรสำแดง เมืองชุมแสงสงคราม เมืองไทยบุรี เมืองภูครั่ง
- พิชัย ประกอบไปด้วย เมืองพิพัฒ เมืองปัตะบรูณ เมืองพิมูล เมืองขุนกัน เมืองอุตรดิฐ เมืองทุ่งยั้ง เมืองลับแล เมืองด่านนางพูล เมืองฝาง เมืองตรอน เมืองน้ำปาด เมืองเชียงคาน เมืองแมด
- สวรรคโลก ประกอบไปด้วย เมืองวิเศษไชยสัตย์ เมืองยม เมืองบังขัง เมืองด้ง เมืองพิรามรง เมืองศรีพนมมาศ
- ศุโขไทย ประกอบไปด้วย เมืองศรีสำโรง เมืองกงไกรลาศ เมืองนครนาคง เมืองราชธานี เมืองคีรีมาศ เมืองกงพราน
- พิจิตร ประกอบไปด้วย เมืองภูมิ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสด็จอกไปตรวจราชการเมืองพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (21): 259. 19 สิงหาคม 2443.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งศาลยุติธรรม ในมณฑลพิศณุโลกย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 14 (50): 817. 13 มีนาคม 2440.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "แจ้งความมณฑลพิศณุโลกย์ รายพระนามและนามผู้บริจาคทรัพย์ปฏิสังขรณ์พระอาราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (27): 330. 13 มีนาคม 2440.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "แจ้งความกระทรวงเกษตราธิการ เรื่องซ่อมทำฝายร่องเดื่อ ตำบลนาแซง ท้องที่อำเภอหล่มศักดิ์ มณฑลพิศณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ง): 326. 29 เมษายน 2460.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/033/1.PDF