ถนนบรมราชชนนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338
ถนนบรมราชชนนี
แผนที่
Chim Phli, Taling Chan, Bangkok 10170, Thailand - panoramio.jpg
ถนนบรมมราชชนนีในแขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ (ช่วงตลิ่งชัน–นครชัยศรี)
ความยาว33.984 กิโลเมตร (21.117 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2522, พ.ศ. 2527–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันออกถนนจรัญสนิทวงศ์ ใน เขตบางกอกน้อย
 
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.เพชรเกษม / ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 ใน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนบรมราชชนนี [บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-ชน-นะ-นี] (อักษรโรมัน: Thanon Borommaratchachonnani) หรือ ถนนปิ่นเกล้า–นครชัยศรี เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระหว่างเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กับอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระยะทางรวม 33.984 กิโลเมตร เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 สายอรุณอมรินทร์–นครชัยศรี และมีระยะทาง 31.265 กิโลเมตร

รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]

เส้นทางเริ่มต้นที่ทางแยกบรมราชชนนี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บรรจบกับถนนสิรินธร (ที่มาจากสะพานกรุงธน) ที่ทางแยกต่างระดับสิรินธร ไปทางทิศตะวันตก ข้ามคลองบางกอกน้อย และมีแนวทางขนานไปกับทางรถไฟสายใต้ ผ่านพื้นที่เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา อำเภอพุทธมณฑล และอำเภอสามพราน ข้ามแม่น้ำท่าจีน ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ที่ทางแยกต่างระดับนครชัยศรี (ท่านา) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รวมระยะทาง 33.984 กิโลเมตร (หรือประมาณ 36 กิโลเมตร หากเริ่มนับกิโลเมตรที่ 0 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย)

ถนนบรมราชชนนีมีขนาด 8 ช่องจราจรในช่วงตั้งแต่ทางแยกบรมราชชนนีถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร จากนั้นจะมีขนาด 12 ช่องจราจรจนถึงจุดสิ้นสุดทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี และลดเหลือ 10 ช่องจราจรจนถึงทางแยกต่างระดับนครชัยศรี (ยกเว้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนที่มีขนาด 6 ช่องจราจร) เส้นทางมีทั้งช่วงที่อยู่ในความควบคุมของกรุงเทพมหานคร และสำนักทางหลวง 11 (กรุงเทพฯ) กรมทางหลวง

  • ช่วงแรก ตั้งแต่ทางแยกบรมราชชนนีจนกระทั่งก่อนถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร อยู่ในเขตควบคุมของกรุงเทพมหานคร
  • ช่วงที่สอง ตั้งแต่ก่อนถึงทางแยกต่างระดับสิรินธรไปจนกระทั่งสุดเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในเขตควบคุมของหมวดทางหลวงตลิ่งชัน แขวงทางหลวงธนบุรี
  • ช่วงที่สาม ตั้งแต่เข้าเขตจังหวัดนครปฐมไปจนถึงทางแยกต่างระดับนครชัยศรี อยู่ในเขตควบคุมของหมวดทางหลวงนครชัยศรี แขวงทางหลวงสมุทรสาคร

อนึ่ง ถนนบรมราชชนนีฟากเหนือช่วงตั้งแต่ทางแยกบรมราชชนนีถึงสะพานข้ามคลองบางกอกน้อย เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตบางกอกน้อยกับเขตบางพลัด

ประวัติ[แก้]

ถนนบรมราชชนนีเริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 เรียกว่าทางหลวงพิเศษหมายเลข 338 สายบางกอกน้อย–นครชัยศรี เพื่อบรรเทาการจราจรที่แออัด และให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางสู่จังหวัดปริมณฑลโดยรอบกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้และภาคตะวันตกมากขึ้น โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากทางแยกบรมราชชนนี ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2527

ใน พ.ศ. 2534 กระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อถนนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อทางหลวงหมายเลข 338 ว่า "ถนนบรมราชชนนี"

ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียหมายเลข 123[1]

