ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในประเทศไทย
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (อังกฤษ: Motorway) เป็นทางด่วนประเภทหนึ่งที่เก็บค่าผ่านทาง มีการควบคุมจุดเข้าออกของรถยนต์ ในประเทศไทยกำกับดูแลโดยกรมทางหลวง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างเมืองเป็นหลัก
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีโครงข่ายเส้นทางในแผนแม่บทระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2540 กรมทางหลวงได้พิจารณากำหนดระบบหมายเลขทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ให้เป็นระบบหมายเลขทางหลวงใหม่ โดยมีหลักเกณฑ์ในการจัดทำระบบหมายเลขทางหลวงเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- ทางหลวงพิเศษหมายเลขหลักเดียว เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหลัก ที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครไปยังแต่ละภาคของประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 8 สายทาง ตั้งแต่หมายเลข 5 ถึงหมายเลข 8 และหมายเลข 9 ซึ่งเป็นถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
- ทางหลวงพิเศษหมายเลขสองหลัก เป็นทางเชื่อมโยงจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหลัก ที่เชื่อมโยงไปสู่เส้นทางที่มีการจราจรสูงและเส้นทางที่เข้าพื้นที่สำคัญในภาคนั้น ๆ มีหลักเกณฑ์การจัดเข้าไว้ในระบบหมายเลขทางหลวง เป็นตัวเลขจำนวน 2 หลัก โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดคือ ตัวเลขหลักแรกเป็นหมายเลขของสายทางหลักนั้น ๆ และตัวเลขหลักที่สอง เป็นลำดับหมายเลขสายทางที่แยกจากทางสายหลักดังกล่าว
รายชื่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในประเทศไทย
[แก้]รายชื่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในประเทศไทยที่เปิดใช้บริการ กำลังก่อสร้าง และโครงการที่ปรากฏตามร่างแผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมือง การศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) ภายใต้การศึกษา MR-MAP[1]
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ที่เปิดใช้บริการแล้วทั้งหมดหรือบางส่วน
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ที่กำลังก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วน
หมายเลข | ป้ายทางหลวง | ระยะทาง (กิโลเมตร) |
สายทาง | โครงการ | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|
ทางหลวงพิเศษสายเหนือ | |||||
5 | 690 | สุพรรณบุรี – นครสวรรค์ – พิษณุโลก – ลำปาง – พะเยา – เชียงราย – ด่านแม่สาย (เชียงราย) | สุพรรณบุรี–นครสวรรค์ นครสวรรค์–พิษณุโลก พิษณุโลก–เชียงใหม่ (บางส่วน) ลำปาง–พะเยา เชียงใหม่–เชียงราย (บางส่วน) เชียงราย–แม่สาย |
โครงการ | |
51 | 57 | บางปะอิน – สุพรรณบุรี | บางปะอิน–สุพรรณบุรี | โครงการ | |
52 | 191 | ลำปาง – พะเยา | พิษณุโลก–เชียงใหม่ (บางส่วน) เชียงใหม่–เชียงราย (บางส่วน) |
โครงการ | |
53 | 77 | เชียงราย – เชียงของ | เชียงราย–เชียงของ | โครงการ | |
54 | 205 | แม่สอด – พิษณุโลก | แม่สอด–ตาก ตาก–พิษณุโลก |
โครงการ | |
ทางหลวงพิเศษสายตะวันออกเฉียงเหนือ | |||||
6 | 196 (604) |
รังสิต – บางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา – ขอนแก่น – อุดรธานี – หนองคาย | รังสิต-บางปะอิน (ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข) บางปะอิน–นครราชสีมา นครราชสีมา–ขอนแก่น ขอนแก่น–หนองคาย |
กำลังก่อสร้าง (บางปะอิน – นครราชสีมา) โครงการ (รังสิต – บางปะอิน, นครราชสีมา – หนองคาย) | |
61 | 315 | แหลมฉบัง – นครราชสีมา | แหลมฉบัง–ปราจีนบุรี ปราจีนบุรี–นครราชสีมา |
โครงการ | |
62 | 594 | นครสวรรค์ – จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก (อุบลราชธานี) | นครสวรรค์–นครราชสีมา นครราชสีมา–อุบลราชธานี อุบลราชธานี–ช่องเม็ก |
โครงการ | |
63 | 667 | พิษณุโลก – นครพนม | พิษณุโลก–เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์–ขอนแก่น ขอนแก่น–นครพนม |
โครงการ | |
64 | 481 | บึงกาฬ – ด่านช่องจอม (สุรินทร์)/ ช่องสะงำ (ศรีสะเกษ) | บึงกาฬ–ร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด–สุรินทร์ สุรินทร์–ช่องจอม สุรินทร์–ช่องสะงำ |
โครงการ | |
65 | 109 | อุบลราชธานี – นาตาล (อุบลราชธานี) | อุบลราชธานี–นาตาล | โครงการ | |
ทางหลวงพิเศษสายตะวันออก | |||||
7 | 149 (181) |
กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี – แหลมฉบัง – พัทยา – มาบตาพุด (บ้านฉาง) | ถนนกรุงเทพ–ชลบุรี ถนนกรุงเทพ–ชลบุรีสายใหม่ ถนนชลบุรี–พัทยา พัทยา–มาบตาพุด |
เปิดใช้งาน (กรุงเทพฯ – มาบตาพุด) กำลังก่อสร้าง (มาบตาพุด-บ้านฉาง, ทางยกระดับศรีนครินทร์–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) | |
71 | 204 | วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ด้านตะวันออก – ฉะเชิงเทรา – สระแก้ว – ด่านอรัญประเทศ (สระแก้ว) | กรุงเทพมหานคร – อรัญประเทศ | โครงการ | |
72 | 271 | ชลบุรี – ระยอง – ตราด | ชลบุรี–ระยอง ระยอง–ตราด |
โครงการ | |
ทางหลวงพิเศษสายใต้ | |||||
8 | 1,068 | นครปฐม – ชุมพร – พัทลุง – ปัตตานี – ด่านสุไหงโกลก (นราธิวาส) | นครปฐม–ชะอำ ชะอำ–ชุมพร ชุมพร–สุราษฎร์ธานี สุราษฎร์ธานี–สงขลา สงขลา–นราธิวาส |
โครงการ | |
81 | 96 (178) |
บางใหญ่ – บ้านโป่ง – กาญจนบุรี – ด่านบ้านพุน้ำร้อน (กาญจนบุรี) | บางใหญ่–กาญจนบุรี กาญจนบุรี–บ้านน้ำพุร้อน |
กำลังก่อสร้าง (บางใหญ่ – กาญจนบุรี) โครงการ (กาญจนบุรี – ด่านบ้านพุน้ำร้อน) | |
82 | 74 | วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ด้านตะวันตก – สมุทรสาคร – สมุทรสงคราม – ปากท่อ | บางขุนเทียน–บ้านแพ้ว บ้านแพ้ว–สมุทรสงคราม สมุทรสงคราม–ปากท่อ |
กำลังก่อสร้าง (บางขุนเทียน – ปากท่อ) | |
83 | 94 | ชุมพร – ระนอง | โครงการ | ||
84 | 69 | หาดใหญ่ – ด่านสะเดา (สงขลา) | โครงการ | ||
85 | 236 | สุราษฎร์ธานี – พังงา – ภูเก็ต | สุราษฎร์ธานี–พังงา พังงา–ภูเก็ต |
โครงการ | |
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่อเนื่อง | |||||
9 | 181 | ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 | ถนนกาญจนาภิเษก | เปิดใช้งาน โครงการ (ส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันตกแบบเก็บค่าผ่านทาง) | |
91 | 331 | วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 | โครงการ | ||
รวม | 6,877 | 22 สายทาง | |||
331 | 2 สายทาง | ||||
361 | 3 สายทาง |
แผนการก่อสร้าง
[แก้]จากการบูรณาการการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง โดยกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้กรมทางหลวงศึกษาและจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP)
หลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ แต่ละช่วงแนวเส้นทางตามแผนแม่บท MR-MAP ทั้ง 18 ครั้งแล้วเสร็จไปเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการปรับปรุงแนวเส้นทางจากข้อเสนอแนะของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่และลดผลกระทบการเวนคืนให้ได้มากที่สุด ปัจจุบันได้จัดทำร่างแผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) ที่ปรับปรุงใหม่แล้วเสร็จทั้งสิ้น 10 เส้นทาง มีดังนี้ [2]
หมายเลข MR | สายทาง | หมายเลขทางหลวง | ระยะทาง (กิโลเมตร) |
---|---|---|---|
MR1 | เชียงราย–นราธิวาส | M5, M8, M52, M53, M85, M91 (สุพรรณบุรี–นครปฐม) | 2,164 |
MR2 | กรุงเทพฯ/ชลบุรี–หนองคาย | M6 (ยกเว้นส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข), M61 | 897 |
MR3 | บึงกาฬ–สุรินทร์ | M64 | 481 |
MR4 | ตาก–นครพนม | M54, M63 | 872 |
MR5 | นครสวรรค์–อุบลราชธานี | M62, M65 | 703 |
MR6 | กาญจนบุรี–สระแก้ว | M71 , M81 | 390 |
MR7 | กรุงเทพฯ–ระยอง/ตราด | M7, M72 | 452 |
MR8 | ชุมพร–ระนอง | M83 | 94 |
MR9 | สุราษฎร์ธานี–ภูเก็ต | M84 | 236 |
MR10 | เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล | M6 (ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข), M9, M51, M82, M91 (ยกเว้นช่วงสุพรรณบุรี–นครปฐม) | 588 |
แผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2566-2585) ประกอบด้วย โครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 23 โครงการ ระยะทางรวม 1,926 กิโลเมตร
- แผนระยะเร่งด่วน 5 ปีแรก ประกอบด้วยโครงการที่เริ่มก่อสร้างในช่วง ปี พ.ศ. 2566-2570 มีโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบรรจุในแผนระยะนี้จำนวน 9 โครงการ ระยะทางรวม 391 กิโลเมตร
