ข้ามไปเนื้อหา

เขตยานนาวา

พิกัด: 13°41′46″N 100°32′35″E / 13.696°N 100.543°E / 13.696; 100.543
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตยานนาวา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Yan Nawa
สะพานภูมิพลในยามค่ำคืน
สะพานภูมิพลในยามค่ำคืน
คำขวัญ: 
สะพานสวย วัดงาม
นามกระเดื่อง เรืองอุตสาหกรรม
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตยานนาวา
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตยานนาวา
พิกัด: 13°41′49″N 100°32′35″E / 13.69694°N 100.54306°E / 13.69694; 100.54306
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด16.662 ตร.กม. (6.433 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด73,416[1] คน
 • ความหนาแน่น4,406.19 คน/ตร.กม. (11,412.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10120
รหัสภูมิศาสตร์1012
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 209/1 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 28 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
เว็บไซต์www.bangkok.go.th/yannawa
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ยานนาวา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เขตยานนาวาตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์

[แก้]

แต่เดิมบริเวณยานนาวา (รวมสาทรและบางคอแหลม) มีชื่อเรียกว่า "บ้านทะวาย" เนื่องจากมีชาวเมืองทวายอาศัยอยู่จำนวนมาก เมื่อมีการปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณนี้จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบ้านทะวาย ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระประแดง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร ส่วนการเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวานั้นเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2482 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีนโยบายชาตินิยม แต่เนื่องจากชื่อบ้านทะวายมีสำเนียงเป็นภาษาต่างด้าว จึงได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอนี้เป็น อำเภอยานนาวา ตามชื่อวัดในพื้นที่แทน

ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอยานนาวาจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตยานนาวา มีพื้นที่การปกครอง 8 แขวง ได้แก่ แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน แขวงทุ่งมหาเมฆ (ปัจจุบันอยู่ในเขตสาทร) แขวงช่องนนทรี แขวงบางโพงพาง (ปัจจุบันอยู่ในเขตยานนาวา) แขวงบางโคล่ แขวงบางคอแหลม และแขวงวัดพระยาไกร (ปัจจุบันอยู่ในเขตบางคอแหลม)

ต่อมาพื้นที่เขตยานนาวามีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กรุงเทพมหานครจึงจัดตั้งสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 1 (แขวงยานนาวา) และสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 2 (แขวงบางคอแหลม) ขึ้นดูแลพื้นที่บางส่วนใน พ.ศ. 2532 และได้ยกฐานะเป็นสำนักงานเขตสาทรและสำนักงานเขตบางคอแหลมในปีเดียวกัน ส่วนวัดยานนาวาและแขวงยานนาวาซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขตนั้น ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตสาทร

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

เขตยานนาวาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
3.
ช่องนนทรี Chong Nonsi
9.984
46,398
4,647.24
แผนที่
4.
บางโพงพาง Bang Phongphang
6.678
27,018
4,045.82
ทั้งหมด
16.662
73,416
4,406.19

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตสาทรและเขตบางคอแหลม

ประชากร

[แก้]

การขนส่ง

[แก้]
ถนนพระรามที่ 3
ทางสายหลัก
ทางสายรอง
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 9 มกราคม 2566.
  2. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°41′46″N 100°32′35″E / 13.696°N 100.543°E / 13.696; 100.543