ต่อมาใน พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาการจราจร โดยสร้างทางคู่ขนานยกเชื่อมสะพานข้ามทางแยกอรุณอมรินทร์และสะพานข้ามทางแยกบรมราชชนนีเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณทางแยกอรุณอมรินทร์และทางแยกบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์โครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2539 และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด "ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี" เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยมีระยะทางทั้งหมด 14 กิโลเมตร

อนึ่ง ใน พ.ศ. 2556 ได้มีประกาศกระทรวงคมนาคมเปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 338 เป็นทางหลวงแผ่นดิน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556[2]

ใน พ.ศ. 2561 ได้มีการปรับปรุงทางต่างระดับฉิมพลีและพุทธมณฑล สาย 4 เพื่อแก้ไขปัญหารถติดและขยายทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี โดยจะเสร็จประมาณ พ.ศ. 2563[3]

ทางแยกที่สำคัญ[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 ทิศทาง: ปิ่นเกล้า–นครชัยศรี
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ปิ่นเกล้า–นครชัยศรี
กรุงเทพมหานคร แยกบรมราชชนนี เชื่อมต่อจาก: ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า จากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปแยกไฟฉาย, ท่าพระ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปบางพลัด
0+111 ต่างระดับสิรินธร ไม่มี ถนนสิรินธร ไปบางพลัด
~3+100 ต่างระดับบรมราชชนนี ถนนราชพฤกษ์ ไปสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนนราชพฤกษ์ ไปถนนนครอินทร์, สะพานพระราม 5
~4+900 แยกพุทธมณฑล สาย 1 ถนนพุทธมณฑล สาย 1 ไปบรรจบถนนเพชรเกษม ถนนพุทธมณฑล สาย 1 ไปถนนสวนผัก
6+669 ต่างระดับฉิมพลี ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ไปบางแค, บางขุนเทียน ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ไปบางบัวทอง, สุพรรณบุรี, บางปะอิน
~8+300 แยกพุทธมณฑล สาย 2 ถนนพุทธมณฑล สาย 2 ไปบางแค, บรรจบถนนเพชรเกษม ถนนพุทธมณฑล สาย 2 ไปบรรจบถนนศาลาธรรมสพน์
~11+740 แยกพุทธมณฑล สาย 3 ถนนพุทธมณฑล สาย 3 ไปถนนอุทยาน, หนองแขม ถนนพุทธมณฑล สาย 3 ไปบรรจบถนนศาลาธรรมสพน์
นครปฐม 15+555 ต่างระดับพุทธมณฑล (แยกพุทธมณฑล สาย 4) ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ไปกระทุ่มแบน, เข้าเมืองสมุทรสาคร, บรรจบ ถนนพระรามที่ 2 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ไปมหาวิทยาลัยมหิดล, นครชัยศรี, บางเลน
18+236 แยกพุทธมณฑล สาย 5 ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ไปอ้อมน้อย, กระทุ่มแบน, บรรจบถนนเศรษฐกิจ 1 ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ไปนครชัยศรี
24+178 แยกพุทธมณฑล สาย 6 ถนนพุทธมณฑล สาย 6 ไปตลาดน้ำดอนหวาย, วัดไร่ขิง, สามพราน ไม่มี
24+620 สะพาน ข้ามแม่น้ำท่าจีน
25+890 แยกพุทธมณฑล สาย 7 ถนนพุทธมณฑล สาย 7 ไปสามพราน ถนนพุทธมณฑล สาย 7 ไปวัดงิ้วราย, นครชัยศรี
~30+000 แยกพุทธมณฑล สาย 8 ถนนพุทธมณฑล สาย 8 ไปบรรจบถนนเพชรเกษม ถนนพุทธมณฑล สาย 8 ไปนครชัยศรี
31+419 ต่างระดับนครชัยศรี ถนนเพชรเกษม ไปสามพราน, หนองแขม ถนนเพชรเกษม ไปเข้าเมืองนครปฐม
ตรงไป: ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 (โครงการ) ไปชะอำ
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ[แก้]

มหิดลสิทธาคาร

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°46′58″N 100°24′30″E / 13.782873°N 100.408454°E / 13.782873; 100.408454