เขตคลองเตย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เขตคลองเตย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Khlong Toei |
ภาพมุมสูงของย่านธุรกิจอโศกในเขตคลองเตย มองไปทางนานา | |
คำขวัญ: ท่าเรือสินค้า ท้องฟ้าจำลอง อุทยาน น่ามอง ชุมชนหลากหลาย ศูนย์ประชุม เกริกไกร ตลาดใหญ่คลองเตย | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตคลองเตย | |
พิกัด: 13°42′29″N 100°35′2″E / 13.70806°N 100.58389°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.994 ตร.กม. (5.017 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 89,514[1] คน |
• ความหนาแน่น | 6,888.87 คน/ตร.กม. (17,842.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10110, 10260 (แขวงพระโขนง เฉพาะซอยสุขุมวิท 48/1-50 และถนนทางรถไฟเก่าสายปากน้ำ เลขคี่ 6021-6689, เลขคู่ 1928-2422) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1033 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 599 สามแยกกล้วยน้ำไท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 |
เว็บไซต์ | www |
คลองเตย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตคลองเตยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตพระโขนงและอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร), แนวเส้นตรงจากซอยสุขุมวิท 52 ไปบรรจบจุดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตสาทร และเขตปทุมวัน มีขอบทางรถไฟสายแม่น้ำฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
[แก้]ย้อนไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) บริเวณเขตคลองเตยเคยเป็นที่ตั้งของ เมืองปากน้ำพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะขึ้นไปสู่เมืองอื่น ๆ (อยู่ตรงข้ามกับเมือง (อำเภอ) พระประแดงในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1)
เมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณนี้จึงอยู่ในเขตการปกครองของเมือง (จังหวัด) พระประแดง โดยมีฐานะเป็น ตำบลคลองเตย ขึ้นกับอำเภอพระโขนง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลคลองเตยจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองเตย เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 (คลองเตย) ขึ้นดูแลแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่แขวงทั้งสามตั้งเป็น เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
จนกระทั่งในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือ โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตออกจากแขวงเดิม และให้สำนักงานเขตคลองเตย สาขา 1 ดูแลพื้นที่แขวงใหม่ดังกล่าวซึ่งต่อมาได้แยกออกไปเป็นเขตวัฒนาใน พ.ศ. 2540
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เขตคลองเตยมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
คลองเตย | Khlong Toei | 7.249 |
57,823 |
7,976.69 |
|
2. |
คลองตัน | Khlong Tan | 1.895 |
10,633 |
5,611.08
| |
3. |
พระโขนง | Phra Khanong | 3.850 |
21,058 |
5,469.61
| |
ทั้งหมด | 12.994 |
89,514 |
6,888.87
|
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคลองเตย[2] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 245,766 | ไม่ทราบ |
2536 | 242,766 | -3,000 |
2537 | 238,624 | -4,142 |
2538 | 232,935 | -5,689 |
2539 | 150,433 | แบ่งเขต |
2540 | 147,855 | -2,578 |
2541 | 144,595 | -3,260 |
2542 | 142,029 | -2,566 |
2543 | 138,803 | -3,226 |
2544 | 136,467 | -2,336 |
2545 | 134,802 | -1,665 |
2546 | 133,131 | -1,671 |
2547 | 124,684 | -8,447 |
2548 | 122,919 | -1,765 |
2549 | 121,504 | -1,415 |
2550 | 119,909 | -1,595 |
2551 | 118,412 | -1,497 |
2552 | 114,694 | -3,718 |
2553 | 112,906 | -1,788 |
2554 | 110,481 | -2,425 |
2555 | 109,001 | -1,480 |
2556 | 108,066 | -935 |
2557 | 107,221 | -845 |
2558 | 106,233 | -988 |
2559 | 104,211 | -2,022 |
2560 | 102,495 | -1,716 |
2561 | 101,543 | -952 |
2562 | 101,244 | -299 |
2563 | 93,193 | -8,051 |
2564 | 91,636 | -1,557 |
2565 | 90,446 | -1,190 |
2566 | 89,514 | -932 |
สถานที่สำคัญ
[แก้]- การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
- ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- อุทยานเบญจสิริ
- สวนเบญจกิติ
- สวนป่าเบญจกิติ
- ช่อง 3 เอชดี
- กรมศุลกากร
- ท่าเรือกรุงเทพ
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- แพตสเตเดียม สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
- วัดคลองเตยใน
- วัดคลองเตยนอก
- วัดสะพาน
- ตำหนักปลายเนิน
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนปทุมคงคา
- โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
- โรงเรียนศรีวิกรม์
- โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
การคมนาคม
[แก้]ทางบก
[แก้]- ถนนพระรามที่ 4
- ถนนสุขุมวิท
- ถนนสุนทรโกษา
- ถนนอาจณรงค์
- ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
- ถนนเกษมราษฎร์
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนพระรามที่ 3
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษฉลองรัช
ทางน้ำ
[แก้]ระบบขนส่งมวลชน
[แก้]- สถานีคลองเตย บริเวณถนนพระรามที่ 4 ด้านหน้าสำนักงานการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย บริเวณทิศตะวันออกของจุดตัดทางรถไฟสายแม่น้ำ และทางขึ้น–ลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ซึ่งเป็นจุดบรรจบถนนพระรามที่ 4 ถนนเชื้อเพลิง และถนนดวงพิทักษ์
- สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณถนนรัชดาภิเษก–พระรามที่ 4 ด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณทิศเหนือของทางแยกพระรามที่ 4 จุดบรรจบของถนนรัชดาภิเษก ถนนพระรามที่ 4 และถนนพระรามที่ 3
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (ร่วมกับเขตวัฒนา)
เศรษฐกิจชุมชน
[แก้]ที่ชุมชนเกาะกลางน้ำ เขตคลองเตย ผู้ที่อาศัยอยู่ยังชุมชนนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้วยการปลูกผักและเพาะเห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าภูฏาน เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู[3]
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]เหตุเพลิงไหม้โกดังเก็บสารเคมีในกรุงเทพ พ.ศ. 2534 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่โกดังเก็บสารเคมีของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตทันที 4 ราย บาดเจ็บสาหัส และทุพพลภาพจำนวนมาก ตำรวจดับเพลิงบาดเจ็บสาหัส 16 ราย ชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส 27 ราย ไร้ที่อยู่อาศัย 5417 ราย บ้านไฟไหม้ 647 หลัง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 27 มกราคม 2567.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ "Ob'Road 06 01 58 เบรก 2". ฟ้าวันใหม่. 6 January 2015. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]13°42′29″N 100°35′02″E / 13.70815°N 100.58382°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เขตคลองเตย
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย