เอเชียนเกมส์ 2010

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16
เมืองเจ้าภาพกว่างโจว
ประเทศธงของประเทศจีน จีน
คำขวัญThrilling Games, Harmonious Asia
(จีน: 激情盛会,和谐亚洲; พินอิน: Jīqíng shènghuì, héxié yǎzhōu)
ประเทศเข้าร่วม45 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม9,704 คน
กีฬา42 ชนิดกีฬา
ชนิด476 ประเภท (57 การลงโทษ)
พิธีเปิด12 พฤศจิกายน 2553 (2553-11-12)
พิธีปิด27 พฤศจิกายน 2553 (2553-11-27)
ประธานพิธีเปิดเวิน เจียเป่า
นายกรัฐมนตรีจีน
ประธานพิธีปิดอาห์เหม็ด อัล-ฟาฮัด อัล-อาห์เหม็ด อัล-ซาบาห์
ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย
นักกีฬาปฏิญาณซู ไห่เป็ง
ผู้ตัดสินปฏิญาณหยาน หนินหนาน
ผู้จุดคบเพลิงเหอ ซง
สนามกีฬาหลักเกาะไห่ซิงซา
เว็บไซต์ทางการgz2010.cn

เอเชียนเกมส์ 2010 เป็นการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 จัดขึ้นที่นครกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12 ถึง 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 นับเป็นนครแห่งที่สองของจีน ที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันรายการนี้ หลังจากเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยในการแข่งขันครั้งนี้มี 45 ประเทศเข้าร่วม กีฬาที่จัดแข่งขัน 42 ชนิด รวมจำนวนเหรียญทอง 476 เหรียญ ทั้งนี้ ยังมีเมืองใกล้เคียงอีกสามแห่ง ร่วมเป็นเจ้าภาพกับกว่างโจวด้วยคือ เมืองตงกว่าน ฝัวชาน และชั่นเหว่ย์ นอกจากนั้น ในเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ ยังมีการเริ่มทดลองบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 17 ในปี พ.ศ. 2557 ที่นครอินชอน ของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) อีกด้วย

การคัดเลือกเจ้าภาพ[แก้]

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 มีพิธีประกาศผลการเสนอชื่อ เป็นเมืองเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 15 ที่กรุงโดฮา ของรัฐกาตาร์ โดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย มีมติมอบสิทธิการเป็นเจ้าภาพดังกล่าวแก่นครกว่างโจว[1] ด้วยเหตุที่ก่อนหน้านั้น เมืองที่เคยเสนอชื่อเป็นเจ้าภาพ ต่างก็ขอถอนตัวไปด้วยสาเหตุที่แตกต่างกัน โดยโซลของเกาหลีใต้ขอถอนตัว เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า เมืองของเกาหลีใต้ เพิ่งเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งหลังสุด ก่อนหน้า พ.ศ. 2553 เพียงแปดปีหรือสองครั้งเท่านั้น กล่าวคือ เมืองปูซานเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ เมื่อปี พ.ศ. 2545 มาแล้ว[2] ส่วนกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ถอนตัวเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติบังคับ เนื่องจากเห็นว่าค่าใช้จ่ายสำหรับจัดการแข่งขันสูงเกินไป[3][4] เป็นผลให้มีเพียงนครกว่างโจวเท่านั้น ซึ่งยังคงการเสนอชื่อครั้งนี้

การลงคะแนนเลือกเมืองเจ้าภาพ เอเชียนเกมส์ 2010
เมือง ประเทศ คะแนน
กว่างโจว ธงของประเทศจีน จีน เป็นเอกฉันท์

การแข่งขัน[แก้]

พิธีเปิดการแข่งขัน[แก้]

พิธีเปิดการแข่งขันกีฬ่าเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 จัดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 บนเกาะไห่ซิงซา ที่สร้างขึ้นกลางแม่น้ำจูเจียง ซึ่งแปลว่าไข่มุก ในเขตเทียนเหอของนครกว่างโจว ภายใต้แนวความคิดหลักคือ "แผ่นดินและทะเล" นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเอเชียนเกมส์ ที่การจัดพิธีเปิดการแข่งขันมิได้เกิดขึ้นในสนามกีฬา การแสดงทั้งหมดในพิธีเปิดกำกับโดย เฉิน เว่ยหยา ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดงในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[ต้องการอ้างอิง] ในพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ฌัก โรคเคอ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล, ชีค อะห์เหม็ด อัล-ฟะฮัด อัล-ซะบะฮ์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เป็นต้น

พิธีเปิดเริ่มจากกระบวนเรือจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมแข่งขัน นำนักกีฬาเข้าสู่บริเวณสถานที่จัดแสดง สำหรับเรือของประเทศไทย มีโขนเรือเป็นรูปครุฑ และมีพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามอยู่กลางลำเรือ ส่วนในพื้นที่แสดง มีการติดตั้งจอภาพผลึกเหลว (แอลซีดี) ลักษณะคล้ายใบเรือสำเภาจีน จำนวน 8 จอ โดยพิธีอย่างเป็นทางการเริ่มในเวลา 20.00 น. (8 นาฬิกากลางคืน) ตามเวลาท้องถิ่น โดยการจุดพลุที่หอคอยกวางตุ้ง (หอส่งสัญญาณโทรทัศน์และทัศนียแห่งกว่างโจว) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงอันดับเจ็ดของโลก จากนั้นจึงเป็นการคลี่จอแอลซีดีแบบโปร่งใสพับได้ออก ต่อด้วยการเชิญธงชาติจีนขึ้นสู่ยอดเสา ต่อมาจึงเป็นการแสดงในพิธีเปิด 4 ชุด ซึ่งสื่อให้เห็นว่านครกว่างโจวเป็นเมืองท่าที่สำคัญของจีน การแสดงที่สำคัญคือ การขับร้องเพลงโดย จาง จื่ออี๋ นักร้องและนักแสดงชาวจีน, หลาง หล่าง นักเปียโนชาวจีน, คิม ฮย็อนจุง นักร้องชาวเกาหลี เป็นต้น และการแสดงกายกรรม 4 มิติ ร่วมกับภาพบนจอแอลซีดีทั้งแปด โดยมีนักแสดงกายกรรมจำนวน 180 คนโยงกับลวดสลิง และดึงขึ้นไปสูงจากพื้น 80 เมตร ซึ่งใช้ผู้เชิดจำนวนกว่า 1,000 คน

ต่อมาเป็นช่วงประกอบกระถางคบเพลิง โดยนำน้ำจากแหล่งธรรมชาติของทั้ง 45 ประเทศ มาเทลงในกระถางคบเพลิง พร้อมการแสดงที่ผสมผสานเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศในเอเชีย โดยแบ่งตามภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียกลางตามลำดับ โดยในช่วงดังกล่าวมีการฉายภาพสถานที่สำคัญและเมืองสำคัญของทุกประเทศในเอเชีย สำหรับประเทศไทย เจ้าภาพได้ฉายภาพพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ภาพมุมสูงของกรุงเทพมหานคร และประติมากรรมช้างสองเชือกชูซุ้มบริเวณถนนราชดำเนิน ในช่วงสุดท้ายของการแสดงในพิธีเปิด มีการขับร้องเพลงโดยนักร้องจากจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ นักแสดงจากทุกชุดได้ออกมาอีกครั้ง พร้อมกันนั้นเสาทั้งสี่ได้ยกกระถางคบเพลิงสูงจากพื้น เมื่อการแสดงจบลงได้มีการแสดงสกีผาดโผนเป็นการคั่นเวลาในการปรับพื้นที่แสดงต่อไป

จากนั้นเป็นการเดินขบวนของคณะนักกีฬา และเจ้าหน้าที่ของประเทศต่างๆ ตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ โดยนักกีฬาจะเดินออกมาจากส่วนกลางด้านหลังของพื้นที่จัดแสดง เช่นเดียวกับพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ที่กรุงโดฮา นำโดยหญิงสาวถือป้ายชื่อประเทศที่มีส่วนบนโปร่งใส แสดงชื่อประเทศเป็นอักษรจีนและอังกฤษตามลำดับ ส่วนล่างเป็นภาพสถานที่สำคัญของประเทศนั้นๆ พร้อมทั้งมีการบรรเลงเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติเมื่อนักกีฬาเดินถึงจุดเลี้ยวด้านหน้าประธาน และจอแอลอีดีจะฉายภาพธงชาติพร้อมสถานที่สำคัญของประเทศนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ ขบวนของประเทศไทย เข้าสู่สถานที่จัดแสดงเป็นลำดับที่ 39 โดยป้ายส่วนล่างเป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม และ พระบรมมหาราชวัง ซึ่งเจ้าภาพต้อนรับด้วยการบรรเลงเพลง รำวงลอยกระทง และมี ดนัย อุดมโชค นักเทนนิสมือวางอันดับหนึ่งของทีมชาติไทย เป็นผู้เชิญธงชาติไทยนำขบวน ส่วนประเทศจีนเจ้าภาพนั้น ป้ายส่วนล่างเป็นรูปอนุสาวรีย์แพะ หอฟ้าเทียนถาน และศาลาประเทศจีนในงานเอกซ์โป 2010 ที่นครเซี่ยงไฮ้

