ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศภูฏาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภูฏาน)
ราชอาณาจักรภูฏาน

འབྲུག་རྒྱལ་ཁབ (ซองคา)
เพลงชาติ
འབྲུག་ཙན་དན་
ดรุก เซนเดน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ทิมพู
27°28.0′N 89°38.5′E / 27.4667°N 89.6417°E / 27.4667; 89.6417
ภาษาราชการซองคา
ศาสนา
(2010)[1] [2]
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก
เชริง ตบกยา
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สภาแห่งชาติ
สมัชชาแห่งชาติ
ก่อตั้ง
• รวมชาติภูฏาน
ค.ศ. 1616–1634
17 ธันวาคม ค.ศ. 1907
8 สิงหาคม ค.ศ. 1949
21 กันยายน ค.ศ. 1971
18 กรกฎาคม ค.ศ. 2008
พื้นที่
• รวม
38,394 ตารางกิโลเมตร (14,824 ตารางไมล์)[3][4] (อันดับที่ 133)
1.1
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
797,765[5] (อันดับที่ 165)
• สำมะโนประชากร 2022
727,145[6]
19.3 ต่อตารางกิโลเมตร (50.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 162)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2022 (ประมาณ)
• รวม
9.853 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 166)
12,967 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 134)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2022 (ประมาณ)
• รวม
2.653 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 178)
$3,491[7] (อันดับที่ 153)
จีนี (2017)37.4[8]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.654[9]
ปานกลาง · อันดับที่ 129
สกุลเงินงุลตรัม (BTN)
รูปี (₹) (INR)
เขตเวลาUTC+06 (เวลามาตรฐานภูฏาน)
รูปแบบวันที่ปปปป-ดด-วว
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+975
โดเมนบนสุด.bt

ประเทศภูฏาน (อังกฤษ: Bhutan; /buː'tɑːn/ บูตาน, ซองคา: འབྲུག་ཡུལ་, อักษรโรมัน: Druk Yul, /ʈuk̚˩.yː˩/; ฏุ่กยวี่)[10] หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (อังกฤษ: Kingdom of Bhutan; ซองคา: འབྲུག་རྒྱལ་ཁབ་, อักษรโรมัน: Druk Gyal Khap)[11] เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน

ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน เป็นชื่อเรียกในภาษาฮินดี भूटान (Bhūṭān) มีที่มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง"

เทือกเขาหิมาลัยในภูฏาน มียอดเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 7,000 เมตร (23,000 ฟุต) Gangkhar Puensum เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของภูฏานและอาจเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลกที่ยังไม่มีนักเดินทางไปพิชิตยอดเขา[12] สัตว์ป่าของภูฏานมีความโดดเด่นในด้านความหลากหลายทางชีวภาพสูง[13] รวมทั้งทาคิน เมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูฏานคือทิมพู ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ

ภูฏานและทิเบตเป็นดินแดน แรก ๆ ที่ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาซึ่งมีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดียในช่วงชีวิตของพระโคตมพุทธเจ้า ในสหัสวรรษแรก สำนักพระพุทธศาสนาวัชรยานได้แผ่ขยายไปยังภูฏานจากจักรวรรดิปาละแห่งเบงกอลทางใต้ ทิเบต ภูฏาน รัฐสิกขิม และบางส่วนของเนปาล ภูฏานเองก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจักรวรรดิทิเบตเช่นกัน ต่อมา ในช่วงศตวรรษที่ 16 เงวัง นามยาล องค์ลามะผู้มีชื่อเสียง ได้รวมหุบเขาของภูฏานให้เป็นรัฐเดียว นามยาลเป็นผู้นำดินแดนในการเอาชนะการรุกรานของทิเบตได้สามครั้ง รวมถึงปราบปรามโรงเรียนสอนศาสนาที่เป็นคู่แข่งกัน ทำการรวบรวมประมวลกฎหมาย Tsa Yig และจัดตั้งรัฐบาลของผู้บริหารตามระบอบประชาธิปไตยและพลเรือน นามยาลกลายเป็น Zhabdrung Rinpoche หรือผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่คนแรกของประเทศ และผู้สืบทอดของเขาทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของภูฏาน เช่น ทะไลลามะในทิเบต ในช่วงศตวรรษที่ 17 ภูฏานได้ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย สิกขิม และเนปาล และยังมีอิทธิพลอย่างมากในรัฐคูชเบฮาร์[14] ภูฏานยกเบงกอลดูอาร์ให้แก่บริติชราชในช่วงสงครามภูฏานในศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์วังชุกกลายเป็นผู้ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย และรักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอังกฤษในอนุทวีป ต่อมาใน ค.ศ. 1910 ประเทศได้ร่วมสนธิสัญญารับประกันตามคำแนะนำของอังกฤษในด้านนโยบายต่างประเทศเพื่อแลกกับการปกครองตนเองภายในในภูฏาน ข้อตกลงดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปภายใต้สนธิสัญญาฉบับใหม่กับอินเดียในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งทั้งสองประเทศยอมรับอธิปไตยของกันและกัน ภูฏานเข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติใน ค.ศ. 1971 และขยายความสัมพันธ์กับ 55 ประเทศ รวมทั้งบังกลาเทศ[15] อิสราเอล[16] คูเวต[17] บราซิล[18] ญี่ปุ่น[19] ไทย[20] และตุรกี[21] รวมถึงสหภาพยุโรป ในขณะที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากกองทัพอินเดีย แต่ภูฏานยังคงมีหน่วยทหารของตนเอง

รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 2008 นำไปสู่จัดตั้งรัฐบาลแบบรัฐสภาโดยมีรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งและสภาแห่งชาติเป็นผู้ควบคุม ภูฏานเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) ในปี 2020 ภูฏานอยู่ในอันดับสามในเอเชียใต้ รองจากศรีลังกาและมัลดีฟส์ในดัชนีการพัฒนามนุษย์[22] ภูฏานยังเป็นสมาชิกของ กลุ่มประเทศเพื่อความร่วมมือแก้ไขผลกระทบภาวะโลกร้อน Climate Vulnerable Forum, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, บิมสเทค, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, ธนาคารโลก, ยูเนสโก และ องค์การอนามัยโลก ภูฏานอยู่ในอันดับหนึ่งในด้านเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ความสะดวกในการทำธุรกิจ สันติภาพ และอัตราการทุจริตในปี 2016 และเป็นประเทศที่มีแหล่งน้ำสำรองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ[23] ปัญหาสำคัญในปัจจุบันของประเทศคือ การละลายของธารน้ำแข็งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[24]

ประวัติศาสตร์

[แก้]
พระราชวังโบราณในมณฑลพาโร

ในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานจะพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ต่อมาก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453

การเมือง

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก

1) สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล (พ.ศ 2451 – 2540)

2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยมีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะมนตรีบริหาร ประเทศ (พ.ศ. 2541 – 2551) สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม ซิงเก วังชุก ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้มีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะมนตรี ขึ้นบริหารประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการเมืองภูฏาน เป็นการกระจายอำนาจการปกครองและลดการรวมศูนย์ไว้ที่พระมหากษัตริย์เพียง พระองค์เดียว และไม่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลอีกต่อไป

- นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้ารัฐบาลคือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณะมนตรี ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกสภาคณะมนตรี (เทียบเท่าคณะรัฐมนตรี) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 10 คน และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดลำดับ 1 - 5 จะสลับหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานสภาคณะมนตรีวาระละ 1 ปี

3) การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ (ตั้งแต่ปี 2551)

มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้การปกครองโดย สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ทรองดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 161 คน

  • สมาชิก 106 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
  • สมาชิก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์

ในสมัยศตวรรษที่ 17 ลามะ ซับดุง นาวัง นัมเกยล ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 ลามะ ซับดุง ได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ สมเด็จพระราชาธิบดีอูเก็น วังชุก ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองทรองซา ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์วังชุก ในปี พ.ศ. 2450 เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองเมืองทรองซา ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำ และเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนา และมีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์วังชุกปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 คือ สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมเกยล วังชุก ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก

ภูฏานจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นครั้งแรกในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีพรรคการเมืองสองพรรค

กองทัพ

[แก้]

กองทัพหลวงภูฏานเป็นกองทัพของภูฏานและเป็นกองกำลังติดอาวุธที่อ่อนแอที่สุด[25] ตามการสำรวจของ Global Firepower ประกอบด้วยราชองครักษ์และตำรวจภูฏาน การเป็นสมาชิกเป็นไปโดยสมัครใจและอายุขั้นต่ำในการรับสมัครคือ 18 ปี กองทัพประจำการมีจำนวนประมาณ 16,000 คน และได้รับการฝึกฝนโดยกองทัพอินเดีย มีงบประมาณประจำปีประมาณ 13.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (1.8% ของ GDP) ในฐานะประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ภูฏานจึงไม่มีกองทัพเรือ นอกจากนี้ยังไม่มีกองทัพอากาศหรือกองบินทหารบก กองทัพพึ่งพากองบัญชาการอากาศของกองทัพอากาศอินเดียในการช่วยเหลือทางอากาศ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น มณฑล รวมทั้งหมด 20 มณฑล ได้แก่

แผนที่แสดงมณฑลของประเทศภูฏาน
  1. มณฑลปาโร (སྤ་རོ་རྫོང་ཁག་)
  2. มณฑลทิมพู (ཐིམ་ཕུ་རྫོང་ཁག་)
  3. มณฑลปูนาคา (སྤུ་ན་ཁ་རྫོང་ཁག་)
  4. มณฑลกาซา (མགར་ས་རྫོང་ཁག་)
  5. มณฑลวังดีโพดรัง (པདྨ་དགའ་ཚལ་རྫོང་ཁག་)
  6. มณฑลตงซา (ཀྲོང་གསར་རྫོང་ཁག་)
  7. มณฑลบุมทัง (བུམ་ཐང་རྫོང་ཁག་)
  8. มณฑลลฮุนต์ชิ (ལྷུན་རྩེ་རྫོང་ཁག་)
  9. มณฑลตาชิยังต์ซี (གཡང་རྩེ་རྫོང་ཁག་)
  10. มณฑลฮา ( ཧཱ་རྫོང་ཁག་)
  1. มณฑลซัมชิ (བསམ་རྩེ་རྫོང་ཁག་)
  2. มณฑลชูคา (ཆུ་ཁ་རྫོང་ཁག་)
  3. มณฑลดากานา (དར་དཀར་ན་རྫོང་ཁག་)
  4. มณฑลชิรัง (རྩི་རང་རྫོང་ཁག་)
  5. มณฑลซาร์ปัง (གསར་སྤང་རྫོང་ཁག་)
  6. มณฑลเชมกัง (གཞལམ་སྒང་རྫོང་ཁག་)
  7. มณฑลมองการ์ (མོང་སྒར་རྫོང་ཁག་)
  8. มณฑลตาชิกัง (བཀྲིས་སྒང་རྫོང་ཁག་)
  9. มณฑลเปมากัตเซล (པདྨ་དགའ་ཚལ་རྫོང་ཁག་)
  10. มณฑลซัมดรุปจงคาร์ (བསམ་གྲུབ་ལྗོངས་མཁར་རྫོང་ཁག་)

สัญลักษณ์ประจำชาติ

[แก้]
ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์
ปาโชตักชัง

]

  • สัตว์ประจำชาติ : ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร
  • ต้นไม้ : ต้นสนไซปรัสนิยมปลูกตามวัด
  • ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาในภูฏาน
  • อาหารประจำชาติ : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ Ema datshi ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เช่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก
  • ธงชาติภูฏาน
    • สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
    • สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
    • มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิประเทศ

[แก้]
สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นเทือกเขา

ประเทศภูฏานเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปรากฏภูมิประเทศ 3 ลักษณะ

  1. เทือกเขาสูงตอนเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย
  2. ที่ลาดเชิงเขา พบตอนกลางของประเทศ
  3. ที่ราบ พบตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำพรหมบุตรพาดผ่าน

ภูมิอากาศ

[แก้]

เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขา

อากาศ กลางวัน 25 - 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 - 5 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ

  • ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
  • ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
  • ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา
  • ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง

เศรษฐกิจ

[แก้]
งุลตรัม

สกุลเงินของภูฏานคืองุลตรัมซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย[26]

แม้ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก[26] แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 8 ในปี 2005 และร้อยละ 14 ในปี 2006) ในปี 2007 ภูฏานเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4[27] ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา[28][29]

รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย

การท่องเที่ยว

[แก้]

ในปี 2014 ภูฏานต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 133,480 คน เพื่อมุ่งสู่การเป็นจุดหมายปลายทางที่มีมูลค่าสูง โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายวันระหว่าง 180 ถึง 290 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน[30] (หรือมากกว่านั้น) สำหรับนักท่องเที่ยวที่ครอบคลุมการเดินทางท่องเที่ยวและที่พักในโรงแรม[31] อุตสาหกรรมนี้มีพนักงาน 21,000 คนและคิดเป็น 1.8% ของ GDP อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของภูฏานในการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าแท้จริงแล้วเพียงดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ร่ำรวยเท่านั้น

ทรัพยากรธรรมชาติ

[แก้]

ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และเขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด

ประชากร

[แก้]
ชาวภูฏาน
  • จำนวนประชากร 752,700 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2547) เป็นชาย 380,090 คน และหญิง 372,610 คน
  • อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.14 (เมื่อปี พ.ศ. 2546)
  • เชื้อชาติ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่
    • ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก
    • งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
    • โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้
  • กลุ่มประชากรของภูฏาน แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ คือ
    • กลุ่มดรุกปา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
      • กลุ่มเชื้อสายธิเบต
      • กลุ่มซังลา ที่ถือว่ามีจำนวนมากที่สุด เนื่องจากจะแยกออกตามภาษาท้องถิ่นที่ใช้ที่มีประมาณ 11 ภาษา กลุ่มนี้จะอาศัยทางทิศตะวันออกของประเทศ
    • กลุ่ม เนปาล คือส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลของประเทศภูฏาน ได้พยายามผลักดันให้ประชากรเหล่านี้กลับไปยังถิ่นฐานเดิมคือประเทศเนปาล
    • กลุ่มชนอื่น ๆ อีก 13% คือชาวธิเบต ชาวสิกขิม และชาวอินเดีย และ อื่นๆ

สุขภาพ

[แก้]

ประชากรภูฏานมีอายุขัยเฉลี่ย 70.2 ปี (69.9 สำหรับผู้ชาย และ 70.5 สำหรับผู้หญิง) ตามข้อมูลล่าสุดในปี 2016 จากธนาคารโลก[32] การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานในภูฏานนั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายตามรัฐธรรมนูญของภูฏาน[33]

วัฒนธรรม

[แก้]
การแข่งขันธนู เป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญของชาวภูฏาน
  • ภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป
  • เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า ฆีระ (Khira)
  • วันหยุดและเทศกาล
    • วันหยุดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้แก่วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันฉัตรมงคล
    • วันชาติ ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์วังชุกขึ้นครองราชย์
    • วันขึ้นปีใหม่ ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติและแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปในงานจะมีการแข่งขันยิงธนู ไหว้พระ บูชาเทพเจ้า และรับประทานอาหารร่วมกันภายในครอบครัว

อาหาร

[แก้]
เมนูดั้งเดิมของภูฏาน คือเนื้อไก่เคลือบมะนาว ผักโขมผัด และข้าวแดงนึ่ง

ข้าว (ข้าวแดง) บัควีท และข้าวโพด เป็นอาหารหลักของชาวภูฏาน อาหารท้องถิ่นยังรวมถึงเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อจามรี ไก่ และเนื้อแกะ และยังมีซุปและสตูว์เนื้อสัตว์และผักแห้งที่ปรุงรสด้วยพริกและชีส Ema datshi ปรุงด้วยชีสและพริกเผ็ดมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นอาหารประจำชาติที่แพร่หลายและเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวภูฏาน อาหารประเภทนม โดยเฉพาะเนยและชีสจากยาคค์และวัว ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน เครื่องดื่มยอดนิยม ได้แก่ ชาเนย ชาดำ อาราที่ผลิตในท้องถิ่น (ไวน์ข้าว) และเบียร์

ศาสนา

[แก้]

ประชาชนชาวภูฏานนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่าวัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และศาสนาคริสต์ 0.3%

ดูเพิ่มเติมได้ที่ พุทธศาสนาในประเทศภูฏาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Pew Research Center – Global Religious Landscape 2010 – religious composition by country" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 December 2016.
  2. "Bhutan, Religion And Social Profile | National Profiles | International Data". Thearda.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-17. สืบค้นเมื่อ 2022-07-17.
  3. "9th Five Year Plan (2002–2007)" (PDF). Royal Government of Bhutan. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2011.
  4. "National Portal of Bhutan". Department of Information Technology, Bhutan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2012. สืบค้นเมื่อ 22 August 2011.
  5. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  6. "Bhutan". City Population. สืบค้นเมื่อ 7 May 2019.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Butan". International Monetary Fund.
  8. "Gini Index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 September 2019.
  9. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  10. การเขียนและอ่านชื่อ ประเทศภูฏาน - ราชบัณฑิตยสถาน
  11. Driem, George van (1998). Dzongkha = Rdoṅ-kha. Leiden: Research School, CNWS. p. 478. ISBN 978-90-5789-002-4.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  13. "Flora and Fauna of Bhutan - Rich Biodiversity of the Himalayan Kingdom". www.holidify.com.
  14. Karthikeyan, Ananth (2017-10-01). "The brief supremacy of a mountain kingdom". DNA India (ภาษาอังกฤษ).
  15. Correspondent, Diplomatic (2014-12-09). "Bhutan was first to recognise Bangladesh". The Daily Star (ภาษาอังกฤษ).
  16. "Israel Establishes Diplomatic Relations With Bhutan". Haaretz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  17. Newspaper, Bhutan's Daily. ""Bhutan and Kuwait have gained the trust and respect of the entire world"". Kuensel Online.
  18. https://www.mfa.gov.bt/?p=244#:~:text=Brazil%20is%20the%20only%20country,Bhutan%20has%20established%20diplomatic%20relations.&text=In%20total%2C%20Bhutan%20now%20has,on%20areas%20of%20mutual%20cooperation
  19. NEWS, KYODO. "Abe hails Japan's close ties with Bhutan, other royal families". Kyodo News+.
  20. Limited, Bangkok Post Public Company. "King, Queen of Bhutan arrive". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  21. "From Rep. of Turkey Ministry of Foreign Affairs". Republic of Turkey Ministry of Foreign Affairs.
  22. "Human Development Index: Bangladesh moves 2 notches up, remains 5th in South Asia". Dhaka Tribune. 2020-12-21.
  23. https://www.un.org/esa/sustdev/sdissues/energy/op/hydro_tsheringbhutan.pdf
  24. "Bhutan | UNDP Climate Change Adaptation". www.adaptation-undp.org (ภาษาอังกฤษ).
  25. https://web.archive.org/web/20090917165056/http://www.atimes.com/atimes/South_Asia/EL19Df04.html
  26. 26.0 26.1 "Bhutan:Economy". CIA The World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  27. "Rank Order - GDP - real growth rate". CIA The World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01. สืบค้นเมื่อ 2008-11-29.
  28. "Power sales to India to fuel Bhutan's growth". The Hindu Business Line. 2007-01-27. สืบค้นเมื่อ 2008-11-29.
  29. "Tala Hydroelectric Project, Bhutan". power-technology.com. สืบค้นเมื่อ 2008-11-29.
  30. "Bhutan Tourist Visa Cost and Requirement". BhutanTravelOperator.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-04-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-03. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  31. CNN, Lester V. Ledesma. "5 reasons Bhutan is worth the US$250 daily fee". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  32. "Life expectancy at birth, total (years) - Bhutan | Data". data.worldbank.org.
  33. https://web.archive.org/web/20120904194200/http://www.constitution.bt/TsaThrim%20Eng%20(A5).pdf
  • เมธา บรรณทัศน์. เปิดปูม คลายปม ภูฏาน. กทม. ชมรมเด็ก. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]