เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์
ที่ตั้ง | 2194 ถนนเจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร |
---|---|
พิกัด | 13°42′22″N 100°30′17″E / 13.706021°N 100.504660°E |
เปิดให้บริการ | 27 เมษายน 2555[1] |
ผู้บริหารงาน | บริษัท ริเวอร์ไซด์ มาสเตอร์แพลน จำกัด |
พื้นที่ชั้นขายปลีก | 30 ไร่ (เฟสแรก) / 70 ไร่ (ทั้งโครงการ) |
จำนวนชั้น | สูงสุด 2 ชั้น |
ที่จอดรถ | ประมาณ 2,000 คัน |
เว็บไซต์ | www |
เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ (Asiatique The Riverfront) เป็นศูนย์การค้าเปิดโล่งขนาดใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ระหว่างซอยเจริญกรุง 72-76 ถนนเจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร บริหารงานโดย กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยรีเทล อินเวสเม้นต์ โดย บริษัท แอสเสท เวิรด์ รีเทล จำกัด ภายในโครงการประกอบด้วยร้านค้า ร้านอาหารริมน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของโรงละครคาลิปโซ่ที่ย้ายมาจากโรงแรมเอเชีย และโรงละครโจหลุยส์ที่ย้ายมาจากสวนลุมไนท์บาซาร์
เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ เดิมเป็นที่ตั้งของวัดพระยาไกร ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นท่าเรือ โดยบริษัทอีสต์เอเชียติกสัญชาติเดนมาร์ก มาเปิดกิจการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสร้างเป็นโกดัง โรงเลื่อย และนำเครื่องจักรขนาดใหญ่หลายตัวมาติดตั้งไว้ และมีการสร้างท่าเรือขนถ่ายสินค้าซึ่งเป็นการเปิดประตูการค้าสากลระหว่างประเทศไทยและทวีปยุโรป ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามายึดท่าเรือและคลังสินค้าของบริษัทอีสต์เอเชียติก เพื่อใช้เป็นฐานกำลังและคลังแสง และยังปรากฏมาจนถึงปัจจุบัน
กระทั่งในปี พ.ศ. 2555 ได้มีพัฒนาปรับปรุงเป็นศูนย์การค้า ด้วยแนวคิด Festival Market and Living Museum ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและช้อปปิ้งที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม[2] โดยมีจุดเด่นคือชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่ "เอเชียทีค สกาย" ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ความสูง 60 เมตร และเมื่อขึ้นไปแล้วจะสามารถมองเห็นทัศนียภาพโดยรอบของกรุงเทพมหานครในมุมสูงได้รอบตัว[3]
ในอนาคต ยังมีแผนที่จะก่อสร้างอาคารพาณิชย์แบบผสมความสูง 450 เมตร จำนวน 100 ชั้น ซึ่งจะกลายเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย[4]
การจัดสรรพื้นที่
[แก้]เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้
- บิ๊กซี ฟู้ดเพลส (เปิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)
- โรงละครคาลิปโซ กรุงเทพ (ย้ายมาจากโรงแรมเอเชีย)
- โรงละครโจหลุยส์ (ย้ายมาจากสวนลุมไนท์บาซาร์)
- เดอะ สเตจ มวยไทย ไลฟ์
- ฟูดเซอร์คัส
- เอเชียทีค สกาย ชิงช้าสวรรค์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
- สิริมหรรณพ เรือใบสามเสาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งจำลองแบบมาจากเรือทูลกระหม่อม[5] ภายในประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์และร้านอาหาร บริหารงานโดยโรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค[6]
นอกจากนี้ยังมีลานกิจกรรมเอเชียทีคพาร์ค ทางเดินริมแม่น้ำ และบริการเรือรับ-ส่ง ไปยังท่าเรือสาทรได้อีกด้วย
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ชิงช้าสวรรค์ เอเชียทีค สกาย
โครงการในอนาคต
[แก้]เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ มีโครงการพัฒนาส่วนต่อขยายในระยะที่ 2 บนพื้นที่รวมเกือบ 100 ไร่ มูลค่าลงทุนไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท
โดยล่าสุดได้เซ็นสัญญากับ Adrian Smith + Gordon Gill Architecture (AS+GG) ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการออกแบบอาคาร อาทิ บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ ในนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เซ็นทรัล พาร์ค ทาวเวอร์ สหรัฐอเมริกา, เจดดาห์ทาวเวอร์ อาคารสูง 1 กิโลเมตร ในเมืองญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย และ AL Wasl Plaza นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สถานที่จัดงานเอ็กซ์โป 2020 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้น โดย AS+GG จะทำงานร่วมกับ บริษัท เอ 49 จำกัด และ บริษัท เออร์เบิ้น อาร์คิเต็คส์ จำกัด[7]
เบื้องต้นในโครงการจะประกอบด้วย อาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ความสูง 450 เมตร จำนวน 100 ชั้น ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณลานจอดรถและเอเชียทีค สกาย ในปัจจุบัน ภายในอาคารประกอบด้วย โรงแรมเจดับบลิว แมริออท มาร์คีส์ เอเชียทีค แบงค็อก จำนวน 1,000 ห้อง, โรงแรมริทซ์-คาร์ลตัน รีเสิร์ฟ แอท เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ จำนวน 124 ห้อง และริทซ์-คาร์ลตัน รีเซิร์ฟ เรสซิเดนเซส แอท เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ จำนวน 180 ห้อง[8] นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ค้าปลีกระดับบน และจุดชมวิวบนดาดฟ้า โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการทำงานร่วมกับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะใช้เวลา 1 ปีครึ่งกว่าการออกแบบโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จ พร้อมยื่นรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนเริ่มการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2573[4][9] นอกจากนี้บริเวณพื้นที่ในปัจจุบัน ยังมีแนวทางการพัฒนาอีก 2 ส่วน ดังนี้
- พื้นที่ติดถนนเจริญกรุง ก่อสร้างเป็นอาคารรูปทรงเจดีย์ สำหรับเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของที่ตั้งโครงการ ซึ่งเป็นจุดที่พบพระพุทธรูปทองคำของวัดพระยาไกรในอดีต ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ถัดมาจะมีการพัฒนาเป็นพื้นที่ฟันพาร์ค
- พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา จะก่อสร้างเป็นร้านสตาร์บัคส์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกันนี้จะมีการย้ายเอเชียทีค สกาย จากจุดเดิมมาตั้งบริเวณเดียวกัน ที่สำคัญจะมีร้านค้าปลีกมาเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง จากปัจจุบันที่เปิดให้บริการในช่วงเวลาตั้งแต่ 17.00-23.00 น.
ซึ่งการพัฒนาทั้งหมดจะใช้ระยะเวลา 3 ปี สำหรับพื้นที่อีกเกือบ 40 ไร่ที่เหลือบริเวณฝั่งตรงข้ามถนนที่ปัจจุบันเป็นที่จอดรถบัสนักท่องเที่ยว จะมีการพัฒนาเป็นส่วนสุดท้าย ซึ่งเบื้องต้นจะพัฒนาเป็นพื้นที่อาคารค้าปลีก และโรงแรมดิ เอเชียทีค แบงค็อก ออโตกราฟ คอลเลคชัน จำนวน 208 ห้อง[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Positioning. (2555). ดิสนีย์แลนด์ ไอดอลของ เอเชียทีค
- ↑ เอ็มไทย (8 พฤษภาคม 2555). "ASIATIQUE The Riverfront ตลาดนัดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเจริญกรุง". travel.mthai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-03. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กระปุก.คอม (8 มีนาคม 2556). "นั่งชิงช้าสวรรค์ เอเชียทีค ชิล ๆ ชมวิวเมืองกรุง". travel.kapook.com. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 กรุงเทพธุรกิจ (19 ธันวาคม 2562). "'AWC' ท้าชน 'ไอคอนสยาม' จ่อผุด ตึกสูงสุด ริมเจ้าพระยา". www.bangkokbiznews.com. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Tanphaibul, Suthivas (10 January 2023). "Docked dinner cruise that serves a tale in every bite". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 January 2024.
Møller, Gregers (8 January 2022). "Extra Show Sunday Evening 16.30 - Danish Gymnastics Team in Thailand". Scandasia. สืบค้นเมื่อ 16 January 2024.
"เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ ได้ฤกษ์ทำพีธีปล่อยเรือ 'สิริมหรรณพ' ลงน้ำ เตรียมโปรโมทสู่ไฮไลท์การท่องเที่ยวใหม่ของเมืองไทย (press release)". Positioning Magazine. 6 July 2018. สืบค้นเมื่อ 16 January 2024. - ↑ เอเชียทีค ดันแนวคิด Heritage Alive ส่ง “เรือสิริมหรรณพ” พร้อม New Mega F&B Destination ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของทุกกลุ่ม
- ↑ “แอสเสท เวิรด์” เดินหน้า 3 โครงการ “แลนด์มาร์ก” เอเชียทีค-อควอทิค-เวิ้งนครเขษม
- ↑ ‘แอสเสทเวิรด์’ ปูพรมแลนด์มาร์ก ปั้น‘ตึกสูงสุดในไทย-เลโก้แลนด์’
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (12 มีนาคม 2563). "'เจ้าสัวเจริญ' ทุบทุกสถิติ เสกตึกสูง 100ชั้น ริมเจ้าพระยา". www.thansettakij.com. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ข่าวสด (19 ธันวาคม 2562). "โปรเจ็กต์ยักษ์! เอเชียทีค ดึงสถาปนิกระดับโลก สร้างตึก 100 ชั้น สูงสุดในไทย". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)