จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดกาฬสินธุ์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Kalasin |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: หลวงพ่อองค์ดำลือเลื่อง เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาฬสินธุ์เน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | สนั่น พงษ์อักษร[1] (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 6,946.746 ตร.กม. (2,682.154 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 28 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 968,065 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 21 |
• ความหนาแน่น | 139.35 คน/ตร.กม. (360.9 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 29 |
รหัส ISO 3166 | TH-46 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | เมืองน้ำดำ, บ้านแก่งสำโรง, ทวารวดีมิ่งหล้าเมืองฟ้าแดดสงยาง |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | มะหาด |
• ดอกไม้ | พะยอม |
• สัตว์น้ำ | ปลาเกล็ดถี่ |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ถนนเลี่ยงเมืองหัวคู ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 |
• โทรศัพท์ | 0 4381 1620 |
• โทรสาร | 0 4381 1620 |
เว็บไซต์ | http://www.kalasin.go.th/ |
กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางหรือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 โดยท้าวโสมพะมิตรได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (เมืองศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์) พร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำปาว เรียกว่า "บ้านแก่งสำโรง" แล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้ายกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า "เมืองกาฬสินธุ์" ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล กาฬ แปลว่า "ดำ" สินธุ์ แปลว่า "น้ำ" กาฬสินธุ์ จึงแปลว่า "น้ำดำ" (น้ำดำในที่นี้หมายถึง น้ำที่ใสสะอาดจนมองเห็นดินสีดำ ซึ่งดินดำเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด) ทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็นพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก
กาฬสินธุ์มีแหล่งซากไดโนเสาร์และซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ หลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงด้านโปงลางและผ้าไหมแพรวา นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นลาว, เขมร, จีน, เวียดนาม, ภูไท, กะเลิง, ไทข่า, ไทดำ และญ้อ เป็นต้น
ประวัติ
[แก้]สมัยก่อนประวัติศาสตร์-ยุคเหล็กตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ 3-7) พบร่องรอยการอยู่อาศัยในหลุมขุดค้นบริเวณโนนเมืองเก่า คือ ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นครีม ซึ่งเป็นภาชนะที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในบริเวณแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช กำหนดอายุอยู่ในราว 2,200 – 1,800 ปีมาแล้ว และยังพบภาชนะที่ตกแต่งผิวด้วยการทาน้ำโคลนสีแดงด้วย มีการปลงศพด้วยการฝังยาว โดยวางศีรษะให้หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือทั้งหมด แต่มีทั้งแบบนอนหงายและนอนตะแคง ไม่พบการอุทิศสิ่งของให้ศพ
นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของกิจกรรมการถลุงเหล็กด้วยเทคนิคโบราณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโนนเมืองเก่า และชุมชนในชั้นนี้ยังรู้จักการผลิตเครื่องประดับสำริดประเภทกำไล แหวน ต่างหู ซึ่งจากหลักฐานที่พบ คือ เบ้าดินที่มีคราบโลหะติดอยู่ และอุปกรณ์การหล่อในรูปของแม่พิมพ์ดินเผา ทำให้ทราบว่าเป็นการผลิตสำริดด้วยเทคนิค กระบวนการผลิตขั้นที่ 2 (secondary metallurgical operation) ไม่มีการถลุงเพื่อสกัดโลหะออกจากแร่ดิบ เพียงแต่นำเอาโลหะที่ผ่านการถลุงแล้วมาหลอมแล้วหล่อให้ได้รูปทรงตามต้องการด้วยวิธี lost wax process คือ ใช้ขี้ผึ้งทำแบบขึ้นมาก่อนแล้วเอาดินพอกจากนั้นให้ความร้อนเพื่อให้ขี้ผึ้งละลายและไหลออก จากนั้นจึงเอาโลหะหลอมละลายในเบ้าดินเผาเทลงแทนที่ เมื่อแข็งตัวแล้วจึงทุบแม่พิมพ์ออก กระบวนการผลิตแบบนี้พบในแหล่งโบราณคดียุคโลหะในแอ่งสกลนครและแอ่งโคราชทั่วไป เช่น บ้านเชียง บ้านนาดี เป็นต้น
สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 7-12) ระยะนี้รู้จักการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้จากเหล็ก ผลิตเครื่องประดับสำริดตลอดจนผลิตภาชนะดินเผารูปแบบต่างๆ โดยการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนมีการเผาทั้งแบบกลางแจ้งและเผาในเตาดินที่ควบคุมอุณหภูมิได้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดในช่วงนี้คือประเพณีการปลงศพซึ่งเปลี่ยนจากการฝังยาวมาเป็นการฝังโดยบรรจุกระดูกทั้งโครงหรือโครงกระดูกบางส่วนโดยไม่ผ่านการเผาลงในภาชนะดินเผา การปลงศพแบบนี้ถือว่าเป็นประเพณีที่แพร่หลายอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำโขง ชี มูล ในช่วงหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์
สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) เป็นระยะที่มีการอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดเมื่อเทียบกับระยะอื่นๆ มีการประมาณกันไว้ว่าเมืองฟ้าแดดสงยางในยุคนี้มีประชากรราว 3,000 คนเลยทีเดียว[2] โดยพบเครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับสำริดประเภทแหวน กำไล ลูกกระพรวน นอกจากนั้นยังพบลูกปัดแก้วสีเขียวอมฟ้า รวมทั้งลูกปัดหินอะเกต และหินคาร์เนเลียน ส่วนภาชนะดินเผาส่วนใหญ่จะเป็นหม้อมีสัน กาน้ำ (หม้อมีพวย) ตะคัน ตลอดจนได้พบแวดินเผา และเบี้ยดินเผาแบบต่างๆ อาจกล่าวได้ว่าโบราณวัตถุที่พบในชั้นนี้เหมือนกับโบราณวัตถุในวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16
ในสมัยนี้ชุมชนเริ่มได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาเช่นเดียวกับเมืองโบราณอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน ซึ่งแพร่เข้ามาจากอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-14 (สมัยคุปตะและปาละ) ดังปรากฏศาสนสถานที่มีลักษณะร่วมกันคือ เจดีย์ วิหารและอุโบสถ ซึ่งส่วนใหญ่จะก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ (มีความยาว 2 เท่าของความกว้าง) และไม่สอปูน แผนผังเจดีย์ที่นิยมในสมัยทวารวดีทั้งภาคกลางและอีสาน คือมีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดทางขึ้นด้านเดียวหรือ 4 ด้าน มีการตกแต่งผนังอิฐด้วยการฉาบปูนแล้วประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นและดินเผา นอกจากนี้วัฒนธรรมการสร้างปริมากรรมรูปธรรมจักรลอยตัวยังพบที่เมืองฟ้าแดดสงยางแห่งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ประติมากรรมที่ถือว่าโดดเด่นที่สุดที่พบในชุมชนสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งไม่ใช่พระพุทธรูปหรือธรรมจักรที่นิยมในภาคกลาง คือ ใบเสมา ทั้งแบบที่มีภาพเล่าเรื่องและแบบที่ไม่มี ใบเสามาเหล่านี้อาจใช้ในการปักเขตแดนศาสนสถาน ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากกว่า 14 แห่ง ( จำนวนที่ขุดแต่งครั้งแรกในปี 2510-2511)
ประติมากรรมในทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจอีกประเภทคือ พระพิมพ์ดินเผา ซึ่งขุดพบที่เมืองโบราณแห่งนี้จำนวน 7 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์ที่พบมากที่สุด (83 องค์) ซึ่งอาจจะเป็นพิมพ์พื้นเมือง และแพร่หลายในเขตลุ่มน้ำชี เพราะพบที่เมืองโบราณคันธาระ อำเภอกันทรวิชัยด้วย คือ ปรางค์สมาธิบนฐานดอกบัว ส่วนพิมพ์ที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์พิเศษของพระพิมพ์ลุ่มน้ำชี คือ ปางธรรมจักร ซึ่งพบเฉพาะที่เมืองโบราณฟ้าแดดสงยางและเมืองโบราณคันธาระเท่านั้น ไม่ปรากฏในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา
นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการจารึกบนพระพิมพ์ดินเผาเมืองฟ้าแดดสงยางด้วย ซึ่งอักษรที่ใช้จารึกเป็นอักษรสมัยหลังปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 14) ภาษามอญโบราณ ด้านบนมีเนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าอาทิตย์ ส่วนด้านหลัง เป็นข้อความสั้นๆ กล่าวแต่เพียงสังเขปว่า "พระพิมพ์องค์นี้ ปิณญะอุปัชฌายาจารย์ ผู้มีคุณเลื่องลือไกล" ซึ่งก็อาจแปลความได้ว่า พระพิมพ์องค์นี้ ท่านปิณญะอุปัชฌาจารย์ เกจิผู้มีชื่อเสียงได้สร้างขึ้นไว้สำหรับให้สาธุชนได้รับไปบูชา[3]
สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 17-18) ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 เป็นต้นไปดูเหมือนว่าชุมชนโบราณแห่งนี้จะเริ่มเปลี่ยนค่านิยมเกี่ยวกับการปลงศพโดยนิยมการเผาแล้วเก็บอัฐิใส่โกศดินเผาไปฝังไว้ใต้ศาสนสถาน (บริเวณโนนฟ้าแดด) ดังที่พบผอบดินเผาเคลือบสีน้ำตาลอมเขียวที่ภายในบรรจุอัฐิ
สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 19-23) ช่วงนี้เองที่ชุมชนแห่งนี้มีการติดต่อกับชุมชนในภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งภาคเหนือของไทยด้วย เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซุ่ย หยวน หมิง ที่เป็นสินค้าสำคัญในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล-ชี และลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็ปรากฏในเมืองโบราณแห่งนี้ด้วย สมัยนี้ยังพบว่ามีการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น มีการสร้างศาสนสถานแบบอยุธยาซ้อนทับฐานศาสนสถานแบบทวารวดีเกือบทุกแห่ง ที่เห็นร่องรอยเด่นชัดที่สุดในปัจจุบันคือ ฐานล่างของพระธาตุยาคู ซึ่งเป็นศิลปะสมัยทวารวดีที่มีเจดีย์เป็นแบบศิลปะสมัยอยุธยาสร้างซ้อนทับและมีการบูรณปฏิสังขรณ์สืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ในปี พ.ศ. 2336 บ้านแก่งสำโรงได้รับการสถาปนาเป็นเมืองกาฬสินธุ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยแยกเอาดินแดนเดิมที่เคยขึ้นต่อเมืองทุ่งศรีภูมิ(อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2256-พ.ศ. 2318 ซึ่งต่อมาเป็นเขตแดนของเมืองร้อยเอ็ด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318-พ.ศ. 2336 เป็นต้นมา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดกาฬสินธุ์ หลังจากเจ้าโสมพะมิตรได้รับการช่วยเหลือจาก พระขัติยะวงษา (สีลัง ธนสีลังกูร) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นพระญาติอันมีเชื้อสายเจ้านายจากราชวงศ์ล้านช้าง บุตรหลานของเจ้าแก้วมงคล แห่งเมืองทุ่งศรีภูมิ ให้นำพาเข้าเฝ้าฯ ถวายสวามิภักดิ์ ต่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือ รัชกาลที่1 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งขึ้นเป็น "พระยาไชยสุนทร" เจ้าเมืองท่านแรกโดยให้รั้งเมืองสืบไป[3]
เมื่อ พ.ศ. 2437 เมื่อพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) เป็นเจ้าเมือง มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มาเป็นรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ จึงกลายเป็น "อำเภออุทัยกาฬสินธุ์" ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด และมีอำนาจปกครองอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด โดยให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ต่อมาเกิดข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ การเงินฝืดเคือง จำเป็นต้องยุบจังหวัดต่าง ๆ ลงเพื่อให้สมดุลกับรายได้ของประเทศ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอรรถเปศลสรวดี เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม (แทนพระยามหาสารคามคณาภิบาลซึ่งออกรับบำนาญ) ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑล
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2490 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2490 จนถึงปัจจุบัน[4]
ภูมิศาสตร์
[แก้]อาณาเขตติดต่อ
[แก้]จังหวัดกาฬสินธุ์มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดสกลนคร
- ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร
- ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
- ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดขอนแก่น
อุทยาน
[แก้]- จังหวัดกาฬสินธุ์มีพื้นที่ป่าทั้งหมดประมาณ 1,150,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27 ของพื้นที่ในจังหวัด
- อุทยานแห่งชาติภูพาน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของป่าสงวน ฯ ป่าแก้งกะอาม และบางส่วนของป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ และอำเภอห้วยผึ้ง มีพื้นที่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 57,500 ไร่ ประกาศเป็นอุทยาน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2518 และปี พ.ศ. 2525 (สกลนคร-กาฬสินธุ์)
- อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ อ.คำม่วง อ.สมเด็จ บางส่วน (สกลนคร-อุดรธานี-กาฬสินธุ์)
- วนอุทยานภูพระ อยู่ในตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท มีพื้นที่ประมาณ 6,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงมูล
- วนอุทยานภูแฝก อยู่ที่บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงห้วยผา
- วนอุทยานภูผาวัว อยู่ในตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ 28,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้ และป่าตอห่ม
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว อยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธ์ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท และอำเภอเมือง มีพื้นที่ประมาณ 200,000 ไร่เศษ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำของเขื่อนลำปาว
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงบังอี แปลงที่ 2
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงระแนง อยู่ในเขตอำเภอยางตลาด และอำเภอห้วยเม็ก มีพื้นที่ประมาณ 69,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2499
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงแม่แฝด อยู่ในเขตอำเภอนามน อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์และอำเภอเมืองมีพื้นที่ประมาณ 119,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2504
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่แปลงที่ 1 อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 12,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2501
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู อยู่ในเขตอำเภอเขาวง และอำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ 88,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2508
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอห้วยผึ้ง และอำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ 110,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี พ.ศ. 2508
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่านาจาร - ดงขวาง อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอเมืองมีพื้นที่ประมาณ 37,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2506
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโคกกลางหมื่น อยู่ในเขตอำเภอเมือง มีพื้นที่ประมาณ 15,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2509
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงนามน อยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ และอำเภอเมืองมีพื้นที่ประมาณ 12,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2509
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากังกะอวม อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ 88,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2509
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงด่านแย้ อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ 76,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2510
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูพาน อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ 215,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2511
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงมูล อยู่ในเขตอำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี และอำเภอท่าคันโท มีพื้นที่ประมาณ 259,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2518
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ แปลงที่ 2 อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2517
- สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีอยู่แห่งเดียวคือ สถานี ฯ ลำปาว มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- ป่าชุมชน คือ กิจการของป่าที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อีกรูปแบบหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2541 มีป่าชุมชนอยู่ 15 หมู่บ้าน เช่น ป่าชุมชนบ้านหนองผ้าอ้อม และป่าชุมชนบ้านสูงเนิน เป็นต้น
สัญลักษณ์จังหวัด
[แก้]- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพะยอม (Shorea roxburghii)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะหาด (Artocarpus lacucha)
- คำขวัญประจำจังหวัด: หลวงพ่อองค์ดำลือเลือง เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
การเมืองการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 135 ตำบล 1,584 หมู่บ้าน
เลข | ชื่ออำเภอ | จำนวนตำบล | พื้นที่ (ตร.กม.) |
---|---|---|---|
1 | อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ | 17 | 649.849 |
2 | อำเภอนามน | 5 | 245.329 |
3 | อำเภอกมลาไสย | 8 | 325.262 |
4 | อำเภอร่องคำ | 3 | 82.137 |
5 | อำเภอกุฉินารายณ์ | 12 | 739.247 |
6 | อำเภอเขาวง | 6 | 205.105 |
7 | อำเภอยางตลาด | 15 | 621.084 |
8 | อำเภอห้วยเม็ก | 9 | 291.011 |
9 | อำเภอสหัสขันธ์ | 8 | 316.402 |
10 | อำเภอคำม่วง | 6 | 621.005 |
11 | อำเภอท่าคันโท | 6 | 393.549 |
12 | อำเภอหนองกุงศรี | 9 | 626.944 |
