มณฑลปราจิณบุรี
มณฑลปราจิณบุรี | |
---|---|
มณฑลเทศาภิบาล | |
พ.ศ. 2436 – 2476 | |
![]() แผนที่มณฑลปราจิณบุรี | |
ยุคทางประวัติศาสตร์ | รัตนโกสินทร์ |
• จัดตั้ง | พ.ศ. 2436 |
• รวมมณฑลจันทบุรีไว้ในการปกครอง | 1 เมษายน พ.ศ. 2475 |
• ยุบเลิก | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 |
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ![]() |
มณฑลปราจีนบุรี หรือ มณฑลปราจิณ อดีตมณฑลหนึ่งของไทยในระบบการปกครองแบบ มณฑลเทศาภิบาล ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 โดยรวม 7 เมืองฝั่งตะวันออกเข้ามาอยู่รวมกันคือ
โดยมีเมืองปราจีนบุรีเป็นที่ว่าการมณฑล ต่อมาเมื่อมีการตัดเส้นทางรถไฟมาถึงเมืองฉะเชิงเทรา ประกอบกับเมืองฉะเชิงเทรามีราชการมากกว่าเมืองอื่น ๆ ในมณฑลและเพื่อเป็นการสะดวกแก่การปกครองและการบริหารราชการในมณฑลปราจิณ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ว่าการมณฑลจาก ปราจีนบุรี มาอยู่ที่ ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 8 มกราคม รัตนโกสินทรศก 121 ตรงกับ พ.ศ. 2445 [1] ในสมัยที่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ เป็นข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาล
เมื่อ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ พ้นจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจิณในวันที่ 26 พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก 122 ตรงกับ พ.ศ. 2446 จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระอนุชาต่างพระมารดาข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจิณอีกตำแหน่งหนึ่งสืบต่อมาโดยให้ พระยาโบราณบุรานุรักษ์ รั้งตำแหน่งข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลกรุงเก่า[2]
กระทั่งวันที่ 25 พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก 125 ตรงกับ พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พ้นจากตำแหน่ง ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า และให้ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจิณเพียงตำแหน่งเดียว โดยได้พระราชทานสัญญาบัตรให้กับ พระยาโบราณบุรานุรักษ์ เป็นข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าสืบต่อมา [3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ขอลาออกจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลปราจีนบุรี ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สำเร็จราชการมณฑลปราจีนบุรี ให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์ รั้งตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า, เล่ม 20, ตอน 36, 6 ธันวาคม พ.ศ. 2446, หน้า 629
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย