ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลอุดร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณฑลอุดร
มณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ. 2433 – 2476
Flag of มณฑลอุดร
ธง

แผนที่มณฑลอุดร
เมืองหลวงอุดรธานี
การปกครอง
 • ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
• พ.ศ. 2436–2442
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (คนแรก)
• พ.ศ. 2442–2449
พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา
• พ.ศ. 2465–2470
เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)
• พ.ศ. 2470–2472
พระยาอดุลยเดชสยาเมศรภักดี (อุ้ย นาครธรรพ)
• พ.ศ. 2472–2476
พระยาตรังคภูบาล (เจิม ปันยารชุน) (คนสุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• จัดตั้งมณฑลลาวพวน
พ.ศ. 2433
• เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอุดร
21 มกราคม พ.ศ. 2444
• เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภาคอีสาน
พ.ศ. 2459 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2469
• ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล
9 ธันวาคม พ.ศ. 2476
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองอุดรธานี
เมืองขอนแก่น
เมืองเลย
เมืองนครพนม
เมืองหนองคาย
เมืองสกลนคร
จังหวัดอุดรธานี
จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดเลย
จังหวัดนครพนม
จังหวัดหนองคาย
จังหวัดสกลนคร
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

มณฑลอุดร หรือ มณฑลลาวพวน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2433 จากหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง (ปัจจุบันคือ จังหวัดหนองคาย) ต่อมาสยามได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ จึงต้องย้ายที่ตั้งหัวเมืองลงมาจากฝั่งแม่น้ำโขง 50 กิโลเมตร เนื่องจากทางการสยามได้ทำสัญญากับฝรั่งเศส ให้ทั้งสองฝ่ายตั้งกองกำลังห่างจากแนวเขตแดนระยะทาง 50 กิโลเมตร พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม จึงย้ายมาตั้งอยู่บริเวณบ้านเดื่อหมากแข้ง ต่อมาไม่นานเปลี่ยนเป็น มณฑลลาวพวน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น มณฑลอุดร มีที่ตั้งบริเวณบ้านเดื่อหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี ในปัจจุบัน โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลอุดร

ประวัติ

[แก้]
แผนที่ราชอาณาจักรสยามและประเทศราช ต้นฉบับพิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2443

ยุคหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ

[แก้]

ก่อน พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) ประกอบได้ด้วยหัวเมืองเอก 16 เมือง ส่วนหัวเมืองโท ตรี จัตวา 36 หัวเมือง รวมขึ้นอยู่ในหัวเมืองเอกที่ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ดังต่อไปนี้[1]

เมืองเอก เมืองโท ตรี จัตวา หมายเหตุ
1. เมืองหนองคาย เวียงจันทน์, เชียงคาน, พานพร้าว, ธุรคมสิงห์สถิตย์, กุมภวาปี, รัตนวาปี 6 เมือง
2. เมืองเชียงของ แสน, พาน, งัม, ซุย, จิม 5 เมือง
3. เมืองบริคัณฑนิคม ประซุม 1 เมือง
4. เมืองนครพนม วัง, เรณูนคร, รามราช, อาจสามารถ, อากาศอำนวย 5 เมือง
5. เมืองคำม่วน มหาชัยกองแก้ว, ชุมพร, วังมน, หาง 4 เมือง
6. เมืองสกลนคร กุสุมาลมณฑล, พรรณานิคม, วาริชภูมิ, สว่างแดนดิน, โพธิไพศาล, จำปาชนบท, วานรนิวาส 7 เมือง
7. เมืองมุกดาหาร พาลุกากรภูมิ, หนองสูง 2 เมือง
8. เมืองบุรีรัมย์ นางรอง, ตะลุง, พุทไธสง 3 เมือง
9. เมืองขอนแก่น ชลบถวิบูลย์, ภูเวียง, มัญจาคีรี, คำทองน้อย 4 เมือง
10. เมืองหล่มศักดิ์ เลย 1 เมือง
11. เมืองโพนพิสัย - -
12. เมืองชัยบุรี (บึงกาฬ) - -
13. เมืองท่าอุเทน - -
14. เมืองกุมลาสัย - -
15. เมืองหนองหานใหญ่ - -
16. เมืองคำเกิด - -

ยุคมณฑล

[แก้]

พ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตกไปเป็นของฝรั่งเศส จึงต้องย้ายศูนย์บัญชาการมณฑลลาวพวนที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณเมืองหนองคาย ลงมาทางใต้จนถึง "บ้านเดื่อหมากแข้ง" ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2436 โดยพระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวน ทรงเห็นว่าที่นี่มีชัยภูมิเหมาะสมอุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งน้ำ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างแปงเมือง ณ ที่นี้ และได้ทำหนังสือกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบ ซึ่งพระองค์ ทรงเห็นชอบที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนแห่งใหม่นี้ โดยมีเมืองในเขตปกครองเหลืออยู่เพียง 6 เมือง คือ

  • เมืองอุดรธานี
  • เมืองขอนแก่น
  • เมืองนครพนม
  • เมืองสกลนคร
  • เมืองหนองคาย

พ.ศ. 2442 ได้มีการขอเปลี่ยนชื่อมณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ คือให้เรียกชื่อตาม ภูมิประเทศเพื่อมิให้เกิดความรู้สึกแบ่งแยกเชื้อชาติไทย - ลาว - เขมร และปี พ.ศ. 2443 ขอเปลี่ยนชื่อมณฑลจากมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร โดยมีเมืองในเขตปครองทั้งหมด 12 เมือง คือ

  1. เมืองหนองคาย
  2. เมืองหนองหาน
  3. เมืองขอนแก่น
  4. เมืองชลบถวิบูลย์
  5. เมืองหล่มสัก
  6. เมืองกมุทาสัย
  7. เมืองสกลนคร
  8. เมืองชัยบุรี
  9. เมืองโพนพิสัย
  10. เมืองท่าอุเทน
  11. เมืองนครพนม
  12. เมืองมุกดาหาร

พ.ศ. 2453 พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงใหญ่มณฑลอุดร ได้แบ่งพื้นที่การปกครองในมณฑลใหม่ ออกเป็น "บริเวณ" มีข้าหลวงบริเวณเป็นผู้ปกครองขึ้นตรงต่อข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลอุดร โดแบ่งออกเป็น 5 บริเวณ ดังนี้

บริเวณ เมือง ที่ว่าการบริเวณ
1. บริเวณหมากแข้ง บ้านหมากแข้ง, เมืองหนองคาย, เมืองหนองหาน, เมืองกุมภวาปี, เมืองกุมุทาสัย, เมืองโพนพิสัย และเมืองรัตนวาปี บ้านหมากแข้ง
2. บริเวณพาชี เมืองขอนแก่น, เมืองชลบถิบูลย์ และเมืองภูเวียง เมืองขอนแก่น
3. บริเวณธาตุพนม เมืองนครพนม, เมืองชัยบุรี, เมืองท่าอุเทน และเมืองมุกดาหาร เมืองนครพนม
4. บริเวณสกลนคร เมืองสกลนคร เมืองสกลนคร
5. บริเวณน้ำเหือง เมืองเลย, เมืองบ่อแตน และเมืองแก่นท้าว เมืองเลย

พ.ศ. 2476 ภายหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงได้ยุบเลิกมณฑลต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ให้มีฐานะเป็นจังหวัดเท่าเทียมกัน ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทยจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-01. สืบค้นเมื่อ 2017-08-29.