ท่าอากาศยานนครพนม

พิกัด: 17°23′02″N 104°38′35″E / 17.38389°N 104.64306°E / 17.38389; 104.64306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนครพนม
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานกรมการท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดนครพนม, จังหวัดมุกดาหาร
สถานที่ตั้งนครพนม
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล179 เมตร / 587 ฟุต
พิกัด17°23′02″N 104°38′35″E / 17.38389°N 104.64306°E / 17.38389; 104.64306
แผนที่
KOPตั้งอยู่ในจังหวัดนครพนม
KOP
KOP
ตำแหน่งของสนามบินในประเทศไทย
KOPตั้งอยู่ในประเทศไทย
KOP
KOP
KOP (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
15/33 2,500 8,203 ยางมะตอย
สถิติ (2555)
ผู้โดยสาร143,775
เที่ยวบิน3,260
แหล่งข้อมูล: http://www.aviation.go.th

ท่าอากาศยานนครพนม หรือ สนามบินนครพนม[1] (อังกฤษ: Nakhon Phanom Airport) สนามบินตั้งอยู่ที่ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2] ได้รับอนุญาตเป็นสนามบินอนุญาตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506

ประวัติ[แก้]

สนามบินนครพนม (เก่า)[แก้]

สนามบินนครพนม เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เป็นที่ตั้งกองกำลังทหารสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามอินโดจีน หลังจากกองกำลังทหารสหรัฐฯ ถอนกำลังออกไปใน พ.ศ. 2518 ท่าอากาศยานนครพนมจึงอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศ ฝูงบิน 238 และได้มีการสนับสนุนให้ใช้ในเชิงพาณิชย์โดยดัดแปลงโรงเก็บเครื่องบินของกองทัพอากาศเป็นอาคารที่พักผู้โดยสาร

สนามบิน ณ ตำบลนาทราย[แก้]

ต่อมาสภาพที่ตั้งของสนามบินตั้งอยู่ใกล้บริเวณตัวเมืองไม่เหมาะสมและปลอดภัยต่ออากาศยาน จึงย้ายไปอยู่ที่ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม[3] ในปี พ.ศ. 2506

พ.ศ. 2521 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัดได้ทำการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-นครพนม และบินเชื่อมระหว่างจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือนครพนม อุบลราชธานี อุดรธานี และขอนแก่น โดยใช้เครื่องบินดักลาส DC-3 หรือดาโกต้า และแอฟโร่ Bae HS748 ให้บริการสัปดาห์ละ 3-4 เที่ยวบิน

ต่อมาใน พ.ศ. 2537 บริษัท การบินไทย จำกัดได้เปิดทำการบินอีกครั้ง ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ตามเส้นทางกรุงเทพฯ-สกลนคร-นครพนม-กรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง B737 เมื่อมีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น จึงพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานนครพนมตั้งแต่ พ.ศ. 2539-2543โดยก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่และเปิดใช้เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2543

และได้รับการกำหนดให้เป็นสนามบินศุลกากร เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 และมีสายการบินพาณิชย์ที่ให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ สายการบินนกแอร์ และ สายการบินไทยแอร์เอเชีย โดยท่าอากาศยานนครพนมมีศักยภาพสามารถรองรับอากาศยานขนาดสูงสุดได้ถึงโบอิ้ง B737 หรือแอร์บัส A320

ข้อมูลท่าอากาศยาน[แก้]

ท่าอากาศยานนครพนม มีอาคารผู้โดยสาร ขนาดพื้นที่รวม 4,800 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้จำนวน 300 คนต่อชั่วโมง หรือ 2,400 คนต่อวัน มีลานจอดรถยนต์รองรับได้ 140 คัน

ท่าอากาศยานนครพนม มีทางวิ่งขนาด 45 เมตร ยาว 2,500 เมตร ลานจอดอากาศยานขนาด 117.2 เมตร ยาว 303 เมตร รองรับจำนวนเครื่องบินได้ 24 เที่ยวบินต่อวัน[4]

รายชื่อสายการบิน[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[5] หมายเหตุ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดชั้นของสนามบินอนุญาต
  2. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2014-07-20.
  3. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสนามบินอนุญาต
  4. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  5. "Flight Tracker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-02.