เขตบางซื่อ
เขตบางซื่อ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Bang Sue |
วัดบางโพโอมาวาส ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา | |
คำขวัญ: เป็นอำเภอเก่า ลือเล่าพระสัมฤทธิ์ งามวิจิตรศิลปกรรม เลิศล้ำงานแกะสลัก | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางซื่อ | |
พิกัด: 13°48′35″N 100°32′14″E / 13.80972°N 100.53722°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 11.545 ตร.กม. (4.458 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 118,634[1] คน |
• ความหนาแน่น | 10,275.79 คน/ตร.กม. (26,614.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10800 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1029 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 99 ซอยกานต์ประภา ถนนประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 |
เว็บไซต์ | www |
บางซื่อ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตบางซื่อตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรี (จังหวัดนนทบุรี)และเขตหลักสี่ มีคลองบางเขนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองประปา ทางรถไฟสายใต้ และทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตดุสิต มีคลองประปา คลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางพลัดและอำเภอบางกรวย (จังหวัดนนทบุรี) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
[แก้]อำเภอบางซื่อ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอชั้นนอกอำเภอหนึ่งในมณฑลกรุงเทพ โดยขึ้นตรงต่อกระทรวงนครบาลเมื่อ พ.ศ. 2437[2] ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลในช่วงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงที่มีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดนั้น อำเภอบางซื่อแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางพลัด ตำบลบางอ้อ ตำบลบางโพ ตำบลบางกระบือ ตำบลถนนนครไชยศรี ตำบลสามเสนใน ตำบลสามเสนนอก ตำบลลาดยาว ตำบลสี่แยกบางซื่อ ตำบลบางซื่อใต้ ตำบลบางซื่อเหนือ ตำบลบางซ่อน ตำบลบางเขนใต้ และตำบลบางเขน[3] (ครอบคลุมไปถึงพื้นที่บางส่วนของเขตบางพลัด เขตดุสิต เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตจตุจักร และอำเภอเมืองนนทบุรีในปัจจุบัน)[4]
ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2458 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้มีประกาศกระทรวงนครบาลกำหนดเขตการปกครองในกรุงเทพพระมหานคร (หรือมณฑลกรุงเทพ) ขึ้นใหม่ และกำหนดให้อำเภอบางซื่อรวมอยู่ในท้องที่จังหวัดพระนคร[5] ตลอดเวลาที่ผ่านมา ในเขตจังหวัดพระนครได้มีการปรับปรุงเขตการปกครองใหม่หลายครั้ง ตำบลในอำเภอบางซื่อหลายตำบลถูกยุบรวมกับตำบลอื่นหรือไม่ก็ถูกโอนไปขึ้นกับอำเภอข้างเคียง ทำให้อำเภอนี้มีขนาดเนื้อที่ลดลง ใน พ.ศ. 2470 ท้องที่อำเภอบางซื่อเหลือเพียงตำบลบางซื่อ บางซ่อน ลาดยาว สามเสนนอก สามเสนใน และบางกระบือเท่านั้น[6] ในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางราชการมีคำสั่งให้รวมอำเภอที่มีจำนวนประชากรและปริมาณงานไม่มากเข้าด้วยกัน อำเภอบางซื่อจึงถูกยุบเลิก เหลือเพียงชื่อ ตำบลบางซื่อ เป็นเขตการปกครองย่อยของอำเภอดุสิตนับแต่นั้น[7]
ใน พ.ศ. 2514 มีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบลตามลำดับ[9] ตำบลบางซื่อจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางซื่อ และยังคงขึ้นกับเขตดุสิต
ภายหลังเขตดุสิตมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น ท้องที่บางแห่งโดยเฉพาะแขวงบางซื่อ (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของเขต) ยังอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงและสะดวกรวดเร็ว ในขั้นแรกกรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบในพื้นที่แขวงบางซื่อเมื่อ พ.ศ. 2532 ต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทยแยกแขวงบางซื่อออกจากเขตดุสิตและจัดตั้งเป็น เขตบางซื่อ ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการปกครอง การบริหารราชการ และการให้บริการแก่ประชาชนที่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในท้องที่มากขึ้น ประกาศฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่กระทรวงออกประกาศนั่นเอง[10]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศจัดตั้งแขวงวงศ์สว่างแยกจากพื้นที่แขวงบางซื่อโดยใช้ทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน[11] ส่งผลให้ในปัจจุบัน เขตบางซื่อแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
บางซื่อ | Bang Sue | 5.762 |
77,277 |
13,411.49 |
|
2. |
วงศ์สว่าง | Wong Sawang | 5.783 |
41,357 |
7,151.48
| |
ทั้งหมด | 11.545 |
118,634 |
10,275.79
|
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางซื่อ[12] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 174,043 | ไม่ทราบ |
2536 | 175,305 | +1,262 |
2537 | 172,427 | -2,878 |
2538 | 169,148 | -3,279 |
2539 | 167,045 | -2,103 |
2540 | 165,644 | -1,401 |
2541 | 163,245 | -2,399 |
2542 | 161,393 | -1,852 |
2543 | 160,755 | -638 |
2544 | 159,466 | -1,289 |
2545 | 159,217 | -249 |
2546 | 158,079 | -1,138 |
2547 | 154,060 | -4,019 |
2548 | 151,788 | -2,272 |
2549 | 150,547 | -1,241 |
2550 | 147,797 | -2,750 |
2551 | 145,671 | -2,126 |
2552 | 142,338 | -3,333 |
2553 | 138,653 | -3,685 |
2554 | 135,001 | -3,652 |
2555 | 132,169 | -2,832 |
2556 | 130,511 | -1,658 |
2557 | 128,995 | -1,516 |
2558 | 127,716 | -1,279 |
2559 | 126,136 | -1,580 |
2560 | 125,440 | -696 |
2561 | 125,299 | -141 |
2562 | 126,310 | +1,011 |
2563 | 122,410 | -3,900 |
2564 | 120,718 | -2,692 |
2565 | 119,431 | -1,287 |
2566 | 118,634 | -797 |
การคมนาคม
[แก้]ทางสายหลัก
[แก้]- ถนนพิบูลสงคราม
- ถนนประชาราษฎร์ สาย 1
- ถนนประชาราษฎร์ สาย 2
- ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนวงศ์สว่าง
- ถนนประชาชื่น
- ถนนเตชะวณิช
- ถนนเทอดดำริ
- ทางพิเศษศรีรัช
สายรองและทางลัด
[แก้]- ถนนริมคลองประปาฝั่งซ้าย
- ถนนริมคลองประปาฝั่งขวา
- ถนนรถไฟ
- ถนนริมทางรถไฟสายใต้
- ซอยประชาราษฎร์ สาย 1 ซอย 24 / ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 5 (ประชานฤมิตร) "ถนนสายไม้"
- ซอยประชาราษฎร์ สาย 1 ซอย 28 / ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 13 (ไสวสุวรรณ)
- ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 44 (สุภาร่วม)
- ซอยประชาชื่น 2 แยก 1 / ซอยประชาชื่น 2 แยก 2 / ซอยประชาชื่น 4 แยก 1 / ซอยประชาชื่น 4 แยก 2 / ซอยประชาชื่น 6 แยก 1 / ซอยประชาชื่น 6 แยก 2 (ริมคลองประปา)
- ซอยประชาชื่น 4 แยก 1-4 (พ่วงทรัพย์)
เขตบางซื่อมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 แห่ง ได้แก่
- สะพานพระราม 6 เชื่อมเขตบางซื่อกับเขตบางพลัด
- สะพานพระราม 7 เชื่อมเขตบางซื่อกับอำเภอบางกรวย
ระบบขนส่งมวลชน
[แก้]- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีบางโพ สถานีเตาปูน และสถานีบางซื่อ)
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (สถานีเตาปูน สถานีบางซ่อน และสถานีวงศ์สว่าง)
- รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ–ตลิ่งชัน (สถานีบางซ่อน)
สถานที่สำคัญ
[แก้]วัด
[แก้]- วัดทองสุทธาราม
- วัดประชาศรัทธาธรรม
- วัดมัชฌันติการาม
- วัดเลียบราษฎร์บำรุง
- วัดบางโพโอมาวาส
- วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
- วัดเวตวันธรรมาวาส
- วัดสร้อยทอง
- วัดอนัมนิกายาราม
สถาบันการศึกษา
[แก้]- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์พระนครเหนือ
- โรงเรียนโยธินบูรณะ
อื่น ๆ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
- ↑ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ." [ม.ป.ท., ม.ป.ป.]. (แผ่นพับ).
- ↑ ปราณี กล่ำส้ม. ย่านเก่าในกรุงเทพฯ [เล่ม 2]. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2549, หน้า 21.
- ↑ กรมแผนที่ทหาร. กองบัญชาการทหารสูงสุด. แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2431–2474 = Maps of Bangkok, A.D. 1888–1931. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร, 2542.
- ↑ "ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่อง กำหนดเขตร์ท้องที่การปกครองกรุงเทพพระมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32: 325–334. 31 ตุลาคม 2458.
- ↑ กระทรวงมหาดไทย. ทำเนียบท้องที่ หัวเมือง กระทรวงมหาดไทย พระพุทธศักราช ๒๔๗๐. พระนคร: โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2471, หน้า 3.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22: 1840–1842. 29 สิงหาคม 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดุสิตและตั้งเขตบางซื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (พิเศษ 208 ง): 8. 24 พฤศจิกายน 2532.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/137/47.PDF
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/. สืบค้น 11 มีนาคม 2560.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์สำนักงานเขตบางซื่อ
- แผนที่เขตบางซื่อ เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน