ข้ามไปเนื้อหา

การขนส่งระบบรางในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การขนส่งระบบรางในประเทศไทย
การดำเนินการ
บริษัทรถไฟประจำชาติการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินการหลัก
สถิติ
ผู้โดยสาร488.74 ล้านคนต่อปี (2023) [1]
โครงข่ายเส้นทาง
ระยะทางทั้งหมด4,845.1 km (3,010.6 mi) (2023)[2]
ติดตั้งไฟฟ้า211.94 km (131.69 mi) (2022)[3]
ขนาดความกว้างราง
ขนาดความกว้างราง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
1,435 mm (4 ft 8 12 in)
โครงสร้างโดยทั่วไป
อุโมงค์ที่ยาวที่สุดอุโมงค์รถไฟดงพญาเย็น
5.850 km (3.635 mi)[4]
แผนที่เส้นทาง

การขนส่งระบบรางในประเทศไทย คือ การขนส่งระบบรางที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ทั้งรถไฟระหว่างเมือง และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

รถไฟทางไกล

[แก้]

รถไฟทางไกลในปัจจุบัน ให้บริการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

เส้นทางเดินรถ

[แก้]

ปัจจุบันการรถไฟฯ มีเส้นทางเดินรถที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง - รังสิต ระยะทาง 31 กิโลเมตร และเป็นทางสามช่วง รังสิต - ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 59 กิโลเมตร เส้นทางหลักที่สำคัญ มีดังนี้

นอกจากนั้นยังมีการสร้างทางอีกหลายเส้นทาง อาทิ สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า - สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี - สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย - สถานีรถไฟศรีราชา - สถานีรถไฟแหลมฉบัง - สถานีรถไฟชุมทางเขาชีจรรย์ - สถานีรถไฟมาบตาพุด และโครงการรถไฟฟ้าอีกสองเส้นทางคือ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา - หัวหมาก) และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต - มหาชัย) หรือเรียกรวม ๆ ได้ว่า โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงรางที่สำคัญมาก ๆ ต่อการพัฒนารางคือ ขยายทางให้เป็นทางคู่เพื่อให้สามารถทำความเร็วได้มากขึ้น ลดเวลาการเดินทาง จุผู้โดยสารและโบกี้สินค้าได้มากขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้นเนื่องจากการขนส่งเที่ยวหนึ่งสามารถบรรทุกคนและสินค้าได้มากกว่ารถยนต์ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการพัฒนาและปรับปรุงการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพ โครงการที่สำคัญที่จะสร้าง คือ

  • ลพบุรี – ปากน้ำโพ: 118 กิโลเมตร
  • นครปฐม – หัวหิน: 165 กิโลเมตร
  • มาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ: 132 กิโลเมตร
  • ชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น: 185 กิโลเมตร
  • ประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร: 167 กิโลเมตร

รวมโครงการระยะแรก 767 กิโลเมตร

รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850 ขณะทำขบวนนำเที่ยวทางรถไฟสายมรณะ ผ่านสะพานถ้ำกระแซ, จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2541

ประเภทขบวนรถ

[แก้]

รถโดยสาร

[แก้]

ประเภทของขบวนรถโดยสารจะแตกต่างกันโดยจำนวนสถานีที่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร และชนิดของรถโดยสารที่ให้บริการ ดังตารางต่อไปนี้

ประเภท เลขขบวน จำนวนสถานีที่หยุด ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3
นั่ง/นอน ป. นั่ง/นอน ป. นั่ง/นอน นั่ง ป. นั่ง นั่ง
ด่วนพิเศษ 1–50 น้อย มี มี - - มี[a] มี[a]
ด่วน 51–100 น้อย มี[b] มี มี มี[c] มี มี
เร็ว 1xx ปานกลาง - มี มี มี[d] มี มี
ธรรมดา 2xx เกือบทุกสถานี
(เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับภูมิภาค)
- - - - - มี
ชานเมือง 3xx[e] เกือบทุกสถานี
(กรุงเทพฯ และปริมณฑล)
- - - - - มี
ท้องถิ่น 4xx เกือบทุกสถานี
(ภูมิภาค)
- - - - - มี
นำเที่ยว/พิเศษ 9xx ขึ้นอยู่กับภารกิจของแต่ละขบวน

หมายเหตุ

  1. 1.0 1.1 เฉพาะรถด่วนพิเศษที่ 13/14 กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ และรถด่วนพิเศษทักษิณที่ 37/38 กรุงเทพ – สุไหงโก-ลก – กรุงเทพ
  2. ยกเว้นรถด่วนที่ 51/52
  3. เฉพาะรถด่วนที่ 83/84, 85/86 และรถด่วนดีเซลรางสายตะวันออกเฉียงเหนือ
  4. เฉพาะรถเร็วที่ 105/106 กรุงเทพ – ศิลาอาสน์ – กรุงเทพ
  5. ยกเว้นรถชานเมือง ศาลายา – ธนบุรี – ศาลายา ใช้รหัส 47x

รถสินค้า

[แก้]
รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850 ซึ่งจอดรอในโรงรถจักรธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2562

ขบวนรถสินค้า ประกอบด้วยรถสินค้าเท่านั้น ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าประเภทเหมาคันทั้งภายในประเทศ และเพื่อส่งออกประเทศมาเลเซีย ที่สถานีรถไฟชายแดนอย่าง สุไหงโก-ลก และปาดังเบซาร์

ประเภทของขบวนรถสินค้า ได้แก่

รถจักรและรถดีเซลราง

[แก้]
หัวรถจักรดาเวนพอร์ต เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นแรก ๆ ของไทย ปัจจุบันมีใช้งานเพียง 4 สถานีเท่านั้น คือ สถานีรถไฟพิษณุโลก สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟนครราชสีมา และสถานีรถไฟนครลำปาง
อัลสธอม เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่มีจำนวนมากที่สุด โดยมีรุ่นย่อยทั้งหมด 4 รุ่น

ในปัจจุบัน รถจักรดีเซลไฟฟ้า ถือเป็นรถจักรที่มีส่วนช่วยในการทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้ามากที่สุด โดยรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่ใช้งานบ่อย ๆ ได้แก่ จีอี อัลสธอม (มี 4 รุ่นย่อย ได้แก่ เอแอลเอส เอเอชเค เอแอลดี และเอดีดี) ฮิตาชิ จีอีเอ และซีเอสอาร์ นอกจากนี้ยังมีรถจักรดีเซลไฮดรอลิก ซึ่งมีบทบาทในการทำขบวนรถโดยสารน้อยลงกว่าในอดีต แต่จะทำขบวนรถโดยสารหรือรถสินค้าในกรณีพิเศษ เช่น กรุปป์ทำขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสารในช่วงอุทกภัย และเฮนเชล ทำขบวนรถบำรุงทางเพื่อใช้ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เป็นต้น

นอกจากรถจักรแล้ว ยังมีรถดีเซลราง ซึ่งมีทั้งห้องโดยสารและห้องขับภายในคันเดียวกัน โดยมีเครื่องยนต์อยู่ข้างใต้ ทำให้ขบวนรถออกตัวได้ดีกว่าการใช้รถจักรลาก รถดีเซลรางหลัก ๆ ที่ยังคงใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่

  • ฮิตาชิ ใช้ทำรถท้องถิ่นสายตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นรถเสริมให้กับรถด่วนดีเซลรางในช่วงเทศกาล
  • ทีเอชเอ็นและเอ็นเคเอฟ ใช้ทำรถธรรมดา รถชานเมือง รถท้องถิ่นสายเหนือ และรถด่วนดีเซลรางสายตะวันออกเฉียงเหนือ
  • เอทีอาร์ เป็นรถดีเซลรางนั่งปรับอากาศที่ไม่มีห้องขับ พ่วงในรถด่วนดีเซลรางสายตะวันออกเฉียงเหนือ รถเร็วที่ 105/106 รถนำเที่ยวน้ำตก/สวนสนประดิพัทธ์ และรถชานเมืองวงเวียนใหญ่–มหาชัย บางขบวน
  • สปรินเทอร์ ใช้ทำรถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 3/4 ในสายเหนือ และรถเร็วที่ 997/998 ในสายตะวันออก
  • แดวู ใช้ทำรถด่วนพิเศษดีเซลรางในสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้

การเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

[แก้]
  • มาเลเซีย มาเลเซีย - มี - เปิดใช้บริการ - ขนาดความกว้างราง 1,000 mm (3 ft 3 38 in)
  • ลาว ลาว - มี - เปิดใช้บริการ - ขนาดความกว้างราง 1,000 mm (3 ft 3 38 in)
  • กัมพูชา กัมพูชา - มี - เปิดใช้บริการ - ขนาดความกว้างราง 1,000 mm (3 ft 3 38 in)
  • ประเทศพม่า พม่า - ไม่มี - ยุติการใช้บริการ - (ดูที่ทางรถไฟสายมรณะ)

รถไฟฟ้าในเขตเมือง

[แก้]

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองเดียวที่มีระบบรถไฟฟ้า ปัจจุบันประกอบด้วย 4 ระบบ คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ในอนาคต อาจมีความยาวเกือบ 400 กิโลเมตร ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล นอกจากนี้ ยังมีโครงรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามหัวเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบโครงการ

รายชื่อจังหวัดที่มีทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

รถไฟฟ้าบีทีเอส

[แก้]
รถไฟฟ้าบีทีเอส

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เป็นชื่อทางการของรถไฟฟ้าบีทีเอส ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เปิดบริการตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกาถึง 24 นาฬิกา

