ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด

พิกัด: 16°41′59″N 98°32′42″E / 16.69972°N 98.54500°E / 16.69972; 98.54500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ (ศุลกากร)
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
สถานที่ตั้งตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล210 เมตร / 690 ฟุต
พิกัด16°41′59″N 98°32′42″E / 16.69972°N 98.54500°E / 16.69972; 98.54500
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/maesot/home.php
แผนที่
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
MAQ
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
MAQ
MAQ (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
09/27 2,100 8,202.1 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร77,503
เที่ยวบิน1,532
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด หรือ สนามบินแม่สอด (IATA: MAQICAO: VTPM) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยตั้งอยู่ห่างจากอำเภอแม่สอดประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองตากประมาณ 87 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547[2] และเป็นท่าอากาศยานที่มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ได้มีการสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมด 12,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 600 คนต่อชั่วโมงและขยายทางวิ่งเป็น 2,100 เมตรในปีพ.ศ. 2556-2563

ประวัติ[แก้]

การบินในช่วงแรก[แก้]

ท่าอากาศยานแม่สอดเดิมเป็นท่าอากาศยานเล็ก ๆ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย สร้างขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ใช้ในกิจการทหารอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศ ต่อมามีการดำเนินการขนส่งพัสดุภัณฑ์ และผู้โดยสารในกิจการการบินพลเรือนขึ้น ซึ่งในระยะเริ่มแรกนั้นการดำเนินกิจการอยู่ในความรับผิดชอบของทหาร และใช้ท่าอากาศยานแม่สอดเป็นครั้งคราว

ในปี พ.ศ. 2473 กิจการการบินพลเรือนของประเทศได้แยกตัวออกจากกิจการบินทหาร โดยมีบริษัท เดินอากาศ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการการขนส่งทางอากาศ โดยได้รับสัมปทานการขนส่งทางอากาศเมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ได้เปิดขยายดำเนินการขนส่งทางอากาศในทาง พิษณุโลก-อำเภอเมืองตาก-แม่สอด ขึ้น จนเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทฯ จึงได้งดบินและยุบเลิกกิจการเนื่องจากมีอุปสรรคบางประการ โดยเฉพาะเครื่องบินของบริษัทฯ ถูกเครื่องบินฝ่ายตรงข้ามยิงตก บริษัทฯ จึงงดทำการบินเมื่อ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2488 และยุบเลิกกิจการด้านการบินในปี พ.ศ. 2489

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้สนามบินแห่งนี้เป็นหน่วยบินในการปฏิบัติการทางอากาศ โจมตีฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศพม่า ซึ่งในขณะนั้นพื้นผิวทางวิ่ง ยังเป็นดินลูกรัง ทางวิ่งเป็น 05 - 23 ขนาดประมาณ 30 x 1,100 เมตร บริเวณโดยรอบเป็นป่าโปร่งและหนองน้ำ ยังไม่มีเครื่องช่วยในการเดินอากาศใดๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สงบลงในปี พ.ศ. 2489 กองทัพอากาศ ได้ริเริ่มดำเนินการบินขึ้นใหม่

ต่อมาในปี พ.ศ. 2503-2504 สำนักงานการบินพลเรือนได้เห็นความสำคัญในการขนส่งทางอากาศในขณะนั้น จึงได้ปรับปรุงสภาพท่าอากาศยานโดยทำการเสริมพื้นผิวบดอัดดินลูกรังให้แน่นและเรียบขึ้น และทำการสร้างอาคารท่าอากาศยานและหอบังคับการบิน โดยเป็นอาคารไม้สองชั้นครึ่ง สำหรับให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ สร้างสถานีเครื่องช่วยการเดินอากาศ และได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องช่วยการเดินอากาศ NDB (NONDIRECTIONAL BEACON) ขึ้นในปีต่อมา ซึงในช่วงเวลาดัวกล่าวนี้ บริษัทเดินอากาศไทยได้นำเครื่อง DC-3 หรือ DAKOTA มาใช้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร สินค้า และพัสดุภัณฑ์[3]

ช่วงพัฒนาท่าอากาศยาน[แก้]

ในปี พ.ศ. 2506 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง ได้รับการยกฐานะเป็นกรม ชื่อว่ากรมการบินพาณิชย์ ในระหว่างนี้ท่าอากาศยานแม่สอดก็ได้เปิดให้บริการเรื่อยมา จนกระทั่ง บริษัทเดินอากาศไทย ได้ทำการงดบินในปี พ.ศ. 2513 เพื่อให้กรมการบินพาณิชย์ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงท่าอากาศยานแม่สอดอีกครั้งเพื่อให้เป็นมาตรฐาน คือการสร้างทางวิ่งใหม่ กำหนดทางวิ่ง 09 - 27 พื้นผิวลาดยางแอสฟัลส์ ขนาด 30x1500 เมตร สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2515 และสร้างหอควบคุมจราจรทางอากาศขึ้นใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 แต่เมื่อสร้างเสร็จ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ก็ยังไม่เปิดบินที่ท่าอากาศยานแม่สอดทันที คงเปิดบริการ ขึ้น-ลง เฉพาะเครื่องบินของทางราชการ ทั้งทางราชการ หน่วยบินตำรวจและเกษตร เท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2526 บริษัทเดินอากาศไทย ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจข้อมูลที่จะเปิดบินใหม่ และกรมการบินพาณิชย์ ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจทางวิ่ง อาคารผู้โดยสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยได้ซ่อมแซมปรับแต่งอาคารที่ทำการท่าอากาศยานอีกครั้งหนึ่ง แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2527 จากนั้นจึงได้เปิดเส้นทางบิน พิษณุโลก-อำเภอเมืองตาก–แม่สอด-เชียงใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน 2528 กรมการบินพาณิชย์ได้ทำการซ่อมผิวทางวิ่ง ลานจอด ถนนต่างๆ ภายในท่าอากาศยาน แล้วเสร็จในเดือน กุมภาพันธ์ 2529

จากนั้นเดือน กรกฎาคม 2530 กรมการบินพาณิชย์ทำการขยายและต่อเติมอาคารที่ทำการท่าอากาศยาน ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือน มิถุนายน 2531 ด้วยงบประมาณ 4,347,000 บาท โดยสร้างเป็นอาคารชั้นครึ่ง

ชั้นบนจัดเป็นห้องทำงานของฝ่ายบริหารและห้องประชุม ส่วนชั้นล่างเป็นส่วนที่ใช้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร โดยได้ขยายเนื้อที่ใช้สอยมากขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 734 ตารางเมตร ประกอบด้วยบริเวณที่ทำการของบริษัทการบิน ห้องพักผู้โดยสารขาออก ห้องรับรองพิเศษ ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาเข้าและผู้ รับ-ส่ง ผู้โดยสาร บริเวณที่รับกระเป๋า ร้านจำหน่ายของที่ระลึก รวมถึงห้องสุขา
ในพื้นที่ของอาคารที่ทำการเดิมนั้น จัดเป็นห้องทำงานของฝ่ายควบคุมจราจรทางอากาศ ห้องทำงานของฝ่ายช่างสื่อสารและเครื่องช่วยการเดินอากาศ ห้องทำงานของฝ่ายสื่อสารการบิน ห้องเก็บพัสดุและงานรักษาความสะอาด สถานที่ของฝ่ายบริหาร ห้องทำงานของตำรวจ และหน่วยรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน[3]

การปรับปรุงพัฒนาหลังจากเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ[แก้]

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ท่าอากาศยานแม่สอดได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากร ทำให้สามารถรับเที่ยวบินจากต่างประเทศได้[2] และต่อมาได้ต่อเติมและปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร พื้นที่ศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง และด่านควบคุมโรคพร้อมสายพานลำเลียงกระเป๋า งบประมาณทั้งสิ้น 1,980,000 บาท

ในปีพ.ศ. 2556 ท่าอากาศยานแม่สอดได้ซ่อมปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร งบประมาณ 2,975,000 บาท โดยได้ปรับปรุงขยายทางวิ่ง (รันเวย์) ให้มีความยาวมากขึ้น จากเดิม 1,500 เมตร เป็น 2,100 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องบินขนาดโบอิง 737 และแอร์บัส เอ320 และขยายพื้นที่จอดเครื่องบิน ให้สามารถจอดเครื่องบินขนาดดังกล่าวได้ 3 ลำในเวลาเดียวกัน รวมถึงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ โดยแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562[3] และกรมท่าอากาศยานมีแผนที่จะใช้ท่าอากาศยานแม่สอดเป็นฐานการบินในการเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ จีน เวียดนาม และลาว[4]

อาคารสถานที่[แก้]

อาคารผู้โดยสาร[แก้]

อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมด 16,750 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 600 คนต่อชั่วโมง หรือ 1,700,000 คนต่อปี มีทั้งหมด 2 ชั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ชั้น 1 - บริเวณขายตั๋ว บริเวณตรวจบัตรโดยสาร ห้องอาหาร โถงผู้โดยสารขาเข้าและสายพานรับกระเป๋า และบริการรถเช่า
  • ชั้น 2 - โถงผู้โดยสารขาออก และสำนักงานท่าอากาศยาน

ลานจอดอากาศยานมีขนาด 60x180 เมตร และ 85x180 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินขนาดโบอิง 737 จำนวน 3 ลำ และ เอทีอาร์ 72 จำนวน 2 ลำ[5]

ท่าอากาศยานแม่สอด มีลานจอดรถยนต์รองรับได้ 165 คัน [6]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)[แก้]

ทางวิ่งของท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอดมี 1 เส้น ความกว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และความยาว 1,500 เมตร (อยู่ระหว่างการขยายเป็น 2,100 เมตร) พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 และ 90 เมตร และความยาวข้างละ 60 เมตร

ทางขับของท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอดมี 3 เส้น ขนาด 23x150 เมตร 1 เส้น และ ขนาด 23x178 เมตร 2 เส้น[5]

รายชื่อสายการบิน[แก้]

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[7] หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพ-ดอนเมือง (อนาคต) ภายในประเทศ

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง ปีที่ให้บริการ หมายเหตุ
เดินอากาศไทย อำเภอเมืองตาก (ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง)[3] พ.ศ. 2473-2484 ภายในประเทศ
เดินอากาศไทย อำเภอเมืองตาก, เชียงใหม่[3] พ.ศ. 2505-2513, พ.ศ. 2527-2531 ภายในประเทศ
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, อำเภอเมืองตาก[8], เชียงใหม่[8] ภายในประเทศ
แอร์อันดามัน กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2545 [9]ภายในประเทศ
ภูเก็ตแอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2548 [10]ภายในประเทศ
แอร์ฟินิกซ์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2551 [11]ภายในประเทศ
พีบีแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ พ.ศ. 2552 [12]ภายในประเทศ
กานต์แอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, เชียงใหม่ ภายในประเทศ
นกมินิ เชียงใหม่ ภายในประเทศ
ย่างกุ้ง, มะละแหม่ง ระหว่างประเทศ
นกแอร์ ย่างกุ้ง ระหว่างประเทศ
วิสดอมแอร์เวย์ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ภายในประเทศ
แอร์เคบีแซด ย่างกุ้ง ระหว่างประเทศ

สถิติ[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[13]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 31,686 868 60.68
2545 24,151 ลดลง 32.78% 1,065 20.73
2546 16,225 ลดลง 32.82% 627 11.16
2547 19,975 เพิ่มขึ้น 23.11% 779 5.57
2548 16,225 ลดลง 18.77% 626 6.33
2549 18 ลดลง 99.89% 4 0.00
2550 71 เพิ่มขึ้น 294.44% 13 0.00
2551 479 เพิ่มขึ้น 574.65% 23 0.00
2552 1,827 เพิ่มขึ้น 281.42% 106 0.00
2553 1,853 เพิ่มขึ้น 1.42% 172 0.00
2554 12,854 เพิ่มขึ้น 593.69% 794 0.00
2555 34,212 เพิ่มขึ้น 166.16% 1,451 0.00
2556 87,454 เพิ่มขึ้น 155.62% 3,620 0.00
2557 96,330 เพิ่มขึ้น 10.15% 2,285 0.00
2558 144,598 เพิ่มขึ้น 50.11% 2,664 3.34
2559 174,612 เพิ่มขึ้น 20.76% 2,769 22.48
2560 180,094 เพิ่มขึ้น 3.14% 3,056 0.068
2561 193,329 เพิ่มขึ้น 7.35% 3,038 0.00
2562 197,132 เพิ่มขึ้น 1.97% 2,863 0.003
2563 77,503 ลดลง 60.68% 1,532 0.133

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอดตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (เขตแดนไทย/พม่า–มุกดาหาร) ในบริเวณ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และมีลานจอดรถยนต์ความจุประมาณ 165 คันหน้าอาคารผู้โดยสารหลังใหม่

ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่าอยู่หลายบริษัท[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "ประวัติความเป็นมาของท่าอากาศยานแม่สอด". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "แม่สอดปรับสนามบินใหม่ เชื่อมจีน-เวียดนาม-ลาว". โพสต์ทูเดย์. 22 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "ประเดิม! "ไพรินทร์" ต้อนรับผู้โดยสารเที่ยวบินแรกของอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่สนามบินแม่สอด". ประชาชาติธุรกิจ. 3 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  7. "หน้าหลักของท่าอากาศยานแม่สอด". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 กาญจนา อาสนะคงอยู่; เอกชัย โกมล (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (PDF) (Report). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. p. 123. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "การบินไทยทำความตกลงสัญญาเที่ยวบินร่วม เส้นทางบินภายในประเทศ". การบินไทย. 15 มิถุนายน 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-10-25. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. ""ภูเก็ตแอร์" ไถลออกรันเวย์แม่สอด-ส.ว.ตากพร้อมผู้โดยสาร 28 คนรอด". ผู้จัดการออนไลน์. 11 กันยายน 2548. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. "ร่วมรำลึก 1 ปี การมาและจากไป AIR PHOENIX". 30 เมษายน 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-26. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. "บรรยากาศต้อนรับเที่ยวบินปฐมฤกษ์ BKK-MAQ โดย PB AIR". 5 มิถุนายน 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "รถเช่าที่ สนามบินแม่สอด". สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)