รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 2
BTS-Logo.svg
BTSSILOMLINE.jpg
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่น
  • รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร
ปลายทาง
จำนวนสถานี21 (ทั้งหมด)
14 (เปิดให้บริการ)
7 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบระบบขนส่งมวลชนเร็ว
ระบบระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร[1], รถไฟฟ้าบีทีเอส
ผู้ดำเนินงานบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (ผู้ดำเนินงานส่วนต่อขยาย)
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ดำเนินงานส่วนสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน สัมปทานถึง พ.ศ. 2572 และผู้เดินรถทั้งเส้นทาง)
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยบางหว้า
ศูนย์ซ่อมบำรุงตลิ่งชัน (ในอนาคต)
ขบวนรถซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร
(EMU-A1) : 35 ขบวน : หมายเลข 1-35
ซีเมนส์ โบซันคายา
(EMU-A2) : 22 ขบวน : หมายเลข 53-74
ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน
(EMU-B1) : 12 ขบวน : หมายเลข 36-47
ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน
(EMU-B2) : 5 ขบวน : หมายเลข 48-52
ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน
(EMU-B3) : 24 ขบวน : หมายเลข 75-98
ประวัติ
เปิดเมื่อ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (23 ปีก่อน)
ส่วนต่อขยายล่าสุด8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (2 ปีก่อน) (สถานีเซนต์หลุยส์)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง14.67 กิโลเมตร
จำนวนทางวิ่ง2
ลักษณะทางวิ่งทางยกระดับ
รางกว้าง1.435 เมตร
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม 750VDC
แผนที่เส้นทาง

 สายสุขุมวิท 
N24
คูคต
Depot
ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต
N8
หมอชิต
 BL 
 สายสีลม 
( DR )
(ยศเส
W2)
N2
พญาไท
 ARL  ( LR )
สนามกีฬาแห่งชาติ
W1
N1
ราชเทวี
เรือโดยสารคลองแสนแสบ ( OR )
( OR )
สยาม
CEN
สุขุมวิท ราชเทวี – ชิดลม
ราชดำริ
S1
 BL 
ศาลาแดง
S2
( GS )  BRT 
ช่องนนทรี
S3
เซนต์หลุยส์
S4
สุรศักดิ์
S5
เรือด่วนเจ้าพระยา
สะพานตากสิน
S6
 GL 
กรุงธนบุรี
S7
( PP   DR )
วงเวียนใหญ่
S8
โพธิ์นิมิตร
S9
( GS   DR )  BRT 
ตลาดพลู
S10
( DR )
วุฒากาศ
S11
เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ  BL 
บางหว้า
S12
(บางแวก
S13)
(กระโจมทอง
S14)
(บางพรหม
S15)
(อินทราวาส
S16)
(บรมราชชนนี
S17)
(ตลิ่งชัน
S18)
 สายสีลม 

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 2 หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม หรือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจะครอบคลุมพื้นที่ทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีของ กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้เปิดใช้งานส่วนต่อขยายช่วง สะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ นับเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสายแรกของประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2556 ได้เปิดใช้งานส่วนต่อขยายไปจนถึงบางหว้า สามารถเชื่อมต่อกับสายสุขุมวิทได้ที่สถานีสยาม

ภาพรวม[แก้]

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดินตลอดโครงการ และเป็นเส้นทางที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ฝั่งธนบุรีได้เป็นสายแรกของประเทศไทย มีแนวเส้นทางเป็นแนวตะวันตก-ใต้ พาดผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในไปจนถึงฝั่งธนบุรี เริ่มต้นเส้นทางจากบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลหัวเฉียว วิ่งผ่านกรีฑาสถานแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อถึงแยกราชประสงค์แนวเส้นทางจะหักขวาเข้าถนนราชดำริ วิ่งผ่านสวนลุมพินี ราชกรีฑาสโมสร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งตรงเข้าสู่ถนนสีลม จากนั้นหักซ้ายเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และหักขวาเข้าสู่ถนนสาทรเพื่อมุ่งหน้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและข้ามไปยังฝั่งธนบุรี แนวเส้นทางจะมุ่งหน้าเข้าสู่ถนนราชพฤกษ์และสิ้นสุดเส้นทางของโครงการที่บริเวณทางแยกต่างระดับเพชรเกษม (แยกบางหว้า) รวมระยะทางทั้งสิ้น 14.67 กิโลเมตร แนวเส้นทางจะเน้นขนส่งผู้โดยสารจากบริเวณใจกลางฝั่งธนบุรีให้เข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ส่วนแรกสุดในเส้นทางสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสซี) ซึ่งได้รับสัมปทานโครงการเป็นระยะเวลา 30 ปีจากกรุงเทพมหานคร ถึง พ.ศ. 2572 ส่วนเส้นทางส่วนต่อขยายที่เหลือดำเนินการโดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด[2] โดยยังมีบีทีเอสซีเป็นผู้ให้บริการเดินรถตลอดทั้งเส้นทาง

พื้นที่เส้นทางผ่าน[แก้]

แขวง เขต จังหวัด
คลองมหานาค ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
รองเมือง / วังใหม่ / ปทุมวัน / ลุมพินี ปทุมวัน
สีลม บางรัก
ยานนาวา สาทร
บางลำภูล่าง / คลองต้นไทร คลองสาน
ตลาดพลู / ดาวคะนอง / บุคคโล ธนบุรี
บางค้อ จอมทอง
ปากคลองภาษีเจริญ / บางจาก / บางแวก ภาษีเจริญ
บางเชือกหนัง / บางพรม / บางระมาด / ฉิมพลี / ตลิ่งชัน ตลิ่งชัน

แนวเส้นทาง[แก้]

ทางวิ่งรถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงโค้งเหนือแยกราชประสงค์

แนวเส้นทางเป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการในแนวตะวันตก-ใต้ มีจุดเริ่มต้นของทั้งโครงการที่สถานีสยาม ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รวมระยะทางทั้งสิ้น 14.67 กิโลเมตร

ในแนวตะวันตก เส้นทางจะเริ่มจากสถานีสยามไปทางทิศตะวันตกตามแนวถนนพระรามที่ 1 และเข้าสู่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ อันเป็นสถานีเดียวของฝั่งตะวันตก ในอนาคตแนวเส้นทางจะขยายต่อไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่สถานียศเส

ในแนวใต้ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีสยามไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนพระรามที่ 1 จากนั้นหักขวาเข้าถนนราชดำริ ถนนสีลม ผ่านจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศาลาแดง หักซ้ายเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และหักขวาเข้าสู่ถนนสาทร ข้ามทางพิเศษศรีรัช มุ่งหน้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสะพานตากสินเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีกรุงธนบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีวงเวียนใหญ่ และสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่สถานีบางหว้า บริเวณทางแยกต่างระดับเพชรเกษม ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกหนึ่งจุด ในอนาคตได้มีการศึกษาแนวเส้นทางต่อขยายเพิ่มเติม โดยไปตามถนนราชพฤกษ์ข้ามทางยกระดับบรมราชชนนี และไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนที่สถานีตลิ่งชัน รวมถึงมีแผนจะต่อขยายไปเชื่อมรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม สายสีชมพู และสายสีน้ำตาลที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเพิ่มเติมด้วย

สถานีที่ให้บริการในปัจจุบัน[แก้]

ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ
สนามกีฬาแห่งชาติ BTS W1.svg 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สยาม BTS CEN.svg  สายสุขุมวิท  (สถานีร่วม)
 สายสีส้ม  สถานีประตูน้ำ (โครงการ)
ราชดำริ BTS S1.svg
ศาลาแดง BTS S2.svg  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีสีลม
ช่องนนทรี BTS S3.svg  BRT สายสาทร–ราชพฤกษ์  สถานีสาทร
 สายสีเทา  สถานีช่องนนทรี (โครงการ)
เซนต์หลุยส์ BTS S4.svg 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
สุรศักดิ์ BTS S5.svg 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สะพานตากสิน BTS S6.svg  เรือด่วนเจ้าพระยา  ท่าสาทร
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
กรุงธนบุรี BTS S7.svg  สายสีทอง  สถานีกรุงธนบุรี 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วงเวียนใหญ่ BTS S8.svg  สายฉลองรัชธรรม  สถานีวงเวียนใหญ่ (โครงการ)
 สายธานีรัถยา  สถานีวงเวียนใหญ่ (โครงการ)
โพธิ์นิมิตร BTS S9.svg 12 มกราคม พ.ศ. 2556
ตลาดพลู BTS S10.svg  BRT สายสาทร–ราชพฤกษ์  สถานีราชพฤกษ์
 สายสีเทา  สถานีตลาดพลู (โครงการ)
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วุฒากาศ BTS S11.svg  สายธานีรัถยา  สถานีวุฒากาศ (โครงการ) 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
บางหว้า BTS S12.svg  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีบางหว้า
 เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ  ท่าบางหว้า

การเชื่อมต่อ[แก้]

รถไฟฟ้าบีทีเอส และ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่นๆ ในระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รถไฟฟ้ามหานคร[แก้]

สะพานเชื่อมต่อระหว่างสถานีศาลาแดงกับสถานีสีลม

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้ามหานครได้ที่สถานี ดังต่อไปนี้

รถไฟฟ้าชานเมือง[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมืองได้ที่สถานี ดังต่อไปนี้

ทางเดินเข้าอาคาร[แก้]

ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินจากสถานีไปยังอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ ดังนี้ (ตัวเอน หมายถึงกำลังก่อสร้าง)

รถรับส่ง[แก้]

ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีไปยังอาคารต่างๆ ด้วยบริการรถรับส่งจากสถานี ดังต่อไปนี้

เรือรับส่ง[แก้]

ที่ สถานีสะพานตากสิน สามารถเดินทางไปยังอาคารบางแห่งด้วยเรือรับส่งจากท่าเรือสาทร ดังต่อไปนี้

เรือโรงแรม
  • โรงแรมอนันตรา กรุงเทพฯ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา และโรงแรมอวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ
  • โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ
  • โรงแรมเพนนินซูล่า กรุงเทพ
  • โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ
  • โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพ
  • โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเดล กรุงเทพ
เรือศูนย์การค้า

รูปแบบของโครงการ[แก้]

  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่งยกระดับที่ความสูง 12 เมตรตลอดทั้งโครงการ ส่วนช่วงข้ามทางพิเศษศรีรัชบริเวณทิศตะวันตกของสถานีสุรศักดิ์มีความสูง 17 เมตร และมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง โดยใช้สะพานเดิมที่เคยเตรียมไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard gauge) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถไฟฟ้าเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน เดินรถ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ[แก้]

เส้นทางช่วงยศเส-ตลิ่งชัน จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต (ที่ทำการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ร่วมกับสายสุขุมวิท โดยใช้วิธีการป้อนขบวนรถจากสายสุขุมวิทในช่วงก่อนเข้าสถานีสยาม และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยบางหว้าที่เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงขนาดย่อยที่ใช้โครงสร้างร่วมกับทางวิ่งในช่วงบางหว้า-บางแวก ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต และมีระบบเดินรถสำรองอยู่ที่ศูนย์บำรุงย่อยสายไหม โดยในอนาคตมีแผนก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยตลิ่งชัน เพื่อลดภาระของศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต และจะได้ไม่ต้องป้อนขบวนรถเข้ามาจากสายสุขุมวิทเพื่อลดความสับสนของผู้โดยสาร

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีกรุงธนบุรี และสถานีตลาดพลู

สถานี[แก้]

มี 14 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด

รูปแบบสถานี

สถานีทั่วไปมีความยาวประมาณ 150 เมตร ยกเว้นสถานีสะพานตากสินมีความยาวเพียง 115 เมตร (รองรับขบวนรถต่อพ่วงได้สูงสุด 5 ตู้ต่อ 1 ขบวน) มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ในบางสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน

ขบวนรถโดยสาร[แก้]

ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-A1)
ซีเมนส์ โบซันคายา (EMU-A2)
ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน (EMU-Type B)
ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน (EMU-B3)

ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-A1)[แก้]

ดูบทความหลักที่: ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร

สถานะ : ให้บริการตั้งแต่ขบวนหมายเลข 1 ถึง 35

  • ความยาว 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน
  • จำนวน 35 ขบวน

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนซีเมนส์ โมดูลาร์เมโทร รุ่น EMU-A1 มีเพียงแค่เอ-คาร์และซี-คาร์เท่านั้น โดยใน 1 ขบวนจะมีเอ-คาร์อยู่ที่หัวและท้ายขบวนจำนวน 2 ตู้ และมีซี-คาร์อยู่กลางขบวนรถ 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงเพิ่มได้สูงสุดถึง 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 65.30 เมตร และมีความกว้าง 3.20 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังรถทำจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศ พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ซีเมนส์ โบซันคายา (EMU-A2)[แก้]

สถานะ : ให้บริการตั้งแต่ขบวนหมายเลข 53-74

  • ความยาว 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน
  • จำนวน 22 ขบวน

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนซีเมนส์ โบซันคายาดีไซน์ บีทีเอสโมเดล รุ่น EMU-A2 จะประกอบไปด้วย Mc-Car และ T-Car โดย Mc-Car จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ และ T-Car จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 65.30 เมตรและมีความกว้าง 3.12 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์พร้อมระบบกรองอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแผนที่นำทางหรือ Dynamic Route Map ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน มีกล้องวงจรปิดสำหรับบันทึกและสอดส่องผู้โดยสาร และประหยัดพลังงานกว่ารถไฟฟ้าซีเมนส์รุ่นเดิมที่ใช้งานอยู่ รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน (EMU-B1 , EMU-B2)[แก้]

สถานะ : ให้บริการตั้งแต่ขบวนหมายเลข 36 ถึง 52

  • ความยาว 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน
  • จำนวน EMU-B1 12 ขบวน และ EMU-B2 5 ขบวน

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสขบวนซีเอ็นอาร์ ฉางชุน รุ่น EMU-B1 และ EMU-B2 จะประกอบไปด้วย Tc-Car และ M-Car โดย Tc-Car จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ และ M-Car จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 65.30 เมตรและมีความกว้าง 3.2 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 32 บานต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำเหล็กปลอดสนิมและอะลูมิเนียม ติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแสดงผลสถานะรถ Dynamic Route Map ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน (EMU-B3)[แก้]

สถานะ : ให้บริการตั้งแต่ขบวนหมายเลข 75 ถึง 98

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ให้บริการในปัจจุบัน จะประกอบไปด้วย Mc-Car และ T-Car โดย Mc-Car เป็นตู้โดยสารที่มีระบบขับเคลื่อน และมีห้องคนขับ จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ (ตู้หมายเลข 18XX และ 19XX) และ T-Car เป็นตู้โดยสารไม่มีระบบขับเคลื่อน และไม่มีห้องคนขับ จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ (ตู้หมายเลข 28XX และ 29XX) โดยมีรูปแบบการจัดขบวนเป็น [ Mc ] - [ T ] - [ T ] - [ Mc ] สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำเหล็กปลอดสนิมและอะลูมิเนียม ติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแสดงสถานะรถ Dynamic Route Map (LCD-DRM) ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน

ส่วนต่อขยาย[แก้]

ส่วนต่อขยายบางหว้า - ตลิ่งชัน[แก้]

  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรุงเทพมหานคร
  • ชื่อโครงการอย่างเป็นทางการ : เขตภาษีเจริญ และเขตตลิ่งชัน
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : กรุงเทพมหานคร
  • เส้นทาง : หลังจากผ่านสถานีบางหว้าไปแล้วนั้น รถไฟฟ้าจะวิ่งบนถนนราชพฤกษ์ ไปสิ้นสุดที่บริเวณแยกตลิ่งชัน ใกล้กับสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ในพื้นที่เขตตลิ่งชัน
  • สถานี : สถานี 6 สถานี ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร
  • สถานะปัจจุบัน : อยู่ในระหว่างการยื่นขออนุมัติการดำเนินโครงการ และการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากผลการยื่นขออนุมัติครั้งล่าสุดมีข้อกังขาเรื่องตำแหน่งที่ตั้งของสถานีจ่ายไฟ ซึ่งกรุงเทพมหานครอยู่ในระหว่างการปรึกษาร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง เพื่อดำเนินก่อสร้างสถานีไฟฟ้าบริเวณถนนราชพฤกษ์ ก่อสร้างสถานีจ่ายไฟให้แก่โครงการ ประกอบกับกรมการขนส่งทางราง (สถานะปัจจุบันของ สำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร) มีแผนศึกษาเส้นทางซ้ำซ้อนช่วง บางหว้า - นนทบุรี - บางกะปิ เพื่อบรรจุลงในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางระยะที่ 2 ซึ่งกำหนดรูปแบบโครงการเบื้องต้นเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล) ดังนั้นแผนการก่อสร้างส่วนต่อขยายส่วนนี้จึงเข้าข่ายการดำเนินการซ้ำซ้อนจึงให้ชะลอแผนไปก่อน

ส่วนต่อขยายสนามกีฬาแห่งชาติ - ยศเส[แก้]

รายชื่อสถานี[แก้]

รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
บางหว้า – ตลิ่งชัน
BTS S12.svg บางหว้า (Bang Wa)  สายเฉลิมรัชมงคล  : บางหว้า
BTS S13 opaque.png บางแวก (Bang Waek)
BTS S14 opaque.png บางเชือกหนัง (Bang Cheuk Nuang)
BTS S15 opaque.png บางพรม (Bang Phrom)
BTS S16 opaque.png อินทราวาส (Intharawat)
BTS S17 opaque.png บรมราชชนนี (Borommaratchachonnani)
BTS S18 opaque.png ตลิ่งชัน (Taling Chan)  สายนครวิถี  : ตลิ่งชัน
สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส
BTS W1.svg สนามกีฬาแห่งชาติ (National Stadium)
BTS W2 opaque.png ยศเส (Yot Se)  สายธานีรัถยา  : ยศเส

ส่วนต่อขยายของโครงการที่ถูกยกเลิก[แก้]

ส่วนต่อขยายช่องนนทรี - พระราม 3[แก้]

ส่วนต่อขยายวุฒากาศ - มหาชัย[แก้]

ส่วนต่อขยายสนามกีฬาแห่งชาติ - พรานนก[แก้]

ส่วนต่อขยายฝั่งตะวันตก ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ - ยศเส - พรานนก
  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : เขตปทุมวัน, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย,เขตพระนคร,และ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
  • เส้นทาง : แนวเส้นทางนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง พ.ศ. 2543 (URMAP) โดยแนวเส้นทางจะต่อขยายจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ไปตามแนวกลางของถนนพระรามที่ 1 ต่อเนื่องไปถนนบำรุงเมือง ซึ่งหลังจากพ้นสถานีสนามกีฬาแห่งชาติแนวเส้นทางจะลดระดับลงจากลักษณะของทางยกระดับไปเป็นอุโมงค์ เมื่อถึงถนนจักรพรรดิพงษ์แนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาขึ้นไปทางทิศเหนือ และเลี้ยวกลับตามทางทิศตะวันตกตามแนวถนนหลานหลวง ตรงเข้าถนนราชดำเนินกลางด้านทิศเหนือ ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถึงบริเวณด้านหน้าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้วแนวเส้นทางจะเลี้ยวไปตามแนวถนนราชินี ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปยังบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันตกแล้วจึงเลี้ยวซ้ายไปด้านทิศใต้ตามแนวถนนอิสรภาพ จนถึงถนนพรานนกจึงเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนพรานนก ลอดใต้ถนนจรัญสนิทวงศ์ไปตามแนวถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ที่อยู่ระหว่างการเวนคืนไปสิ้นสุดห่างจากทางแยกประมาณ 600 ม. อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบเป็นทางยกระดับ หรือให้เป็นรถไฟใต้ดิน หรือเปลี่ยนแนวเส้นทาง จนในที่สุดในแผนแม่บทฯ พ.ศ. 2551 ได้มีการยกเลิกเส้นทางลง เนื่องมาจากแนวเส้นทางส่วนใหญ่ทับซ้อนกับสายสีส้มของรถไฟฟ้ามหานคร มีค่าใช้ในการดำเนินการสูง และจำเป็นต้องเสียพื้นที่จราจรบนถนนพระรามที่ 1 จำนวน 1 ช่องจราจรทั้งขาเข้าและขาออก เป็นระยะทาง 1 กิโลเมตรเพื่อสร้างเป็นอุโมงค์ลดระดับ ด้วยปัญหาทั้งหมด สนข. จึงเห็นสมควรให้ยกเลิกการศึกษาโครงการนี้ไป และคงไว้เพียงสถานียศเสเพียงหนึ่งสถานีเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง [4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (31 มีนาคม พ.ศ. 2560). ข้อมูลที่สำคัญอื่น - แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. "ด้านระบบขนส่งมวลชน". บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
  3. โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายโดยรวม
  4. http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=376199&page=12

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]