จังหวัดพระตะบอง (ประเทศไทย)
จังหวัดพระตะบอง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัดของประเทศไทย | |||||||||
พ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2489 | |||||||||
จังหวัดพระตะบองในสีแดง | |||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
พ.ศ. 2484 | |||||||||
• ไทยคืนดินแดนให้กับอินโดจีนของฝรั่งเศส[1] | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | กัมพูชา |
จังหวัดพระตะบอง เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งเสียให้กับอินโดจีนของฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2450 และอีกครั้งระหว่าง พ.ศ. 2484–2489 หลังจากที่ไทยยึดคืนมาได้ในช่วงการยึดครองกัมพูชาของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวัดได้ถูกยุบและกลับไปเป็นของกัมพูชาในปี ค.ศ. 1946 พื้นที่ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา
ประวัติศาสตร์
[แก้]แม้ว่าสยามจะบุกเข้าพื้นที่นี้ในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่สยามก็ได้เพิ่งตั้งเป็นเขตการปกครองอย่างเป็นทางการในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในตอนต้นของอาณาจักรรัตนโกสินทร์เรียกว่ากัมพูชาในหรือเขมรใน เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน อภัยวงศ์) ต้นตระกูลอภัยวงศ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง ตระกูลของท่านได้ปกครองพระตะบองต่อมาอีก 5 ชั่วอายุคน จนถึง พ.ศ. 2450 ในปีนั้น พระตะบองพร้อมกับเสียมราฐและศรีโสภณเสียให้กับอินโดจีนของฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองตราดและเมืองด่านซ้ายตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยามที่ลงนามเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450
ใน พ.ศ. 2484 ด้วยความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตร ไทยได้ยึดคืนพื้นที่ที่เสียให้แก่ฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2450 พื้นที่ในกัมพูชาได้รวมเข้ากับประเทศไทยอีกครั้งเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 แบ่งเป็น 3 จังหวัดคือ จังหวัดพระตะบอง (มีอาณาเขตใหม่ตรงกับจังหวัดพระตะบองของกัมพูชา) จังหวัดนครจำปาศักดิ์ และจังหวัดพิบูลสงคราม (ตรงกับจังหวัดเสียมราฐของกัมพูชา)
ประเทศไทยถูกบีบให้ต้องเสียดินแดนอีกครั้งใน พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เพื่อเป็นเงื่อนไขในการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติของไทย
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ชื่อ | ชื่อในปัจจุบัน | |
---|---|---|
1 | จังหวัดพระตะบอง | อำเภอเมืองพระตะบอง |
2 | พรหมโยธี | อำเภอสังแก |
3 | อธึกเทวเดช | |
4 | มงคลบุรี | อำเภอมงคลบุรี |
5 | ศรีโสภณ | อำเภอศรีโสภณ |
6 | สินธุสงครามชัย | อำเภอพนมศกและอำเภอพระเนตรพระ |
7 | ไพลิน | จังหวัดไพลิน |
3 อำเภอเดิมของกัมพูชาเดิมถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายทหารซึ่งเป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพของกองทัพไทยในกรณีพิพาทอินโดจีน
- พรหมโยธี ได้รับการเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ พันเอก หลวงพรหมโยธี (มังกร พรหมโยธี ซึ่งต่อมาเป็นพลเอก) รองผู้บัญชาการทหารบก
- อธึกเทวเดช ได้รับการเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ พลอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช (บุญเจียม โกมลมิศร์) ผู้บัญชาการทหารอากาศ
- รณนภากาศ เปลี่ยนชื่อเมื่อ พ.ศ. 2486 เป็น รณนภากาศ ตามชื่อนาวาอากาศโท ขุนรณนภากาศ หลังจากที่หลวงอธึกเทวเดชลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ
- สินธุสงครามชัย ได้รับการเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ พลเรือตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน, ซึ่งต่อมาเป็นพลเรือเอก) ผู้บัญชาการทหารเรือ
วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ศรีโสภณและสินธุสงครามชัยย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพิบูลสงคราม[2]
วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 เมืองพระตะบองได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมือง[3]
เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2486 เนื่องจากอำเภอพรหมโยธีมีขนาดเล็ก อำเภอพรหมโยธีจึงถูกลดฐานะเป็นกิ่งอำเภอและเปลี่ยนชื่อเป็นปากแพรก พร้อมกันนั้นได้รวม 4 ตำบลจากอำเภอมงคลบุรีขึ้นเป็นอำเภอพรหมโยธีใหม่[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Laos - INDEPENDENCE".
- ↑ The Royal Gazette, Vol. 58, Page 1920-22, พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตต์จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ จังหวัดพิบูลสงคราม และจังหวัดพระตะบอง พุทศักราช ๒๔๘๔. December 30, 1941. Retrieved on November 24, 2008.
- ↑ The Royal Gazette, Vol. 59, Page 2254-58, พระราชกริสดีกา จัดตั้งเทสบาลเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง พุทธสักราช 2485. November 24, 1942. Retrieved on November 24, 2008.
- ↑ The Royal Gazette, Vol. 60 No. 51, Page 3054-55, เรื่องลดถานะและจัดตั้งอำเพอ ไนจังหวัดพระตะบอง. September 28, 1943. Retrieved on November 24, 2008.