ข้ามไปเนื้อหา

เขตลาดพร้าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตลาดพร้าว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Lat Phrao
ไร่ดอกทานตะวัน ใกล้กับโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในเขตลาดพร้าว
ไร่ดอกทานตะวัน ใกล้กับโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในเขตลาดพร้าว
คำขวัญ: 
แหล่งนิวาสสถาน ร้านอาหารเลื่องชื่อ
งามระบือเจดีย์ใหญ่ วัดวาอารามงามวิไล
ปวงประชาร่วมใจพัฒนา
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตลาดพร้าว
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตลาดพร้าว
พิกัด: 13°48′13″N 100°36′27″E / 13.80361°N 100.60750°E / 13.80361; 100.60750
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด22.157 ตร.กม. (8.555 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด113,197 คน
 • ความหนาแน่น5,108.86 คน/ตร.กม. (13,231.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10230
รหัสภูมิศาสตร์1038
ต้นไม้
ประจำเขต
มะพร้าว
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 208 ถนนนาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/latphrao
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ลาดพร้าว เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ)

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เขตลาดพร้าวตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เดิมเขตลาดพร้าวมีฐานะเป็น ตำบลลาดพร้าว ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลลาดพร้าวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงลาดพร้าว และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางกะปิ

ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และตั้ง เขตลาดพร้าว และเขตบึงกุ่ม จนกระทั่งใน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวใหม่ โดยแบ่งพื้นที่แขวงจรเข้บัวเฉพาะส่วนที่อยู่ฟากเหนือคลองสามขา คลองโคกคราม และคลองตาเร่งไปเป็นพื้นที่ของเขตบางเขนและเขตคันนายาว และแบ่งพื้นที่บางส่วนของแขวงลาดพร้าวไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลาง ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง

และในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2545 กระทรวงมหาดไทยได้โอนพื้นที่บางส่วนของเขตวังทองหลางมาเป็นส่วนหนึ่งของแขวงลาดพร้าว

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

เขตลาดพร้าวแบ่งพื้นที่การปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
ลาดพร้าว Lat Phrao
15.102
87,268
5,778.57
แผนที่
2.
จรเข้บัว Chorakhe Bua
7.055
25,929
3,675.27
ทั้งหมด
22.157
113,197
5,108.86

ประชากร

[แก้]

การคมนาคม

[แก้]

สถานที่สำคัญ

[แก้]

โรงเรียน

  • โรงเรียนสตรีวิทยา 2
  • โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม
  • โรงเรียนโชคชัย
  • โรงเรียนอนุบาลโชคชัย ลาดพร้าว
  • โรงเรียนฤทธิไกรศึกษา
  • โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
  • โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์

วัด

สถานที่อื่นๆ

  • พระตำหนักพระแม่กวนอิมโชคชัย 4
  • กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ โชคชัย 4
  • เซ็นทรัลอีสต์วิลล์
  • โฮมโปร รามอินทรา
  • เดอะคริสตัล เอกมัย-รามอินทรา
  • เดอะวอล์ค เกษตร-นวมินทร์
  • โลตัส สาขาวังหิน
  • โลตัส รามอินทรา-อาจณรงค์
  • แม็คโคร สาขาประดิษฐ์มนูธรรม
  • แม็คโคร สาขาวังหิน

การสาธารณสุข

[แก้]
  1. โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล โชคชัย 4
  2. ศูนย์แพทย์เสนาเวชการคลินิก
  3. ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4
  4. ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ตำหนักพระแม่กวนอิม จรเข้บัว
  5. ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ตำหนักพระแม่กวนอิม จันทร์–ทองอินทร์ ดวงเด่น
  6. ศูนย์บริการสาธารณสุข 15 ศูนย์บำบัดยาเสพติด2ลาดพร้าว

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 10 มกราคม 2566.
  2. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2559. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2559.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]