อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
อำเภอบางน้ำเปรี้ยว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Nam Priao |
อุโบสถมหาเจดีย์ วัดโพรงอากาศ | |
คำขวัญ: ส่งเสริมวัฒนธรรม แหล่งทำนาข้าว มะพร้าวน้ำหอม ปลาพร้อมอุดม | |
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอบางน้ำเปรี้ยว | |
พิกัด: 13°50′50″N 101°3′12″E / 13.84722°N 101.05333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ฉะเชิงเทรา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 498.65 ตร.กม. (192.53 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 89,687 คน |
• ความหนาแน่น | 179.86 คน/ตร.กม. (465.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 24150, 24000 (เฉพาะตำบลศาลาแดง), 24170 (เฉพาะตำบลบึงน้ำรักษ์ ดอนเกาะกา และดอนฉิมพลี) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2403 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางน้ำเปรี้ยว หมู่ที่ 2 ตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 24150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บางน้ำเปรี้ยว เป็น 1 ใน 11 อำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ชุมทางรถไฟโดยมีสถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้าที่เป็นทางแยกทางรถไฟสายชุมทางแก่งคอย–คลองสิบเก้า[1][2] และทางรถไฟสายกรุงเทพ–อรัญประเทศ–ปอยเปต[3][4] และมีสถานีรถไฟบางน้ำเปรี้ยวเป็นสถานีประจำอำเภอ และยังเป็นพื้นที่ของปากคลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน รวมถึงเป็นพื้นที่ชุมทางของ 3 แม่น้ำซึ่งแม่น้ำนครนายกบรรจบกับแม่น้ำปราจีนบุรีที่ปากน้ำโยธะการวมเป็นแม่น้ำบางปะกง
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอบางน้ำเปรี้ยวมีอาณาเขตติดต่อกับท้องที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอองครักษ์ (จังหวัดนครนายก)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านสร้าง (จังหวัดปราจีนบุรี) และอำเภอคลองเขื่อน
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตหนองจอก (กรุงเทพมหานคร) และอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี)
ประวัติ
[แก้]อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ได้รับการจัดตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 เดิมตั้งอยู่ที่บ้านต้นสำโรง ตำบลบางขนาก มีหลวงพิศาลเกษตรสมบูรณ์เป็นนายอำเภอและใช้บ้านพักเป็นที่ว่าการอำเภอ ต่อมาได้ปลูกสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2448 ที่หมู่ 2 ตำบลบางน้ำเปรี้ยว ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอใหม่ด้วยงบประมาณของรัฐ ตั้งอยู่ฝั่งเหนือของคลองแสนแสบ (คลองบางขนาก) และในปี พ.ศ. 2540 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่โดยสร้างอยู่ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอเดิม และใช้เป็นสถานที่ราชการมาจนทุกวันนี้
การที่มีชื่อว่า "อำเภอบางน้ำเปรี้ยว" ตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุว่าอำเภอบางน้ำเปรี้ยวนี้เดิม เมื่อถึงฤดูแล้งน้ำในลำคลองแห้งขอดขุ่นข้นมีรสเปรี้ยว จึงได้ชื่อว่าตำบลบางน้ำเปรี้ยว และขนานนามอำเภอว่า "อำเภอบางน้ำเปรี้ยว" แต่เดิมมามีสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ตอนใต้ราบลุ่มต่ำตอนเหนือสูงขึ้นมีพงหญ้าต้นโขมง เป็นที่อาศัยของช้างป่า และสัตว์ป่าหลายชนิด มีราษฎรประกอบอาชีพทำนา อยู่แถบริมคลองเพียงเล็กน้อย ต่อมา ร.ศ. 311 บริษัท คูนาสยาม ได้เข้ามาทำการขุดคลอง 18 และคลอง 19, คลอง 20, คลอง 21 และจัดทำประตูระบายน้ำขึ้นทำให้ดินจืดคลายความเปรี้ยวลงมาก จึงทำให้ราษฎรจากที่อื่นพากันอพยพมาจากที่อื่นเพื่อประกอบอาชีพทำนามากขึ้น
- วันที่ 3 มีนาคม 2449 ปรับเปลี่ยนตำบลของจังหวัดฉะเชิงเทรา มณฑลปราจิณบุรี ทั้งหมด 20 ตำบลในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ให้คงเหลือ 8 ตำบล[6] ตามลำดับ โดยให้ตำบลบางขนากยังคงมีพื้นที่ดังเดิม
- (1) ยุบตำบลคลอง 14 รวมกับตำบลคลอง 15 ตั้งชื่อตำบลใหม่เป็นตำบลบึงน้ำรักษ์
- (2) ยุบตำบลดอนฉิมพลี ตำบลคลอง 16 รวมกับตำบลคลอง 17 ตั้งชื่อใหม่เป็นตำบลดอนฉิมพลี
- (3) ยุบตำบลคลอง 18 รวมกับตำบลคลอง 19 และตั้งชื่อใหม่เป็นตำบลหมอนทอง
- (4) ยุบตำบลย่านนาคา ตำบลคลอง 20 รวมกับตำบลคลอง 6 วา และตั้งชื่อใหม่เป็นตำบลดอนเกาะกา
- (5) ยุบตำบลคลองขวาง ตำบลลำอ้ายสอ ตำบลไผ่ดำ รวมกับตำบลบางน้ำเปรี้ยว และตั้งชื่อใหม่เป็นตำบลบางน้ำเปรี้ยว
- (6) ยุบตำบลบึงไข่ปลา ตำบลปลื้มพับผ้า รวมกับตำบลโพรงอากาศ และตั้งชื่อใหม่เป็นตำบลโพรงอากาศ
- (7) ยุบตำบลไผ่แถว รวมกับตำบลศาลาแดง และตั้งชื่อใหม่เป็นตำบลศาลาแดง
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบางน้ำเปรี้ยว ในพื้นที่หมู่ 4–6 ของตำบลโพรงอากาศ และพื้นที่หมู่ 1–2 ของตำบลบางน้ำเปรี้ยว[7]
- วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลดอนฉิมพลี ในพื้นที่หมู่ 1, 18 ของตำบลดอนฉิมพลี[8]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางขนาก ในท้องที่ตำบลบางขนาก[9]
- วันที่ 6 มิถุนายน 2515 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบางขนาก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขนาก ในท้องที่หมู่ 1-4, 6 ตำบลบางขนาก[10]
- วันที่ 20 พฤษภาคม 2518 ตั้งตำบลสิงโตทอง แยกออกจากตำบลหมอนทอง[11]
- วันที่ 5 พฤษภาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลาแดง ในท้องที่หมู่ 1–4 ตำบลศาลาแดง[12]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางน้ำเปรี้ยว สุขาภิบาลดอนฉิมพลี สุขาภิบาลบางขนาก และสุขาภิบาลศาลาแดง เป็น เทศบาลตำบลบางน้ำเปรี้ยว เทศบาลตำบลดอนฉิมพลี เทศบาลตำบลบางขนาก และเทศบาลตำบลศาลาแดง ตามลำดับ[13] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 23 สิงหาคม 2550 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเกาะกา เป็นเทศบาลตำบลดอนเกาะกา[14]
- วันที่ 31 สิงหาคม 2555 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางขนาก เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแสนแสบ[15] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองแสนแสบ เป็น เทศบาลตำบลคลองแสนแสบ[16]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอบางน้ำเปรี้ยวแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 148 หมู่บ้าน
1. | บางน้ำเปรี้ยว | (Bang Nam Priao) | 16 หมู่บ้าน | |||||
2. | บางขนาก | (Bang Khanak) | 12 หมู่บ้าน | |||||
3. | สิงโตทอง | (Singto Thong) | 8 หมู่บ้าน | |||||
4. | หมอนทอง | (Mon Thong) | 11 หมู่บ้าน | |||||
5. | บึงน้ำรักษ์ | (Bueng Nam Rak) | 15 หมู่บ้าน | |||||
6. | ดอนเกาะกา | (Don Ko Ka) | 14 หมู่บ้าน | |||||
7. | โยธะกา | (Yothaka) | 13 หมู่บ้าน | |||||
8. | ดอนฉิมพลี | (Don Chimphli) | 19 หมู่บ้าน | |||||
9. | ศาลาแดง | (Sala Daeng) | 22 หมู่บ้าน | |||||
10. | โพรงอากาศ | (Phrong Akat) | 18 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางน้ำเปรี้ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำเปรี้ยว (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 2) และตำบลโพรงอากาศ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 4–6)
- เทศบาลตำบลดอนฉิมพลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนฉิมพลี (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 18)
- เทศบาลตำบลบางขนาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขนาก (เฉพาะหมู่ที่ 1–2 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–4, 6)
- เทศบาลตำบลศาลาแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลาแดง (เฉพาะหมู่ที่ 1, 3–4 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 5)
- เทศบาลตำบลดอนเกาะกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนเกาะกาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลคลองแสนแสบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขนาก (เฉพาะหมู่ที่ 5, 7–12 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–4, 6)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำเปรี้ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำเปรี้ยว (เฉพาะหมู่ที่ 3–16 และบางส่วนของหมู่ที่ 2)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสิงโตทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสิงโตทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหมอนทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหมอนทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงน้ำรักษ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโยธะกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโยธะกาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนฉิมพลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนฉิมพลี (เฉพาะหมู่ที่ 2–17, 19 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 18)
- องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลาแดง (เฉพาะหมู่ที่ 6–22 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 5)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพรงอากาศ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพรงอากาศ (เฉพาะหมู่ที่ 1–3, 7–18 และบางส่วนของหมู่ที่ 4–6)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2532" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (114 ก): 14. วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2532
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (202 ก): 1093. วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
- ↑ สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง. "ทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน". สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2018.
- ↑ "บันทึกประวัติศาสตร์.. เขมรเปิดหวูดเดินรถไฟชายแดนไทย-ศรีโสภณครั้งแรกในรอบ 30 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 5 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2528 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ณ สมุดเลขรหัส แทนชื่อสถานีและที่หยุดรถ เริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522)". ที่ว่าการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2528
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แก้ไขอัตราชั้นที่นาและเปลี่ยนชื่อตำบลในมณฑลปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (49): 1234–1236. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2449
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 26-27. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 15-16. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2–6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบางขนาก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขนาก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (88 ง): 1467–1469. วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2515
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (98 ง): 1251–1253. วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (36 ง): 12–13. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-25 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 - ↑ "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลบางขนาก ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแสนแสบ".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - ↑ "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลคลองแสนแสบ เป็น เทศบาลตำบลคลองแสนแสบ".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555