เขตประเวศ
เขตประเวศ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Prawet |
คำขวัญ: เขตประเวศร่มรื่น ชมชื่นสวนหลวง ร.9 มหาวิทยาลัยเปิดเฉิดเฉลา ประชาชนเรามีคุณธรรม | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตประเวศ | |
พิกัด: 13°43′1″N 100°41′40″E / 13.71694°N 100.69444°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 52.490 ตร.กม. (20.267 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 183,893[1] คน |
• ความหนาแน่น | 3,503.39 คน/ตร.กม. (9,073.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10250 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1032 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 33 หมู่ที่ 8 ซอยเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 81 (หมู่บ้านฉัตรนคร) ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250 |
เว็บไซต์ | www |
ประเวศ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์ชุมชน แหล่งงานและการบริการเพื่อรองรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตประเวศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตลาดกระบังและอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองแม่จันทร์ คลองตาพุก คลองขันแตก คลองสิงห์โต คลองปากน้ำ และคลองสลุดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) และเขตบางนา มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ คลองต้นตาล คลองปลัดเปรียง คลองหนองตาดำ คลองสาหร่าย และคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางนา เขตพระโขนง และเขตสวนหลวง มีคลองเคล็ด คลองตาสาด (คลองคู้) คลองหนองบอน คลองประเวศบุรีรมย์ ลำรางข้างหมู่บ้านเอื้อสุข และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
[แก้]เขตประเวศเดิมมีฐานะเป็น ตำบลประเวศ เป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนครใน พ.ศ. 2470[2] เมื่อเวลาผ่านไป ท้องที่อำเภอพระโขนงมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2506 ทางราชการจึงได้ตั้งสุขาภิบาลประเวศขึ้นครอบคลุมพื้นที่ตำบลประเวศ ตำบลสวนหลวง ตำบลดอกไม้ ตำบลหนองบอนทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลบางจากและตำบลบางนา[3] และใน พ.ศ. 2507 พื้นที่ส่วนใหญ่ก็ได้ถูกโอนไปขึ้นกับเทศบาลนครกรุงเทพ (ซึ่งขยายเขตออกมาเป็นครั้งที่ 3) เหลือเพียงตำบลประเวศและตำบลดอกไม้ที่ยังคงอยู่ในเขตสุขาภิบาล[4]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[5] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[6] ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลประเวศจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงประเวศ เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น รวมทั้งพื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 (ประเวศ) ขึ้นดูแลแขวงประเวศ แขวงหนองบอน แขวงดอกไม้ และแขวงสวนหลวง (ต่อมาแขวงสวนหลวงโอนไปอยู่ในการดูแลของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3) และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขตพระโขนงตั้งเป็น เขตประเวศ[7] แบ่งออกเป็น 4 แขวง ซึ่งรวมแขวงสวนหลวงไว้ด้วย (โดยเปลี่ยนชื่อสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 เป็นสำนักงานเขตประเวศ สาขาสวนหลวง)[8] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปตั้งเป็นเขตสวนหลวง[9]
ต่อมาในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองของเขตประเวศใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยรวมพื้นที่แขวงสะพานสูง (เขตบึงกุ่ม) และหมู่ที่ 7–12 แขวงประเวศ (พื้นที่เขตประเวศทางด้านเหนือของถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) ไปจัดตั้งเป็นเขตสะพานสูง[10]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เขตประเวศมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
ประเวศ | Prawet | 22.805 |
87,916 |
3,855.12 |
|
2. |
หนองบอน | Nong Bon | 14.513 |
39,966 |
2,753.81
| |
3. |
ดอกไม้ | Dokmai | 15.172 |
56,011 |
3,691.74
| |
ทั้งหมด | 52.490 |
183,893 |
3,503.39
|
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตประเวศ[11] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 108,445 | ไม่ทราบ |
2536 | 114,886 | +6,441 |
2537 | 118,599 | +3,713 |
2538 | 121,080 | +2,481 |
2539 | 125,700 | +4,620 |
2540 | 112,259 | แบ่งพื้นที่บางส่วนออกไป |
2541 | 115,697 | +3,438 |
2542 | 118,330 | +2,633 |
2543 | 121,459 | +3,129 |
2544 | 125,836 | +4,377 |
2545 | 130,383 | +4,547 |
2546 | 135,549 | +5,166 |
2547 | 139,023 | +3,474 |
2548 | 142,633 | +3,610 |
2549 | 146,401 | +3,768 |
2550 | 149,883 | +3,482 |
2551 | 152,669 | +2,786 |
2552 | 155,077 | +2,408 |
2553 | 156,567 | +1,490 |
2554 | 158,457 | +1,890 |
2555 | 160,816 | +2,359 |
2556 | 163,485 | +2,669 |
2557 | 166,364 | +2,879 |
2558 | 169,212 | +2,848 |
2559 | 172,761 | +3,549 |
2560 | 175,656 | +2,895 |
2561 | 178,290 | +2,634 |
2562 | 180,769 | +2,479 |
2563 | 181,821 | +1,052 |
2564 | 181,632 | -189 |
2565 | 182,984 | +1,352 |
2566 | 183,893 | +909 |
การคมนาคม
[แก้]ทางบก
[แก้]ถนนสายหลัก ได้แก่
|
|
ถนนสายรองและทางลัดสำคัญ ได้แก่
|
|
ทางรถไฟ
[แก้]- ทางรถไฟสายตะวันออก (สถานีรถไฟบ้านทับช้าง)
- รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตเรลลิงก์หรือแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีบ้านทับช้าง)
- รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (สถานีศรีนครินทร์ 38, สถานีสวนหลวง ร.9, สถานีศรีอุดม)
ทางน้ำ
[แก้]เส้นทางคมนาคมที่สำคัญ ได้แก่
สถานที่สำคัญ
[แก้]- สวนหลวง ร.9
- สวน 50 พรรษา มหาจักรีสิรินธร
- สวนน้ำบึงหนองบอน
- สวนวนธรรม
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์-สุวรรณนภาศรี (กองงานวิทยาเขตบางนา) รามคำแหง 2
- ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง โดยสถาบันปลูกป่า ปตท.
- วัดกระทุ่มเสือปลา
- มัสยิดญามีลุ้ลอิสลาม บ้านจรเข้ขบ
- มัสยิดซะห์รอตุ้ลอิสลาม ดอกไม้
- ศูนย์อบรมจริยธรรมอิสลาม มัสยิดดารุ้ลมุสะสีรรร เกาะกลาง
- มัสยิดเราะห์มาตุ้ลอิสลาม
- มัสยิดอัสสอาดะห์
- มัสยิดอ้ามานาตุ้ลอิสลาม
- มัสยิดยามีอุ้ลอิบาดะห์ (บ้านทางควาย)
- มัสยิดนูรุ้ลอิบาดะห์
- มัสยิดฟื้นฟูมรดกอิสลาม
- วัดตะกล่ำ
- วัดแก้วพิทักษ์เจริญธรรม
- พาราไดซ์พาร์ค
- ซีคอนสแควร์
- ตลาดนัดรถไฟ
- สถานีตำรวจนครบาลบางนา
- สถานีตำรวจนครบาลประเวศ
- สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข
- คริสตจักรเมืองทองพัฒนาการ
- คริสตจักรพัฒนาการ
- คริสตจักรอุดมสุข
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 27 มกราคม 2567.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตจังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพฯ กับธัญญะบุรีในมณฑลอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44: 153–158. 21 สิงหาคม 2470.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลประเวศ อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (121): 2742–2743. 24 ธันวาคม 2506.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครกรุงเทพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (พิเศษ 124 ก): 28–32. 31 ธันวาคม 2507.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนงและตั้งเขตคลองเตยและเขตประเวศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (พิเศษ 208 ง): 13. 24 พฤศจิกายน 2532.
- ↑ "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนชื่อสำนักงานเขตพระโขนง สาขา ๓ (สวนหลวง)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (220 ง): 9504. 14 ธันวาคม 2532.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย เขตประเวศ และตั้งเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 184 ง): 7–10. 10 พฤศจิกายน 2536.
- ↑ ผู้อำนวยการเขตบึงกุ่มชี้แจงการตั้งเขตใหม่. สืบค้น 25 ตุลาคม 2551.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์สำนักงานเขตประเวศ
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เขตประเวศ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์