ซีเกมส์ 2017

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 29
เมืองเจ้าภาพกัวลาลัมเปอร์
ประเทศธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
คำขวัญRising Together
(ก้าวไกลไปด้วยกัน)
ประเทศเข้าร่วม11 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม4,646 คน
กีฬา38 ชนิดกีฬา
ชนิด404 ประเภท
พิธีเปิด19 สิงหาคม 2560 (2560-08-19)
พิธีปิด30 สิงหาคม 2560 (2560-08-30)[1]
ประธานพิธีเปิดสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน
ยังดีเปอร์ตวนอากง
นักกีฬาปฏิญาณNauraj Singh Randhawa
ผู้ตัดสินปฏิญาณMegat Zulkarnain Omardin
ผู้จุดคบเพลิงNur Dhabitah Sabri
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาแห่งชาติบูกิตจาลิล
เว็บไซต์ทางการwww.kualalumpur2017.com.my

กีฬาซีเกมส์ 2017 (มลายู: Sukan Asia Tenggara 2017) เป็นการจัดการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 29 จัดขึ้นโดยมีกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ โดยเป็นการจัดการแข่งขันที่มีนักกีฬาทั้งหมดจาก 11 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าร่วมแข่งขัน จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 19–30 สิงหาคม พ.ศ. 2560 โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 ของประเทศมาเลเซีย หลังจากที่เป็นเจ้าภาพในปี 1965, 1971, 1977, 1989 และ 2001 ตามลำดับ ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้เป็นการจัดการแข่งขันในรอบ 16 ปี ของประเทศมาเลเซีย

การดำเนินการ[แก้]

การเลือกเจ้าภาพ[แก้]

สถานที่ตั้งของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในประเทศมาเลเซีย

ตามหลักการเลือกเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์แต่ละครั้ง จะเวียนกันเป็นเจ้าภาพในกลุ่มประเทศภาคีสมาชิกในสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ แต่ละประเทศจะมีการกำหนดในการเป็นเจ้าภาพในปีนั้นๆ โดยแต่ละประเทศจะสามารถ เลือก หรือ ไม่เลือก ในการเป็นเจ้าภาพได้[2]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งมีการจัดการประชุมของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ ที่ประเทศพม่า โดยมีการยืนยันว่า ประเทศมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ในปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) ขณะที่ประเทศสมาชิกอื่นๆไม่มีความพร้อมการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ได้[3] ซึ่งเลขาธิการของสภาโอลิมปิกแห่งมาเลเซีย เซียห์ ก๊ก ชิ, กล่าวในที่ประชุมว่า ประเทศพม่า กำลังได้เป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) ตามด้วยประเทศสิงคโปร์ ที่ได้เป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) จากนั้นจะเป็นประเทศบรูไน ที่เป็นเจ้าภาพ แต่ประเทศบรูไน สนใจที่จะจัดในปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) มากกว่า ดั้งนั้นจากเหตุผลต่างๆ ทำให้ประเทศมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพในครั้งนี้

สถานที่แข่งขัน[แก้]

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2017 มีการคาดการณ์ว่าจะจัดการแข่งขันขึ้นในหลายรัฐทั่วประเทศมาเลเซีย[4][5] ซึ่งทุกสนามกีฬาที่อยู่ในศูนย์กีฬาบูกิตจาลิลจะมีการปรับปรุง ขณะที่มีการสร้างสนามเวโลโดรมใหม่ในเขตเซอเริมบัน รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ซึ่งจะเป็นเมืองจัดการแข่งขันกีฬาจักรยาน ประเภทลู่[6] และมีการจัดการแข่งขันหลายประเภทในรัฐซาบะฮ์ และรัฐซาราวัก ในมาเลเซียฝั่งตะวันออก[4] อย่างไรก็ตาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 29 โซล์คเปิลส์ เอมบอง ได้ตัดสินใจยกเลิกในการจัดแข่งขันในมาเลเซียฝั่งตะวันออก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในการจัดการแข่งขัน[7]

โดยงบประมาณที่มากกว่า 1.6 พันล้านริงกิต (ประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท) ในการปรับปรุงศูนย์กีฬาบูกิตจาลิล ในกัวลาลัมเปอร์ และพื้นที่รอบศูนย์กีฬา เพื่อให้พร้อมจัดการแข่งขันในครั้งนี้[8][9]

เขตบูกิตจาลิล[แก้]

สนามแข่งขัน ประเภทสนาม กีฬาที่แข่ง ความจุ (คน)
สนามกีฬาทางน้ำบูกิตจาลิล ถาวร กระโดดน้ำ, โปโลน้ำ, ระบำใต้น้ำ, ว่ายน้ำ 3,700
สนามกีฬาแห่งชาติบูกิตจาลิล ถาวร กรีฑา, ฟุตบอล 87,411
สนามกีฬาในร่มปูตรา ถาวร แบดมินตัน 16,000
สนามกีฬาฮอกกี้แห่งชาติ ถาวร ฮอกกี้ 12,000

เขตซิตี เซนเตอร์[แก้]

สนามแข่งขัน ประเภทสนาม กีฬาที่แข่ง ความจุ (คน)
จัตุรัสเมอร์เดกา ชั่วคราว ยิงธนู ไม่มีข้อมูล
สนามกีฬาเอ็มเอบีเอ ถาวร บาสเกตบอล 2,500
ศูนย์ประชุมกัวลาลัมเปอร์ ชั่วคราว บิลเลียดและสนุกเกอร์, ยูโด, คาราเต้, ปันจักสีลัต, สควอช, เทควันโด, วูซู ไม่มีข้อมูล
สนามกีฬาเมอร์เดกา ถาวร รักบี้ 7 คน 20,000

เขตในกัวลาลัมเปอร์[แก้]

เขต สนามแข่งขัน ประเภทสนาม กีฬาที่แข่ง ความจุ (คน)
กอมเพลกซ์ เกราจาน ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ชั่วคราว มวยสากล, ฟันดาบ, ยิมนาสติก, เนตบอล, ฮอกกี้ในร่ม, มวยไทย, ยกน้ำหนัก, เทเบิลเทนนิส ไม่มีข้อมูล
บูกิตเกียรา ศูนย์ลอนโบวล์สแห่งชาติ ถาวร ลอนโบวล์ส ไม่มีข้อมูล
ตามัน เพอร์ตามา สวนนันทนาการพูดู อูลู ชั่วคราว เปตอง ไม่มีข้อมูล
ตามัน เพอร์ตามา สนามกีฬาแบดมินตันกัวลาลัมเปอร์ ถาวร วอลเลย์บอล ไม่มีข้อมูล
ตีตีวังซา สนามกีฬาในร่มตีตีวังซา ถาวร เซปักตะกร้อ ไม่มีข้อมูล
เดซาปาฮาวาน เรนทรีคลับ ถาวร สควอช ไม่มีข้อมูล
บูกิตตุนกู ศูนย์เทนนิสนานาชาติ ถาวร เทนนิส ไม่มีข้อมูล

เขตเซอลาโงร์[แก้]

เขต สนามแข่งขัน ประเภทสนาม กีฬาที่แข่ง ความจุ (คน)
เพทาลิง คินรารา โอวอล ถาวร คริกเกต 4,000
เพทาลิง เอมไพร์ ซิตี ถาวร ฮอกกี้น้ำแข็ง, สเกตน้ำแข็ง (สเกตลีลา, วิ่งสเกตลู่สั้น) ไม่มีข้อมูล
เพทาลิง เมกะเลนส์ ถาวร โบว์ลิ่ง ไม่มีข้อมูล
เพทาลิง สนามกีฬามหาวิทยาลัยมาลายา ถาวร ฟุตบอล ไม่มีข้อมูล
ชาห์อาลัม สนามกีฬาชาห์อาลัม ถาวร ฟุตบอล 80,372
ชาห์อาลัม สนามกีฬายูไอทีเอ็ม ถาวร ฟุตบอล 6,000
ชาห์อาลัม สนามกีฬาพานาโซนิค ถาวร ฟุตซอล ไม่มีข้อมูล
เซอลายาง สนามกีฬาเพอร์บันดารันเซอลายาง ถาวร ฟุตบอล 16,000
เสรีเกมบังกัน สนามกอล์ฟเดอะมายนส์ ชั่วคราว กอล์ฟ ไม่มีข้อมูล

เขตนอกกัวลาลัมเปอร์[แก้]

รัฐ เขต สนามแข่งขัน ประเภทสนาม กีฬาที่แข่ง ความจุ (คน)
เนอเกอรีเซิมบีลัน เซอเริมบัน นิไล เวโลโดรม ถาวร จักรยาน (ลู่) ไม่มีข้อมูล
เนอเกอรีเซิมบีลัน เซอเริมบัน นิไล บีเอ็มเอ็กซ์ เซอร์กิต ชั่วคราว จักรยาน (บีเอ็มเอ็กซ์) ไม่มีข้อมูล
ปูตราจายา ปูตราจายา ถนนในปูตราจายา ชั่วคราว จักรยาน (ถนน) ไม่มีข้อมูล
ปูตราจายา ปูตราจายา สนามขี่ม้าปูตราจายา ชั่วคราว ขี่ม้า (โปโล, ศิลปะการบังคับม้า, กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง) ไม่มีข้อมูล
ปูตราจายา ปูตราจายา ทะเลสาบปูตราจายา ชั่วคราว ไตรกีฬา, สกีน้ำ ไม่มีข้อมูล
ตรังกานู กัวลาเตอเริงกานู สนามขี่ม้านานาชาติตรังกานู ชั่วคราว ขี่ม้า (มาราธอน) ไม่มีข้อมูล
เกอดะฮ์ เกาะลังกาวี ศูนย์เรือใบนานาชาติ ชั่วคราว เรือใบ ไม่มีข้อมูล

อาสาสมัคร[แก้]

คณะกรรมการจัดการแข่งขันคาดการณ์ว่าจะมีอาสาสมัครในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2017 ประมาณ 20,000 คน ที่มีความจำเป็นที่ในการแข่งขันครั้งนี้ประสบความสำเร็จ โดยมีการรับอาสาสมัครในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นวันเดียวกับการเปิดตัวสัญลักษณ์ และตุ๊กตาสัญลักษณ์[10] ซึ่งมีคนสมัครเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครครบ 20,000 คน โดยใช้เวลาน้อยกว่า 48 ชั่วโมง อาสาสมัครแต่ละคนจะมีการปฏิบัติหลากหลายหน้าที่ ตั้งแต่ คนนับคะแนน ควบคุมฝูงชน คนจัดการเรื่องตั๋ว โปรโมชั่น และอื่นๆอย่างมากมาย[11]

การตลาด[แก้]

คำขวัญ[แก้]

"Rising Together" หรือ "ก้าวหน้าไกลไปด้วยกัน" เป็นคำขวัญของการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2017 เป็นคำขวัญที่ถูกเลือกเพื่อสื่อถึงว่า ยุคที่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องรวมตัวกันเป็นประชาคมหนึ่งเดียว เพื่อที่จะออกสู่ประชาคมโลก และเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในภูมิภาคเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะนำพาความสงบสุข, ความคืบหน้า และความเจริญก้าวหน้า สู่ประชาคม นอกจากนี้ยังสื่อถึงว่า การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2017 ที่กัวลาลัมเปอร์ จะเป็นการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งแรก หลังจากมีการก่อตัวของประชาคมอาเซียน ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งกีฬามีบทบาทสำคัญในการนำประชาชนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมตัวกันในการเฉลิมฉลองความสำเร็จของมาเลเซีย และความมุ่งมั่นที่มีต่อกีฬา และสร้างแรงบันดาลใจทั้งภูมิภาค[12]

สัญลักษณ์[แก้]

สัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2017 เป็นรูปว่าวบุหลัน ว่าวรูปพระจันทร์เสี้ยวแบบดั้งเดิมที่นิยมในชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซียตะวันตก[12] การรวมลายเส้นและสีที่ถูกรวบรวมมาจากธงของทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2017 สัญลักษณ์นี้ได้รับเลือกหลังจากการแข่งขันประกวดสัญลักษณ์ในกีฬาซีเกมส์ 2017 ซึ่งมีการส่งสัญลักษณ์ทั้งหมด 174 รูปแบบ จากทั่วประเทศมาเลเซีย ว่าวบุหลัน จะสื่อถึงความสง่างาม ความสวยงาม ความเกรียงไกร และความก้าวหน้า เหนือสิ่งใด ซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจของกีฬา[13]

ตุ๊กตาสัญลักษณ์[แก้]

Rimau เสือมลายู ตุ๊กตาสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ

ตุ๊กตาสัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2017 เป็นนักกีฬากรีฑาที่เป็นเสือโคร่งมลายู มีชื่อว่า "Rimau" ซึ่งมีการเปิดตัวตุ๊กตาสัญลักษณ์เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นวันเดียวกับวันที่เปิดตัวสัญลักษณ์ในการแข่งขันครั้งนี้ ชื่อของตุ๊กตาสัญลักษณ์มาจากการย่อของคำทั้ง 5 คำ อาทิ Respect (ความเคารพ), Integrity (ความมั่งคง), Move (ความปราดเปรียว) Attitude (ความมีทัศนคติ) and Unity (ความเอกภาพ) ซึ่งสื่อว่า Rimau เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ที่มีน้ำใจ และมีความเป็นกันเองอีกด้วย

การนับถอยหลังเข้าสู่การแข่งขัน[แก้]

ระหว่างพิธีปิดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2015 ซึ่งได้มีการส่งมอบธงสหพันธ์กีฬาซีเกมส์จากประเทศสิงคโปร์ไปยังประเทศมาเลเซีย โดยทางมาเลเซียได้มีการแสดงทั้งการร้องเพลง และเต้นรำ เพื่อฉลองการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ครั้งต่อไปของประเทศมาเลเซีย

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ประเทศมาเลเซียได้จัดงานเปิดตัวสัญลักษณ์ และสัตว์นำโชคของกีฬาซีเกมส์ 2017 ที่ศูนย์การค้าซูเรียเคแอลซีซี รวมถึงได้มีการเริ่มสมัครเป็นอาสาสมัครในการแข่งขันครั้งนี้อีกด้วย

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการเฉลิมฉลองการนับถอยหลังเข้าสู่กีฬาซีเกมส์ 2017 ที่สภากีฬาแห่งชาติที่เซเตียวังซา [14]

ผู้ให้การสนับสนุน[แก้]

ระดับแพลตินัม เทเลคอม มาเลเซีย, รถยนต์นาซา-เปอโยต์, เอฟบีที, อายิโนะโมะโต๊ะ, เปโตรนัส, แรพิดเคแอล
ระดับโกลด์ มาเลเซียแอร์พอร์ต, แอร์เอเชีย, ทราเวลโลกา, แกร็บ, เตอนากานาซีโอนัล, โซนี่ (โซนี่มิวสิก)
ระดับซิลเวอร์ 100 พลัส, ไมโล, เอสซีจีเอ็ม บีเอชดี–เบนซอน, พรูเด็นเชียล, แมคโดนัลด์, สปริตเซร์, ปาวีลีออน เคแอล, โรยัล เซอลาโงร์, อิออน มาเลเซีย
ระดับบรอนซ์ ดับเบิลแฮปปีเนส, กลอเรียจีนส์คอฟฟีส์, เจวีซี เคนวูด, ลามาร์ตีนา, Maha Mas Medic, Maju Group, Marathon Thailand, Maxwin, Mikasa-Sunrise, MLS-Zimmer-Airflex, Molten Corporation, MRCB, Nittaku, Otto Bock, Sunstar, Trybe, Victor, Wiraka

การแข่งขัน[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วม[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมกีฬาซีเกมส์ 2017 มีทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งเป็นชาติสมาชิกของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์

ชนิดกีฬา[แก้]

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2017 มีการคาดการณ์ที่จะแข่งขันทั้งหมด 39 กีฬา[15] ซึ่งชนิดกีฬาทั้ง 5 ชนิด คือ คอนแทร็ค บริดจ์, คริกเก็ต, ฮอกกี้น้ำแข็ง, สเกตน้ำแข็ง และ ตารุง-เดราจัต เป็นครั้งแรกที่กีฬาเหล่านี้ได้ยอมรับจากสหพันธ์ซีเกมส์ ให้เป็นกีฬาที่จะแข่งขันในกีฬาซีเกมส์อย่างเป็นทางการ โดยกีฬาคริกเก็ต, ฮอกกี้น้ำแข็ง และ สเกตน้ำแข็ง จะเข้าอยู่ในกลุ่มกีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิกเกมส์ และเอเชียนเกมส์ ที่มีจำนวนกีฬาต่างๆทั้งหมด 35 กีฬา และกีฬาคอนแทร็ค บริดจ์ และตารุง-เดราจัต จะเข้าอยู่ในกลุ่มกีฬาประเภทอื่นๆ ที่มีจำนวนกีฬาต่างๆทั้งหมด 16 กีฬา

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 โซล์คเปิลส์ เอมบอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 29 ได้กล่าวว่ากีฬาโอลิมปิก จะเป็นหัวใจสำคัญส่วนหนึ่งของกีฬาซีเกมส์ที่จัดในประเทศมาเลเซีย และได้กล่าวอีกว่า เจ้าภาพครั้งก่อนๆ ได้มีการเลือกชนิดกีฬา เพื่อที่ให้ประเทศตนเองได้ประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าเหรียญทอง หรือขวนขวายเพื่อให้ได้เหรียญทองให้มากที่สุด โดยเขายกตัวอย่างว่า การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเจ้าภาพนั้น ได้มีการเพิ่มชนิดกีฬาพื้นบ้าน หรือ กีฬาที่ไม่ใช่กีฬาโอลิมปิกต่างๆเป็นจำนวนมาก จนทำให้ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าเหรียญทองด้วยเหรียญทองทั้งหมด 182 เหรียญ อย่างไรก็ตามในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศอินโดนีเซียกลับได้เพียง 45 เหรียญทอง โดยประเทศมาเลเซีย จะไม่เพิ่มกีฬาที่เขาถนัด เช่น ฟลอร์บอล, เรือใบ ประเภท optimist race ในการแข่งขันครั้งนี้ [16]

อย่างไรก็ตาม ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 กีฬายิงธนู, จักรยาน ประเภท บีเอ็มเอ็กซ์, มวยปล้ำ, ไตรกีฬา, ยูโด, มวยไทย, เรือแคนู-คายัก, เพาะกาย และ ฟันดาบ กลับถูกออกจากกีฬาที่แข่งขันในกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้[17] นอกจากนี้ยังมีการยกเลิกการแข่งขันในรายการ มวยสากล (หญิง), บิลเลียด และ สนุกเกอร์ (Sanda), ยกน้ำหนัก (หญิง) และ กรีฑา (มาราธอน ชาย-หญิง, วิ่งวิบาก 3,000 เมตร ชาย-หญิง, วิ่ง 10,000 เมตร ชาย-หญิง, สัตตกรีฑา และ ทศกรีฑา)[18] จนทำให้คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจากหลายประเทศ มีการคัดค้านเป็นอย่างมาก โดยประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการเยือนไปในประเทศต่างๆ เพื่อให้คัดค้านที่ประเทศมาเลเซีย ตัดรายการต่างๆ ซึ่งจะมีในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ที่รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล และเอเชียนเกมส์ 2018 ที่จาการ์ตา และปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย

โดยในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการปิดในการเสนอชื่อกีฬาเพิ่มเติม โดยชาติสมาชิกได้เสนอกีฬาทั้งหมด 20 กีฬา คือ เบสบอล, เพาะกาย, เรือแคนู-คายัก, คอนแทร็ค บริดจ์, ฟันดาบ, ฟลอร์บอล, เจ็ตสกี, กาบัดดี้, เคมโป้, มวยไทย (มวย), พาราไกลดิ้ง, เรือพาย, ปีนหน้าผา, ตารุง-เดราจัต, เรือพายประเพณี, ไตรกีฬา, โววีนัม, มวยปล้ำ, ยูโด และ เปตอง และการเพิ่มรายการแข่งขัน เช่น มาราธอนชาย-หญิง, วิ่งวิบาก 3,000 เมตรชาย-หญิง, วิ่ง 10,000 เมตรชาย-หญิง, สัตตกรีฑา, ทศกรีฑา ในกรีฑา,ฟุตบอล (หญิง), ฟุตซอล (ชาย-หญิง) มวยสากล (หญิง), จักรยาน (เสือภูเขา-บีเอ็มเอ็กซ์), ยิงปืน (ช็อตกันฯลฯ), วอลเลย์บอล (ชายหาด), ฮ็อกกี้ (ในร่ม), ยกน้ำหนัก (หญิง) เป็นต้น[19]

โล เบง ชู เลขาธิการสภาโอลิมปิกแห่งมาเลเซีย กล่าวอีกว่า กีฬาที่มีการขอเพิ่มชนิดกีฬาเข้ามา ได้แก่ เพาะกาย, เจ็ตสกี, กาบัดดี้, ปัญจกีฬาสมัยใหม่, พาราไกลดิ้ง, ปีนหน้าผา, ตารุง เดราจัต, โววีนัม และ มวยปล้ำ ขอยืนยันว่า เจ็ตสกี, กาบัดดี้, พาราไกลดิ้ง, ปีนหน้าผา, ตารุง เดราจัต จะไม่ได้รับการบรรจุแน่นอน เพราะไม่ได้เป็นกีฬาในระเบียบของสหพันธ์ซีเกมส์ข้อ 34 (5) อย่างไรก็ตามจะมีการพิจารณาทุกอย่างโดยละเอียด ซึ่งจะได้คำตอบชัดเจน ในการประชุมสหพันธ์ กีฬาซีเกมส์ ระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม ก่อนจะมีการประกาศชนิดกีฬาและจำนวนเหรียญทองที่จะมีการชิงชัยอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม หรือก่อนการแข่งขัน 1 ปี [20]

ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการประชุมระหว่างสภาโอลิมปิกแห่งมาเลเซีย และสภาพาราลิมปิกแห่งมาเลเซีย และไครี จามาลุกดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อนำเสนอการควบรวมกีฬาซีเกมส์ 2017 และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ 2017 ให้จัดเป็นการแข่งขันรายการเดียว ซึ่งหากหากได้รับการอนุมัติจะได้มีการใส่กีฬาของคนพิการเข้าสู่การแข่งขัน[21]โดยหัวข้อนี้ยังได้มีการประชุมในการประชุมคณะบริหารของสหพันธ์กีฬาคนพิการอาเซียน ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559[22] ซึ่งวันที่ 14 กรกฎาคม สภาสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ได้ให้การปฏิเสธข้อเสนอนี้ของประเทศมาเลเซีย โดย 9 ประเทศได้คัดค้านข้อเสนอของมาเลเซีย มีแค่ประเทศมาเลเซีย และประเทศลาว เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้[23]

กีฬาซีเกมส์ 2017 ได้จัดการแข่งขันทั้งสิ้น 405 รายการ ใน 38 กีฬา ซึ่งได้อนุมัติจากสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559[24][25][26]

สรุปเหรียญการแข่งขัน[แก้]

  *  เจ้าภาพ (มาเลเซีย)

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 มาเลเซีย (MAS)*1459086321
2 ไทย (THA)718488243
3 เวียดนาม (VIE)594960168
4 สิงคโปร์ (SGP)585872188
5 อินโดนีเซีย (INA)386390191
6 ฟิลิปปินส์ (PHI)233463120
7 พม่า (MYA)7102037
8 กัมพูชา (CAM)321217
9 ลาว (LAO)232126
10 บรูไน (BRU)05914
11 ติมอร์-เลสเต (TLS)0033
รวม (11 ประเทศ)4063985241328
แหล่งที่มา: 2017 Sea Games News

การถ่ายทอดสด[แก้]

รายชื่อสถานีโทรทัศน์ที่ถือลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดตั้งแต่วันที่ 19 ถึง 30 สิงหาคม, 28 ชนิดกีฬาจะมีสัญญาณการถ่ายทอดสดตามที่เจ้าภาพต้องการจะถ่ายโดยเฉพาะจะถ่ายเฉพาะกีฬาที่เจ้าภาพมีความหวังว่าจะได้เหรียญเท่านั้น[27]

สัญลักษณ์สี

  *   ชาติเจ้าภาพ (มาเลเซีย)

ผู้ถือลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซีเกมส์ 2017
รหัสประเทศ ประเทศ เครือข่ายออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ สถานีวิทยุที่ออกอากาศ ออกอากาศออนไลน์
BRU บรูไน Radio Televisyen Brunei
Kristal-Astro
RTB1
Astro Arena
Hot FM
One FM
CAM กัมพูชา Radio and Television of Cambodia Television of Cambodia Radio of Cambodia
INA อินโดนีเซีย TVRI
MNC Media
Emtek
TVRI
MNCTV
SCTV
Indosiar
O Channel
Radio Republik Indonesia Nexmedia, Vidio.com
LAO ลาว ลาว เรดิโอ เทเลวิชัน สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว สถานีวิทยุแห่งชาติลาว
MAS มาเลเซีย Radio Television Malaysia (RTM)
Media Prima Berhad
Astro
TV1
TV2
TV3
TVi
Astro Arena, Astro Arena HD
Ai FM
Hot FM
KL FM
Minnal FM
Nasional FM
One FM
TEA FM
Traxx FM
HyppTV (HyppSports HD)[28]
MYA พม่า สถานีวิทยุและโทรทัศน์พม่า เมียนมาร์ เทเลวิชัน
สกายเนต
MRTV-4
MRTV
เมียนมาร์ เรดิโอ
PHI ฟิลิปปินส์ PTV[29]
SIN สิงคโปร์ MediaCorp TV[30] MediaCorp TV12 okto
Toggle)
MediaCorp Radio 938LIVE
THA ไทย โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
ททบ.5
ช่อง 7 สี
ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี
ช่อง NBT
วิทยุ อสมท, สวท. TrueID
TLS ติมอร์-เลสเต RTTL Televisão Timor Leste Radio Timor Leste
VIE เวียดนาม VTV
HTV
VTV3
VTV6 HD
Voice of Vietnam

อ้างอิง[แก้]

  1. "KL SEA Games Closing Ceremony to be held on Aug 30". The Star. 1 April 2017. สืบค้นเมื่อ 1 April 2017.
  2. S. Murillo, Michael Angelo (25 September 2015). "Ready for SEA Games 2019". Business World Weekender. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-25. สืบค้นเมื่อ 19 November 2015.
  3. S. Murillo, Michael Angelo (25 September 2015). "Ready for SEA Games 2019". Business World Weekender. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-25. สืบค้นเมื่อ 19 November 2015.
  4. 4.0 4.1 Ruben Sario (7 September 2013). "Khairy proposes Sabah, Sarawak for SEA games". The Star. สืบค้นเมื่อ 16 June 2015.
  5. "South East Asian NOCs in Singapore for the 28th SEA Games" (Press release). Singapore: Singapore National Olympic Council. 5 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-17. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
  6. "KL to be main venue for 2017 SEA Games". Free Malaysia Today. 17 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-17. สืบค้นเมื่อ 17 June 2015.
  7. "Sabah, Sarawak may not host 2017 SEA Games". The Malaysian Insider. 6 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2015. สืบค้นเมื่อ 7 October 2015.
  8. Mohd Farhan Shah (3 June 2015). "RM1bil allocated to build Sports City". The Star. สืบค้นเมื่อ 19 November 2015.
  9. "MRCB wins bid to regenerate Bukit Jalil sports complex". New Straits Times. 28 October 2015. สืบค้นเมื่อ 19 November 2015.
  10. "20,000 volunteers needed for 2017 SEA Games". The Star Online. 16 November 2015. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  11. "More than 20,000 have signed up as volunteers in less than 48 hours". Official Website. 16 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-20. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
  12. 12.0 12.1 "Launching of the Logo, Mascot, Theme and Volunteer Programme of the Kuala Lumpur 29th SEA Games 2017". Official Website. 14 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-17. สืบค้นเมื่อ 18 November 2015.
  13. "Rising together, Rimau to drive KL Sea Games". New Straits Times Online. 14 November 2015. สืบค้นเมื่อ 19 November 2015.
  14. "Wau Factor Celebrates A Year To Go To Sea Games 2017". Official website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-14. สืบค้นเมื่อ 2016-10-06.
  15. Ian De Cotta (5 June 2015). "A cool addition to the SEA Games". Today Online. สืบค้นเมื่อ 5 June 2015.
  16. Ian De Cotta (16 June 2015). "SEA Games: 2017 hosts Malaysia look to emulate Singapore in more ways than one". Channel News Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 June 2015.
  17. "Philippines dealt blow as triathlon excluded from 2017 SEA Games calendar of events". Sports Interactive Network Philippines. 18 February 2016. สืบค้นเมื่อ 23 February 2016.
  18. "Women's events in boxing, billiards, three other sports not included in 2017 SEA Games initial list". Sports Interactive Network Philippines. 24 February 2016. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016.
  19. "ซีเกมส์เสนอจัดเพิ่ม 20 กีฬา 222 เหรียญทอง". Sport Classic. 2 เมษายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-19. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "ขออีก222ทอง ซีเกมส์มาเลย์ ปีนหน้าผาชวด". ฺBangkokbiznews. 3 เมษายน 2559. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "MINISTER CHAIRS OCM-PCM MEETING ON MERGER OF 2017 SEA GAMES-ASEAN PARA GAMES". Official Website. 12 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-11. สืบค้นเมื่อ 12 May 2016.
  22. "APSF BoG MEET ON KUALA LUMPUR 2017 GAMES MERGER". Official Website. 9 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-10. สืบค้นเมื่อ 9 June 2016.
  23. "SEAGF stands with decision to reject Malaysia's proposal". Bernama. The Sun. 14 July 2016. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  24. Wong, Jonathan (17 February 2016). "SEA Games: Bodybuilding, canoeing, fencing, judo and triathlon in doubt for 2017 KL Games". New Straits Times. สืบค้นเมื่อ 26 February 2016.
  25. "Kuala Lumpur 2017: Four More Sports Make Cut". Official Website. 4 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-10. สืบค้นเมื่อ 6 July 2016.
  26. "Kuala Lumpur 2017: 38 Sports, 405 Events get the nod". 14 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-15. สืบค้นเมื่อ 2016-10-06.
  27. "Khairy opens Sea Games media, broadcast centres". Bernama. The Malaysian Insight. 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  28. Mei Mei Chu (15 August 2017). "Where to watch and follow the 2017 SEA Games online". The Star. สืบค้นเมื่อ 17 August 2017.
  29. "PCOO brings SEA Games closer to Filipinos" (Press release). Presidential Communications Operations Office. August 17, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-27. สืบค้นเมื่อ August 18, 2017.
  30. "SEA Games to be broadcast on Toggle, okto". Channel NewsAsia. 9 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ซีเกมส์ 2017 ถัดไป
ซีเกมส์ 2015
(สิงคโปร์, ประเทศสิงคโปร์)

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์
ซีเกมส์ 2019
(ประเทศฟิลิปปินส์)