สำหรับพิธีจุดไฟในกระถางคบเพลิง โดยนักกีฬาทีมชาติจีนทั้งอดีตและปัจจุบันเป็นผู้เชิญไฟ เริ่มจาก วู ซูจง นักพายเรือยาวมังกร ซึ่งวิ่งขึ้นมาจากกลางลำน้ำจูเจียง, เฉิน ยี่ปิง นักยิมนาสติก, หง จื้อหัง อดีตนักฟุตบอล, เติ้ง หย่าผิง อดีตนักเทเบิลเทนนิสเหรียญทองโอลิมปิก 1992 และ 1996 ส่วนผู้จุดคบเพลิงคือ เหอ ซง นักกระโดดน้ำ เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โดยจุดประทัดยักษ์ที่เด็กชายหญิงชาวจีน นำมาวางใต้กระถางคบเพลิง ซึ่งยกสูงขึ้นกลางสถานที่จัดแสดง ให้ลูกไฟพุ่งขึ้นไปจุดคบเพลิง เป็นสัญญาณว่าการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ[5]

พิธีปิดการแข่งขัน[แก้]

พิธีปิดการแข่งขัน กำหนดจัดในคืนวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ สถานที่เดียวกับพิธีเปิด โดยพิธีเปิดเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 20.00 น.(เวลาของจีน) หรือ 19.00 น.(เวลาของประเทศไทย)ชื่งมีการแสดง 2 ชุด ชุดเจ้าภาพ และ ชุดเจ้าภาพครั้งต่อไป และมีการเชิญนักกีฬาเข้าสู่สนาม เรียงลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ และเชิญธงโอชีเอลงจากยอดเสา จากนั้น เชิญธงโอชีเอให้กับ เจ้าภาพครั้งต่อไป รับธงโดย เรน ศิลปินเกาหลีไต้ และมีการเชิญธงเกาหลีใต้ขึ้นสู่ยอดเสา จากนั้นมีการแสดงเพลงของเรน และมีพิธีสุดท้าย คือการดับกระถางคบเพลิง

ชนิดกีฬา[แก้]

กีฬาที่แข่งขันในเอเชียนเกมส์ 2010

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน[แก้]

ประเทศที่เข้าแข่งขันในเอเชียนเกมส์ 2010
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน

ปฏิทินการแข่งขัน[แก้]