- แผนระยะ 10 ปี ประกอบด้วยโครงการที่เริ่มก่อสร้างในช่วง ปี พ.ศ. 2571-2575 มีโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบรรจุในแผนระยะนี้จำนวน 5 โครงการ ระยะทางรวม 397 กิโลเมตร
- แผนระยะ 20 ปี ประกอบด้วยโครงการที่เริ่มก่อสร้างในช่วง ปี พ.ศ. 2576-2585 มีโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบรรจุในแผนระยะนี้จำนวน 9 โครงการ ระยะทางรวม 1,138 กิโลเมตร
สำหรับเส้นทางในระบบโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในแผนแม่บทฯ ระยะ 20 ปีจะเสนอเป็นโครงการที่มีศักยภาพในอนาคตภายหลังแผนพัฒนาระยะ 20 ปี
หมายเลขทางหลวง | หมายเลข MR | สายทาง | ระยะทาง (กิโลเมตร) | สถานะ |
---|---|---|---|---|
M6 | MR10 | ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน | 22 | - ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ - รายงาน EIA ผ่านการอนุมัติแล้ว - คณะกรรมการ PPP เห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 - อยู่ระหว่าง ครม. พิจารณาอนุมัติ |
M9 | MR10 | บางขุนเทียน–บางบัวทอง | 36 | อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน EIA |
M9 | MR10 | บางบัวทอง–บางปะอิน | 34 | อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน EIA |
M9 | MR10 | ทางเชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบที่ 2 ด้านตะวันตกและตะวันออก | 4 | อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน EIA |
M8 | MR1 | นครปฐม–ปากท่อ | 61 | ศึกษา PPP แล้วเสร็จ |
M85 | MR1 | สงขลา–สะเดา | 69 | ศึกษา PPP แล้วเสร็จ |
M71 | MR6 | ทางพิเศษจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก) | 19 | - ครม. อนุมัติโครงการแล้วเมื่อ วันที่ 14 มี.ค. 2566 - กทพ. อยู่ระหว่างทบทวนรายงาน FS และจัดทำรายงาน EIA |
M91 | MR10 | วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านตะวันออก ช่วง ทล.305-ทล.34 | 52 | ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณเพื่อสำรวจออกแบบในปี 2567 |
M83 | MR8 | ชุมพร–ระนอง | 94 | ทล. ศึกษาและออกแบบระดับ Pre-FS มอเตอร์เวย์แล้วเสร็จ |
หมายเลขทางหลวง | หมายเลข MR | สายทาง | ระยะทาง (กิโลเมตร) | สถานะ |
---|---|---|---|---|
M91 | MR1 | นครปฐม–สุพรรณบุรี | 70 | อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS |
M61 | MR2 | แหลมฉบัง–ปราจีนบุรี | 156 | ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณเพื่อสำรวจออกแบบในปี 2567 |
M91 | MR10 | วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านตะวันออก ช่วง ทล.32-ทล.305 | 68 | ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณเพื่อสำรวจออกแบบในปี 2567 |
M91 | MR10 | วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านใต้ ช่วง ทล.34-ทล.35 | 79 | กทพ. เตรียมทบทวนการออกแบบ |
M91 | MR10 | วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านตะวันตก ช่วง ทล.35-นครปฐม | 24 | อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS |
หมายเลขทางหลวง | หมายเลข MR | สายทาง | ระยะทาง (กิโลเมตร) | สถานะ |
---|---|---|---|---|
M8 | MR1 | ปากท่อ–ชะอำ | 156 | -ศึกษา PPP แล้วเสร็จ -เสนอปรับแนวบางส่วนใน MR-MAP -อยู่ระหว่างทำ Pre-FS |
M6 | MR2 | นครราชสีมา–ขอนแก่น | 204 | ศึกษา FS แล้วเสร็จ |
M91 | MR10 | วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านเหนือ ช่วงสุพรรณบุรี-ทล.32 | 38 | อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS |
M82 | MR10 | บ้านแพ้ว–ปากท่อ | 47 | รายงาน EIA เห็นชอบแล้ว |
M5 | MR1 | สุพรรณบุรี–นครสวรรค์ | 129 | อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS |
M51 | MR10 | บางปะอิน–สุพรรณบุรี | 58 | อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS |
M61 | MR2 | ปราจีนบุรี–นครราชสีมา | 159 | ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณเพื่อสำรวจออกแบบในปี 2567 |
M5 | MR1 | นครสวรรค์–พิษณุโลก | 144 | อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS |
M62 | MR5 | นครราชสีมา–อุบลราชธานี | 299 | ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณเพื่อสำรวจออกแบบในปี 2567 |
ทางหลวงพิเศษในอดีต
[แก้]ในอดีตมีการจัดทางหลวงบางสายทางให้เป็นทางหลวงพิเศษ (ป้ายเลขทางหลวงและป้ายบอกทางจะมีพื้นหลังสีเขียวและตัวอักษรสีขาว) โดยปัจจุบันสายทางเหล่านี้ถูกเปลี่ยนประเภททางหลวงเป็นประเภทอื่น
หมายเลข | สายทาง | ชื่อถนน | สถานะในอดีต | สถานะปัจจุบัน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
7 | ชลบุรี–แหลมฉบัง–พัทยา | ถนนชลบุรี–พัทยา | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ไม่เก็บค่าผ่านทาง) | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (เก็บค่าผ่านทางและควบคุมการเข้าออกเต็มรูปแบบ) | เชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ให้เป็นสายทางเดียวกัน และมีการเก็บค่าผ่านทาง |
31 | ดินแดง-อนุสรณ์สถาน | ถนนวิภาวดีรังสิต | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 31 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 | |
35 | ดาวคะนอง–วังมะนาว | ถนนพระรามที่ 2 | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 35 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 | มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนประเภททางหลวง จากทางหลวงพิเศษ เป็นทางหลวงแผ่นดิน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556[3] |
36 | ลาดกระบัง–ระยอง | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 36 | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 | ชื่อในอดีตของทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ปรากฎในราชกิจจานุเบกษาหลายฉบับในการก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกัน[4] | |
37 | บางขุนเทียน–พระประแดง | ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้) | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 37 | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ทางพิเศษกาญจนาภิเษก) | รวมเป็นสายทางเดียวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 และหมายเลขทางหลวง 37 ถูกนำไปใช้งานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 (เลี่ยงเมืองชะอำ–ปราณบุรี) |
338 | อรุณอมรินทร์–นครชัยศรี | ถนนบรมราชชนนี | ทางหลวงพิเศษหมายเลข 338 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 | มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนประเภททางหลวง จากทางหลวงพิเศษ เป็นทางหลวงแผ่นดิน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556[5] |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ เอกสารการประชุมสรุป (ร่าง) แผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมือง การศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) ภายใต้การศึกษา MR-MAP เก็บถาวร 2023-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เข้าถึงจาก mrmapdoh.com เก็บถาวร 2023-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566.
- ↑ "รายละเอียดแนวเส้นทาง MR-MAP". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-29. สืบค้นเมื่อ 2023-07-29.
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ สายธนบุรี - ปากท่อ เป็นทางหลวงแผ่นดิน"
- ↑ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 354 สายแยกทางหลวงพิเศษหมายเลข 37 - บรรจบท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 355 สายแยกทางหลวงพิเศษหมายเลข 36 - บรรจบท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3458 สายแยกถนนอ่อนนุช (ลาดกระบัง) - บรรจบท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 เพื่อขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 สายแยกถนนอ่อนนุช (ลาดกระบัง) - บางพลี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3119 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (มีนบุรี) - บรรจบถนนอ่อนนุช (ลาดกระบัง) ที่บ้านวัดกระทุ่มเสือปลา และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา - บางปะกง ที่บ้านคลองบางโฉลง พ.ศ. 2539 เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ออกตามความในพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535] 3 ต.ค. 2539 เล่ม 113 ตอนที่ 44 หน้า 24 ก
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ สายบางกอกน้อย - นครชัยศรี เป็นทางหลวงแผ่นดิน"