กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32
![]() | |
เมืองเจ้าภาพ | กรุงเทพมหานคร |
---|---|
จำนวนจังหวัด | 5 ภาค/76 จังหวัด |
จำนวนนักกีฬา | 6,456 |
กีฬา | 45 ชนิด |
พิธีเปิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2543 |
พิธีปิด | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 |
ประธานพิธี | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พิธีเปิด) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พิธีปิด) |
ผู้จุดคบเพลิง | แอน ทองประสม |
สนามกีฬาหลัก | ราชมังคลากีฬาสถาน |
การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 หรือ “มหานครเกมส์” เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดระดับประเทศของประเทศไทย การแข่งขันครั้งนี้จัดที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 9 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 มีการแข่งขัน 45 ชนิดกีฬา มีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากเขตต่างๆ เข้าร่วมการแข่งขัน 6,456 คน การแข่งขันครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนการแข่งขันรูปแบบใหม่ โดยเปลี่ยนจากการแข่งขัน “ระบบเขต” เป็น “ในนามจังหวัดโดยตรง” และเปลี่ยนระยะเวลาจัดการแข่งขันจากการแข่งขัน “1 ปีต่อครั้ง เป็น 2 ปีต่อครั้ง” เรียกการแข่งขันแบบ “คัดเลือกตัวแทนเขต” เป็น “คัดเลือกตัวแทนภาค” โดยแบ่งออกเป็น 5 ภาค [1]
สนามที่ใช้ในการแข่งขัน[แก้]
ในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 32 จะใช้ศูนย์กีฬาหัวหมากในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย
สนามแข่งขัน | ชนิดกีฬา |
---|---|
ราชมังคลากีฬาสถาน | พิธีเปิด-ปิด, กรีฑา, ฟุตบอล |
สนามกีฬาในร่มหัวหมาก | ยูโด, แบดมินตัน, มวยไทยสมัครเล่น, ปันจักสีลัต, คาราเต้โด, เทควันโด |
จังหวัดที่ร่วมแข่งขัน[แก้]
การแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนการแข่งขันรูปแบบใหม่ โดยเปลี่ยนจากการแข่งขัน “ระบบเขต” เป็น “ในนามจังหวัดโดยตรง” เรียกการแข่งขันแบบ “คัดเลือกตัวแทนเขต” เปลี่ยนเป็น “คัดเลือกตัวแทนภาค” โดยแบ่งออกเป็น 5 ภาค ดังนี้
ชื่อภาค | จำนวนจังหวัด | รายชื่อจังหวัด |
---|---|---|
ภาค 1 | จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว | |
ภาค 2 | กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง | |
ภาค 3 | กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ | |
ภาค 4 | กระบี่ ชุมพร ตรัง ปัตตานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี | |
ภาค 5 | กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี |
ชนิดกีฬาที่ใช้ในการแข่งขัน[แก้]
|
|
|
|
สรุปเหรียญรางวัล[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2014-12-08. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.