13 | อำเภอสมเด็จ | 8 | 454.095 |
14 | อำเภอห้วยผึ้ง | 4 | 256.832 |
15 | อำเภอสามชัย | 4 | 550.853 |
16 | อำเภอนาคู | 5 | 203.092 |
17 | อำเภอดอนจาน | 3 | 236.636 |
18 | อำเภอฆ้องชัย | 5 | 128.314 |
รวม | 135 | 6,946.746 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 151 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง และเทศบาลตำบล 77 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 71 แห่ง มีรายชื่อดังนี้
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
อำเภอกุฉินารายณ์ |
อำเภอกมลาไสย อำเภอเขาวง อำเภอคำม่วง อำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอท่าคันโท |
อำเภอนาคู อำเภอนามน อำเภอยางตลาด
อำเภอร่องคำ อำเภอสมเด็จ |
อำเภอสหัสขันธ์
อำเภอหนองกุงศรี
อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอห้วยเม็ก
|
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
[แก้]
|
|
เศรษฐกิจ
[แก้]ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในจังหวัดกาฬสินธุ์ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย กุ้งก้ามกราม ยางพารา โรงงานผลิตแป้งมัน,แป้งข้าวโพด โรงงานน้ำตาล เป็นต้น
การศึกษา
[แก้]จังหวัดกาฬสินธุ์ มีสถาบันการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานหลากหลายแห่ง ดังนี้
- การแบ่งเขตพื้นที่มัธยมศึกษา
- สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 - ครอบคลุมโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัด
- สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ - ครอบคลุมโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัด
- การแบ่งเขตพื้นที่ประถมศึกษา
- สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1-3 ได้แก่
- สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ -ครอบคลุมโรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาศทางการศึกษาในจังหวัด
สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ได้แก่
อาชีวศึกษารัฐ |
อาชีวศึกษาเอกชน
|
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่
- สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
- สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
- สถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงวัฒนธรรม: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์)
- สถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุข: ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ (ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ สถาบันร่วมผลิตแพทย์ แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
- สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา: สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 (วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์)
การขนส่ง
[แก้]จังหวัดกาฬสินธุ์ใช้ระบบการขนส่งทางถนนเป็นหลัก และไม่มีการขนส่งระบบรางในจังหวัด ทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 227 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 299
ระยะจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ
- อำเภอกมลาไสย 12 กิโลเมตร
- อำเภอยางตลาด 16 กิโลเมตร
- อำเภอดอนจาน 27 กิโลเมตร
- อำเภอฆ้องชัย 32 กิโลเมตร
- อำเภอสหัสขันธ์ 34 กิโลเมตร
- อำเภอร่องคำ 37 กิโลเมตร
- อำเภอสมเด็จ 42 กิโลเมตร
- อำเภอนามน 43 กิโลเมตร
- อำเภอห้วยเม็ก 49 กิโลเมตร
- อำเภอห้วยผึ้ง 60 กิโลเมตร
- อำเภอหนองกุงศรี 62 กิโลเมตร
- อำเภอคำม่วง 78 กิโลเมตร
- อำเภอสามชัย 79 กิโลเมตร
- อำเภอกุฉินารายณ์ 81 กิโลเมตร
- อำเภอนาคู 88 กิโลเมตร
- อำเภอเขาวง 98 กิโลเมตร
- อำเภอท่าคันโท 109 กิโลเมตร
วัฒนธรรม
[แก้]เทศกาลและงานประเพณี
[แก้]- งานมหกรรมโปงลาง ผ้าไหมแพรวา และงานกาชาด ลานหน้าศาลากลางจังหวัด(หลังใหม่)
- งานมหกรรมวิจิตรแพรวา ราชินีแห่งไหม ลานหน้าศาลากลางจังหวัด(หลังเก่า)
- งานประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป(ลอยกระทง) สวนสาธารณะกุดน้ำกิน
- งานประเพณีบุนผะเหวด(บุญพระเวส)
- งานประเพณีบุญสรงน้ำ หรือตรุษสงกรานต์
- งานประเพณีออกพรรษา และตักบาตรเทโวโรหณะ วัดภูสิงห์ (อำเภอสหัสขันธ์)
- งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
- งานประเพณีบรวงสรวงเจ้าปู่ (อำเภอหนองกุงศรี)
- งานประเพณีบุญบั้งไฟล้าน (อำเภอท่าคันโท)
- งานนมัสการพระธาตุพนมจำลอง (อำเภอห้วยเม็ก)
- งานประเพณีบุณคูณลาน (อำเภอ
ยางตลาด)
- งานประเพณีบุญคูนลานสู่ขวัญข้าว(บุญเดือนยี่) (วัดเศวตวันวนาราม ต.เหนือ)
- งานนมัสการพระธาตุยาคู(งานแสดง แสง สี เสียง ทวารวดีมิ่งหล้าเมืองฟ้าแดดสงยาง) (อำเภอกมลาไสย)
- งานประเพณีบุญบั้งไฟ ตะไลล้าน (อำเภอกุฉินารายณ์)
- ประเพณีการแข่งขันเรือยาว (อำเภอกมลาไสย)
- งานมหกรรมเส็งกลองร่องคำ (อำเภอร่องคำ)
อาหารพื้นเมือง
[แก้]สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร ( เจ้าโสมพะมิตร ) (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
- วัดกลาง (พระอารามหลวง ชนิดสามัญ) (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
- วัดศรีบุญเรือง (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
- วัดป่ามัชฌิมาวาส (ตำบลลำพาน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
- เขื่อนลำปาว (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
- สวนสะออน (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
- หาดดอกเกด (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
- พระพุทธสถานภูปอ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
- พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ )
- ฟ้าแดดสงยาง (อำเภอกมลาไสย)
- พระธาตุยาคู (อำเภอกมลาไสย)
- ใบเสมาบ้านก้อม (อำเภอกมลาไสย)
- โนนสาวเอ้ (อำเภอกมลาไสย)
- หมู่บ้านพัฒนาวัฒนธรรมผู้ไทยบ้านโคกโก่ง (อำเภอกุฉินารายณ์)
- น้ำตกตาดสูง (อำเภอกุฉินารายณ์)
- พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ไท (อำเภอกุฉินารายณ์)
- น้ำตกตาดทอง (อำเภอเขาวง)
- เครือข่ายอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน บ้านโพนสวรรค์ (อำเภอเขาวง)
- พระธาตุพนมจำลอง (อำเภอห้วยเม็ก)
- พิพิธภัณฑ์สิรินธร (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว) (อำเภอสหัสขันธ์)
- พระพุทธไสยาสน์ถ้ำภูค่าว (อำเภอสหัสขันธ์)
- พุทธสถานภูสิงห์ (อำเภอสหัสขันธ์)
- แหลมโนนวิเศษ (อำเภอสหัสขันธ์)
- หลวงพ่อบันดาลฤทธิ์ผล (อำเภอสหัสขันธ์)
- พระพุทธอนันตคีรีประดิษฐาน ณ วนอุทยานภูพระ (อำเภอท่าคันโท)
- ศูนย์วัฒนธรรมชาวผู้ไทยบ้านโพน (ศูนย์วิจิตรแพรวาบ้านโพน) (อำเภอคำม่วง)
- สะพานเทพสุดา (สะพานข้ามน้ำจืดที่ยาวที่สุดในประเทศ) (อำเภอหนองกุงศรี)
- ผาเสวย (อำเภอสมเด็จ)
- วัดป่าบ้านนาขาม เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์ดำ ปัจจุบันได้อัญเชิญพระองค์ดำไปประดิษฐานที่วัดกลาง จ.กาฬสินธุ์ (อำเภอนาคู)
- พิพิธภัณฑ์วัดกลางภูแล่นช้าง (อำเภอนาคู)
- ถ้ำเสรีไทย (อำเภอนาคู)
- พุทธสถานหลวงปู่ใหญ่ (อำเภอดอนจาน)
- พระแสนเมือง (หลวงปู่พระแสน) ประดิษฐาน ณ วัดป่ายางเครือ (บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
- พระเทพ (หลวงปู่พระเทพ) ประดิษฐาน ณ วัดป่ายางเครือ (บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
- วัดป่ายางเครือ วัดโบราณ ประดิษฐานหลวงปู่พระแสนและหลวงปู่พระเทพ (บ้านเชียงเครือ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
- เมืองเชียงเครือ/นครยางเครือ เมืองขอมโบราณ ปกครองโดย พญาเชียงเครือ ราชโอรสในพญาเชียงโสม แห่งเมืองเชียงโสม มีพี่น้อง ได้แก่ พญาจันทราช (พญาเชียงโสม) พญาธรรม พญาเชียงสง พญาเชียงสา พญาเชียงสร้อย /เมืองเชียงเครือเป็นเมืองยุคเดียวกันกับเมืองฟ้าแดดสงยาง มีความเจริญรุ่งเรืองราวพุทธศวรรษที่ 12-16 ( ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์)
- น้ำตกผานางคอย,น้ำตกผาระแงง (อำเภอนาคู)
- อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อ่างวังคำ (อำเภอเขาวง)
- วัดป่าโพนวิมาน (วัดป่าพุทธบุตร) พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ฟอสซิลปลาโบราณ (อำภอเขาวง)
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- เจ้าเมืองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
- พระยาชัยสุนทร (เจ้าโสมพะมิต) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์ที่ 1
- พระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์องค์ที่ 11
- พระธิเบศรวงศา (กอ) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์
- พระราษฏรบริหาร (เกษ) เจ้าเมืองกระมาลาไสย (กมลาไสย) คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์
- พระพิชัยอุดมเดช เจ้าเมืองภูแล่นช้าง คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์
- พระสุวรรณภักดี เจ้าเมืองท่าขอนยาง คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์
- พระศรีสุวรรณ เจ้าเมืองแซงบาดาล คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์
- พระประชาชนบาล เจ้าเมืองหัสขันธ์ คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์
- พระปทุมวิเศษ เจ้าเมืองกันทรวิชัย คนแรก เมืองบริวารของหัวเมืองกาฬสินธุ์
- พระเถระ
- พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย (หลวงพ่อองค์ดำ) วัดกลาง (พระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ) อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์และอดีตเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- พระเทพปัญญาเมธี (ปราชญ์ อกฺกโชโต) เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- พระเทพสารเมธี (บัวศรี ชุตินฺธโร) เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) และเจ้าอาวาสวัดประชานิยม อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- พระราชศีลโสภิต (หนูอินทร์ กิตฺติสาโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธมงคล อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- พระราชธรรมเมธี (ทองใส กิตฺติโก) อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และอดีตเจ้าอาวาสวัดป่ามหานิกาย อำเภอนามน
- พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นหิน(ธ.)ผู้ก่อตั้งวัดพระธาตุหมื่นหิน(ธ.)(ในความอุปถัมภ์ของหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท, ป.ธ.๖),ประธานคณะสงฆ์ ที่พักสงฆ์ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท ป. (เปรียญ) (ธ.) บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์,และเป็นพระภิกษุผู้ทรงจำ พระปาฏิโมกข์
- พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา และอดีตเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน อำเภอคำม่วง
- พระโพธิญาณมุนี (เมือง พลวฑฺโฒ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดป่ามัชฌิมาวาส อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ศิษย์ หลวงตามหาบัว
- พระญาณรักขิต (แผน โสภโณ) รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) และเจ้าอาวาสวัดวีระวงศาวาส อำเภอสมเด็จ
- พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร) (หลวงปู่ไดโนเสาร์) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) และเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์
- พระมงคลสิทธิ (นิน ฐิตธมฺโม) อดีตเจ้าคณะอำเภอห้วยเม็ก (ม) และอดีตเจ้าอาวาสวัดนางนวล อำเภอห้วยเม็ก
- พระวิสุทธิบุญญาคม (บุญสม ฐิตปุญฺโญ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลาง พระอารามหลวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- พระสุนทรธรรมประพุทธ์ (เกษร ฐานิสฺสโร) รองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ม) และเจ้าอาวาสวัดเหนือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- ปราชญ์ชาวบ้าน
- ครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี 2529 ผู้พัฒนาเครื่องดนตรี โปงลาง เครื่องดนตรีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
- คำสอน สระทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์–ทอผ้า) ประจำปี 2559 ผู้นำกลุ่มทอผ้าไหมแพรวา
- อลงกต คำโสภา ผู้ก่อตั้งวงดนตรีโปงลางหนองสอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- นักร้อง นักแสดง
- ธนพล อินทฤทธิ์ นักร้อง
- เศรษฐพงศ์ เพียงพอ นักแสดง
- ธีระชาติ ธีระวิทยากุล นักแสดง
- ภาคภูมิ ร่มไทรทอง นักแสดง นักร้อง
- ศิริลักษณ์ คอง นักแสดง
- สาธิต ทองจันทร์ นักร้องเพลงอีสาน หมอลำ และเพลงลูกทุ่ง
- ฮันนี่ ศรีอีสาน นักร้อง
- วีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ หมอลำ นักร้อง นักแสดง
- สมพงษ์ คุนาประถม นักร้อง นักแสดง
- น่านฟ้า กาฬสินธุ์ นักร้อง
- กานต์ ทศน นักร้อง
- แสงอรุณ บุญยู้ นักร้องนักแสดงหมอลำ
- พิเชษฐ์ กองการ นักแสดง
- ชูพงษ์ ช่างปรุง นักแสดง
- บุญมี นามวัย นักร้องเพลงอีสาน หมอลำ และเพลงลูกทุ่ง
- ปิยะชาติ คงถิ่น นักข่าว ศิลปิน
- นกแก้ว กาฬสินธุ์ นักร้อง
- โชติทิวัตถ์ ผลรัศมี นักแสดง
- ชาครีย์ ลาภบุญเรือง นักร้อง
- ศิวัส สุไชยะ นักแสดง
- ศศิธร พานพิมพ์ นักแสดง
- วงแพรวาจีจี้ นักร้องกลุ่ม
- นนท์ กมลา นักร้อง แชมป์สงครามไมค์คนแรก
- นะโม ธันวาพร นาสมบัติ นักเเสดง
- ตองรัก ไพรัตน์ เน็ตไอดอลชื่อดัง
- นักกีฬา
- ฐิติชล สิงห์วังชา นักมวย
- ปฐมศึก ปฐมโพธิ์ทอง นักมวย
- แก้วกัลยา กมุลทะลา นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- กิตติคุณ แจ่มสุวรรณ นักฟุตบอลไทย
- กิตติพงศ์ ภูแถวเชือก นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ณัฐวุฒิ สมบัติโยธา นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- นฤพล อารมณ์สวะ นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- อาทิตย์ บุตรจินดา นักฟุตบอลไทย
- จิดาภา นาหัวหนอง นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- ข้าราชการประจำ
- บัณฑูร สุภัควณิช อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
- ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
- นักการเมือง
- ใหม่ ศิรินวกุล อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- ชิงชัย มงคลธรรม หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- สังข์ทอง ศรีธเรศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- สุขุมพงศ์ โง่นคำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- บุญรื่น ศรีธเรศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
- สิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์
- วีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
- คมเดช ไชยศิวามงคล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
- พีระเพชร ศิริกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
- นิพนธ์ ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
- ประเสริฐ บุญเรือง สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร พรรคเพื่อไทย
- ภัทรา วรามิตร สมาชิกวุฒิสภา
- วิบูลย์ แช่มชื่น อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- วิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- มิสแกรนด์ไทยแลนด์
- ถิรดา แสงสุวรรณ มิสแกรนด์กาฬสินธุ์ 2016
- วันวิสา อิสระพายัพ มิสแกรนด์กาฬสินธุ์ 2017
- สร้อยทอง เสาวรัตนพงษ์ มิสแกรนด์กาฬสินธุ์ 2018
- ณัฐธยาฌ์ ไพรินทร์ มิสแกรนด์กาฬสินธุ์ 2019
- ภัทรสุดา ก้อนยะ มิสแกรนด์กาฬสินธุ์ 2020
- ธนาวรรณ วิกก์ มิสแกรนด์กาฬสินธุ์ 2022
- ปรายฟ้า ทองแร่ มิสแกรนด์กาฬสินธุ์ 2023
- อลิสา เข็มนาค มิสแกรนด์กาฬสินธุ์ 2024
- นามสกุลพระราชทานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดกาฬสินธุ์
- ณ กาฬสินธุ์
- วงษาภักดี ณ กาฬสินธุ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 245 ง หน้า 3 วันที่ 2 ตุลาคม 2566
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2 , 2507 , หน้า 49-50 [1]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชบัญญาบัติ จัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2490 เก็บถาวร 2012-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนตอนที่ 31 เล่ม 64 12 สิงหาคม 2490
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เลื่อนและย้ายตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ เรื่องย้ายหน้าที่ราชการ
- ↑ ให้ข้าราชการออกจากประจำการ รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ และเรื่องบรรจุข้าราชการประจำตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด และเจ้ากรมในกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด ย้าย ตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด,เล่ม 44 หน้า 1160 วันที่ 10 กรกฎาคม 2470
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,เรื่องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์,เล่ม 45 หน้า 1508 วันที่ 19 สิงหาคม 2471
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด ตั้ง ย้าย ผู้ว่าราชการจังหวัด วันที่ 21 เมษายน 2472 เล่ม 46 หน้า 232
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเล่ม 74 ตอน 11 29 มกราคม 1500
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อวัดในจังหวัดกาฬสินธุ์
- รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดกาฬสินธุ์
- รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดกาฬสินธุ์
- รำแพรวากาฬสินธุ์
- แพรวา
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์จินตภัณฑ์, 2526.
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เก็บถาวร 2010-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข่าวจังหวัดกาฬสินธุ์
- ลีฟ กาฬสินธุ์ : สังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยว เก็บถาวร 2008-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กาฬสินธุ์ทูเดย์ : สังคม การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ เก็บถาวร 2011-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กาฬสินธุ์ - อีสานร้อยแปด