ข้ามไปเนื้อหา

เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าเรือวัดรางบัว คลองภาษีเจริญ

เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ หรือนิยมเรียกอีกชื่อว่า ท่าเรือบางหว้า / ท่าเรือตากสิน–เพชรเกษม เป็นการให้บริการเรือด่วนในคลองภาษีเจริญ มีเส้นทางระหว่าง วัดปากน้ำภาษีเจริญ จนถึง ท่าเรือเพชรเกษม 69 เพื่อลดปัญหาการจราจรที่ติดขัด เปิดให้บริการรูปแบบใหม่ครั้งแรกในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 ดำเนินการเดินเรือโดย บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด อัตราค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย [1][2]

ประวัติ

[แก้]

เปิดทดลองเส้นทางเดินเรือและอนาคต

[แก้]

ได้มีเปิดทดลองเดินเรือในคลองภาษีเจริญตลอดเส้นทางเดินเรือโดยสารคลองภาษีเจริญ จากท่าเรือวัดปากน้ำภาษีเจริญ ถึงท่าเรือเพชรเกษม 69 กำหนดเริ่มทดลองเดินเรือและเปิดให้บริการประชาชนฟรี ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน – 4 พฤศจิกายน 2557 [3] และจะเริ่มเก็บค่าโดยสารในเดือนมิถุนายน 2558[4]

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่าโครงการทดลองเดินเรือคลองภาษีเจริญ เป็นอีกหนึ่งโครงการในการพัฒนาโครงข่ายการสัญจรทางน้ำให้เป็นระบบที่สามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายการเดินทางระบบอื่นๆ เพื่อสร้างความสะดวกสะบายในการเดินทาง สามารถนั่งเรือสายนี้ไปขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม สถานีบางหว้าและรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน สถานีบางหว้า ที่ท่าเรือบางหว้า

เส้นทางการเดินเรือ

[แก้]

เส้นทางการเดินเรือในคลองภาษีเจริญ มีความยาวประมาณ 11.5 กิโลเมตร ประกอบด้วยท่าเรือ 15 ท่า ดังนี้[5]

  • ท่าเรือประตูน้ำภาษีเจริญ - ออกซอยเพชรเกษม 19 เพื่อไปสถานีบางไผ่ ของ รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) โดย ฝั่งเหนือ ไปวัดนวลนรดิศ กับ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ส่วน ฝั่งใต้ไปวัดปากน้ำภาษีเจริญกับโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์
  • ท่าเรืออู่รถเมล์สาย 9 - มีรถประจำทางสาย 4, 9 และ 175 ผ่าน
  • ท่าเรือสะพานประชารัฐ - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 23 เพื่อไปโรงพยาบาลพญาไท 3 และ โรงพยาบาลบางไผ่
  • ท่าเรือบางหว้า - เชื่อมต่อสถานีบางหว้า ของรถไฟฟ้าบีทีเอส, รถไฟฟ้ามหานคร และ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ท่าเรือวัดอ่างแก้ว - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 27 ได้ ฝั่งใต้ออกวัดอ่างแก้ว
  • ท่าเรือเพชรเกษม 31 - ออกซอยเพชรเกษม 31 เพื่อไปสถานีเพชรเกษม 48 ของ รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน)
  • ท่าเรือวัดรางบัว - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 33 ได้ และ ฝั่งใต้ไปวัดรางบัว
  • ท่าเรือเพชรเกษม 35 - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 35 เพื่อไปสถานีภาษีเจริญ ของ รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และ ซีคอนบางแค
  • ท่าเรือเพชรเกษม 37 - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 37 เพื่อไปบ้านพักคนชราบางแค
  • ท่าเรือเพชรเกษม 39 - ฝั่งเหนือ ออกซอยเพชรเกษม 39 เพื่อไป ตลาดบางแค
  • ท่าเรือวัดนิมมานรดี - ฝั่งเหนือ ออกวัดนิมมานรดี ได้ ส่วนฝั่งใต้ออกตลาดวัดนิมมานรดี
  • ท่าเรือเกษตร-บางแค - ไปสถานีบางแค ของ รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน)
  • ท่าเรือสะพานกาญจนาภิเษก - ไปสถานีหลักสอง ของ รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และ เดอะมอลล์บางแค (ห่างจากท่าเรือสะพานกาญจนาภิเษก 2200 เมตร)
  • ท่าเรือวัดม่วง - ฝั่งเหนือ ออก สถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษมและ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี เพชรเกษม ได้ ส่วนฝั่งใต้ ออก วัดม่วงและ โรงเรียนปัญญาวรคุณ
  • ท่าเรือเพชรเกษม 69 - ฝั่งเหนือออกตลาดคลองขวางและ ศาลพระพรหมได้

ส่วนตารางการเดินเรือโดยสารคลองภาษีเจริญ นั้น ในรอบเช้าตั้งแต่ 06.00 น. ถึง 09.00 น. และรอบเย็นตั้งแต่ 16.00 น. ถึง 19.30 น. โดยวันจันทร์ถึงวันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) จะมีทุก 15 นาที ส่วนวันเสาร์ วันอาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ จะมีทุก 30 นาที [6]

เส้นทางขยาย

[แก้]

17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เปิดแผนเส้นทางการเดินเรือ จากท่าเรือบางหว้า วิ่งไปตามแนวคลองบางกอกใหญ่ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ไล่มาตั้งแต่ท่าเรือวัดอินทาราม โดยจะบรรจบกับ เรือด่วนเจ้าพระยา ท่าเรือสะพานพุทธ ท่าเรือราชินี และจะไปสิ้นสุดที่ท่าเรือท่าช้างวังหลวง ให้บริการฟรี 6 เดือน ตั้งแต่มิถุนายนถึงธันวาคม 2562 [7] [8][9][10] โดยในอนาคตท่าเรือบางหว้าจะสามารถไปถึงท่าเรือวัดกำแพง (เขตภาษีเจริญ)[11]

ความปลอดภัย

[แก้]

โดยกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยดังนี้

  1. จำกัดความเร็วเดินเรือไม่เกิน 10 กม./ชม.
  2. มีอุปกรณ์ชูชีพสำหรับผู้โดยสารทุกที่นั่ง
  3. สามารถตรวจสอบตำแหน่งเรือด้วยระบบ GPS
  4. มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทุกท่าเรือ
  5. ทางขึ้นลงสะดวกสบาย
  6. จำกัดผู้โดยสารไม่เกิน 60 คน มีที่นั่งทุกที่

สกายวอล์กเชื่อมบีทีเอส

[แก้]

บริเวณท่าเรือภาษีเจริญมีสกายวอล์กเชื่อมไปยังรถไฟฟ้าสถานีบางหว้า เป็นทางเดินยกระดับยาว 255 เมตร กว้าง 5 เมตร เริ่มงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 ด้วยงบประมาณ 69,699,800 ล้านบาท มีบริษัท เรืองฤทัย จำกัด เป็นผู้รับจ้าง เดิมสัญญาสิ้นสุดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 แต่ผู้รับจ้างขอขยายเวลาไปอีก 70 วัน โดยก่อสร้างเสร็จเมื่อต้นมีนาคม 2561[12]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "กรุงเทพธนาคม" เชื่อมรถไฟฟ้ากับคลอง รีเมกเรือคลองภาษีเจริญ
  2. สำรวจโครงการ "เรือคลองภาษีเจริญ" ขาดทุนเดือนละล้านกับอนาคตรอด-ไม่รอด? ....
  3. "กทม.ทดลองเดินเรือคลองภาษีเจริญ ฟรี 24เม.ย.-4 พ.ย.นี้". วอยซ์ทีวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
  4. มิ.ย.58เก็บค่าโดยสารเรือคลองภาษีเจริญ
  5. "เปิดเดินเรือ'คลองภาษีเจริญ'พรุ่งนี้ทางเลือกใหม่การเดินทางของคนกรุง". เดลินิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-28. สืบค้นเมื่อ 23 April 2014.
  6. "ตารางเดินเรือคลองภาษีเจริญ". กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
  7. เชื่อมเรือต่อราง เรือโดยสารคลองบางกอกใหญ่
  8. "17 มิ.ย.นี้ เปิดบริการเดินเรือเส้นทางใหม่ "บางหว้า-ท่าช้าง" บริการฟรี 6 เดือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.
  9. กทม.เปิดเส้นทางเดินเรือ "บางหว้า-ท่าช้าง" เชื่อมรถไฟฟ้า
  10. นั่งเรือฟรี 6 เดือน เชื่อม BTS บางหว้า - สะพานพุทธ - ท่าช้าง เริ่ม 17 มิ.ย.นี้
  11. ดีเดย์ 17 มิ.ย.นี้ กทม.เปิดเดินเรือคลองบางกอกใหญ่เชื่อมบีทีเอส-สายสีน้ำเงินจาก “ท่าบางหว้า-ท่าช้าง” ฟรี6เดือนหนีรถติด
  12. "เปิด "Sky Walk" บางหว้า เชื่อม "BTS-รถเมล์-เรือ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.