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในโอกาสที่เปิดบริการมาครบ 9 ปี ปรากฏว่า มียอดมีผู้ใช้บริการตั้งแต่เปิดให้บริการ 972,034,298 เที่ยว มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันทำการ 424,369 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.6 โดยในปี พ.ศ. 2551 นี้มีผู้ใช้บริการสูงสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จำนวน 497,390 เที่ยว [5] และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มี​ผู้โดยสาร​ใช้​บริการ​รถไฟ​ฟ้า​เฉลี่ย​ใน​วัน​ทำ​การ​สร้าง​สถิติ​ใหม่​สูง​สุด​เท่ากับ 509,106 เที่ยว​ต่อคน [6]

และผลดำเนินงานบริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในรอบบัญชีเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 มียอดผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 176,028,556 เที่ยวคน เพิ่มขึ้นจากงวดปีที่ผ่านมาร้อยละ 21.24 และเมื่อพิจารณาจากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันภาพรวมปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 18.26 เป็น 480,952 เที่ยวคน ซึ่งวันที่ 30 มีนาคม 2555 นับว่าเป็นวันที่ทุบสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้บริการมา มีผู้มาใช้บริการถึง 714,575 เที่ยวคน[7]

ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 สถานีสำโรงได้เปิดใช้บริการและเป็นวันที่ รถไฟฟ้าบีทีเอส ให้บริการผู้โดยสารเชื่อมต่อระหว่าง กรุงเทพมหานคร และ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นวันแรก ปัจจุบันให้บริการครอบคลุม 3 จังหวัดคือ จังหวัดปทุมธานี กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ ระยะทางรวม 68.25 กิโลเมตร จำนวน 60 สถานี

รถไฟฟ้ามหานคร

[แก้]
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

รถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบันได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ดำเนินการโดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) โดยได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ปัจจุบันให้บริการครอบคลุม 2 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดนนทบุรี ระยะทางรวม 70.6 กิโลเมตร จำนวน 53 สถานี

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน

[แก้]
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เป็นส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมือง โดยรัฐบาลได้นำโครงการนี้มาเป็นโครงการเร่งด่วนและแยกการก่อสร้างต่างหากจากระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด

สำหรับยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เต็มรูปแบบวันแรกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีผู้โดยสารใช้บริการในระบบซิตี้ไลน์ 26,149 คน จากเป้าที่ตั้งไว้ 15,000 คน ส่วนรถด่วนมีผู้ใช้บริการ 633 คน ทั้งนี้คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีผู้ใช้บริการประมาณ 5-7 หมื่นคน[8]

รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทความเร็วสูง ซึ่งมีความเร็วปกติอยู่ที่ 160-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่มีความเร็วขณะเข้าประแจที่ 40-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีความเร็วขณะเข้าประแจลงศูนย์ซ่อมบำรุงที่ย่านคลองตันที่ 125 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ปัจจุบันให้บริการครอบคลุม 2 จังหวัดคือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ ระยะทางรวม 28.6 กิโลเมตร จำนวน 8 สถานี

รถไฟฟ้าชานเมือง

[แก้]
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม

เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตลอดจนพื้นที่ต่อเนื่องคือ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับคุณภาพในการให้บริการของรถไฟชานเมืองซึ่งทำหน้าที่ในการบริการขนส่งผู้โดยสารที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชานเมืองตลอดจนพื้นที่ต่อเนื่องสามารถเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบรางที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการป้อนผู้โดยสารเข้าสู่โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่นในเขตกรุงเทพมหานครอันได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รถไฟฟ้าบีทีเอส ของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) หรือแม้กระทั่งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ปัจจุบันมี 2 สาย ระยะทางรวม 37.6 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี

รถไฟฟ้าภายในท่าอากาศยาน

[แก้]

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานเดียวที่มีระบบขนส่งผู้โดยสารภายในท่าอากาศยาน ปัจจุบันมี 1 ระบบ คือ ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 1 กิโลเมตร รับส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักและอาคารผู้โดยสารรองที่ 1 (SAT-1)

รถไฟความเร็วสูง

[แก้]

โครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย เป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ของประเทศไทยในการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน มีเป้าหมายในการก่อสร้าง 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ, สายตะวันออก (เชื่อม 3 สนามบิน), สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Department of Rail Transport - Statistics, สืบค้นเมื่อ Jan 22, 2024[ลิงก์เสีย]
  2. SRT 2023, p. 50.
  3. อัพเดตแผนที่รถไฟฟ้า กทม.-ปริมณฑล ทุกสาย รวม 33 โครงการ, 28 January 2022
  4. รวมที่สุด ของโครงการรถไฟทางคู่ของไทย, 23 February 2023
  5. "บีทีเอสเล็งลงทุนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าทุกเส้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-19.
  6. บี​ที​เอส​กรุ๊ป​ฉลุย​รับ​ต่อ​ขยาย​แบริ่ง
  7. BTS ​เผย​เม.ย.54-มี.ค.55ยอด​ผู้​ใช้รถ​ไฟฟ้า​โต 21.2%,​เตรียมรับมอบขบวนรถ​เพิ่ม
  8. แอร์พอร์ตลิงก์ลด 40%

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]