ข้ามไปเนื้อหา

ถนนวิภาวดีรังสิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31
ถนนวิภาวดีรังสิต
แผนที่
Part of Vibhavadi Rangsit Road.jpg
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว23.510 กิโลเมตร (14.608 ไมล์)
ประวัติ
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2509–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้ถ.ดินแดง ในเขตพญาไท กรุงเทพฯ
 
ปลายทางทิศเหนือ ถ.พหลโยธิน ใน อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
จังหวัด
ระบบทางหลวง

ถนนวิภาวดีรังสิต (อักษรโรมัน: Thanon Vibhavadi Rangsit) ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่ของถนนมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 สายดินแดง–ดอนเมือง เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานในภาคกลาง เชื่อมต่อถนนในกรุงเทพมหานครกับถนนพหลโยธินสู่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถนนสายนี้แบ่งช่องทางเดินรถเป็นทางหลักและทางขนาน ยกเว้นช่วงที่ผ่านหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองจะไม่แบ่งเป็นทางหลักและทางขนานเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเพราะถูกขนาบด้วยท่าอากาศยานดอนเมืองและทางรถไฟสายเหนือ ปัจจุบันมีทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) เป็นทางด่วนประเภทยกระดับเก็บค่าผ่านทางอยู่เหนือถนนวิภาวดีรังสิตด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการความรวดเร็วในการเดินทางมากกว่าเดิม

ประวัติ

[แก้]

ถนนวิภาวดีรังสิตเปิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2509[1] เป็นถนนในโครงการพัฒนาถนนร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐ ซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับถนนมิตรภาพ

ชื่อถนน

[แก้]

ถนนวิภาวดีรังสิตตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต) พระธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง โดยพระองค์เสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตที่ผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการอยู่ จนกระทั่งเฮลิคอปเตอร์ที่นั่งถูกผู้ก่อการร้ายระดมยิงจนสิ้นชีพตักษัยในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และรัฐบาลได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระนามมาเป็นชื่อถนนซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ซึ่งเดิมคนทั่วไปมักเรียกว่า "ถนนซูเปอร์ไฮเวย์"[2][3][4]

ถนนวิภาวดีรังสิตช่วงตั้งแต่แยกใต้ด่วนดินแดงถึงคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตพญาไทกับเขตดินแดง และถนนวิภาวดีรังสิตช่วงตั้งแต่ถนนแจ้งวัฒนะถึงท่าอากาศยานดอนเมืองเดิมเป็นถนนท้องถิ่นมีชื่อว่า "ถนนศรีรับสุข"[5]

เส้นทาง

[แก้]
ถนนวิภาวดีรังสิตและทางยกระดับอุตราภิมุข
ถนนวิภาวดีรังสิตและทางยกระดับอุตราภิมุข

เริ่มต้นตั้งแต่แยกใต้ด่วนดินแดง (จุดบรรจบถนนดินแดงและเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วน 1 สายดินแดง-ท่าเรือ) ในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตดินแดงกับเขตพญาไท ตัดกับถนนสุทธิสารที่ทางแยกสุทธิสาร ข้ามคลองบางซื่อเข้าสู่เขตจตุจักร ตัดกับถนนพหลโยธิน (ทางแยกลาดพร้าว โดยมีถนนลาดพร้าวมาบรรจบเป็นแยกที่ห้า) แล้วไปตัดกับถนนงามวงศ์วานหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 (ทางแยกบางเขน) ก่อนเข้าสู่เขตหลักสี่ ตัดกับถนนแจ้งวัฒนะหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 เข้าเขตดอนเมือง และออกจากเขตกรุงเทพมหานครไปสิ้นสุดโดยการไปบรรจบกับถนนพหลโยธินอีกครั้งที่ทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ในพื้นที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทางทั้งหมด 23.510 กิโลเมตร

ถนนวิภาวดีรังสิตมีวิธีการนับเลขหลักกิโลเมตรต่างจากถนนสายอื่น ๆ คือ ถือจุดสิ้นสุด (จุดบรรจบถนนพหลโยธิน) เป็นที่ตั้ง โดยเริ่มต้นจากกิโลเมตรที่ 28+500 ตามหลักกิโลเมตรของถนนพหลโยธินที่ทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี แล้วจึงนับย้อนไปทางทิศใต้ จนสิ้นสุดที่ทางแยกใต้ด่วนดินแดง เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร แต่ถนนสายนี้มีระยะทางเพียง 23.510 กิโลเมตร จึงทำให้จุดเริ่มต้นของถนนวิภาวดีรังสิตที่ทางแยกใต้ด่วนดินแดงนั้นเป็นกิโลเมตรที่ 4+990 ซึ่งตามความจริงแล้วควรจะเป็นกิโลเมตรที่ 0

ทางแยกที่สำคัญ

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 (ถนนวิภาวดีรังสิต) ทิศทาง: ดินแดง−อนุสรณ์สถาน
จังหวัด อำเภอ/เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ดินแดง−อนุสรณ์สถาน
กรุงเทพมหานคร พญาไท 4+990 แยกใต้ด่วนดินแดง เชื่อมต่อจาก: ทางพิเศษเฉลิมมหานคร จากบางนา, ดาวคะนอง
ถนนดินแดง ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนดินแดง ไปประชาสงเคราะห์, พระราม 9
แยกสุทธิสาร ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ไปสะพานควาย ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ไปแยกรัชดา-สุทธิสาร
จตุจักร 10+828 แยกลาดพร้าว ไม่มี ถนนลาดพร้าว ไปแยกรัชดา-ลาดพร้าว, บางกะปิ
ถนนพหลโยธิน ไปสวนจตุจักร, สะพานควาย ถนนพหลโยธิน ไปแยกรัชโยธิน
ทางแยกต่างระดับรัชวิภา ถนนรัชดาภิเษก ไปวงศ์สว่าง, สะพานพระราม 7
ถนนกำแพงเพชร 2 ไปหมอชิตใหม่
ถนนรัชดาภิเษก ไปแยกรัชโยธิน
14+700 แยกบางเขน ถนนงามวงศ์วาน ไปพงษ์เพชร, แคราย ถนนงามวงศ์วาน ไปมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักสี่ 19.312 แยกหลักสี่ ถนนแจ้งวัฒนะ ไปปากเกร็ด ถนนแจ้งวัฒนะ ไปอนุสาวรีย์หลักสี่, รามอินทรา, มีนบุรี
ดอนเมือง ฐานทัพอากาศดอนเมือง ไม่มี ถนนธูปะเตมีย์ ไปฐานทัพอากาศดอนเมือง, ถนนพหลโยธิน
ปทุมธานี ลำลูกกา 28.500 ทางแยกต่างระดับอนุสรณ์สถาน ไม่มี ถนนพหลโยธิน ไปสะพานใหม่
ตรงไป: ถนนพหลโยธิน ไปรังสิต, นวนคร
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

[แก้]

โรงเรียนและสถาบันการศึกษา

[แก้]

โรงพยาบาล

[แก้]

สถานที่ราชการ

[แก้]

หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

[แก้]

หน่วยงานเอกชน

[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

เหตุการณ์เพลิงไหม้รถบัสที่กำลังเดินทางบนถนนวิภาวดีรังสิต ในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 23 ราย ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนจำนวน 20 ราย และครูอีก 3 ราย รวมถึงมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 4 ราย [6] [7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. นิตยสาร เสรีภาพ ฉบับที่ 129 ปี พ.ศ. 2509
  2. รำลึก 35 ปี วันสิ้นพระชนม์ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เดลินิวส์
  3. ก่อนที่จะมาเป็นถนนวิภาวดีรังสิต BlogGang.com
  4. นวลจันทร์ รัตนากร ชุติมา สัจจานันท์ มารศรี ศิวรักษ์. ว. ณ ประมวญมารค พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, 2520.
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493
  6. "ด่วน! ไฟไหม้รถบัสนักเรียนนำเที่ยวเจ็บ-ตายนับ 10 คน". ไทยพีบีเอส. 2024-10-01. สืบค้นเมื่อ 2024-10-01.
  7. "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". ไทยรัฐ. 2024-10-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]