 ●  พิธีเปิด     การแข่งขัน  ●  การแข่งขันชิงเหรียญทอง  ●  พิธีปิด
พฤศจิกายน 2553 7
อา
8
9
10
11
พฤ
12
13
14
อา
15
16
17
18
พฤ
19
20
21
อา
22
23
24
25
พฤ
26
27
จำนวน
เหรียญทอง
กระโดดน้ำ 2 2 2 2 2 10
ว่ายน้ำ 6 6 7 7 6 6 38
ระบำใต้น้ำ 1 1 1 3
โปโลน้ำ         1           1 2
ยิงธนู     1 1 1 1 4
กรีฑา 6 6 8 4 11 10 2 47
แบดมินตัน     2       1 2 2 7
เบสบอล           1 1
บาสเกตบอล                       1 1 2
หมากรุก       2                 2 4
หมากล้อม     1       2 3
หมากรุกจีน             2 2
โบว์ลิ่ง   2   2     2 4   2 12
มวยสากล                 6 7 13
เรือแคนู – สลาลอม 2 2 4
เรือแคนู – สปรินท์ 6 6 12
คริกเกต             1             1 2
คิวสปอร์ต   2 2 1 1 2 1 1 10
จักรยาน – บีเอ็มเอกซ์ 2 2
จักรยานเสือภูเขา 2 2
จักรยาน – โร้ด 2 1 1 4
จักรยาน – แทร็ก 1 3   2 4 10
ลีลาศ 5 5 10
เรือยาวมังกร 2 2 2 6
ขี่ม้า 1 1 2 1 1 6
ฟันดาบ 2 2 2 2 2 2 12
ฟุตบอล                         1   1 2
กอล์ฟ       4 4
ยิมนาสติกสากล 1 1 2 5 5 14
ยิมนาสติกลีลา 1 1 2
แทรมโปลิน   2 2
แฮนด์บอล                           2 2
ฮอกกี้                       1 1 2
ยูโด 4 4 4 4 16
กาบัดดี้         2 2
คาราเต้ 5 4 4 13
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ 2 2 4
โรลเลอร์สปอร์ต 4 2   3 9
พายเรือ       7 7 14
รักบี้     2 2
เรือใบ           6 8 14
เซปักตะกร้อ         2     2     2 6
ยิงปืน 6 4 8 4 6 4 4 4 2 2 44
ซอฟต์บอล             1 1
ซอฟต์เทนนิส   2 1   2   2 7
สควอช       2       2 4
ปิงปอง       2     3 2 7
เทควันโด 4 4 4 4 16
เทนนิส       2           3 2 7
ไตรกีฬา 1 1 2
วอลเลย์บอลชายหาด                 1 1 2
วอลเลย์บอลในร่ม                           1 1 2
ยกน้ำหนัก 2 2 2 2 2 2 3 15
มวยปล้ำ 3 3 3 3 3 3 18
วูซู 2 2 2 2 7 15
การจัดพิธี
เหรียญทอง
ทั้งหมด
28 35 30 37 39 33 36 30 31 26 30 29 39 48 5 476
เหรียญทองสะสม 28 63 93 130 169 202 238 268 299 325 355 384 423 471 476
พฤศจิกายน 2553 7
อา
8
9
10
11
พฤ
12
13
14
อา
15
16
17
18
พฤ
19
20
21
อา
22
23
24
25
พฤ
26
27
จำนวน
เหรียญทอง

สรุปเหรียญการแข่งขัน[แก้]

ด้านล่างนี้เป็นตารางการจัดอันดับของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ โดยแสดงรายชื่อประเทศที่ได้รับเหรียญทองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่

  *  เจ้าภาพ (จีน)

ลำดับที่NOCทองเงินทองแดงรวม
1 จีน (CHN)*19911998416
2 เกาหลีใต้ (KOR)766591232
3 ญี่ปุ่น (JPN)487494216
4 อิหร่าน (IRI)20152459
5 คาซัคสถาน (KAZ)18233879
6 อินเดีย (IND)14173465
7 จีนไทเป (TPE)13163867
8 อุซเบกิสถาน (UZB)11222356
9 ไทย (THA)1193252
10 มาเลเซีย (MAS)9181441
11–36Remaining58101135294
รวม (36 NOC)4774796211577

การตลาด[แก้]

สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน[แก้]

สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน เป็นภาพลายเส้นของอนุสาวรีย์แพะห้าตัว ซึ่งเป็นตำนานของการสร้างนครกว่างโจว ส่วนตุ๊กตาสัญลักษณ์ เป็นแพะห้าตัว มีชื่อว่า อาเซียง อาเหอ อาลู่ อาอี้ และ เล่อหยางหยาง โดยเมื่อนำชื่อทั้งห้ามารวมกัน จะได้คำว่า 祥和如意樂洋洋 (เซียงเหอลู่อี้เล่อหยางหยาง) ซึ่งแปลว่า "สันติภาพ, สามัคคี และความสุข ในทุกๆ อย่างที่คุณปรารถนา"[51]

การถ่ายทอดสด[แก้]

การถ่ายทอดโทรทัศน์ในประเทศไทย[แก้]

การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ในครั้งนี้ สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ของนครกว่างโจวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์สำหรับถ่ายทอดการแข่งขันทางโทรทัศน์ในประเทศไทย ให้แก่กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อถ่ายทอดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) และโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) เพื่อถ่ายทอดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยใช้ระบบหมุนเวียนเรียงช่อง และแบ่งการถ่ายทอดเป็นสองช่องในกรณีพิเศษ เช่น พิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขัน หรือระหว่างถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลชายทีมชาติไทย เป็นต้น

ทั้งนี้ สทท.และ ทรท.จัดเวลานำเสนอการแข่งขันทุกวัน ด้วยการถ่ายทอดสดเป็นหลัก ร่วมกับการบันทึกภาพ เพื่อนำออกอากาศในช่วงเวลาถ่ายทอด หลังการแข่งขันสิ้นสุดลงอีกบางส่วน สำหรับช่วงเวลาถ่ายทอดในแต่ละวัน ทาง สทท.กำหนดภาคเช้า ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. (เฉพาะวันอาทิตย์ เริ่ม 10.00 น.), ภาคบ่าย ระหว่างเวลา 13.00-17.00 น. และภาคค่ำ ระหว่างเวลา 18.00-20.00 น. รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 9 ชั่วโมงต่อวัน และ ทรท.กำหนดภาคเช้า ระหว่างเวลา 10.00-12.00 น. และภาคบ่าย ระหว่างเวลา 14.00-18.00 น. รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ ทั้ง สทท.และ ทรท.ยังกำหนดช่วงเวลาพิเศษ หลังการถ่ายทอดภาคบ่าย ในกรณีที่การแข่งขันของนักกีฬาทีมชาติไทยยังดำเนินอยู่ ซึ่งจะขยายออกไปจนกว่าจะจบการแข่งขันนั้นๆ

อนึ่ง ระหว่างวันอังคารที่ 23-วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน สทท.มีภารกิจในการถ่ายทอดสด การประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 จึงจำเป็นต้องยกเลิกช่วงเวลาถ่ายทอดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่มีอยู่ตามปกติในวันดังกล่าว โดยทาง สทท.แจ้งให้ผู้ชมทราบ ผ่านอักษรวิ่งด้านล่างจอโทรทัศน์ว่า หากมีการแข่งขันที่นักกีฬาทีมชาติไทยเข้าชิงเหรียญทอง สถานีฯจะเข้าสู่การถ่ายทอดการแข่งขันนั้นจนจบ แล้วจึงถ่ายทอดสดการประชุมรัฐสภาต่อไป

อ้างอิง[แก้]

  1. "Guangzhou wins Asiad bid". News Guangdong. 2004-07-02. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.
  2. "Korea withdrew from 2010 Asian Games bidding". News Guangdong. 2004-03-25. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.
  3. "Kuala Lumpur quits, GZ becomes only bidding city". News Guangdong. 2004-04-15. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.
  4. "Kuala Lumpur drops Asian Games bid". News Guangdong. 2004-04-16. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.
  5. "กว่างโจวเกมส์เปิดอลังการ-ดนัยถือธงนำทัพไทย". สยามสปอร์ต. 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "Afghanistan – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  7. "Bahrain – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2011. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  8. "Bangladesh – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  9. "Bhutan – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  10. "Brunei set to send 9 athletes to Asian Games". The Brunei Times. ตุลาคม 17, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 27, 2012. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 20, 2010.
  11. "Cambodia – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  12. "China – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 5, 2011. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  13. "Hong Kong, China – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2011. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  14. "India – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 22, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  15. "Indonesia – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2012. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  16. "Iran – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  17. "Iraq – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  18. "Japan – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2013. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  19. "Jordan – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  20. "Kazakhstan – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  21. "North Korea send largest ever delegation to Asian Games". The Times of India. November 4, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2010. สืบค้นเมื่อ November 4, 2010.
  22. "R.O. Korea – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  23. "Athletes from Kuwait – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  24. "Kyrgyzstan – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  25. "Lao PDR – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  26. "Lebanon – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  27. "Macao, China – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  28. "Malaysia – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2011. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  29. "Maldives – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  30. "Mongolia – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2011. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  31. "Myanmar – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  32. "Nepal – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  33. "Oman – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2011. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  34. "Pakistan – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  35. "Palestine – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  36. "Philippines – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  37. "Qatar – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  38. "Saudi Arabia – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  39. "Singapore – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2011. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  40. "Sri Lanka – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  41. "Syria – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  42. "Chinese Taipei – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  43. "Tajikistan – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  44. "Thailand – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  45. "Timor-Leste – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  46. "Turkmenistan – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  47. "United Arab Emirates – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  48. "Uzbekistan – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  49. "260 Vietnamese athletes to attend ASIAD 2010". VietNamNet. October 20, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2010. สืบค้นเมื่อ October 20, 2010.
  50. "Yemen – Number of Entries by Sport". gz2010.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2010. สืบค้นเมื่อ November 9, 2010.
  51. "มาสคอต แพะ 5 ตัว กวางโจวเกมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-13. สืบค้นเมื่อ 2011-07-31.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]