ประเทศเลบานอน
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สาธารณรัฐเลบานอน | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
جمهورية لبنان (อาหรับ) |
||||||
|
||||||
เพลงชาติ: Kulluna lil-watan lil 'ula lil-'alam |
||||||
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | เบรุต 33°54′N 35°32′E / 33.900°N 35.533°E | |||||
ภาษาราชการ | ภาษาอาหรับ | |||||
การปกครอง | สาธารณรัฐแบบรัฐเดี่ยว | |||||
• | ประธานาธิบดี | มีชาล ซุลัยมาน | ||||
• | นายกรัฐมนตรี | นะญีบ มีกอตี | ||||
ได้รับเอกราช | ||||||
• | ประกาศ | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 | ||||
• | เป็นที่ยอมรับ | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 | ||||
พื้นที่ | ||||||
• | รวม | 10,452 ตร.กม. (162) 4,036 ตร.ไมล์ |
||||
• | แหล่งน้ำ (%) | 1.8 | ||||
ประชากร | ||||||
• | 2557 (ประเมิน) | 4,467,000 (119) | ||||
• | ความหนาแน่น | 473 คน/ตร.กม. (27) 1,500 คน/ตร.ไมล์ |
||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) | |||||
• | รวม | $ 87.887 พันล้าน | ||||
• | ต่อหัว | $ 19,485 | ||||
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) | |||||
• | รวม | $ 52.698 พันล้าน | ||||
• | ต่อหัว | $ 11,683 | ||||
จีนี (2554) | 31.8[1] | |||||
HDI (2559) | ![]() |
|||||
สกุลเงิน | ปอนด์เลบานอน (LBP ) |
|||||
เขตเวลา | EET (UTC+2) | |||||
• | ฤดูร้อน (DST) | EEST (UTC+3) | ||||
ขับรถด้าน | ขวามือ [2] | |||||
โดเมนบนสุด | .lb | |||||
รหัสโทรศัพท์ | 961 |
เลบานอน หรือ ลิบนาน (อังกฤษ: Lebanon; อาหรับ: لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (อังกฤษ: Republic of Lebanon, Lebanese Republic; อาหรับ: جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาติ
เนื้อหา
ประวัติศาสตร์[แก้]
เลบานอนอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1943 หลังจากนั้น เลบานอนได้พัฒนาประเทศจนสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเงินศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้นับตั้งแต่อดีตไว้ได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงปี ค.ศ. 1975 – 1991 เลบานอนตกอยู่ภายใต้ภาวะสงครามกลางเมือง มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาหรับและกลุ่มคริสเตียนในเลบานอน ในที่สุด ทุกฝ่ายสามารถหาข้อยุติและร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูประเทศหลังจากภาวะสงครามกลางเมืองอีกครั้ง
ซีเรียเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเลบานอนมากที่สุด โดยเฉพาะด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ โดยซีเรียได้ส่งกองกำลังรักษาความสงบอยู่ในเลบานอนประมาณ 30,000 คน และจากความสัมพันธ์ที่แนบแน่นดังกล่าว ทำให้กรณีพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างซีเรีย เลบานอนกับอิสราเอลไม่มีความคืบหน้า
การเมืองการปกครอง[แก้]
เลบานอนมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
บริหาร[แก้]
ฝ่ายบริหารประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี 16 นาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
นิติบัญญัติ[แก้]
รัฐสภาแห่งชาติ (National Assembly) มีสมาชิก 128 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี (ประธานรัฐสภาแห่งชาติควรเป็นมุสลิมนิกาย Shi’a)
ตุลาการ[แก้]
ฝ่ายตุลาการมี 4 ศาล ได้แก่ ศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับพลเรือนและการพาณิชย์ 3 ศาล และศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับคดีอาญาอีก 1 ศาล
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เลบานอนแบ่งเป็น 6 เขตผู้ว่า หรือ มุฮาฟาซอต (mohafazat, เอกพจน์ มุฮาฟาเซาะห์ - mohafazah) ซึ่งแบ่งเป็นเขตย่อยลงไปอีก 25 เขต หรือ อักฎิยะห์ (Aqdya, เอกพจน์ - กอฎออ์ [qadaa]) , และแบ่งเป็นเทศบาลต่าง ๆ ที่รวมหลายเมืองหรือหมู่บ้าน (เมืองหลวงของเขตผู้ว่าจะเป็นตัวเอน)
เขตผู้ว่าเบรุต (Beirut Governorate) :
เขตผู้ว่าภูเขาเลบานอน (Governorate of Mount Lebanon) :
- บาบดา (Baabda) (บาบดา [Baabda])
- อเลย์ (Aley) (อเลย์ [Aley])
- เมตน์ (Metn) (จเดเดห์ [Jdeideh])
- เคเซอร์วัน (Keserwan) (จูนิเยะห์ [Jounieh])
- ชูฟ (Chouf) (เบเตดดีน [Beiteddine])
- จเบล (Jbeil) (บิบลอส [Byblos])
เขตผู้ว่าเลบานอนเหนือ (Governorate of North Lebanon) :
- ตรีโปลี (Tripoli) (ตรีโปลี [Tripoli])
- อัคคาร์ (Akkar) (ฮัลบา [Halba])
- ซการ์ตา (Zgharta) (ซการ์ตา [Zgharta] / เอห์เดน [Ehden])
- บชาร์ริ (Bsharri) (บชาร์ริ [Bsharri])
- บาตรูน (Batroun) (บาตรูน [Batroun])
- คูรา (Koura) (อัมยูน [Amyoun])
- มานเยห์-ดานน์เยห์ (Manyeh-Dannyeh) (มานเยห์ [Manyeh] / เซร์ดดานน์เยห์ [Seirddanyeh])
เขตผู้ว่าเบกา (Governorate of Beqaa) :
- ซาห์เลห์ (Zahleh) (ซาห์เลห์ [Zahleh])
- บะอัลเบค (Baalbek) (บะอัลเบค [Baalbek])
- เฮอร์เมล (Hermel) (เฮอร์เมล [Hermel])
- ราชายา (Rashaya) (ราชายา [Rashaya])
- เบกาตะวันตก (Western Beqaa) (เจบเจนนีน [Jebjennine]/ ซากบีน [Saghbine])
เขตผู้ว่าเลบานอนใต้ (Governorate of South Lebanon) :
- ซีดอนหรือไซดา (Sidon, Saida) (ซีดอน [Sidon])
- เจซซีน (Jezzine) (เจซซีน [Jezzine])
- ไทร์ (Tyre) (ไทร์ [Tyre])
เขตผู้ว่านาบาตีเยะห์ (Governorate of Nabatyeh) :
- นาบาตีเยะห์ (Nabatyeh) (นาบาตเยห์ [Nabatyeh])
- มาร์เจยูน (Marjeyoun) (มาร์เจยูน [Marjeyoun])
- ฮัสบายา (Hasbaya) (ฮัสบายา [Hasbaya])
- เบนต์จเบล (Beintjbeil) (เบนต์จเบล [Beintjbeil])
กองทัพ[แก้]
ประชากร[แก้]
ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ
ศาสนา[แก้]
ศาสนาอิสลามร้อยละ 54 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 40.5[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Lebanon". World Bank.
- ↑ "Driving in Lebanon". adcidl.com. สืบค้นเมื่อ 17 January 2013.
- ↑ CIA Worldfactbook 2001
- ประเทศเลบานอน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ประเทศเลบานอน |
ค้นหาเกี่ยวกับ ประเทศเลบานอน เพิ่มที่โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย | |
![]() |
บทนิยาม จากวิกิพจนานุกรม |
![]() |
สื่อ จากคอมมอนส์ |
![]() |
ทรัพยากรการเรียน จากวิกิวิทยาลัย |
![]() |
อัญพจน์ จากวิกิคำคม |
![]() |
ข้อความต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ |
![]() |
ตำรา จากวิกิตำรา |
- Lebanon official government portal
- Lebanon Lebanon – Country Profile
- Lebanon entry at The World Factbook
- แม่แบบ:GovPubs
- แม่แบบ:ArabDecision
- ประเทศเลบานอน ที่เว็บไซต์ Curlie
Wikimedia Atlas of Lebanon
|
|