ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 | |
---|---|
ถนนกรุงเทพ–บ้านฉาง | |
![]() | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ส่วนหนึ่งของ ![]() และ ![]() | |
ความยาว: | 125.865 กิโลเมตร (78.209 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ: | พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน |
ประวัติ: | สร้าง พ.ศ. 2537 |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศตะวันตก: | ![]() ![]() |
| |
ปลายทางทิศใต้: | ![]() |
ระบบทางหลวง | |
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแรกของประเทศไทย มีระยะทางยาว 125.865 กิโลเมตร ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก[1] แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งในถนนสุขุมวิท และถนนเทพรัตน และเป็นทางเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 และทางหลวงเอเชียสาย 123 ในปัจจุบัน ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ได้ใช้การเก็บค่าผ่านทางระบบปิด โดยจะมีการเก็บค่าผ่านทางตามจำนวนกิโลเมตรที่ผู้ใช้ทางหลวงพิเศษ
ปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีเส้นทางที่เก็บค่าผ่านทางตั้งแต่กรุงเทพมหานครไปถึงเพียงเมืองพัทยา ส่วนเส้นทางไปยังอำเภอบ้านฉาง (อู่ตะเภา) อยู่ในช่วงเปิดทดลองวิ่งโดยไม่เก็บค่าผ่านทาง นอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในปัจจุบัน ยังถูกกำหนดในเส้นทางอื่นอีก ได้แก่ ทางแยกไปบรรจบถนนเทพรัตน, ทางแยกเข้าชลบุรี, ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง และทางแยกเข้าพัทยา รวมถึงทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ)
รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]


เส้นทางหลัก[แก้]
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในช่วงแรกมีชื่อเรียกว่า ถนนกรุงเทพ–ชลบุรี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ถนนกรุงเทพ–ชลบุรี สายใหม่ เป็นถนนขนาด 8 ช่องจราจร เริ่มต้นที่ปลายทางพิเศษศรีรัช ส่วน D และถนนพระราม 9 บริเวณจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร มีแนวทางตัดไปทางทิศตะวันออก[2] ข้ามคลองบึงบ้านม้า เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตสะพานสูงกับเขตประเวศ ตัดกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) ที่ทางแยกต่างระดับทับช้าง ข้ามคลองแม่จันทร์เข้าสู่เขตลาดกระบัง ตัดกับถนนร่มเกล้าที่ทางแยกต่างระดับร่มเกล้า เบี่ยงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ก่อนเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านอำเภอบางเสาธง และอำเภอบางบ่อ แล้วผ่านอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ข้ามแม่น้ำบางปะกง จากนั้นเข้าสู่จังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอพานทอง เข้าสู่อำเภอเมืองชลบุรี และสิ้นสุดช่วงแรกที่ทางแยกต่างระดับคีรีนคร โดยมีเส้นทางตัดแยกออกไปยังเขตเทศบาลเมืองชลบุรี
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในช่วงที่สอง ซึ่งเรียกถนนในช่วงนี้ว่า ถนนชลบุรี–พัทยา เข้าสู่อำเภอศรีราชา มีเส้นทางตัดแยกไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ที่ทางแยกต่างระดับหนองขาม โดยตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงบริเวณนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 จากนั้นถนนมีช่องจราจรลดลงเหลือ 6 ช่อง (ปัจจุบันกำลังก่อสร้างขยายเป็น 8 ช่องจราจร) และเข้าสู่อำเภอบางละมุง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ที่ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) โดยตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ทางหลวงเอเชียสาย 123 และสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิท ในเมืองพัทยา
นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างทางบริการชุมชน มีลักษณะเป็นถนนคู่ขนานทั้งสองข้างของทางหลวงพิเศษในบางช่วง อยู่นอกเขตและไม่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษ สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับถนนอื่นที่ถูกตัดขาดออกจากกัน โดยได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดิน[3] ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 และ 3702 ซึ่งเป็นทางบริการด้านซ้ายและด้านขวาของทางหลวงพิเศษตามลำดับ
ทางเชื่อมต่อ[แก้]
นอกจากสายหลัก ยังมีสายแยกที่เชื่อมต่อทางหลวงพิเศษสายหลักกับเมืองหรือเขตเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินที่มีแนวเส้นทางขนานกับทางหลวงพิเศษสายหลัก เช่น ถนนสุขุมวิท สายแยกดังกล่าวนี้ มีเส้นทางมุ่งสู่ชายทะเล และออกแบบเป็นทางหลวงพิเศษที่มีลักษณะกึ่งควบคุมการเข้า-ออก ทางเชื่อมต่อดังกล่าวมีดังนี้
- ทางแยกไปบรรจบถนนเทพรัตน (บางวัว) เริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับบางควาย บริเวณประมาณกิโลเมตรที่ 40 ของสายหลัก ผ่านตำบลบางวัว และตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และสิ้นสุดที่ถนนเทพรัตน ที่ทางแยกต่างระดับบางบ่อ
- ทางแยกเข้าชลบุรี เริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับคีรีนคร บริเวณประมาณกิโลเมตรที่ 79 ของถนนสายหลัก มีเส้นทางอยู่ในตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 (ทางเลี่ยงเมืองชลบุรี) ที่ทางแยกต่างระดับหนองข้างคอก
- ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง เริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับหนองขาม ผ่านตำบลหนองขาม ตำบลสุรศักดิ์ ตัดกับถนนสุขุมวิท และสิ้นสุดที่ท่าเรือแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- ทางแยกเข้าพัทยา
- ทางแยกไปบรรจบถนนสุขุมวิท (บ้านอำเภอ)
ประวัติ[แก้]
การก่อสร้างในช่วงแรก[แก้]
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในอดีตเคยถูกกำหนดหมายเลขสายทางเป็น "ทางหลวงพิเศษหมายเลข 36"[4] (ใช้เรียกรวมตลอดสายทางตั้งแต่กรุงเทพมหานคร (ลาดกระบัง) ไปจนถึงระยอง)[5][6] ถูกออกแบบและก่อสร้างเป็นทางหลวงพิเศษไม่มีทางเชื่อมควบคุมการเข้า-ออก เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการจราจรตลอดสายเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541[7] ก่อสร้างเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ต่อมา ได้มีการรวมแนวเส้นทางเก่าของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 มาเป็นส่วนหนึ่งในช่วงชลบุรี–พัทยา[8] และก่อสร้างเพิ่มเติมจากเดิมสิ้นสุดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 เป็นสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิท บริเวณพัทยากลาง เปิดการจราจรเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นการเปิดการจราจรตลอดสาย
ต่อมา กรมทางหลวงได้ขยายช่องจราจรหลักเพิ่มเติมบนถนนกรุงเทพฯ–ชลบุรี ช่วงถนนศรีนครินทร์–ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็น 8 ช่องจราจร ขยายเข้าหาศูนย์กลางบริเวณร่องน้ำ โครงการนี้มีแนวทางไปทางทิศตะวันออกมุ่งสู่ชลบุรี ลอดผ่านสะพานเข้า-ออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และทางเข้า-ออกสถานีขนส่งสินค้าร่มเกล้าผ่านข้ามทางรถไฟของสถานีขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว
ด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางถาวร[แก้]
กรมทางหลวงได้มีการปรับปรุงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี–พัทยาให้เป็นทางหลวงพิเศษควบคุมการเข้าออกเต็มรูปแบบ[9][10] ในช่วงสะพานข้ามทางรถไฟ–ทางแยกต่างระดับบางพระ หรือแยกวังตะโก มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 4-8 ช่องจราจร ระยะทาง 4 กิโลเมตร จะมีการปรับปรุงเป็นทางรวมและกระจายการจราจร ปิดช่องกลับรถกลางถนน แล้วก่อสร้างจุดกลับรถในรูปแบบของทางลอด หรือสะพานกลับรถเกือกม้า มีจุดกลับรถ 1 จุด คือบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ
นอกจากนี้ ยังมีปรับปรุงทางแยกต่างระดับคีรีนคร จากเดิมทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงกรุงเทพฯ–ชลบุรีจะมาสิ้นสุดที่แยกนี้ จะเปลี่ยนแนวทางของสะพาน ให้สายทางแยกเข้าชลบุรีมาสิ้นสุดที่แยกนี้ และให้ถนนกรุงเทพฯ–ชลบุรีมีเส้นทางตรงลงพัทยาได้โดยไม่ต้องเลี้ยวซ้าย ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว รวมทั้งก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 1 จุด ได้แก่ ด่านบางพระ บริเวณทางแยกต่างระดับบางพระ
ช่วงทางแยกต่างระดับบางพระหรือแยกวังตะโก ถึงทางแยกต่างระดับหนองขาม มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 8 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ในบางส่วน ระยะทาง 21 กิโลเมตร และช่วงทางแยกต่างระดับหนองขาม–ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 6 ช่องจราจร (ปัจจุบันกำลังก่อสร้างขยายเป็น 8 ช่องจราจร) และทางบริการขนาด 2-3 ช่องจราจร ในบางส่วน ระยะทาง 17 กิโลเมตร จะมีการปรับปรุงให้เป็นทางหลวงพิเศษที่ควบคุมการเข้า-ออก ก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 2 จุด ได้แก่ ด่านหนองขาม และด่านพัทยา ในช่วงที่ 1 จะมีจุดกลับรถ 5 จุด และในช่วงที่ 2 จะมีจุดกลับรถ 9 จุด เป็นแบบทางลอดทั้งหมด มีรั้วกั้นระหว่างทางหลักกับทางบริการ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ป้ายจราจร ไฟฟ้าส่องสว่าง มีสถานที่บริการทางหลวง 1 จุด บริเวณเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กิโลเมตรที่ 98-99 และปรับปรุงทางแยกต่างระดับหนองขามให้มีทางเลี้ยวเพิ่มเติม[11]
ในช่วงทางแยกต่างระดับหนองขาม–ทางแยกต่างระดับแหลมฉบัง มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร และทางบริการ 2-3 ช่องจราจร ระยะทาง 8 กิโลเมตร โดยจะปรับปรุงให้เป็นทางรวมและกระจายการจราจรในลักษณะกึ่งควบคุม เพื่อแยกรถบรรทุกสินค้า และรถในท้องถิ่นออกจากกัน รวมทั้งจะกำหนดจุดเข้า-ออกทางสายหลักในตำแหน่งที่เหมาะสมอีกด้วย[12][13]
ช่วงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณจุดบรรจบทางหลวงหมายเลข 3–ทางแยกต่างระดับพัทยา มีเขตทาง 70-170 เมตร มีขนาด 6 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร เฉพาะเชื่อมต่อการเดินทางท้องถิ่น ระยะทาง 8 กิโลเมตร มีจุดกลับรถ 1 จุด จะมีการก่อสร้างสะพานข้าม และทางลอดทางหลวงในบริเวณจุดตัดถนนเดิมสำหรับการสัญจรในท้องถิ่น เพื่อเน้นการให้บริการประชาชนในท้องถิ่น และก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 1 จุด ได้แก่ ด่านพัทยา บริเวณถัดจากทางแยกต่างระดับมาบประชันที่จะมีแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายพัทยา–มาบตาพุดอีกด้วย
การก่อสร้างช่วงพัทยา–มาบตาพุด[แก้]
โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ–บ้านฉาง ช่วงพัทยา –มาบตาพุด[14] เริ่มต้นจากถนนชลบุรี–พัทยา บริเวณกิโลเมตรที่ 124 เป็นแนวตรงจากทางแยกต่างระดับพัทยาไปยังสนามบินอู่ตะเภา นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และเทศบาลเมืองมาบตาพุด โดยมีเขตทาง 70 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร ในช่วงที่มีการสร้างทางบริการจะมีเขตทาง 110 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ระยะทาง 32 กิโลเมตร และถนนรวมและกระจายการจราจร สายห้วยใหญ่–บ้านอำเภอจะมีเขตทาง 50 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 7.856 กิโลเมตร
ทางแยกต่างระดับของโครงการมีทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ ทางแยกต่างระดับมาบประชัน บริเวณจุดเริ่มต้น ทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ บริเวณแยกของถนนสายห้วยใหญ่–บ้านอำเภอ ทางแยกต่างระดับเขาชีโอน บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 และทางแยกต่างระดับอู่ตะเภา บริเวณจุดสิ้นสุด มีสถานที่บริการทางหลวง 1 จุด บริเวณตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตลอดเส้นทางมีด่านเก็บค่าผ่านทาง 4 จุด ได้แก่ ด่านมาบประชัน, ด่านห้วยใหญ่, ด่านเขาชีโอน และด่านอู่ตะเภา ตั้งอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับทุกจุดของโครงการ มีด่านชั่งน้ำหนักสำหรับรถบรรทุก 3 จุด สำหรับการเชื่อมต่อชุมชนสองข้างทางจะออกแบบเป็นทางลอด ทางข้าม และสะพานข้ามถนนท้องถิ่นเช่นเดียวกับช่วงกรุงเทพฯ–ชลบุรี และชลบุรี–พัทยา
ด่านเก็บค่าผ่านทาง[แก้]
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อด่านเก็บค่าผ่านทาง | เข้าเมือง | ออกเมือง | |
---|---|---|---|---|---|
![]() ![]() ![]() | |||||
กรุงเทพมหานคร | 0+000 | ด่านฯศรีครินทร์ | ทางลงศรีครินทร์ | ทางขึ้นศรีครินทร์ | |
12+750 | ด่านฯสุวรรณภูมิ | ทางลงสุวรรณภูมิ | ทางขึ้นสุวรรณภูมิ | ||
สมุทรปราการ | 26+000 | ด่านฯลาดกระบัง | ทางลงลาดกระบัง | ทางขึ้นลาดกระบัง | |
ฉะเชิงเทรา | 40+000 | ด่านฯบางบ่อ | ทางขึ้นบางบ่อ | ทางลงบางบ่อ | |
46+000 | ด่านฯบางปะกง | ทางขึ้นบางปะกง | ทางลงบางปะกง | ||
ทางลงบางปะกง | ทางขึ้นบางปะกง | ||||
ชลบุรี | 65+000 | ด่านฯพนัสนิคม ด่านฯพนัสนิคม 2 |
ไม่มี | ทางลงพนัสนิคม | |
ไม่มี | ทางขึ้นพนัสนิคม | ||||
ทางขึ้นพนัสนิคม 2 | ทางลงพนัสนิคม 2 | ||||
72+000 | ด่านฯบ้านบึง ด่านฯบ้านบึง 2 |
ไม่มี | ทางลงบ้านบึง | ||
ไม่มี | ทางขึ้นบ้านบึง | ||||
ทางขึ้นบ้านบึง 2 | ทางลงบ้านบึง 2 | ||||
79+000 | ด่านฯบางพระ | ไม่มี | ทางลงบางพระ | ||
ทางขึ้นบางพระ | ทางลงบางพระ | ||||
99+000 | ด่านฯหนองขาม | ทางขึ้นหนองขาม | ทางลงหนองขาม | ||
116+000 | ด่านฯโป่ง | ทางขึ้นโป่ง | ทางลงโป่ง | ||
ทางลงโป่ง | ทางลงโป่ง | ||||
122+000 | ด่านฯพัทยา | ทางขึ้นพัทยา | ทางลงพัทยา | ||
![]() ![]() ![]() | |||||
ชลบุรี | 132+000 | ด่านฯห้วยใหญ่ | ทางขึ้นห้วยใหญ่ | ทางลงห้วยใหญ่ | |
143+000 | ด่านฯเขาชีโอน | ทางขึ้นเขาชีโอน | ทางลงเขาชีโอน | ||
ระยอง | 147+000 | ด่านฯอู่ตะเภา | ทางขึ้นอู่ตะเภา | ทางลงอู่ตะเภา | |
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
ทางแยกที่สำคัญ[แก้]
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
![]() ![]() ![]() | |||||
กรุงเทพมหานคร | 0+000 | ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ (หัวหมาก) | เชื่อมต่อจาก: ![]() ![]() | ||
![]() |
![]() | ||||
6+600 | ทางแยกต่างระดับทับช้าง | ![]() ![]() |
![]() ![]() | ||
11+350 | ทางแยกต่างระดับร่มเกล้า | ![]() |
![]() | ||
12+750 | ต่างระดับสุวรรณภูมิ | ไม่มี | ![]() | ||
20+800 | ทางแยกต่างระดับลาดกระบัง | ![]() |
![]() | ||
ฉะเชิงเทรา | 40+850 | ทางแยกต่างระดับบางควาย | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ![]() ![]() | |
46+695 | ทางแยกต่างระดับบางปะกง | ![]() |
ไม่มี | ||
![]() |
![]() ![]() ![]() | ||||
48+007 | สะพาน ข้ามแม่น้ำบางปะกง | ||||
ชลบุรี | 65+375 | ทางแยกต่างระดับพานทอง | ![]() |
![]() | |
72+550 | ทางแยกต่างระดับชลบุรี | ![]() |
![]() | ||
78+800 | ทางแยกต่างระดับคีรีนคร | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ![]() ![]() | ||
99+700 | ทางแยกต่างระดับหนองขาม | ![]() ![]() |
ทางเชื่อมต่อ ![]() | ||
116+950 | ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) | ![]() ![]() |
![]() | ||
119+800 | ทางแยกต่างระดับมาบประชัน | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ![]() | ||
132+000 | ทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ![]() | ||
143+000 | ทางแยกต่างระดับเขาชีโอน | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ![]() | ||
ระยอง | 149+855 | ทางแยกต่างระดับอู่ตะเภา | ![]() |
![]() | |
![]() | |||||
ฉะเชิงเทรา | 0+000 | ทางแยกต่างระดับบางควาย | ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() | |
4+000 | ทางแยกต่างระดับบางวัว | ![]() |
![]() | ||
![]() | |||||
ชลบุรี | 0+000 | ทางแยกต่างระดับคีรีนคร | ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() | |
3+728 | ทางแยกต่างระดับหนองข้างคอก | ![]() |
![]() | ||
![]() | |||||
ชลบุรี | 0+000 | ทางแยกต่างระดับหนองขาม | เชื่อมต่อจาก: ![]() ![]() | ||
![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() | ||||
4+000 | ทางแยกเก้ากิโล | ![]() |
![]() | ||
4+545 | สะพาน ข้าม รฟท. ชายฝั่งทะเลตะวันออก | ||||
5+710 | ทางแยกทุ่งสุขลา | ![]() |
![]() | ||
7+715 | ทางแยกต่างระดับแหลมฉบัง | ![]() |
![]() | ||
ตรงไป: ทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง | |||||
![]() | |||||
ชลบุรี | 0+000 | ทางแยกต่างระดับมาบประชัน | ![]() |
![]() | |
3+085 | ทางแยกหนองปรือ | ![]() |
![]() | ||
5+710 | สะพาน ข้าม รฟท. ชายฝั่งทะเลตะวันออก | ||||
6+165 | ทางแยกต่างระดับสุขุมวิท-พัทยา (แยกมอเตอร์เวย์) | ![]() |
![]() | ||
![]() | |||||
ชลบุรี | 0+000 | ทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ | ![]() |
![]() | |
2+000 | − | ![]() |
![]() | ||
5+500 | − | ![]() |
![]() | ||
7+000 | สะพาน ข้าม รฟท. ชายฝั่งทะเลตะวันออก | ||||
7+856 | ทางแยกบ้านอำเภอ | ![]() |
![]() | ||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติความเป็นมาของสายทาง
- ↑ แผนที่สายทาง กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง
- ↑ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ทางบริการในเขตทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร−บ้านฉาง และในเขตทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เป็นทางหลวงแผ่นดิน
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00156278.PDF
- ↑ ภาพถ่ายการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 36 จาก บริษัทไทยวัฒน์วิศวการทาง จำกัด
- ↑ ภาพถ่ายการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 36 จาก บริษัทไทยวัฒน์วิศวการทาง จำกัด
- ↑ ข้อมูลสาระน่ารู้ วารสารทางหลวง ปีที่ 42 ฉบับที่ 1
- ↑ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองชลบุรี–พัทยา
- ↑ โครงการก่อสร้างด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางถาวรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี–พัทยา
- ↑ กรมทางหลวง เตรียมจัดเก็บค่าผ่านทาง ถนนหลวงหมายเลข 7 สายชลบุรี-พัทยา
- ↑ โครงการก่อสร้างปรับปรุงทางแยกต่างระดับหนองขาม (แหลมฉบัง)
- ↑ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สาย กรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง ตอนแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ระหว่าง กม.6+250+000 - กม.8+500.000 (ตอน 3)
- ↑ สรุปรูปแบบการปรับปรุงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
- ↑ เปิดแนวใหม่มอเตอร์เวย์"พัทยา-มาบตาพุด"เวนคืน2พันไร่ทุ่ม1.6หมื่นล.เสริมโลจิสติกส์"ชลบุรี-ระยอง" ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 |
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2541
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2553
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
- ถนนในกรุงเทพมหานคร
- ถนนในเขตสวนหลวง
- ถนนในเขตประเวศ
- ถนนในเขตสะพานสูง
- ถนนในเขตลาดกระบัง
- ถนนในจังหวัดสมุทรปราการ
- ถนนในจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ถนนในจังหวัดชลบุรี
- ถนนในจังหวัดระยอง
- ทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร
- ทางพิเศษในจังหวัดสมุทรปราการ
- ทางพิเศษในจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทางพิเศษในจังหวัดชลบุรี