ข้ามไปเนื้อหา

รถราง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถรางเวียนนา หนึ่งในระบบรถรางที่ยาวที่สุดในโลก
ป้ายเตือนผู้ขี่จักรยานให้ระวังร่องของรถราง

รถราง (อังกฤษ: tram) เป็นพาหนะที่วิ่งบนรางชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายรถไฟแต่จะสั้นกว่าและมีน้ำหนักเบากว่า รถรางส่วนมากใช้ไฟฟ้าจากสายไฟด้านบน (pantograph) แต่ก็ยังมีบางส่วนใช้ดีเซลอยู่ ในปัจจุบันนิยมนับรถรางเป็นประเภทหนึ่งของรถไฟฟ้ารางเบาด้วย (light rail)

รถรางในประเทศไทย ปัจจุบันมีที่เดียวคือ เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ ส่วนรถรางชมเมืองนั้นวิ่งด้วยล้อรถไม่ใช้ระบบราง[1] บริการในปี พ.ศ. 2556 ภายหลังปิดกิจการชั่วคราว

รถรางในประเทศไทย

[แก้]

ในอดีตประเทศไทยก็เคยมีการใช้รถรางครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2431[2] โดยเปิดสายบางคอแหลมเป็นสายแรกเมื่อเริ่มแรกใช้กำลังม้าลากรถไปตามราง ทำให้ใช้เวลาการเดินทางมาก จึงไม่เป็นที่นิยม ภายหลังเปลี่ยนมาใช้กำลังไฟฟ้าเมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2437[2] และจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2511 ได้ยกเลิกการเดินรถทุกเส้นทางอย่างถาวร[3]

สายในพระนคร

[แก้]
  • สายบางคอแหลม
  • สายสามเสน
  • สายหัวลำโพง
  • สายดุสิต
  • สายบางซื่อ
  • สายปทุมวัน
  • สายสีลม

โครงการในต่างจังหวัด

[แก้]
  • รถรางขอนแก่น
  • รถรางภูเก็ต
  • รถรางนครราชสีมา
  • รถรางกรุงเทพมหานคร
  • รถรางลพบุรี
  • รถรางเชียงใหม่
  • รถรางพิษณุโลก
  • รถรางพัทยา

ข้อดี

[แก้]
  • ไม่ปล่อยมลพิษเพราะใช้ไฟฟ้า มลภาวะทางเสียงน้อยกว่า
  • สามารถเข้าถึงสถานีรถรางได้ง่ายกว่าการคมนาคมประเภทอื่น ๆ เช่น รถไฟใต้ดิน เพราะอยู่กลางถนน
  • ใช้ราง เวลานั่งจึงรู้สึกสบายกว่ารถเมล์ที่กระเด้งมากกว่า
  • มีประสิทธิภาพทางพลังงานสูงกว่าขนส่งมวลชนประเภทอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ข้อเสีย

[แก้]
  • กินพื้นที่ถนนบางส่วน
  • ทุนตั้งต้นสูงกว่ารถเมล์ (ถึงแม้ว่าในระยะยาวจะประหยัดมากกว่า)
  • สำหรับผู้ที่ขี่จักรยาน ล้ออาจติดอยู่ในร่องของรถรางได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "กทม.เตรียมนำรถราง มาให้บริการนักท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ งานบางกอกคาร์ฟรีเดย์ 2013 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23ก.ย.นี้ หลังถูกยกเลิกวิ่งอย่างถาวรเมื่อกลางปี53". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-13. สืบค้นเมื่อ 2017-06-01.
  2. 2.0 2.1 เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูล. "ประวัติรถราง". เมืองไทยในอดีต. พระนคร : วัฒนาพานิช, 2503.
  3. "นิตยสารสกุลไทย - สะพานเก่าในอดีต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-17. สืบค้นเมื่อ 2012-01-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]