ประเทศกาตาร์
รัฐกาตาร์ دولة قطر (อาหรับ) | |
---|---|
![]() สถานที่ตั้งและขอบเขตของประเทศกาตาร์ (สีเขียวเข้ม) ในคาบสมุทรอาหรับ | |
เมืองหลวง และ เมืองที่ใหญ่ที่สุด | โดฮา |
ภาษาราชการ | ภาษาอาหรับ |
รัฐบาล | รัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์ |
• เจ้าผู้ครองรัฐ | เชคตะมีม บิน ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี |
• นายกรัฐมนตรี | เชคคอลิด บิน เคาะลีฟะฮ์ บิน อับดุล อาซิซ อัษษานี |
ได้รับเอกราช | |
• จาก สหราชอาณาจักร | 3 กันยายน พ.ศ. 2514 |
พื้นที่ | |
• รวม | 11,571 km2 (4,468 sq mi) (159) |
น้อยมาก | |
ประชากร | |
• 2557 ประมาณ | 2,155,446 (ซึ่งประมาณ 12% เป็นชาวกาตาร์) (142) |
176/km2 (455.8/sq mi) (76) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 341.730 พันล้าน |
• ต่อหัว | 124,927 ดอลลาร์ |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | 166.346 พันล้านดอลลาร์ |
• ต่อหัว | 60,811 ดอลลาร์ |
HDI (2559) | ![]() ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 33rd |
สกุลเงิน | ริยาลกาตาร์ (QAR) |
เขตเวลา | UTC+3 |
• ฤดูร้อน (DST) | UTC+3 |
รหัสโทรศัพท์ | 974 |
โดเมนบนสุด | .qa |
กาตาร์ (อาหรับ: قطر, [ˈqɑtˁɑr]) หรือชื่อทางการคือ รัฐกาตาร์ (อาหรับ: دولة قطر) เป็นประเทศที่ปกครองโดยเจ้าผู้ครองรัฐในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนคาบสมุทรขนาดเล็กที่แตกมาจากคาบสมุทรอาหรับ มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และมีชายฝั่งริมอ่าวเปอร์เซีย
ประวัติศาสตร์[แก้]
กาตาร์เคยอยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลโดยได้ทำสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) กับกาตาร์มีผลทำให้กาตาร์อยู่ภายใต้การคุ้มครองของอังกฤษ โดยอังกฤษดูแลกิจการระหว่างประเทศของกาตาร์และต้องป้องกันกาตาร์จากการถูกรุกรานจากภายนอก และต่อมาสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ได้ขยายการคุ้มครองของอังกฤษออกไปทุก ๆ ด้าน
ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) รัฐบาลอังกฤษประกาศจะถอนตัวออกจากภูมิภาค อ่าวเปอร์เซียภายในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กาตาร์จึงพยายามรวมตัวเป็นสหพันธรัฐกับบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ กาตาร์เป็นเอกราชเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยอังกฤษได้ยกเลิกสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) และได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างกันแทน
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) Shaikh Khalifa Bin Hamad Al – Thani ได้ทำรัฐประหารสำเร็จโดยปราศจากการนองเลือด และต่อมา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) Shaikh Hamad Bin Khalifa Al – Thani พระโอรส ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารของกาตาร์ ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองและตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองรัฐองค์ใหม่
การเมือง[แก้]
ระบบการเมืองของกาตาร์เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีประมุขของกาตาร์เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ภายใต้การลงประชามติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2003 กลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 Emir Hamad bin Khalifa Al Thani ประกาศให้มีการเลือกตั้งสภาที่ปรึกษาแห่งกาตาร์เป็นครั้งแรก โดยมีแผนจะเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2013 แต่ภายหลังเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด[1]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ประเทศกาตาร์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เทศบาล (municipalities - baladiyah) ได้แก่
|
ภูมิศาสตร์[แก้]
กาตาร์ภูมิประเทศแบบแหลมที่ยื่นออกไปในอ่าวเปอร์เซีย เรียกกันว่า ไข่มุกแห่งเปอร์เซีย ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยทะเล ด้านทิศใต้ ติดประเทศซาอุดิอาระเบีย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 24 °และ 27 ° N, และลองจิจูด 50 °และ 52 °E จุดที่สูงที่สุดในกาตาร์เป็น Qurayn Abu al Bawl สูง 103 เมตร (338 ฟุต)[2] ใน Jebel Dukhan ทางทิศตะวันตก
ภูมิอากาศ[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของประเทศกาตาร์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 22 (72) |
23 (73) |
27 (81) |
32 (90) |
38 (100) |
41 (106) |
41 (106) |
41 (106) |
38 (100) |
35 (95) |
29 (84) |
24 (75) |
32.6 (90.7) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 13 (55) |
13 (55) |
17 (63) |
21 (70) |
25 (77) |
27 (81) |
29 (84) |
29 (84) |
26 (79) |
23 (73) |
19 (66) |
15 (59) |
21.4 (70.6) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 12.7 (0.5) |
17.8 (0.701) |
15.2 (0.598) |
7.6 (0.299) |
2.5 (0.098) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
2.5 (0.098) |
12.7 (0.5) |
71 (2.795) |
แหล่งที่มา: weather.com[3] |
เศรษฐกิจ[แก้]

- อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 3.64 ริยัล หรือประมาณ 9 บาท
- GDP ประมาณ 20.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2004)
- รายได้ต่อหัว 30,410 ดอลลาร์สหรัฐ (2003) สูงสุดในกลุ่มประเทศอาหรับ
- ผลิตน้ำมันได้วันละ 928,055 บาร์เรลต่อวัน (2003)
- ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 15.2 พันล้านบาร์เรล (2003)
- ปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรอง 509 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุต (2003)
- ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรประมง
- สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ปุ๋ย เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
- สินค้าเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหารและเสื้อผ้า
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้
การคมนาคม[แก้]
การคมนาคมหลักในกาตาร์คือถนน เนื่องจากราคาที่ถูกมากจากปิโตรเลียม ประเทศที่มีระบบถนนที่ทันสมัยด้วยการอัพเกรดมากมายเป็นผลในการตอบสนองต่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประเทศ กับทางหลวงหลายกระบวนการอัพเกรดและทางด่วนใหม่ที่กำลังทำการก่อสร้าง เครือข่ายรถบัสขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อโดฮากับเมืองอื่น ๆ ในประเทศ และยังเป็นการคมนาคมหลักในกาตาร์อีกด้วย
ขณะนี้ยังไม่มีเครือข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ลงสัญญารับจ้างสร้างทางรถไฟกับประเทศเยอรมนีแล้ว
ท่าอากศยานหลักของกาตาร์คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา มีผู้โดยสารเกือบ 15,000,000 คน ใน ค.ศ. 2007
สิ่งก่อสร้าง[แก้]
มีสิ่งก่อสร้างมากมายในกรุงโดฮา สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในในโดฮา คือ แอสไพร์ทาวเวอร์ สูง 300 เมตร
ประชากร[แก้]
ปี | ประชากร |
---|---|
1908 | 22,000[4] |
1939 | 28,000[4] |
1960 | 70,000[5] |
1986 | 369,079 |
1997 | 522,023[6] |
2000 | 744,483 |
2001 | 769,152 |
2002 | 793,341 |
2003 | 817,052 |
2004 | 840,290 |
2005 | 863,051 |
2006 | 885,359 |
2007 | 1,207,229 |
2008 | 1,524,789[7] |
2009 | 1,309,000[8] |
2010 | 1,696,563 |
2011 | 1,692,262 |
2013 | 1,903,447 |
2014 | 2,267,916[9] |
ปัจจุบัน กาตาร์มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน เชื้อชาติต่าง ๆ ในประเทศกาตาร์มีดังนี้: กาตาร์ 20%, อาหรับ 20%, อินเดีย 20%, ฟิลิปปินส์ 10%, เนปาล 13%, ปากีสถาน 7%, ศรีลังกา 5% และอื่น ๆ 5%[10]
วัฒนธรรม[แก้]
วัฒนธรรมกาตาร์ คล้ายกับวัฒนธรรมอาหรับประเทศอื่น ชนเผ่าอาหรับจากซาอุดีอาระเบียอพยพไปกาตาร์และสถานที่อื่น ๆ ในอ่าว ดังนั้นวัฒนธรรมในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละประเทศ กาตาร์ใช้กฎหมายอิสลามเป็นพื้นฐานของรัฐบาลอย่างชัดเจน และส่วนใหญ่ของพลเมืองเป็นผู้ติดตาม Hanbali Madhab
Hanbali (อาหรับ: حنبلى) เป็นหนึ่งในสี่โรงเรียนมุสลิมสุหนี่ (Madhhabs) ของกฎหมายเฟคห์หรือศาสนาภายในมุสลิมสุหนี่ ชาวมุสลิมสุหนี่เชื่อว่าทั้งสี่โรงเรียนมี "คำแนะนำที่ถูกต้อง" และความแตกต่างระหว่างพวกเขาไม่ได้อยู่ในพื้นฐานของความเชื่อ แต่ในการใช้ดุลยพินิจปลีกย่อยและนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุผลที่เป็นอิสระของอิหม่ามและนักวิชาการผู้ที่ตามพวกเขา เพราะวิธีการของตนจากการตีความและการสกัดจากแหล่งปฐมภูมิ (usul) แตกต่างกัน พวกเขามาถึงการตัดสินที่แตกต่างกันในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง
ศาสนา[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Legislative elections in Qatar postponed until at least 2019 Archived 2017-08-22 at the Wayback Machine. Doha News, 17 June 2016
- ↑ https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/qa.html
- ↑ "Monthly Averages for Doha, Qatar". weather.com. The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ 26 October 2009.
- ↑ 4.0 4.1 John Lockerbie (6 June 1998). "The population of Qatar". Catnaps.org. สืบค้นเมื่อ 28 March 2010.
- ↑ "Qatar – Country overview, Location and size, Population, Industry, Mining, Manufacturing, Services, Tourism". Nationsencyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 28 March 2010.
- ↑ "CGIS Home Page – Main Section". Gisqatar.org.qa. 31 December 1998. สืบค้นเมื่อ 28 March 2010.
- ↑ https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/qa.html
- ↑ Department of Economic and Social Affairs
Population Division (2009). "World Population Prospects, Table A.1" (PDF)
|format=
requires|url=
(help). 2008 revision. United Nations. Unknown parameter|unused_data=
ignored (help); line feed character in|author=
at position 42 (help); Cite journal requires|journal=
(help);|access-date=
requires|url=
(help) - ↑ http://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/
- ↑ http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/5437.htm
- ↑ http://pewforum.org/Muslim/Mapping-the-Global-Muslim-Population%286%29.aspx
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศกาตาร์ ได้โดยค้นหาจาก โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย : | |
---|---|
![]() |
หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม |
![]() |
หนังสือ จากวิกิตำรา |
![]() |
คำคม จากวิกิคำคม |
![]() |
ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ |
![]() |
ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์ |
![]() |
เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว |
![]() |
แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย |
- ประเทศกาตาร์ จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
![]() |
อ่าวเปอร์เซีย | อ่าวเปอร์เซีย | อ่าวเปอร์เซีย | ![]() |
อ่าวเปอร์เซีย | ![]() |
อ่าวเปอร์เซีย | ||
| ||||
![]() | ||||
อ่าวเปอร์เซีย | ![]() |
อ่าวเปอร์เซีย |
|
|
|
|
|
|