องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อพื้นเมือง | Bangkok Mass of Transit Authority |
เจ้าของ | กระทรวงคมนาคม |
พื้นที่ให้บริการ | กรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
ที่ตั้ง | |
ประเภท | รถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง |
จำนวนสาย | 118 เส้นทาง |
ผู้โดยสารต่อวัน | 3 ล้านคนต่อวัน |
บุคคลสำคัญ | ยุทธนา ยุพฤทธิ์ (ประธานกรรมการ) กิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล (ผู้อำนวยการ) |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 131 ถนนวัฒนธรรม แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร |
การให้บริการ | |
เริ่มดำเนินงาน | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 |
จำนวนขบวน | 3,509 คัน |
ภาพรวมองค์การ | |
---|---|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
บุคลากร | 11,835 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 4,138,989,200 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ขององค์การ |
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. (อังกฤษ: Bangkok Mass Transit Authority ย่อว่า BMTA) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพพุทธศักราช 2519 (ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม)
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีหน้าที่จัดบริการรถโดยสารประจำทางเพื่อรับส่งประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรปราการ รวม 457 เส้นทาง มีจำนวนรถประจำทาง (bus) ทั้งสิ้น 2,771คัน (Annual report 2018 (พ.ศ. 2561) ) แบ่งเป็นรถธรรมดาและรถปรับอากาศเชื้อเพลิงดีเซล 2,231 คัน รถปรับอากาศเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 540 คัน และมีรถร่วมบริการโดยบริษัทเอกชน ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ จำนวน 3,271 คัน, รถประจำทางขนาดเล็ก (mini bus) แบ่งเป็นส่วนที่ให้บริการบนถนนสายหลัก จำนวน 895 คัน และที่ให้บริการภายในซอยย่อย จำนวน 2,059 คัน, รถตู้โดยสารปรับอากาศ ที่ใช้แก๊สธรรมชาติอัด จำนวน 4,547 คัน, รถเล็กวิ่งในซอบ 2,059 คัน รวมทั้งสิ้น 13,543 คัน 457 เส้นทาง[3] นอกจากนี้ ยังเป็นรัฐวิสาหกิจไทย ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ขาดทุนมากเป็นลำดับที่ 2 รองจากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหนี้สินรวม 113,237.50 ล้านบาท[4] และขาดทุนสะสมรวม 116,724.74 ล้านบาท โดยในปี พ.ศ. 2561 ขาดทุนสุทธิ 6,174.56 ล้านบาท
ปัจจุบัน ยุทธนา ยุพฤทธิ์เป็นประธานกรรมการ[5] และ ดร.กิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล เป็นผู้อำนวยการองค์การ และรักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายเดินรถองค์การ นางเบญจวรรณ เปี่ยมสุวรรณ เป็นรักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และนายสถาพร เพ็ขรกอง เป็นรักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายรถเอกชนร่วมบริการ
ประวัติ
[แก้]ความเป็นมาของกิจการรถเมล์ในกรุงเทพมหานคร ตามประวัติกล่าวว่า รถโดยสารประจำทาง ในสมัยก่อนเรียกว่า รถเมล์ เข้าใจว่า คงเรียกชื่อตามเรือเมล์ รถเมล์ที่มีครั้งแรกนั้น ใช้กำลังม้าลากจูง ไม่ต้องอาศัยน้ำมันเชื้อเพลิง ให้เป็นภาระเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการเช่นในปัจจุบัน โดยมีพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) เป็นผู้ริเริ่มกิจการรถเมล์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2450 วิ่งระหว่างสะพานยศเส (สะพานกษัตริย์ศึกในปัจจุบัน) ถึงประตูน้ำสระปทุม แต่เนื่องจากใช้ม้าลาก จึงไม่รวดเร็วทันใจ และไม่สามารถให้ความสะดวกแก่ผู้โดยสารได้เพียงพอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 พระยาภักดีนรเศรษฐ จึงได้ปรับปรุงกิจการใหม่ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงวิธีการเดินรถ โดยนำรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด มาวิ่งแทนรถม้าลาก และขยายเส้นทางให้ไกลขึ้น จากประตูน้ำสระปทุม ถึงบางลำพู (ประตูใหม่ตลาดยอด)
รถยนต์ที่ใช้เป็นรถโดยสารประจำทางครั้งแรก มี 3 ล้อ ขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของรถโดยสารประจำทางในปัจจุบัน มีที่นั่ง 2 แถว ทาสีขาว มีรูปกากบาทสีแดงอยู่ตอนกลางรถ นั่งได้ประมาณ 10 คน ชาวพระนครสมัยนั้นเรียกว่า อ้ายโกร่ง เพราะจะมีเสียงดังโกร่งกร่าง เมื่อวิ่งไปตามท้องถนน ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย การเดินรถเมล์ก็ขยายตัวอย่างกว้างขวางออกไปทั่วกรุงเทพฯ ในนามของ บริษัท นายเลิศ จำกัด (บริษัทรถเมล์ขาว) การประกอบกิจการเดินรถเมล์เริ่มขยายตัวขึ้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี พุทธศักราช 2475 พร้อมทั้งจัดสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า เพื่อเชื่อมการคมนาคมระหว่างฝั่งพระนคร และธนบุรี ไวเป็นอนุสรณ์ของงานสมโภชครั้งนี้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 กิจการรถเมล์เริ่มเป็นปึกแผ่น มีเศรษฐีชาวจีนเล็งเห็นว่า เป็นอาชีพที่มั่นคง และทำรายได้ดีอย่างหนึ่ง จึงได้ก่อตั้ง บริษัท ธนนครขนส่ง จำกัด ขึ้น เพื่อประกอบกิจการเดินรถเมล์ จากตลาดบางลำพู ถึงวงเวียนใหญ่ หลังจากนั้น ได้มีผู้ลงทุนตั้งบริษัทเดินรถเมล์เพิ่มขึ้นถึง 24 แห่ง นอกจากนี้ หน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจ อย่างเทศบาลนครกรุงเทพ, เทศบาลเมืองนนทบุรี, บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.) ก็เปิดเดินรถเมล์ด้วย โดยในขณะนั้น มีผู้ประกอบการเดินรถเมล์ในกรุงเทพฯ รวมถึง 28 ราย
หลังจากสงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลง หน่วยราชการต่างๆ จำหน่ายรถบรรทุกออกมาให้เอกชนเป็นจำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งนำมาดัดแปลงเป็นรถ เมล์ ทั้งนี้ บริษัทเอกชนยังเลือกเส้นทางเดินรถเอง ที่ไม่ซ้ำกับเส้นทางที่มีรถรางวิ่งอย่างเสรี จึงก่อให้เกิดระบบแข่งขันทางธุรกิจขึ้น รัฐบาลจึงได้ออก พระราชบัญญัติการขนส่ง พุทธศักราช 2497 มาใช้ควบคุม โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการรถเมล์ ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย
ในระยะหลัง การให้บริการรถเมล์เริ่มเกิดความสับสน มีการเดินรถทับเส้นทางกันบ้าง แก่งแย่งผู้โดยสารกันบ้าง การให้บริการของแต่ละบริษัท ก็ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ปล่อยให้มีการเดินรถอย่างเสรี ทำให้เกิดปัญหาการจราจรคับคั่ง เนื่องจากจำนวนรถในท้องถนน มีมากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งผลเสียทั้งหมด ล้วนตกอยู่กับผู้ใช้บริการทั้งสิ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการก็ประสบปัญหาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ปรับตัวสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา แต่ผู้ประกอบการ ไม่สามารถปรับอัตราค่าโดยสารให้เพิ่มขึ้น ในอัตราที่สมดุลกับราคาน้ำมันได้ ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลายบริษัทเริ่มประสบปัญหาขาดทุน บางบริษัทก็มีฐานะทรุดลง จนไม่สามารถรักษาระดับบริการที่ดีแก่ประชาชนต่อไปได้
ต่อมา ราวเดือนกันยายน พ.ศ. 2518 คณะรัฐมนตรีสมัยที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีมติให้รวมกิจการเดินรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครเป็นบริษัทเดียว เรียกว่า บริษัท มหานครขนส่ง จำกัด ในรูปรัฐวิสาหกิจ ประเภทบริษัทจำกัด โดยมีสัดส่วนการถือหุ้น ระหว่างรัฐและเอกชน เป็น 51 ต่อ 49% แต่เกิดปัญหาข้อกฎหมายการจัดตั้ง ในรูปแบบของการประกอบกิจการขนส่ง
ดังนั้น ในสมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นองค์การของรัฐ ให้ชื่อว่า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 โดยควบรวมกิจการรถโดยสารประจำทางทั้งหมด จากบริษัท มหานครขนส่ง จำกัด มาขึ้นอยู่กับองค์การฯ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทกิจการสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม มีภารกิจ และขอบเขตความรับผิดชอบ ในการจัดบริการรถโดยสารประจำทาง รับ-ส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล 5 จังหวัดคือ สมุทรปราการ, นนทบุรี, ปทุมธานี, นครปฐมและสมุทรสาครตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 2 ที่มีผลบังคับใช้ในปีเดียวกันโดยมีผู้ใช้บริการประมาณ 3 ล้านคนต่อวัน นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ประกอบการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ หรือต่อเนื่องกับการประกอบการขนส่งบุคคล
ต่อมาในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 ที่ประชุมได้มีมติให้ยกเลิกมติ ครม. เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2526 และให้โอนการกำกับดูแลการเดินรถขนส่งสาธารณะจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพไปอยู่ภายใต้การกำกับของ กรมการขนส่งทางบก ส่งผลให้ ขสมก. มีสถานะเป็นเพียงผู้เดินรถรายหนึ่งเท่านั้น
และเนื่องจากการเดินรถโดยสารประจำทาง เป็นสาธารณูปโภคชนิดหนึ่ง ที่รัฐจัดเป็นบริการแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย และปานกลางเป็นหลัก การดำเนินงานจึงมุ่งสนองนโยบายรัฐบาล ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีรายได้น้อย โดยไม่หวังผลกำไร การจัดเก็บค่าโดยสาร จึงอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าต้นทุนจริง ตามที่รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย การให้บริการของ ขสมก มุ่งหมายให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินรถของผู้โดยสารเป็นหลัก[6]
กรรมการ
[แก้]มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 แต่งตั้งคณะกรรมการดังนี้[5]
- นางปาณิสรา ดวงสอดศรี เป็นประธานกรรมการ
- นางสาวรัชนีพร ธิติทรัพย์ กรรมการ
- พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย กรรมการ
- นางสาวสกมลพัฒน์ ปุงบางกะดี่ กรรมการ
- นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ กรรมการ
- นายธนพล โตโพธิ์ไทย กรรมการ
- นายจิรพล สังข์โพธิ์ กรรมการ
- นายภูมินทร์ บุตรอินทร์ กรรมการ
- นางสาวพิมพ์เพ็ญ ลัดพลี กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)
ตราสัญลักษณ์
[แก้]-
ตราสัญลักษณ์ของ บริษัท มหานครขนส่ง จำกัด และ ขสมก. (พ.ศ. 2518-พ.ศ. 2535)
-
ตราสัญลักษณ์ของ ขสมก. (พ.ศ. 2535-2557) (ด้านซ้ายของรถโดยสาร)
-
ตราสัญลักษณ์ของ ขสมก. (พ.ศ. 2535-2557) (ด้านขวาของรถโดยสาร)
-
ตราสัญลักษณ์ของ ขสมก. (พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน) (ด้านซ้ายของรถโดยสาร)
-
ตราสัญลักษณ์ของ ขสมก. (พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน) (ด้านขวาของรถโดยสาร)
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ใช้ตราสัญลักษณ์มาแล้วสามรูปแบบ กล่าวคือ นับแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท มหานครขนส่ง จำกัด ในปี พ.ศ. 2518 ใช้ตราสัญลักษณ์เป็นภาพวงกลม ซึ่งมีเส้นรอบวง เป็นสีแดงขอบหนา มีแถบรูปหกเหลี่ยมสีน้ำเงินเข้มคาดทับ ตามแนวขวางในส่วนกลางของวงกลม บนแถบดังกล่าว มีตัวอักษรสีขาวเป็นชื่อบริษัทว่า มหานครขนส่ง เมื่อเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นองค์การฯ ก็เปลี่ยนข้อความบนแถบเป็นชื่อ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยใช้มาจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535 จึงเปลี่ยนไปใช้ตราสัญลักษณ์ใหม่ (อย่างไม่เป็นทางการ) เป็นภาพวงรีสีเขียวขอบหนา ปลายทั้งสองวางตามแนวบนขวาไปล่างซ้าย มีอักษรย่อขององค์การฯ ขสมก สีน้ำเงิน เอนไปทางขวา คาดทับตามแนวขวางในส่วนกลางของวงรี เนื่องจากแบบเดิม มีลักษณะคล้ายกับ ตราสัญลักษณ์ของรถไฟใต้ดินลอนดอน โดยเริ่มปรากฏบนรถโดยสารบางส่วน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน หลังจากนั้น ขสมก.ก็ทยอยเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ ที่แสดงบนรถโดยสาร กระทั่งราวต้นปี พ.ศ. 2536 จึงดำเนินการแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ และจึงเริ่มใช้ตราสัญลักษณ์นี้อย่างเป็นทางการ โดยใช้ตราสัญลักษณ์รูปแบบดังกล่าว มาจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ขสมก จัดโครงการประกวด ออกแบบตราสัญลักษณ์ และสีตัวถังรถประจำทางใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ขององค์การฯ ให้ทันสมัย รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์การฯ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วม ซึ่งแบบของกิตติบดี บัวหลวงงาม ชนะเลิศในการประกวดดังกล่าว โดยทาง ขสมก ประกาศใช้ตราสัญลักษณ์ใหม่นี้ ตั้งแต่วันครบรอบ 38 ปีแห่งการสถาปนาองค์การฯ คือวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป โดยตราสัญลักษณ์นี้ได้ปรากฏให้สาธารณชนเห็นอย่างโจ่งแจ้งในช่วงกลางปี 2558
-
รถโดยสารครีมแดง ขสมก. สมัยใช้ตราสัญลักษณ์แบบแรกในปี 2534
-
รถโดยสารครีมแดง ขสมก. สมัยใช้ตราสัญลักษณ์แบบที่ 2 (แบบภาษาไทย) ในปี 2552
-
รถโดยสารครีมแดง ขสมก. สมัยใช้ตราสัญลักษณ์แบบที่ 2 (แบบภาษาอังกฤษ) ในปี 2552
-
รถโดยสารครีมแดง ขสมก. ในช่วงปีแรกหลังเปลี่ยนตราสัญลักษณ์แบบล่าสุดในปี 2558
เส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง
[แก้]เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
การเดินรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปัจจุบัน แบ่งเป็นเส้นทางรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเอง ทั้งหมด 8 เขตการเดินรถ จำนวน 123 เส้นทาง, เส้นทางรถโดยสารร่วมบริการ จำนวน 115 เส้นทาง และเส้นทางที่มีรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และรถโดยสารประจำทางร่วมบริการ ให้บริการร่วมกัน จำนวน 25 เส้นทาง[7] รวมทั้งหมด 213 เส้นทาง โดยเริ่มให้บริการประจำวัน ตั้งแต่ราว 03:30-05:00 น. และยุติการให้บริการประจำวัน ตั้งแต่ราว 21:00-00:00 น. นอกจากนี้ ยังมีรถให้บริการตลอดคืน ซึ่งจะคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจากปกติ[8]
อัตราค่าโดยสาร
[แก้]การจัดเก็บอัตราค่าโดยสารรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มี 2 รูปแบบหลัก ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เป็นผู้กำหนดขึ้น นอกจากนี้ ยังมีค่าธรรมเนียมสำหรับบริการพิเศษ เช่นรถที่ใช้ทางพิเศษ หรือรถบริการตลอดคืน[9]
อัตราค่าโดยสารรถธรรมดา
[แก้]ประเภทรถ | สีรถ | ราคา (บาท) | ปรับราคา (บาท) | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
มาตรฐาน | ขึ้นทางด่วน | บริการตลอดคืน | ลดหย่อน/บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ | |||
รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | 8.00 | 10.00 | 9.50 | 4.00 |
ประเภทรถ | สีรถ | สาย | ราคา (บาท) | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|
มาตรฐาน | ลดหย่อน | ||||
รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | 207 (3-21) | 10.00 | 5.00 | เดินรถแทนเอกชนในเส้นทางปฏิรูปตามคำสั่งกรมขนส่งทางบก จึงใช้อัตราค่าธรรมเนียมตามที่กรมขนส่งทางบกกำหนด |
อัตราค่าโดยสารรถปรับอากาศ
[แก้]ประเภทรถ | สีรถ | ราคามาตรฐาน (บาท) | ปรับราคา (บาท) | หมายเหตุ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
4 กม. | 8 กม. | 12 กม. | 16 กม. | 20 กม. | 24 กม. | 28 กม. | 28 กม. ขึ้นไป | ขึ้นทางด่วน | ลดหย่อน/บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ | |||
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-นํ้าเงิน | 12.00 | 12.00 | 14.00 | 16.00 | 18.00 | 20.00 | 20.00 | 20.00 | เพิ่ม 2.00 | ลด 4.00 | ||
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | 13.00 | 15.00 | 17.00 | 19.00 | 21.00 | 23.00 | 25.00 | 25.00 | ||||
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) | 15.00 | 20.00 | 20.00 | 20.00 | 25.00 | 25.00 |
ประเภทรถ | สีรถ | สาย | ราคามาตรฐาน (บาท) | ปรับราคา (บาท) | หมายเหตุ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
4 กม. | 8 กม. | 12 กม. | 16 กม. | 20 กม. | 24 กม. | 28 กม. | 28 กม. ขึ้นไป | ขึ้นทางด่วน | ลดหย่อน/บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ | ||||
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | Y70E (4-70E) | 14.00 | 16.00 | 18.00 | 20.00 | 22.00 | 24.00 | 26.00 | 26.00 | เพิ่ม 2.00 | ลด 4.00 | เดินรถแทนเอกชนในเส้นทางปฏิรูปตามคำสั่งกรมขนส่งทางบก จึงใช้อัตราค่าธรรมเนียมตามที่กรมขนส่งทางบกกำหนด |
อัตราค่าโดยสารเส้นทางเข้าท่าอากาศยาน
[แก้]ค่าธรรมเนียมรถเข้าท่าอากาศยานเส้นทางปกติเพิ่ม 10 บาท จากราคาเส้นทางปกติ เช่น สาย 555 รังสิต-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เส้นทางปกติ 13-25 บาท เส้นทางปกติ+เข้าท่าอากาศยานฯ 23-35 บาท ส่วนเส้นทาง A และ S ราคาตามตารางด้านล่าง
ท่าอากาศยานดอนเมือง
[แก้]ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
[แก้]รถโดยสารประจำทาง
[แก้]การจัดซื้อ/เช่ารถโดยสารประจำทาง ต้องผ่านกระบวนการทางราชการตามขั้นตอน เช่น รับนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ทำให้การจัดหารถโดยสารประจำทางมาให้บริการประชาชนเป็นไปด้วยความล่าช้าอย่างมาก
หมายเลขข้างรถโดยสาร
[แก้]รถโดยสารประจำทางทุกคัน จะแสดงหมายเลขข้างรถไว้ให้เห็นเด่นชัด ซึ่งรถโดยสารธรรมดาจะแสดงไว้ 5 แห่งคือ กันชนหน้า, ตัวถังด้านซ้าย, ตัวถังด้านขวา, กระจกหลังรถ และกันชนหลัง ส่วนรถโดยสารปรับอากาศจะแสดงไว้เพียง 4 แห่ง เช่นเดียวกับที่แสดงในรถโดยสารธรรมดา ยกเว้นไม่แสดงที่กันชนหลัง โดยมีสองรูปแบบ คือชนิด 4 หลัก (ข-AXXX) และชนิด 5 หลัก (ข-AAXXX) โดยมีความหมายตามคำอธิบายต่อไปนี้
- “ข” คือเขตการเดินรถที่รถสังกัดอยู่
- “A” (ในชนิด 4 หลัก) หรือ “AA” (ในชนิด 5 หลัก) คือรุ่นของรถ (ดูรายละเอียดที่ตารางในหัวข้อถัดไป หรือที่บทความรายการเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
- “XXX” คือ ลำดับที่ของรถ
เช่นชนิด 4 หลักว่า 7-3077 มีความหมายคือ รถโดยสารคันดังกล่าว สังกัดอยู่เขตการเดินรถที่ 7 เป็นรถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน ยี่ห้อ Isuzu รุ่น CQA650 A/T คันที่ 77 หรือชนิด 5 หลักว่า 2-70235 มีความหมายคือ รถโดยสารคันดังกล่าว สังกัดอยู่เขตการเดินรถที่ 2 เป็นรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สีฟ้า ยี่ห้อ BONLUCK รุ่น JXK6120L-NGV-01 คันที่ 235
จำนวนรถโดยสารประจำทาง
[แก้]รถโดยสารประจำทางธรรมดา
[แก้]ยี่ห้อ | รุ่น | ปีที่เริ่มให้บริการ | จำนวนรถที่ให้บริการ | เขตการเดินรถที่ให้บริการ | หมายเลขข้างรถ | สถานะ | หมายเหตุ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | |||||||
Hino | AK176 | 2534 | 490 | 58 | — | 156 | 102 | 174 | — | 40XXX | ให้บริการ | |||
Isuzu | MT111QB | 529 | 123 | — | 171 | 205 | 30 | 50XXX | ||||||
Mitsubishi Fuso | RP118 | 500 | — | 214 | — | 111 | — | 175 | 80XXX | 1 was renovated in 2016 (8-80040) | ||||
รวม | 1,519 | 181 | 214 | 156 | 213 | 174 | 171 | 205 | 205 |
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ
[แก้]ยี่ห้อ | รุ่น | ปีที่เริ่มให้บริการ | จำนวนรถที่ให้บริการ | เขตการเดินรถที่ให้บริการ | หมายเลขข้างรถ | สถานะ | หมายเหตุ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | |||||||
Hino | HU3KSKL | 2538 | 79 | — | 24 | — | 55 | — | 40XX | ให้บริการ | ||||
Isuzu | CQA650 A/T | 100 | 15 | — | 85 | — | 3XXX | |||||||
Hino | RU1JSSL | 2541 | 198 | 7 | 34 | 61 | 40 | 56 | — | 44XXX | ||||
Isuzu | LV223S | 200 | 18 | — | 55 | 69 | 58 | 55XXX | ||||||
Hino | RU1JSSL | 2544 | 125 | 41 | 12 | 47 | 7 | 18 | — | 45XXX | ||||
Isuzu | LV423R | 123 | 5 | — | 100 | 12 | 6 | 56XXX | ||||||
Daewoo | BH115H | 16 | — | 16 | 67001-67060 | |||||||||
Daewoo | BH115 | 36 | — | 36 | 67061-67250 | 1 was renovated in 2016 (8-67132) | ||||||||
Bonluck | JXK6120L-NGV-01 | 2561 | 486 | 123 | 105 | 108 | — | 150 | — | 70XXX | ||||
Hino | HU2ASKP-VJT | 2563 | 1 | 1 | — | 46001 | บริจาคจาก JICA | |||||||
รวม | 1,364 | 210 | 175 | 216 | 102 | 224 | 155 | 166 | 116 |
ระเบียงภาพรถโดยสารประจำทาง
[แก้]-
รถประจำทางธรรมดา สีครีม-แดง
Hino AK176 -
รถประจำทางธรรมดา สีครีม-แดง
Isuzu MT111QB -
รถประจำทางธรรมดา สีครีม-แดง
Mitsubishi Fuso RP118 -
รถประจำทางธรรมดา สีครีม-แดง
Mitsubishi Fuso RP118 (ปรับปรุงสภาพ) -
รถประจำทางปรับอากาศ สีครีม-น้ำเงิน
Hino HU3KSKL -
รถประจำทางปรับอากาศ สีครีม-น้ำเงิน
Isuzu CQA650A/T -
รถประจำทางปรับอากาศ สีส้ม (ยูโรทู)
Hino RU1JSSL -
รถประจำทางปรับอากาศ สีส้ม (ยูโรทู)
Hino RUJSSL (ปรับปรุงสภาพ) -
รถประจำทางปรับอากาศ สีส้ม (ยูโรทู)
Isuzu LV223S -
รถประจำทางปรับอากาศ สีส้ม (ยูโรทู)
Isuzu LV423R -
รถประจำทางปรับอากาศ สีส้ม (ยูโรทู)
Daewoo BH115H -
รถประจำทางปรับอากาศ สีส้ม (ยูโรทู)
Daewoo BH115 -
รถประจำทางปรับอากาศ สีเขียว-ขาว
Daewoo BH115 (ปรับปรุงสภาพ) -
รถประจำทางปรับอากาศ สีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
Bonluck JXK6120L-NGV-01 -
รถประจำทางปรับอากาศ สีฟ้า (ไฮบริด)
Hino HU2ASKP-VJT
เขตการเดินรถ
[แก้]พื้นที่ที่รับผิดชอบของแต่ละเขตการเดินรถ
[แก้]- เขตการเดินรถที่ 1 คือ พื้นที่ตอนเหนือของกรุงเทพและจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของอำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรีและอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เขตดอนเมือง เขตบางเขน เขตหลักสี่ และ เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
- เขตการเดินรถที่ 2 คือ พื้นที่ตะวันออกของกรุงเทพ ได้แก่ เขตมีนบุรี เขตคลองสามวา เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง เขตคันนายาวและเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร
- เขตการเดินรถที่ 3 คือ พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการฝั่งตะวันออกและบางพื้นที่ตอนใต้ของกรุงเทพ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธงและพื้นที่ฝั่งตะวันออกของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เขตบางนา เขตพระโขนงและเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
- เขตการเดินรถที่ 4 คือ พื้นที่ใจกลางเมืองกรุงเทพตอนล่าง ได้แก่ เขตคลองเตย เขตวัฒนา เขตปทุมวัน เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรักและพื้นที่ตอนล่างของเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
- เขตการเดินรถที่ 5 คือ พื้นที่กรุงเทพฯฝั่งธนบุรีตอนล่าง ฝั่งตะวันตกของจังหวัดสมุทรปราการและบางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์และพื้นที่ฝั่งตะวันตกของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตบางบอน เขตบางขุนเทียน เขตทุ่งครุและเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร
- เขตการเดินรถที่ 6 คือ พื้นที่กรุงเทพฝั่งธนบุรีตอนบน บางส่วนของจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม ได้แก่ อำเภอพุทธมณฑล อำเภอสามพรานและอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เขตหนองแขม เขตบางแค เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
- เขตการเดินรถที่ 7 คือ พื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือ ของกรุงเทพ เกาะรัตนโกสินทร์ จังหวัดนนทบุรีทั้งจังหวัดและบางพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานีได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทองและอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ฝั่งตะวันตกของอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตพระนคร เขตดุสิตและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
- เขตการเดินรถที่ 8 คือ พื้นที่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯตอนบน ได้แก่ เขตจตุจักร เขตดินแดง เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิและพื้นที่ตอนบนของเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
เขตการเดินรถที่ให้บริการเส้นทางบางส่วนในพื้นที่ปริมณฑล
- เขตการเดินรถที่ 1 ให้บริการเส้นทางบางส่วนในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
- เขตการเดินรถที่ 2 ให้บริการเส้นทางบางส่วนในพื้นที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- เขตการเดินรถที่ 4 ให้บริการเส้นทางบางส่วนในพื้นที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
- เขตการเดินรถที่ 5 ให้บริการเส้นทางบางส่วนในพื้นที่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
- เขตการเดินรถที่ 6 ให้บริการเส้นทางบางส่วนในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
- เขตการเดินรถที่ 8 ให้บริการเส้นทางบางส่วนในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
กลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถ
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีการแบ่งพื้นที่การรับผิดชอบเส้นทางรถประจำทางออกเป็น 8 เขตพื้นที่ โดยแต่ละเขตจะมีกลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถอยู่ทั้งหมด 3 กลุ่มด้วยกัน (มีตัวย่อ คือ กปด.) แบ่งตามที่ตั้งอู่เก็บรถโดยสารประจำทาง โดยจะมีการกำหนดตัวเลขกลุ่มโดยนำเลขกลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถขึ้นก่อน ตามด้วยเลขประจำเขต เช่น อู่มีนบุรี คือ กลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถที่ 12 (กปด.12) โดยมีการแบ่งส่วนงานไว้ ดังนี้
เขตการเดินรถที่ | กลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถที่ | ||
---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | |
1 | บางเขน | ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) | รังสิต |
2 | มีนบุรี | สวนสยาม (ที่ตั้งฝ่ายการเดินรถเอกชนร่วมบริการ) | |
3 | ปู่เจ้าสมิงพราย ใต้ทางด่วนบางพลี-สุขสวัสดิ์ (ช้างเอราวัณ 2) |
ฟาร์มจระเข้ฯ | เมกาบางนา แพรกษาบ่อดิน |
4 | คลองเตย | ใต้ทางด่วนสาธุประดิษฐ์ | พระราม 9 |
5 | ราชประชา | กัลปพฤกษ์ | แสมดำ แสมดำ-เติมก๊าซ |
6 | วัดไร่ขิง | บรมราชชนนี | |
7 | เทศบาลบางบัวทอง บางบัวทอง (บัวทองเคหะ) |
ท่าอิฐ | |
8 | กำแพงเพชร หมอชิต 2 (ไม่เก็บรถ สำหรับเติมน้ำมัน) |
ใต้ทางด่วนรามอินทรา | สวนสยาม |
ตัวอักษรที่เล็กลง หมายถึง อู่ย่อยในสังกัดของกลุ่มงานปฏิบัติการเดินรถ ตัวอักษรเข้ม หมายถึง ที่ตั้งสำนักงานเขตการเดินรถ |
อู่รถโดยสารประจำทางที่ยุบเลิกไป
[แก้]กปด. | อู่ | วันสิ้นสุดสัญญาเช่า | ประวัติ |
---|---|---|---|
กปด.31 | รังสิต (เดิม) | 24 พฤศจิกายน 2557 | อยู่พื้นที่เดียวกัน อู่รังสิตเดิมอยู่เหนือสุด อู่ประชาธิปัตย์อยู่ตรงกลาง อู่เพิ่มภูมิอยู่ใต้สุดมีถนนคั่น ต่อมายุบรวมอู่รังสิตเดิมและอู่ประชาธิปัตย์เป็นพื้นที่เดียวกันเป็นอู่รังสิตในปัจจุบัน อู่เพิ่มภูมิ ชื่ออู่มีที่มาจาก บริษัท เพิ่มภูมิ จำกัด เจ้าของพื้นที่ ยกเลิกการเช่าพื้นที่ |
ประชาธิปัตย์ | |||
เพิ่มภูมิ | |||
กปด.32 | ศรีนครินทร์ | ไม่ทราบปี | เนื่องจากหมดสัญญาเช่าพื้นที่ |
กปด.13 | สำโรง | 1 พฤษภาคม 2556 | |
กปด.23 | บางพลี | 2566 | เนื่องจากเพื่อทดแทนอู่ฟาร์มจระเข้ฯ เลิกใช้งาน เนื่องจากไกลจากเส้นทางเดินรถทั้งหมด |
กปด.33 | สายลวด | 1 เมษายน 2556 | เนื่องจากหมดสัญญาเช่าพื้นที่ |
แพรกษา (เดิม) | 21 เมษายน 2559 | ||
กปด.25 | ธารทิพย์ | 25 กุมภาพันธ์ 2560 | |
กปด.16 | วัดม่วง | สิงหาคม 2555 | |
กปด.26 กปด.36 |
พุทธมณฑลสาย 2 | 31 มีนาคม 2562 | |
กปด.27 | นครอินทร์ | 15 กันยายน 2564 | เลิกใช้งานเนื่องจากเจ้าของพื้นที่เดิมฟ้องร้องขอคืนพื้นที่จากกรมทางหลวงชนบทจากการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เวนคืนไม่หมด |
กปด.37 | ตลาด อ.ต.ก. 3 | ไม่ทราบปี | เนื่องจากหมดสัญญาเช่าพื้นที่ |
ศรีณรงค์ | สิงหาคม 2555 | ||
ไทรน้อย (หนองเชียงโคต) | 15 เมษายน 2564 | เริ่มใช้งาน 30 กันยายน 2562 เนื่องจากเพื่อทดแทนอู่ท่าอิฐ เลิกใช้งานเนื่องจากไกลจากเส้นทางเดินรถทั้งหมด กลับไปใช้งานอู่ท่าอิฐ | |
กปด.28 กปด.38 |
โพธิ์แก้ว | 30 กันยายน 2554 | เนื่องจากหมดสัญญาเช่าพื้นที่ |
บริการวิทยุกระจายเสียงบนรถประจำทาง
[แก้]ในอดีต องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ดำเนินโครงการวิทยุกระจายเสียงบนรถประจำทาง (Bus Sound) ร่วมกับบริษัท อาร์เอ็นที เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ซึ่งรับสัมปทานติดลำโพงบนรถโดยสารประจำทางของ ขสมก และถ่ายทอดเสียงจาก สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย คลื่นความถี่ระบบเอฟเอ็ม 88.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งทำสัญญาสัมปทานกับบริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และมีชื่อในขณะนั้นว่า พีคเอฟเอ็ม แต่ประสบปัญหาขาดทุน เอ-ไทม์ มีเดีย จึงถอนตัวไป และในเวลาต่อมา จึงเปลี่ยนมาถ่ายทอดเสียงจากสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ คลื่นความถี่ระบบเอฟเอ็ม 103.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งทำสัญญาสัมปทานกับบริษัท คลิก-วีอาร์วัน จำกัด ต่อมาทางคลิก-วีอาร์วัน เจรจากับสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก ของดการถ่ายทอดสดรายการภาคบังคับ คือรายการสยามานุสติ (06.45-07.00 น.) และรายการใต้ร่มธงไทย (18.00-19.00 น.) เพื่อให้มีเวลาออกอากาศเพิ่มอีก 1 ชั่วโมง 15 นาทีต่อวัน ซึ่งในระยะ 1-2 ปีแรก มีกิจกรรมร่วมสนุก จากเลขหน้าตั๋วรถเมล์ของ ขสมก แต่ในปัจจุบันยกเลิกโครงการไปแล้วตั้งแต่ปี 2551 หลังจากรัฐบาลในขณะนั้นเริ่มดำเนินโครงการ "รถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน" ปัจจุบันนี้ยังสามารถพบเห็นกล่องบัสซาวด์ได้ทั่วไปบนรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. แต่ไม่มีการถ่ายทอดเสียงสัญญาณของสถานีวิทยุใดอีก
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายการเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- รถโดยสารประจำทางในประเทศไทย
- การรถไฟแห่งประเทศไทย
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
- รถไฟฟ้ามหานคร
- รถไฟฟ้าบีทีเอส
- รัฐวิสาหกิจไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานประจำปี องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ การบริกา??أ เก็บถาวร 2013-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ ขสมก
- ↑ ข้อมูลสำคัญของรัฐวิสาหกิจไทย (State Enterprise Key Indicators : SEKI)[ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เล่ม 141 ตอนพิเศษ 76ง วันที่ 15 มีนาคม 2567
- ↑ ประวัติ ขสมก เก็บถาวร 2009-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์องค์การฯ
- ↑ สั่งขสมก.ทำแผนเดินรถ155เส้นทาง เก็บถาวร 2012-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ASTVผู้จัดการรายวัน 12 กรกฎาคม 2554
- ↑ รถเมล์สายใดวิ่งตลอดคืน dailynews.co.th
- ↑ "การบริการ". องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ.