การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ตราสัญลักษณ์การทางพิเศษแห่งประเทศไทย | |||||||||
ทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร | |||||||||
ชื่อท้องถิ่น | Expressway Authority of Thailand | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ | ||||||||
อุตสาหกรรม | ทางพิเศษ | ||||||||
ก่อตั้ง | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ประเทศไทย | ใน||||||||
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 111, ถนนริมคลองบางกะปิ, แขวงบางกะปิ, เขตห้วยขวาง, กรุงเทพมหานคร 10310 | ||||||||
พื้นที่ให้บริการ | กรุงเทพมหานครและปริมณฑล | ||||||||
บุคลากรหลัก | สุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข (ผู้ว่าการ) | ||||||||
รายได้ | 18,512,505,749 บาท (พ.ศ. 2566)[1] | ||||||||
รายได้จากการดำเนินงาน | 13,067,855,799 บาท (พ.ศ. 2566)[1] | ||||||||
รายได้สุทธิ | 8,003,414,579 บาท (พ.ศ. 2566)[1] | ||||||||
ทรัพย์สินสุทธิ | 8,807,967,130 บาท (พ.ศ. 2566)[1] | ||||||||
สินทรัพย์ | 23,282,717,211 บาท (พ.ศ. 2566)[1] | ||||||||
พนักงาน | 4,663 คน (พ.ศ. 2566)[1] | ||||||||
บริษัทแม่ | กระทรวงคมนาคม | ||||||||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของการ | ||||||||
เชิงอรรถ / อ้างอิง
|
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. (อังกฤษ: Expressway Authority of Thailand ย่อว่า EXAT) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้าง หรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีการใดๆ ตลอดจนบำรุงรักษาทางพิเศษและดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[3][4]
ในสิ้นปี 2565 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด ลำดับที่ 8[5]
ประวัติ
[แก้]ในช่วงปี พ.ศ. 2512 รัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้มีการเตรียมเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการก่อตั้งหน่วยงานที่ดูแลการก่อสร้างทางพิเศษและรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน[6]ซึ่งทางรัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นศึกษาผลกระทบในการก่อสร้างทางพิเศษแต่ด้วยอุปสรรคหลายอย่างทำให้รัฐบาลไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่ สภาผู้แทนราษฎร ได้จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติตัวเองของจอมพล ถนอมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
กระทั่งวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 จอมพล ถนอมในฐานะประธาน สภาบริหารคณะปฏิวัติ จึงได้ลงนามในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 เรื่องจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งได้ลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 แต่ทางการทางพิเศษได้ถือเอาวันที่ 27 พฤศจิกายน เป็นวันก่อตั้งองค์กรโดยในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้งประสิทธิ์ อุไรรัตน์ เป็นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยคนแรก
ในปี พ.ศ. 2530 คณะรัฐมนตรีและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ซึ่งมีสาระสำคัญคือให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต่อ สภาผู้แทนราษฎร และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530[7]
ในปี พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้ง องค์การรถไฟฟ้ามหานคร เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดูแลรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนโดยเฉพาะอันเนื่องมาจากการจราจรที่ติดขัดอย่างหนักในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อความคล่องตัวในการจัดการการก่อสร้างและการบริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
ในปี พ.ศ. 2536 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ควบคุมและดูแลในเรื่องของระบบขนส่งสาธารณะระบบราง หรือรถไฟฟ้าในขณะนั้นได้เปิดเผยโครงการการจัดสร้างระบบขนส่งในหัวเมืองใหญ่ 8 เมือง อันได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โครงการของจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากการทำแผนพัฒนาและสำรวจเส้นทางที่เหมาะสมกับประชาชนมูลค่า 30 ล้านบาทแล้วเสร็จ[8]
23 มิถุนายน พ.ศ. 2536 เริ่มทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการระบบทางด่วน [9] ,การขอความร่วมมือสำนักงานสถิติแห่งชาติจัดทำสถิติการใช้ทางพิเศษ เพื่อจัดทำแผนแม่บททางด่วน 300 กิโลเมตร [10]และ วันที 5 ตุลาคม 2536 การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เก็บค่าผ่านทาง[11] ในขณะที่ สุขวิช รังสิตพลดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการทางพิเศษคนที่ 5[12] [13]
ต่อมาในวันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 32/2550 คณะรัฐมนตรีได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ.... เข้าสู่การพิจารณาซึ่งที่ประชุมมีมติรับหลักการและได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 15 คน[14] จากนั้นในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 55/2550 เมื่อวันพุธที่ 3 ตุลาคม 2550 ที่ประชุมมีมติในวาระ 3 เห็นชอบสมควรให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย[15] ซึ่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 และให้มีผลในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันที่ 9 มกราคม 2551 โดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 และ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2530 รวมถึงการแก้ไขวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งซึ่งไม่เข้ากับยุคสมัย[16]
สายทางพิเศษ
[แก้]การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ปัจจุบันได้เปิดให้บริการทางพิเศษ 8 สายทาง คือ
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1)
- ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2)
- ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายอาจณรงค์-รามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร)
- ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี)
- ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด)
- ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S1)
- ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (ทางด่วนวงแหวนใต้)
- ทางพิเศษประจิมรัถยา (สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร)[17]
ศูนย์ควบคุม
[แก้]- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษเฉลิมมหานคร (CCB1)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษศรีรัช (CCB2)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษฉลองรัช (CCB3)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษบูรพาวิถี (CCB4)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษอุดรรัถยา (CCB5)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษกาญจนาภิเษก (CCB6)
- ศูนย์ควบคุมทางพิเศษประจิมรัถยา (CCB7)
ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
[แก้]การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้บริการระบบจัดเก็บค่าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Toll Collection System: ETCs) โดยเรียกว่า Easy Pass เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553 ในสายทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษวงแหวนรอบนอกด้านใต้ (บางพลี-บางขุนเทียน) และวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ในสายทางพิเศษศรีรัช กทพ. ได้นำ Easy Pass เข้ามาใช้แทนระบบ Tag ของเดิมที่ได้ถูกยกเลิกการใช้งานแล้ว เพื่อขยายปริมาณการรองรับการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง โดยสามารถทำได้สูงสุด 1200 คันต่อชั่วโมงต่อช่องทาง
รายชื่อผู้ว่าการ
[แก้]- นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ (27 มีนาคม พ.ศ. 2516-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516)
- นายจำลอง ศาลิคุปต์ (21 สิงหาคม พ.ศ. 2516-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519)
- นายทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2519-25 กรกฎาคม พ.ศ. 2522)
- นายจรัญ ยุพรัตน์ (9 ตุลาคม พ.ศ. 2522-1 มิถุนายน พ.ศ. 2536)
- นายสุขวิช รังสิตพล (16 มิถุนายน พ.ศ. 2536-24 ตุลาคม พ.ศ. 2537)
- นายศิวะ เจริญพงษ์ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537-30 กันยายน พ.ศ. 2538)
- นายเรืองฤทธิ์ พูลสวัสดิ์ (17 ตุลาคม พ.ศ. 2538-19 กันยายน พ.ศ. 2540)
- นายสมนึก ชัยเดชสุริยะ (23 กันยายน พ.ศ. 2540-22 ตุลาคม พ.ศ. 2541)
- นายปรีชา ศรีทองสุข (25 ตุลาคม พ.ศ. 2541-30 กันยายน พ.ศ. 2544)
- นายเผชิญ ไพโรจน์ศักดิ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2544-20 มกราคม พ.ศ. 2552)
- พันโททวีสิน รักกตัญญู (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554)
- นายอัยยณัฐ ถินอภัย (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554-7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558)
- นายณรงค์ เขียดเดช (13 มกราคม พ.ศ. 2559-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561)
- นายสุชาติ ชลศักดิ์พิพัฒน์ (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561-7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563)
- นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข (3 สิงหาคม พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 รายงานประจำปี 2566 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๐ เพื่อกำหนดให้จัดตั้ง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างทางพิเศษ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๘๙, ตอน ๑๘๒ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖, ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕.
- ↑ พระราชบัญญัติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔ ก, ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑.
- ↑ ปตท.แชมป์ ส่งรายได้เข้ารัฐมากสุด 1.89 หมื่นล้านบาท
- ↑ "ข้อมูลทั่วไปของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ 2018-02-24.
- ↑ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๐ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ พ.ศ. ๒๕๓๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔ ตอน ๑๖๔ ก พิเศษ หน้า ๓๖ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
- ↑ https://thestandard.co/chiangmai-public-transit-master-plan/
- ↑ Smart EIA Plus https://eia.onep.go.th เก็บถาวร 2023-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน › docPDF การทางพิเศษแห่งประเทศไทย รับที่ 4444 วันที่ 24 8.8, 2541 2540 23 มิ.ย. 2536 — 23 มิถุนายน 2536. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการระบบทางด่วนขั้นที่. เรียน ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย. อ้างถึง.
- ↑ http://service.nso.go.th/nso/HTML/STAT/S140201/th/8.htm
- ↑ https://www.soc.go.th/wp-content/uploads/2020/01/v190_46.pdf
- ↑ https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/169241
- ↑ https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/MainGroup/2537(1-19)/15-2537(%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AF).PDF[ลิงก์เสีย]
- ↑ บันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 32/2550
- ↑ บันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 55/2550
- ↑ พระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐
- ↑ ประจิมรัถยา นามพระราชทานใหม่ ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