แบงค็อก มอลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบงค็อก มอลล์
ที่ตั้งถนนเทพรัตน แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
เปิดให้บริการพ.ศ. 2568 (ศูนย์การค้า) โดยคาดการณ์ [1]
พ.ศ. 2569 (BANGKOK ARENA)
พ.ศ. 2571 (ทั้งโครงการ)
ผู้บริหารงานบริษัท บางนา ชอปปิ้งคอมเพล็กซ์ จำกัด[2] โดย
พื้นที่ชั้นขายปลีก873,082 ตารางเมตร
จำนวนชั้น7 ชั้น (ศูนย์การค้า)
51 ชั้น (อาคารสำนักงาน โรงแรม และคอนโดมิเนียม)
ที่จอดรถ8,000 คัน

แบงค็อก มอลล์ (อังกฤษ: Bangkok Mall) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมและสถานีขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนเทพรัตน ช่วงกิโลเมตรที่ 0-1 ตรงข้ามศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บริหารงานโดยกลุ่มเดอะมอลล์ กำหนดการก่อสร้างภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 กำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการบางส่วนภายในปี พ.ศ. 2568[3] โดยเมื่อเปิดทำการโครงการดังกล่าว ศูนย์การค้าและฮอลล์แสดงคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิง (แบงค็อกอารีน่า) จะมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ศูนย์การค้าจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงยังเป็นหนึ่งในศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

รายละเอียดโครงการ[แก้]

ศูนย์การค้าแบงค็อก มอลล์ เป็นโครงการศูนย์การค้าแบบรีจีนัลมอลล์ขนาดใหญ่ มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 100 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นที่ดินของ ดร.ประสาน ภิรัช บุรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ภิรัชบุรี และชนะ รุ่งแสง[4] โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งเดอะมอลล์กรุ๊ป ภายในโครงการจะประกอบไปด้วยอาคารศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม อาคารที่อยู่อาศัยให้เช่าหรือเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ อาคารสำนักงานให้เช่า อีกทั้งยังได้วางรูปแบบโครงการในเบื้องต้นว่าเป็นโครงการแบบ City within the City หรือเมืองในเมืองที่สมบูรณ์แบบ ออกแบบอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรม The Ultra Modern & Spectacular Architecture มีพื้นที่รวมทั้งโครงการ 873,082 ตารางเมตร หากโครงการเสร็จสมบูรณ์จะเป็นศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และทำลายสถิติเดิมของ ไอโอไอ ซิตี้ มอลล์ ขึ้นเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก[5]

การจัดสรรพื้นที่[แก้]

  • ห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต พื้นที่รวม 80,000 ตารางเมตร
  • โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ 15 โรง ประกอบไปด้วยโรงภาพยนตร์มาตรฐาน 14 โรง และโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ 1 โรง
  • แบงค็อก อารีนา ฮอลล์แสดงคอนเสิร์ตและกิจกรรมบันเทิง ความจุ 16,000 ที่นั่ง โดยความร่วมมือกับ Anschutz Entertainment Group[6]
  • สวนสนุก พื้นที่ 30,000 ตารางเมตร
  • สวนน้ำ พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร
  • อาคารจอดรถ พื้นที่ 250,000 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 8,000 คัน
  • อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย สำนักงาน และโรงแรม
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารสายตะวันออก พื้นที่ 7.5 ไร่ ประกอบไปด้วย
    • ชานชาลาเทียบรถขนาดใหญ่และชานชาลาเทียบรถตู้ร่วมให้บริการ โดยมีแผนย้ายท่ารถตู้ร่วมให้บริการที่ตั้งอยู่ด้านหน้าโครงการ เข้ามารวมกับตัวสถานีขนส่งภายในโครงการ
    • พื้นที่พักคอยผู้โดยสาร บริเวณชั้น G ของศูนย์การค้า โดยออกแบบและจัดทำในลักษณะเดียวกับโถงผู้โดยสารของสนามบิน

การคมนาคม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. บางนาคึกคัก “แบงค็อก มอลล์” ตอกเข็ม พ.ย. นี้ เสร็จปลายปี 63 ชู “แบงค็อก อารีน่า” ฮอลล์ระดับโลก
  2. "บางนาคึกคัก "แบงค็อก มอลล์" ตอกเข็ม พ.ย. นี้ เสร็จปลายปี 63 ชู "แบงค็อก อารีน่า" ฮอลล์ระดับโลก". mgronline.com. 2018-09-30.
  3. “เดอะมอลล์กรุ๊ป”เทงบแสนล.เดินหน้าแผนโรดแมพ5-6ปี
  4. "เปิดใจ "ศุภลักษณ์ อัมพุช" จากคำดูถูก "ห้างชั้นสอง" สู่อาณาจักร Em District กลางสุขุมวิท". THAIRATH Money.
  5. "เดอะมอลล์ ยักษ์ตื่น สร้างห้างใหม่สุขุมวิท-บางนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-08. สืบค้นเมื่อ 2014-05-06.
  6. "เดอะมอลล์ กรุ๊ป จับมือ AEG สร้างปรากฏการณ์ความบันเทิงระดับโลกครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-01-20.
  7. เดอะมอลล์ยกที่ดินย้ายสถานีเอกมัย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]