ฉงชิ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉงชิ่ง

重庆市

จุงกิง
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: ภาพถ่ายทางอากาศนครฉงชิ่ง ไป๋ตี้เฉิง สะพานเอ๋อกงหยาน โกรกธารชฺวีถัง และศาลาประชาคม
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: ภาพถ่ายทางอากาศนครฉงชิ่ง ไป๋ตี้เฉิง สะพานเอ๋อกงหยาน โกรกธารชฺวีถัง และศาลาประชาคม
แผนที่
ที่ตั้งของนครฉงชิ่ง
ที่ตั้งของนครฉงชิ่ง
พิกัด: 29°33′30″N 106°34′00″E / 29.55833°N 106.56667°E / 29.55833; 106.56667พิกัดภูมิศาสตร์: 29°33′30″N 106°34′00″E / 29.55833°N 106.56667°E / 29.55833; 106.56667
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตั้งชื่อจากฉง () — "ซ้ำ"
ชิ่ง () — "เฉลิมฉลอง"
"เฉลิมฉลองซ้ำ"
เขตการปกครอง
 • ระดับอำเภอ
 • ระดับตำบล


25 เขต, 13 อำเภอ

1,259 เมือง, ตำบล และแขวง
การปกครอง
 • ประเภทนครปกครองโดยตรง
 • เลขาธิการพรรคChen Min'er
 • นายกเทศมนตรีTang Liangzhi
 • ประธานรัฐสภาZhang Xuan
 • ประธานที่ประชุมXu Jingye
พื้นที่[1]
 • นครปกครองโดยตรง82,403 ตร.กม. (31,816 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง5,472.8 ตร.กม. (2,113.1 ตร.ไมล์)
ความสูง244 เมตร (801 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด1,709.4 เมตร (5,608.3 ฟุต)
ประชากร
 (2016)[3]
 • นครปกครองโดยตรง8,518,000 คน
 • ความหนาแน่น100 คน/ตร.กม. (270 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง30,484,300[2] คน
 • รวมปริมณฑล30,484,300 คน
ประชากรศาสตร์
 • ชาติพันธุ์ฮั่น: 91%
ตูเจีย: 5%
ม้ง: 2%
เขตเวลาUTC+8
รหัสไปรษณีย์4000 00 – 4099 00
รหัสพื้นที่23
รหัส ISO 3166CN-CQ
GDPพ.ศ. 2561 [4]
 • ทั้งหมด2.04 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 18)
 • ต่อหัว66,218 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 10)
HDI (พ.ศ. 2559)0.797[5] (อันดับที่ 17) – สูง
ชื่อย่อCQ / ยฺหวี (; )
ดอกไม้คาร์มีเลีย[6]
ต้นไม้Ficus lacor[7]
เว็บไซต์www.chongqing.gov.cn (จีน)
www.cq.gov.cn/english (อังกฤษ)

ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง (จีนตัวย่อ: 重庆市; จีนตัวเต็ม: 重慶市; พินอิน: Chóngqìng Shì) เป็นนครที่ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เป็นหนึ่งในสี่นครที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของรัฐบาลกลาง (อีกสามแห่ง คือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเทียนจิน) และเป็นนครปกครองโดยตรงเพียงแห่งเดียวที่ไม่ได้ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเล[8]

ฉงชิ่งเคยเป็นนครปกครองโดยตรงในสมัยที่จีนเป็นสาธารณรัฐจีน โดยใช้เป็นเมืองหลวงในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (ค.ศ. 1937–1945) ในช่วงสมัยนี้ ฉงชิ่งถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในสี่แห่งของโลกที่เป็นศูนย์บัญชาการต่อต้านฟาสซิสต์ ซึ่งอีกสามแห่ง คือ วอชิงตัน ลอนดอน และมอสโก[9] ปัจจุบัน นครปกครองโดยตรงฉงชิ่งได้จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1997 เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาตอนกลางและตะวันตกของจีน[10] นครฉงชิ่งมีประชากรกว่า 30 ล้านคน มีพื้นที่ขนาดประมาณประเทศออสเตรีย[11] เขตเมืองของนครฉงชิ่งประกอบด้วย 9 เขต ซึ่งมีประชากรรวมกันไม่เกิน 8,518,000 คน ตามประมาณการปี ค.ศ. 2016[2] ตามการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2010 ฉงชิ่งเป็นนครปกครองโดยตรงที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน[12] และยังเป็นนครปกครองโดยตรงที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศจีน เขตการปกครองของฉงชิ่งแบ่งออกเป็น 26 เขต 8 อำเภอ และ 4 อำเภอปกครองตนเอง

คำย่ออย่างเป็นทางการของนครฉงชิ่ง คือ "ยฺหวี" (; ) ได้รับการอนุมัติโดยสภารัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1997[13] มีที่มาจากชื่อเก่าของส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจียหลิง ที่ไหลผ่านฉงชิ่งและไปบรรจบกับแม่น้ำแยงซี

ฉงชิ่งมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่โดดเด่น ในฐานะที่เป็นนครศูนย์กลางแห่งชาติของจีน ฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในบริเวณต้นน้ำของลุ่มแม่น้ำแยงซี เป็นศูนย์การผลิตและศูนย์กลางการขนส่ง จากรายงานของดิอีโคโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต (Economist Intelligence Unit) เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 ระบุว่าฉงชิ่งเป็น 1 ใน 13 มหานครเกิดใหม่ของจีน[14]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ทิวทัศน์ยามพระอาทิตย์ตกของย่านศูนย์กลางธุรกิจของฉงชิ่ง ภาพเมื่อปี ค.ศ. 2017

ภูมิประเทศ[แก้]

ภูมิประเทศของฉงชิ่ง

ตั้งอยู่ทางตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง ที่ตั้งและอาณาเขต ฉงชิ่งมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ภูมิอากาศ[แก้]

มีอุณหภูมิระหว่าง 24-25 องศาเซลเซียส สำหรับอุณหภูมิสูงสุดโดย เฉลี่ย 29-29.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 20.6-21 องศาเซลเซียส

เศรษฐกิจ[แก้]

นครฉงชิ่งมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 266,539 ล้านหยวน (ปี 2004) เพิ่มขึ้น 12.2%

ทางด้านเกษตรกรรม มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์ และเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบข้าว หมู รังไหม ส้ม ส้มจีน และใบยาสูบ ปี 2003 พื้นที่การเกษตรลดลง 5.3% แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น 0.5%

ฉงชิ่งเป็นหนึ่งในสามของแหล่งสินแร่ที่สำคัญของประเทศ เท่าที่สำรวจพบ ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ สตรอนเชียม อะลูมิเนียม แมงกานีส หินปูน ยิปซั่ม ปรอท หินเขี้ยวหนุมาน หินเกลือ และอื่นๆ กว่า 38 ชนิด ในจำนวนนี้แร่สตรอนเชียมมีมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ และเป็นอันดับสองของโลก

ฉงชิ่งเป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมเก่าแก่ของจีน ในปี 2003 มีมูลค่าการเติบโตทางการผลิตในภาคอุตสาหกรรมสูงถึง 76,836 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 16.4% อุตสาหกรรมหลัก 3 ประเภทที่ก่อรูปก่อร่างขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกล

การค้าระหว่างประเทศ ปี 2003 มูลค่าการนำเข้าส่งออก 2,595 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 44.6% ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าส่งออก 1,585 ล้านเหรียญฯ และมูลค่านำสินค้านำเข้า 1,010 ล้านเหรียญฯ

การศึกษา[แก้]

ฉงชิ่ง มี มหาวิทยาลัยฉงชิ่ง (重庆大学) มหาวิทยาลัยซีหนาน

รูปภาพอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Doing Business in China – Survey". Ministry of Commerce of the People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-08-05.
  2. 2.0 2.1 "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2019.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. "Archived copy" 2015年重庆常住人口3016.55万人 继续保持增长态势 [2016年重庆常住人口3670万人 继续保持增长态势] (ภาษาจีน). Chongqing News. 28 มกราคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2016.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. "Archived copy" 重庆市2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Chongqing on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Chongqing. 11 มีนาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. "Archived copy" 《2013中国人类发展报告》 (PDF) (ภาษาจีน). United Nations Development Programme China. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. "City Flower". En.cq.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2013.
  7. "City Tree". En.cq.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2013.
  8. "China's Direct-Controlled Municipalities". Geography.about.com. 14 มีนาคม 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2013.
  9. "World War II remains". www.chinesetoday.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2018.
  10. "Archived copy" 关于提请审议设立重庆直辖市的议案的说明_中国人大网. www.npc.gov.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  11. Alexander, Ruth (29 มกราคม 2012). "Which is the world's biggest city?". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2018.
  12. "Archived copy" 最新中国城市人口数量排名(根据2010年第六次人口普查). www.elivecity.cn. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2014.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  13. "Chongqing's Official Abbreviation". English.cri.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2013.
  14. "EIU Report". Eiu.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 December 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]