มลภาวะทางเสียง
มลภาวะทางเสียง เป็นสภาวะที่มีการก่อให้เกิดเสียงที่มีการรบกวน อาจมาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ ทั้งจากมนุษย์ สัตว์ หรือเครื่องจักรต่าง ๆ
ทั้งนี้ แหล่งที่มาของเสียงภายนอกทั่วโลกส่วนใหญ่มาจากการก่อสร้างและระบบการขนส่ง รวมทั้ง เสียงรบกวนจากพาหนะยานยนต์, เครื่องบิน และรถไฟ[1][2] หรือแม้แต่การวางผังเมืองที่ไม่ดีอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงได้เช่นกัน และทางด้านแหล่งอุตสาหกรรมข้างเคียง ตลอดจนการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยก็อาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงในพื้นที่บริเวณที่อยู่อาศัยได้เช่นกัน
มลภาวะทางเสียงทั้งภายในและภายนอกอาคารมีหลายชนิด อาทิ เสียงเตือนภัยจากรถ, เสียงไซเรนสัญญาณฉุกเฉิน, อุปกรณ์เครื่องกล, พลุ, ฮอร์นบีบอัดอากาศ, เครื่องเจาะถนน, เสียงสุนัขเห่า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, การแสดงแสงสีเสียง, ระบบเสียงเพื่อความบันเทิง, โทรโข่งไฟฟ้า และเสียงตะโกนจากมนุษย์
ผลกระทบ
[แก้]ผลกระทบจากภาวะมลพิษทางเสียง
ผลกระทบต่อการได้ยิน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
- หูอื้อชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 82 เดซิเบลเอขึ้นไปในเวลาไม่นานนัก
- หูอื้อถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานาน ๆ
- ด้านสรีระวิทยา เช่น ผลกระทบต่อระบบการหมุนเวียนของเลือด ต่อมไร้ท่อ อวัยวะสืบพันธุ์ ระบบประสาท และความผิดปกติของระบบการหดและบีบลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
- ด้านจิตวิทยา เช่น สร้างความรำคาญ ส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน ผลต่อการทำงานและการเรียนรู้ รบกวนการสนทนาและการบันเทิง
- ด้านสังคม กระทบต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ขาดความสงบ
- ด้านเศรษฐกิจ มีผลผลิตต่ำเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานลดลง เสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมเสียง
- ด้านสิ่งแวดล้อม เสียงดังมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ เช่น ทำให้สัตว์ตกใจและอพยพหนี
อ้างอิงจากข้อมูล
[แก้]- ↑ Senate Public Works Committee, Noise Pollution and Abatement Act of 1972, S. Rep. No. 1160, 92nd Cong. 2nd session
- ↑ C. Michael Hogan and Gary L. Latshaw, The relationship between highway planning and urision specialty conference, May 21-23, 1973, Chicago, Illinois. by American Society of Civil Engineers. Urban Transportation Division เก็บถาวร 2007-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน