ประเทศอัฟกานิสถาน
สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน جمهوری اسلامی افغانستان (แดรี) د افغانستان اسلامي جمهوریت (ปาทาน) | |
---|---|
![]() | |
เมืองหลวง และ เมืองที่ใหญ่ที่สุด | คาบูล |
ภาษาราชการ | ภาษาปาทานและภาษาดารี |
รัฐบาล | รัฐเดี่ยว ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐอิสลาม |
• ประธานาธิบดี | อัชราฟ ฆานี |
• ประธานฝ่ายบริหาร | อับดุลเลาะห์ อับดุลเลาะห์ |
ได้รับเอกราช | |
• จากสหราชอาณาจักร | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2462 |
พื้นที่ | |
• รวม | 647,500 km2 (250,000 sq mi) (40) |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 34,656,032[1] (40) |
49.88/km2 (129.2/sq mi) (150) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 69.510 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 1,888 |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 21.056 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 572 |
HDI (2559) | ![]() ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 169th |
สกุลเงิน | อัฟกานี (AFN) |
เขตเวลา | UTC+4:30 |
• ฤดูร้อน (DST) | UTC+4:30 |
รหัสโทรศัพท์ | 93 |
โดเมนบนสุด | .af |
อัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Afghanistan; ปาทาน: افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก
ภูมิศาสตร์[แก้]
ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 33 องศาเหนือ และลองจิจูด 65 องศาตะวันออก มีพื้นที่ 647,500 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงในเขตเทือกเขาฮินดูกูซ จุดต่ำสุดอยู่ที่แม่น้ำอมู สูง 258 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลไม่มีทางออกทะเล
"สแตน" หมายถึงที่ดิน อัฟกานิสถานหมายถึงดินแดนของชาวอัฟกานิสถาน คำว่า "สแตน" ยังใช้ในชื่อของเคอร์ดิสถานและอุซเบกิสถาน
ประวัติศาสตร์[แก้]
บทความหลัก:ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน
- พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) อังกฤษได้สถาปนาอับดุรเราะฮฺมาน เป็นอะมีร หลังจากที่ได้มีการรบราฆ่าฟัน ระหว่างเผ่าต่าง ๆ ในอัฟกานิสถานมาเป็นเวลานาน
- พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) อับดุรเราะฮฺมาน เสียชีวิต บุตรชายชื่อ ฮะบีบุลลอหฺ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
- พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) ฮะบีบุลลอหฺ ถูกสังหาร น้องชายชื่อ นัศรุลลอหฺ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นอะมีร แต่ถูก อะมานุลลอหฺ บุตรชายของ ฮะบีบุลลอหฺ ขับไล่ แล้วขึ้นปกครองแทน
- พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) ขบวนการพวกเคร่งศาสนา ก่อการปฏิวัติ อะมีร ฮะบีบุลลอฮฺ หลบหนีออกนอกประเทศ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น บาชา อี ซาเกา นายทหารของเผ่าตาจิก ได้นำพลทหารเข้ายึดกรุงคาบูล เป็นเวลาหลายเดือน ต่อมาญาติคนหนึ่งของ อะมีร ฮะบีบุลลอหฺ ปราบปรามจนถูกสังหาร แล้วญาติคนนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ มีนามว่า นาดีร ชาหฺ
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) กษัตริย์ นาดีร ชาหฺ ถูกสังหาร บุตรชายชื่อ ซอหิร ชาหฺ ขึ้นเป็นกษัตริย์
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ดาวูด ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของกษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ ก่อการปฏิวัติ กษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ หนีไปลี้ภัยในอิตาลี ดาวูดสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) ดาวูด ถูกสังหาร หลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ นำโดย นูร มุฮัมมัด ฏอรอกี
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ฏอรอกี ถูกสังหาร และ ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี
- เดือนธันวาคม ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน ถูกสังหาร โดยกองทัพที่ถูกส่งเข้ามาจากสหภาพโซเวียต บาบรัก การ์มาล ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
- บาบรัก การ์มาล ถูกถอดออกจากตำแหน่ง และหนีไปสหภาพโซเวียต นะญีบุลลอหฺ ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) พวกมุจาหิดีนอิสลาม ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติต่อต้านคอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี ซิบฆอตุลลอหฺ มุจัดดิดี เป็นประธานาธิบดี ต่อมา บุรฮานุดดีน ร่อบบบานี ขึ้นเป็นประธานาธิบดี สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) กลุ่มตอลิบานยึดกรุงคาบูลได้
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) พระพุทธรูปแห่งบามิยันถูกทำลาย กลุ่มตอลิบานถูกขับไล่ออกจากกรุงคาบูล โดยพันธมิตรฝ่ายเหนือที่สหรัฐสนับสนุน สหรัฐอเมริกาผลักดันให้นายฮามิด การฺซาย เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว
การเมืองการปกครอง[แก้]
อัฟกานิสถานเคยมีระบอบการปกครองแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนกระทั่งปี 2516 พลโทซาดาร์ ข่าน (Sadar Khan) ได้ปฏิวัติยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี แต่ผู้นำอัฟกานิสถานในยุคต่อมาเริ่มมีท่าทีใกล้ชิดสหรัฐฯ ทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจและส่งกองกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานในปี 2522 เพื่อสถาปนาระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมขึ้นแทน
ระหว่างการยึดครองของสหภาพโซเวียต ปี 2522 - 2532 ได้เกิดขบวนการต่อต้านระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมในนามกลุ่มมูจาฮีดีน ซึ่งได้โค่นล้มรัฐบาลที่เข้าข้างสหภาพโซเวียตได้สำเร็จในปี 2535 แต่กลับไม่สามารถร่วมกันปกครองประเทศได้ เพราะเกิดความแตกแยกและแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงที่ได้รับการศึกษาจากปากีสถานได้รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังตอลิบานขึ้น และมีความเข้มแข็งจนสามารถยึดกรุงคาบูลได้ในปี 2539 ตั้งรัฐบาลตอลิบานขึ้นปกครองประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่จนถึงปี 2544
หลังเหตุการณ์ 911 ในปี 2544 สหรัฐฯ ได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีอัฟกานิสถานเพื่อโค่นล้มรัฐบาลตอลิบาน และมุ่งที่จะจับนายอุซามะห์ บิน ลาดิน (Osama Binladen) ซึ่งสหรัฐฯ สามารถโค่นล้มรัฐบาลตอลิบานได้สำเร็จในปลายปี 2544 และสหรัฐฯ สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวในอัฟกานิสถาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในอัฟกานิสถานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
ตามรัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถาน กำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขและผู้นำในการบริหารประเทศ มีการกระจายอำนาจการปกครองออกเป็นจังหวัด แบ่งออกเป็น 34 จังหวัด (Province) อย่างไรก็ตาม ในแง่การบริหารจัดการระบบการปกครองภายในประเทศยังไม่ดีนัก เนื่องจากเพิ่งฟื้นตัวจากสงคราม และอำนาจของรัฐบาลกลางยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงพื้นที่ห่างไกล
การบริหารรัฐบาลกลาง[แก้]
- ฝ่ายนิติบัญญัติ
มีรัฐสภา (National Assembly) ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ 1) สภาผู้แทนราษฎร (House of People หรือ Wolesi Jirga) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 249 คน ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี และ 2) สภาอาวุโส (House of Elders หรือ Meshrano Jirga) มีสมาชิก 102 คน ซึ่งแบ่งการสรรหาออกเป็น 3 วิธี ในจำนวนที่เท่า ๆ กัน โดยสมาชิก 34 คนได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี สมาชิกอีก 34 คน ได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 3 ปี และสมาชิกอีก 34 คน ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี
นอกจากนี้ อาจมีการประชุมใหญ่ของผู้แทนทุกภาคส่วนที่เรียกว่า Loya Jirga ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจากทั้งสองสภา ร่วมกับคณะกรรมการบริหารระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นทั้งหมด โดยที่ประชุมใหญ่นี้จะจัดขึ้นเฉพาะกรณีที่ต้องพิจารณาประเด็นระดับชาติเท่านั้น คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับเอกราช อธิปไตยของชาติ และเกี่ยวกับดินแดน รวมถึงการฟ้องร้องประธานาธิบดี
- ฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีรองประธานาธิบดี 2 คน ซึ่งทั้งหมดดำรงตำแหน่งโดยการรับเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระ 5 ปี และประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Hamid Karzai ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญให้อำนาจประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมบริหารประเทศ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และรัฐมนตรีมีจำนวนทั้งสิ้น 25 คน
กระทรวง[แก้]
ลำดับที่ | ชื่อกระทรวงภาษาไทย | ชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ |
---|---|---|
1 | กระทรวงเกษตร ชลประทานและปศุสัตว์ | Ministry of Agriculture, Irrigation and Livestock |
2 | กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม | Ministry of Commerce and Industries |
3 | กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ | Ministry of Communications and Information Technology |
4 | กระทรวงปราบปรามยาเสพติด | Ministry of Counter Narcotics |
5 | กระทรวงกลาโหม | Ministry of Defense |
6 | กระทรวงเศรษฐกิจ | Ministry of Economy |
7 | กระทรวงศึกษาธิการ | Ministry of Education |
8 | กระทรวงพลังงานและน้ำ | Ministry of Energy and Water |
9 | กระทรวงการคลัง | Ministry of Finance |
10 | กระทรวงการต่างประเทศ | Ministry of Foreign Affairs |
11 | กระทรวงพรมแดน ประชาชาติและชนเผ่า | Ministry of Frontiers, Nations and Tribal Affairs |
12 | กระทรวงฮัจญ์และการศาสนา | Ministry of Hajj and Religious Affairs |
13 | กระทรวงการอุดมศึกษา | Ministry of Higher Education |
14 | กระทรวงข้อมูลและวัฒนธรรม | Ministry of Information and Culture |
15 | กระทรวงกิจการภายใน | Ministry of Interior Affairs |
16 | กระทรวงยุติธรรม | Ministry of Justice |
17 | กระทรวงแรงงาน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและกิจการสังคม | Ministry of Labor, Martyrs, Disabled, & Social Affairs |
18 | กระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียม | Ministry of Mines & Petroleum |
19 | กระทรวงสาธารณสุข | Ministry of Public Health |
20 | กระทรวงแรงงานสาธารณะ | Ministry of Public Works |
21 | กระทรวงผู้ลี้ภัยและการส่งตัวกลับ | Ministry of Refugees & Repatriation |
22 | กระทรวงการฟื้นฟูและพัฒนาชนบท | Ministry of Rural Rehabilitation and Development |
23 | กระทรวงคมนาคมและการบินพลเรือน | Ministry of Transport and Civil Aviation |
24 | กระทรวงการพัฒนาในเมืองและการเคหะ | Ministry of Urban Development & Housing |
25 | กระทรวงกิจการสตรี | Ministry of Women's Affairs |
26 | สำนักงานอัยการสูงสุด | Attorney General's Office |
- ฝ่ายตุลาการ
ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้อัฟกานิสถานมีศาลฎีกา (Supreme Court) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Stera Mahkama มีผู้พิพากษาจำนวน 9 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและต้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ดำรงตำแหน่งวาระ 10 ปี รองลงมามีศาลสูง (High Court) และศาลอุทธรณ์ (Appeals Court) ด้วย
การบริหารระดับจังหวัด[แก้]
แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดหน่วยงานระดับจังหวัดและท้องถิ่น คือ คณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) และคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) แล้ว แต่ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ระบบการบริหารการปกครองของอัฟกานิสถานยังจัดการได้ไม่ดีนัก เนื่องจากเป็นระบบที่วางขึ้นใหม่ และอำนาจของรัฐบาลกลางยังอ่อนแอ ความเชื่อมโยงของการบริหารอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางจึงยังขาดความชัดเจน
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ประเทศอัฟกานิสถานแบ่งออกเป็น 34 จังหวัด หรือเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า เวลายัต (welayat) ได้แก่
เศรษฐกิจ[แก้]
ประเทศอัฟกานิสถาน นอกจากถูกจัดให้เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียแล้ว ยังครองอันดับ 1 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]
นักวิเคราะห์ชี้ว่า สาเหตุที่ประเทศอัฟกานิสถานมีฐานะยากจนมากที่สุดมีปัจจัยหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ ประชากรในอัฟกานิสถานว่างงานกว่า 35%, กว่า 36% มีความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานของโลก, 2 ใน 3 ของประชากรมีชีวิตอยู่ด้วยรายได้ที่น้อยกว่าวันละ 2 ดอลล่าสหรัฐ, เป็นประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม และรายได้หลักประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศมาจากการลักลอบค้ายาเสพติด เช่น กัญชา ฝิ่น เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]
เกษตรกรรม[แก้]
ส่วนใหญ่เป็นแบบยังชีพและเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน พืชสำคัญที่ปลูกคือข้าวสาลี ฝ้าย และมีชื่อเสียงในการผลิตฝิ่นเพื่อผลิตยาเสพติด
ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]
มีก๊าซธรรมชาติพบที่เมืองชีเบอร์กานใกล้พรมแดนประเทศเติร์กเมนิสถาน แหล่งผลิตก๊าซที่สำคัญของประเทศคือ ควาเจะห์ ราวัช และยาติม ตัก นอกจากนี้มีแหล่งน้ำมันที่ยังไม่ได้ขุดขึ้นมาใช้ และแหล่งถ่านหินในจังหวัดบากลานและจังหวัดบาลัก แร่ธาตุที่สำคัญ พบแร่เหล็กที่หัจญีกัต ใกล้กรุงคาบูล แร่ทองแดงพบที่อายนัก แร่ยูเรเนียมพบที่ ควาเจะห์ ราวัช อัญมณีในจังหวัดบาดักชาน และแร่อื่น ๆ อีกมาก
การท่องเที่ยว[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
การคมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]
เส้นทางคมนาคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โทรคมนาคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณสุข[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากรศาสตร์[แก้]
เชื้อชาติ[แก้]
เชื้อชาติ: ปุชตู 42% ทาจิก 27% ฮาซารา 9% อุซเบก 9% เติร์กเมน 3% บาลอช 2% อื่น ๆ เช่น ปาไช นูริสตานี บราหุ่ย และคิซิลเบช 4%
การอ่านออกเขียนได้: ตั้งแต่อายุ 15 ปี ร้อยละ 36 (เป็นชาย 51% หญิง 21%)
GDP : 800 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี (ปี 2548)
ที่ | เมือง | จังหวัด | ประชากร | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() คาบูล ![]() คันดาฮาร์ |
1 | คาบูล | จังหวัดคาบูล | 3,071,400 | ![]() เฮราต ![]() มาซาร์-ไอ-ซาร์ริฟ | ||||
2 | คันดาฮาร์ | จังหวัดคันดาฮาร์ | 512,000 | ||||||
3 | เฮราต | จังหวัดเฮราต | 397,456 | ||||||
4 | มาซาร์-ไอ-ซาร์ริฟ | จังหวัดบอล์คห์ | 375,000 | ||||||
5 | จาลาลาแบด | จังหวัดนานการ์ฮาร์ | 205,423 | ||||||
6 | ลัชคาร์การ์ | จังหวัดเฮลเมน | 201,546 | ||||||
7 | ทาโลควาน | จังหวัดทาคาร์ | 196,400 | ||||||
8 | โคสท์ | จังหวัดโคสท์ | 160,214 | ||||||
9 | เชเบอร์กัน | จังหวัดโจวซ์จาน | 148,329 | ||||||
10 | กาซนิ | จังหวัดกาซนิ | 141,000 |
ศาสนา[แก้]
ในอดีตประเทศอัฟกานิสถานได้นับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้าเมนันเดอร์ ที่ 1 หรือ พระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน ก็เป็นประจักษ์พยานของการมีอยู่ของพระพุทธศาสนาในอดีต และมีหลักฐาน เช่น พระพุทธรูปบามิยัน ที่เมืองบามิยันซึ่งมีอายุมากกว่า 2,000 ปี แต่ต่อมาในยุคหลังได้ถูกพวกตาลีบันทำลายทิ้งทั้งหมด
ชาวอัฟกานิสถานในปัจจุบันส่วนมากนับถือศาสนาอิสลาม(98%) สุหนี่(83.2%) ชีอะห์(14.9%) ศาสนาโซโรอัสเตอร์(1.4%) ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู(0.4%) ศาสนาพุทธ(0.3%) ศาสนาคริสต์(0.1%)
ภาษา[แก้]
อัฟกานิสถานเป็น ชนเชื้อสายอิหร่าน ที่พูดภาษากลุ่มอิหร่าน เช่น ภาษาปาทาน 35% ภาษาดารีเปอร์เซีย 56% ภาษากลุ่มเติร์ก (ส่วนใหญ่เป็นภาษาอุซเบก และภาษาเติร์กเมน) 11% และภาษาของชนเผ่าอีก 30 ภาษา รวมเป็น 4% ประชากรส่วนใหญ่พูดได้ 2 ภาษา
ดูรายชื่อภาษทั้งหมดได้ที่หมวดหมู่:ภาษาในประเทศอัฟกานิสถาน
วัฒนธรรม[แก้]
เทศกาล[แก้]
แม้จะเป็นประเทศที่ยากจน แต่ชาวอัฟกันก็ยังคงเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญทางศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะเทศกาลรอมฏอน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของการถือศีลอดอันศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนจะไปเยี่ยมเพื่อนหรือครอบครัวและรับประทานอาหารฉลองร่วมกัน ศิลปะแกรเต้นรำ attan ยังคงเฟื่องฟูในอัฟกานิสถาน
อาหาร[แก้]
สือสารมวลชน[แก้]
กีฬา[แก้]
วันหยุด[แก้]
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ประเทศอัฟกานิสถาน |
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน พ.ศ. 2560. Check date values in:
|access-date=
(help) - ↑ "Table 2-2: Settled Population by Province-2010-2011" (PDF). Central Statistics Office. 2010–2011. สืบค้นเมื่อ April 4, 2012.CS1 maint: date format (link)
หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]
หนังสือ
|
|
บทความ
- Meek, James. Worse than a Defeat. London Review of Books, Vol. 36, No. 24, December 2014, pages 3–10
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ค้นหาเกี่ยวกับ Afghanistan เพิ่มที่โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย | |
![]() |
บทนิยาม จากวิกิพจนานุกรม |
![]() |
สื่อ จากคอมมอนส์ |
![]() |
ทรัพยากรการเรียน จากวิกิวิทยาลัย |
![]() |
อัญพจน์ จากวิกิคำคม |
![]() |
ข้อความต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ |
![]() |
ตำรา จากวิกิตำรา |
- Office of the President
- Afghanistan entry at The World Factbook
- แม่แบบ:GovPubs
- ประเทศอัฟกานิสถาน ที่เว็บไซต์ Curlie
Wikimedia Atlas of Afghanistan
- Research Guide to Afghanistan
|
|