ประเทศปากีสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปากีสถาน)

พิกัดภูมิศาสตร์: 30°N 70°E / 30°N 70°E / 30; 70

สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน

Islamic Republic of Pakistan (อังกฤษ)
اسلامی جمہوریہ پاکستان (อูรดู)
คำขวัญIman, Ittehad, Nazm
("ศรัทธา, เอกภาพ, วินัย")
พื้นที่ที่ควบคุมแสดงในสีเขียวเข้ม ส่วนบริเวณที่อ้างสิทธิ์แต่มิได้ควบคุมแสดงในสีเขียวอ่อน
พื้นที่ที่ควบคุมแสดงในสีเขียวเข้ม ส่วนบริเวณที่อ้างสิทธิ์แต่มิได้ควบคุมแสดงในสีเขียวอ่อน
เมืองหลวงอิสลามาบาด
33°41′30″N 73°03′00″E / 33.69167°N 73.05000°E / 33.69167; 73.05000
เมืองใหญ่สุดการาจี
24°51′36″N 67°00′36″E / 24.86000°N 67.01000°E / 24.86000; 67.01000
ภาษาราชการภาษาอูรดูและภาษาอังกฤษ
ภาษาพื้นเมืองมากกว่า 77 ภาษา
กลุ่มชาติพันธุ์
ดูด้านล่าง
ศาสนา
96.5% อิสลาม (เป็นทางการ)
2.1% ฮินดู
1.3% คริสต์
0.1% อื่นๆ
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
อารีฟ อัลวี
เชห์บาซ ชารีฟ
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สมัชชาแห่งชาติ
เอกราช 
• ประกาศ
14 สิงหาคม พ.ศ. 2490
• สาธารณรัฐ
23 มีนาคม พ.ศ. 2499
พื้นที่
• รวม
881,913 ตารางกิโลเมตร (340,509 ตารางไมล์)[a][4] (อันดับที่ 33)
2.86
ประชากร
• พ.ศ. 2564 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 225,199,937[5] (อันดับที่ 5)
• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2560
เพิ่มขึ้น 207.8 ล้าน
244.4 ต่อตารางกิโลเมตร (633.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 56)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) พ.ศ. 2564 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น $1.110 ล้านล้าน[6] (อันดับที่ 26)
เพิ่มขึ้น $5,839[6] (อันดับที่ 139)
จีดีพี (ราคาตลาด) พ.ศ. 2564 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น $296 พันล้าน[6] (อันดับที่ 43)
เพิ่มขึ้น $1,543[6] (อันดับที่ 159)
จีนี (พ.ศ. 2561)positive decrease 31.6[7]
ปานกลาง
เอชดีไอ (พ.ศ. 2562)เพิ่มขึ้น 0.557[8]
ปานกลาง · อันดับที่ 154
สกุลเงินรูปี (Rs.) (PKR)
เขตเวลาUTC+5:00 (PST)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+6:00 (not observed)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์92
รหัส ISO 3166PK
โดเมนบนสุด.pk

ปากีสถาน (อังกฤษ: Pakistan; อูรดู: پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (อังกฤษ: Islamic Republic of Pakistan; อูรดู: اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และจีน และประเทศถูกแยกออกจากทาจิกิสถานด้วยฉนวนวาคานทางทิศเหนือ และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำโอมาน มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามใหญ่เป็นอันดับที่สอง (รองจากอินโดนีเซีย) และเป็นสมาชิกที่สำคัญขององค์การความร่วมมืออิสลาม และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง

คำว่า "ปากีสถาน" มีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซีย ในขณะเดียวกันก็มาจากการนำอักษรแรกของชื่อดินแดนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นประเทศปากีสถานขึ้นมา คือ ปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) อิสลามาบาด (Islamabad) สินธ์ (Sindh) และบาโลชิสถาน (BaluchisTAN)

ภูมิศาสตร์[แก้]

สภาพภูมิอากาศของประเทศปากีสถานแตกต่างกันออกไปตามสภาพที่ตั้ง มีตั้งแต่อากาศร้อนจัดจนถึงอากาศหนาวจัดในตอนเหนือของประเทศ ในตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและเย็นลงในฤดูหนาวส่วนทางตอนเหนือจะมีอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในฤดูหนาวจึงมีหิมะปกคลุมอยู่ทั่วไปปริมาณน้ำฝนที่ตกค่อนข้างมากยกเว้นทางตอนใต้ของประเทศติดกับทะเลอาหรับและมหาสมุทรอินเดียแต่มีฝนตกน้อยเนื่องจากพื้นที่เป็นทะเลทรายไม่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมเลย

ประวัติศาสตร์[แก้]

ยุคเอกราช[แก้]

ปากีสถานเคยเป็นรัฐหนึ่งในอาณานิคมของอังกฤษ แต่เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ ปัญหาข้อขัดแย้งมาจากส่วนใหญ่ในอินเดียจะมีชาวฮินดูมาก แต่ปากีสถานและบังกลาเทศมีชาวมุสลิมมากกว่า ซึ่งสองศาสนานี้ขัดแย้งกันจึงเกิดการแยกประเทศกันเป็นปากีสถานตะวันตก (ปากีสถานปัจจุบัน) และปากีสถานตะวันออก (บังกลาเทศ) ภายหลังพื้นที่ปากีสถานตะวันออกซึ่งไม่ได้ถูกดูแลพัฒนาจากรัฐบาลนักจึงได้ประกาศเอกราชเป็นประเทศบังกลาเทศ ในปี ค.ศ. 1971

การเมืองการปกครอง[แก้]

ปากีสถานปกครองแบบสาธารณรัฐอิสลาม มีประธานาธิบดีเป็นประมุข นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่แคว้นและดินแดนของประเทศปากีสถาน

ประเทศปากีสถานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ แคว้น (province) และดินแดน (territory) ดังนี้

แคว้น
ดินแดน

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

เขตความหนาแน่นแบ่งตามสีในปากีสถาน

มีการประมาณประชากรของปากีสถานในปี พ.ศ. 2552 ประมาณ 180,800,000 คน[10] [11] โดยชาวปัญจาบเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ มีจำนวนกว่าร้อยละ 60-70 รองลงมาเป็นพวกซินด์ และปาทาน นอกจากนี้ยังมีประชากรกลุ่มอื่น อย่างชาวอัฟกันอพยพ, บัลติ, เคอร์ดิสถาน, กัศมีร์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาทีหลังอย่าง ชาวปากีสถานเชื้อสายจีน และชาวปากีสถานเชื้อสายไทย

ประชากรกว่าร้อยละ 97 นับถือศาสนาอิสลาม โดยส่วนใหญ่เป็นซุนนีย์ ส่วนร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นชีอะห์ มีผู้นับถือศาสนาอื่นอยู่บ้าง แต่มีอยู่ประปราย และส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตชนบท และเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการประมง

ศาสนา[แก้]

มัสยิดแบดชาฮิ

ประเทศปากีสถาน จัดว่าเป็นประเทศสังคมมุสลิม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์มากเป็นอันดับที่สองของโลก โดยมีผู้นับถือนิกายซุนนีย์ร้อยละ 75 และนิกายชีอะห์ร้อยละ 20 โดยสามารถจำแนกจำนวนศาสนิกของศาสนาต่าง ๆ ได้ดังนี้

นอกจากนี้ยังมีศาสนิกชนในศาสนาอื่น ที่ไม่ได้รวมในที่นี้ได้แก่ ผู้นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ (ชาวปาร์ซี),ลัทธิอาหมัด, ศาสนาพุทธ(ส่วนมากพบในเขตบัลติสถาน)[12], ศาสนายูดาย, ศาสนาบาไฮ และนับถือผี (มีมากในกาลาชา ในเขตชิลทรัล) [13]

วัฒนธรรม[แก้]

อาหาร[แก้]

อาหารปากีสถาน มีความหลากหลายมาก

วัฒนธรรมของชาวปากีสถานแสดงให้เห็นถึงอย่างแท้จริง ผู้ที่มาเยือนจะพบหลักฐานถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวปากีสถาน ศิลปกรรมของชาวปากีสถานมีรูปแบบทั้งที่เป็นศิลปกรรมทางศาสนา เช่น พรมขนสัตว์ เครื่องทองเหลือง และรูปแกะสลัก เป็นต้นทางด้านดนตรีและการฟ้อนรำมีประวัติอันยาวนาน การฟ้อนรำเป็นการฟ้อนของชาวปากีสถานโดยเฉพาะ สถานที่สำคัญในประเทศปากีสถานมีอยู่มากมาย เช่น เมืองโมเฮนโจดาโร เป็นสถานที่ทางโบราณคดีที่สำคัญ ส่วนโบราณสถานของศาสนามีปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น ที่เมืองลาฮอร์ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่ง เช่น ค่ายทหารเมืองลาฮอร์ และมัสยิดบาสชาฮิซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิออรังเซ็บ มัสยิดบาสชาฮินี้กว้างเป็นอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้ปากีสถานยังมีสถานที่อื่นที่นาสนใจอีกมาก ควรจะไปเที่ยวดินแดนทางภาคเหนือซึ่งเป็นขุนเขา มีหิมะปกคลุมตลอดฤดูหนาว

ลักษณะทางสังคมส่วนใหญ่ยังเป็นแบบดั้งเดิม ยังยึดจารีตและวัฒนธรรมมุสลิมอย่างเคร่งครัดในการดำรงชีพ แต่ภายหลังเมื่อได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จึงมีการเปลี่ยนไปตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกบ้าง เช่น ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมทางการเมือง งานสวัสดิการสังคม และมีการเรียกร้องสิทธิสตรีให้ทัดเทียมกับบุรุษ โดยจะต้องอยู่ในกรอบวัฒนธรรมอิสลาม

หมายเหตุ[แก้]

  1. "Includes data for Pakistani territories of Kashmir; Azad Kashmir (13,297 km2 หรือ 5,134 sq mi) and Gilgit–Baltistan (72,520 km2 หรือ 28,000 sq mi).[3] Excluding these territories would produce an area figure of 796,095 km2 (307,374 sq mi)."

อ้างอิง[แก้]

  1. Official website, American Institute of Pakistan Studies. ""National Anthem of Pakistan"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-11. สืบค้นเมื่อ 2006-04-18.
  2. Embassy of Pakistan, Washington D. C. ""Pakistani Flag"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-17. สืบค้นเมื่อ 2006-04-18.
  3. "Pakistan statistics". Geohive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2013. สืบค้นเมื่อ 20 April 2013.
  4. "Where is Pakistan?". worldatlas.com.
  5. "Pakistan Population Growth Rate 1950-2021".
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "World Economic Outlook Database, October 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 17 December 2020.
  7. "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
  8. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  9. "Pakistan: Largest cities and towns and statistics of their population". สืบค้นเมื่อ 2011-02-10.
  10. Department of Economic and Social Affairs Population Division (2009). "World Population Prospects, Table A.1" (.PDF). 2008 revision. United Nations. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. "2009 World Population Data Sheet - Population Reference Bureau" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-04-22. สืบค้นเมื่อ 2009-10-02.
  12. ผู้นำชาวพุทธในปากีสถานขอให้ช่วยพัฒนาพุทธสถาน
  13. "International Religious Freedom Report 2007". State Department, US. 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-03-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]