เขตคลองสาน
เขตคลองสาน | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: แผ่นดินพระเจ้าตากสิน ถิ่นเดิมผลไม้ดัง ติดฝั่งเจ้าพระยา โบราณสถานเด่นสง่า อุทยานสมเด็จย่ารวมใจ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′49″N 100°30′35″E / 13.73028°N 100.50972°E | |
อักษรไทย | เขตคลองสาน |
อักษรโรมัน | Khet Khlong San |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 6.051 ตร.กม. (2.336 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[2] | |
• ทั้งหมด | 69,139 คน |
• ความหนาแน่น | 11,426.05 คน/ตร.กม. (29,593.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10600 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1018 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 861 ถนนลาดหญ้า แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
เขตคลองสาน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกสุดของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพระนครและเขตสัมพันธวงศ์ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางรักและเขตสาทร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางคอแหลม มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขตเช่นกัน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตธนบุรี มีคลองบางไส้ไก่ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนประชาธิปกเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เขตคลองสานเดิมมีฐานะเป็น อำเภอบางลำภูล่าง อยู่ในเขตปกครองของจังหวัดธนบุรี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบุปผาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามอำเภอบุปผารามเป็น อำเภอคลองสาน ใน พ.ศ. 2459 เนื่องจากมีขณะนั้นที่ตั้งอำเภออยู่ที่วัดทองนพคุณในเขตตำบลคลองสาน
ใน พ.ศ. 2481 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรียุบรวมอำเภอและยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ โดยอำเภอคลองสานได้ถูกลดฐานะลงเป็น กิ่งอำเภอคลองสาน ขึ้นกับอำเภอบางยี่เรือ (ใน พ.ศ. 2482 อำเภอบางยี่เรือได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอธนบุรี)
ต่อมาในพื้นที่กิ่งอำเภอคลองสานมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2500 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้ง อำเภอคลองสาน ขึ้นอีกครั้ง
ครั้นใน พ.ศ. 2514 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและมีฐานะเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอคลองสานจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตคลองสานแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2563) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2562) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2563) |
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จเจ้าพระยา | Somdet Chao Phraya | 1.317 |
12,373 |
5,053 |
9,397.84
|
คลองสาน | Khlong San | 0.727 |
14,549 |
5,863 |
20,012.38
|
บางลำภูล่าง | Bang Lamphu Lang | 2.234 |
23,513 |
13,309 |
10,525.07
|
คลองต้นไทร | Khlong Ton Sai | 1.773 |
18,704 |
15,141 |
10,549.35
|
ทั้งหมด | 6.051 |
69,139 |
39,366 |
11,426.05
|
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคลองสาน[3] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 138,780 | ไม่ทราบ |
2536 | 131,101 | -7,679 |
2537 | 128,184 | -2,917 |
2538 | 125,216 | -2,968 |
2539 | 121,766 | -3,450 |
2540 | 117,301 | -4,465 |
2541 | 115,794 | -1,507 |
2542 | 113,817 | -1,977 |
2543 | 112,012 | -1,805 |
2544 | 109,773 | -2,239 |
2545 | 108,426 | -1,347 |
2546 | 107,150 | -1,276 |
2547 | 89,200 | -17,950 |
2548 | 87,853 | -1,347 |
2549 | 86,163 | -1,690 |
2550 | 84,821 | -1,342 |
2551 | 82,824 | -1,997 |
2552 | 80,894 | -1,930 |
2553 | 79,546 | -1,348 |
2554 | 77,471 | -2,075 |
2555 | 76,353 | -1,118 |
2556 | 75,765 | -588 |
2557 | 75,224 | -541 |
2558 | 74,796 | -428 |
2559 | 73,871 | -925 |
2560 | 73,263 | -608 |
2561 | 72,171 | -1,092 |
2562 | 71,197 | -974 |
2563 | 69,139 | -2,058 |
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดสุวรรณ
- วัดอนงคาราม
- วัดพิชยญาติการาม
- วัดทองธรรมชาติ
- วัดทองนพคุณ
- วัดเศวตฉัตรวรวิหาร
- วัดสุทธาราม
- อุทยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ ศาลเจ้ากวนอู
- สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ ใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฝั่งธนบุรี
- ท่าน้ำคลองสาน
- ท่าน้ำเป๊ปซี่
- ท่าน้ำท่าดินแดง
- สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
- โรงพยาบาลตากสิน
- บ้านหวั่งหลี และ ล้ง 1919
- เก๋งจีนทั่งง่วนฮะ
- ไอคอนสยาม
ระบบขนส่งมวลชน[แก้]
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม สถานีกรุงธนบุรีและสถานีวงเวียนใหญ่
- รถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา[แก้]
มี 2 สะพาน คือ
- สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เชื่อมต่อระหว่างเขตคลองสานกับเขตบางรักและเขตสาทร
- สะพานพระปกเกล้า เชื่อมต่อระหว่างเขตคลองสานกับเขตพระนคร
ทัศนียภาพ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ลักษณะภูมิประเทศและเขตการปกครอง". สำนักงานเขตคลองสาน. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2560. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 4 มกราคม 2564.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
เขตพระนคร แม่น้ำเจ้าพระยา |
เขตสัมพันธวงศ์ แม่น้ำเจ้าพระยา |
![]() | |
เขตธนบุรี | ![]() |
เขตบางรัก แม่น้ำเจ้าพระยา | ||
| ||||
![]() | ||||
เขตบางคอแหลม แม่น้ำเจ้าพระยา |
เขตสาทร แม่น้ำเจ้าพระยา |