ท่าอากาศยานพิษณุโลก
การใช้งาน | สนามบินพาณิชย์ | ||
---|---|---|---|
ผู้ดำเนินงาน | กรมการบินพลเรือน | ||
พื้นที่บริการ | จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย | ||
ความสูง | 154 ฟุต / 47 เมตร | ||
พิกัด | พิกัดภูมิศาสตร์: 16°46′23″N 100°16′56″E / 16.77306°N 100.28222°E | ||
14/32 | 3,000 | 9,843 | ยางมะตอย |
ผู้โดยสาร | 492,128 | ||
เที่ยวบิน | 4,079 | ||
แหล่งข้อมูล: DAFIF[1][2]กรมการบินพลเรือน[3] |
ท่าอากาศยานพิษณุโลก (อังกฤษ: Phitsanulok Airport) ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร เป็นสนามบินพาณิชย์ ในความดูแลของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[4] ในปี พ.ศ. 2555 มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการ 195,049 คน และผู้โดยสารในปี2556 เพิ่มขึ้นเป็น 242,293 คน โดยมีแนวโน้มที่ผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี
ประวัติ[แก้]
ท่าอากาศยานพิษณุโลก เดิมเป็นสนามบินของกองบินที่ 46 กองทัพอากาศ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2484 เป็นสนามบินขับไล่และทิ้งระเบิด ในสงครามมหาเอเชียบูรพา หลังจากนั้นได้ใช้ในการสำหรับซ้อมการบิน และกิจการอื่นๆ ของกองทัพอากาศ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 สำนักงานกองบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม ได้รับอนุญาตจากกองทัพอากาศให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นสนามบินในเชิงพาณิชย์ เพื่อเปิดบริการให้แก่เครื่องบินพาณิชย์ จึงขอพื้นที่จากกองทัพอากาศ เพื่อก่อสร้างเป็นอาคารที่พักผู้โดยสาร หอบังคับการบิน และใช้พื้นที่ทำประโยชน์อื่น จำนวน 70 ไร่ พร้อมกับดำเนินการบริหารกิจการด้านการบินพาณิชย์ ในระยะแรกของการก่อตั้งบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้นำเครื่องบิน DC 3 ทำการขนส่งผู้โดยสาร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ถูกกำหนดให้เป็นสนามบินอนุญาต และเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534 ได้ถูกประกาศเป็น สนามบินศุลกากรขนาดทางวิ่ง 3,000 x 45 เมตร
ข้อมูลทั่วไป[แก้]
- ระบบไฟสนามบิน RWY Light, PAPI for both RWY Simple Approach Light RWY 32
- ระบบบริการเชื้อเพลิง Jet A-1 และ AVGAS
- ระบบวิทยุช่วยเดินอากาศ ILS / DME / VOR / NDB
- ลานจอด 2 โบอิ้ง 737 / 1 เอทีอาร์ 72
- ความจุอาคารผู้โดยสาร ขาเข้า 500 คน / ขาออก 500 คน
- อาคาร 2 ชั้น (ลิฟท์,บันไดเลื่อน)
- บริการรถเช่า (ชั้น1)
- ร้านขายของฝาก
- ร้านกาแฟ
- ร้านมินิมาร์ท
รายชื่อสายการบิน[แก้]
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
นกแอร์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ไทยไลอ้อนแอร์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
สายการบินที่เคยทำการบิน[แก้]
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
การบินไทย | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, น่าน[5], ลำปาง[5], ตาก[5], เลย[5], กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ[6] | ภายในประเทศ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Airport information for VTCN at World Aero Data. Data current as of October 2006.. Source: DAFIF.
- ↑ Airport information for NNT at Great Circle Mapper. Source: DAFIF (effective Oct. 2006).
- ↑ http://www.aviation.go.th
- ↑ รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 กาญจนา อาสนะคงอยู่; เอกชัย โกมล (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (รายงาน). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. pp. 123. http://research.culture.go.th/ebook/nt142/files/assets/common/downloads/publication.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560. "บริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน) ทําการบินประจําจากจังหวัดพิษณุโลกไปยังจังหวัดต่างๆดังนี้ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และกลับ สัปดาห์ละ 18 เที่ยว กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-ลําปางและกลับ สัปดาห์ละ 4 วันๆละ 1 เที่ยว พิษณุโลก-น่าน-เชียงใหม่และกลับสัปดาห์ละ 3 วันๆละ 1 เที่ยว พิษณุโลก-ตาก-แม่สอด-เชียงใหม่และกลับสัปดาห์ละ 4 วันๆละ 1 เที่ยว พิษณุโลก-เลยและกลับสัปดาห์ละ 3 วันๆละ 1 เที่ยว พิษณุโลก-ลําปางและกลับ ทําการบินทุกวันๆละ 1 เที่ยว จํานวนเที่ยวบินประจําของปี พ.ศ. 2536 ขึ้นลงรวม 3,246 เที่ยว เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2534 พบว่าการคมนาคมทางอากาศของจังหวัดพิษณุโลกมีการขยายตัวอย่างมาก"
- ↑ กาญจนา อาสนะคงอยู่; เอกชัย โกมล (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (รายงาน). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. pp. 194. http://research.culture.go.th/ebook/nt142/files/assets/common/downloads/publication.pdf. เรียกข้อมูลเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560.
|
|